ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาโคณฑี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาโคณฑี (Koytor)
แม่แบบ:Script/Gunjala Gondi
แม่แบบ:Script/Masaram Gondi
గోండీ (ఖోయితవులు)
गोंडी (खौइ़तौल़ु)
[[File:
|200px]]
ประเทศที่มีการพูดIndia
ชาติพันธุ์ชาวโคณฑี
จำนวนผู้พูด2.98 ล้านคน  (2011 census)[1]
ตระกูลภาษา
ดราวิเดียน
  • ใต้-กลาง
ระบบการเขียนอักษรคุญชลาโคณฑี
อักษรโคณฑี
อักษรเทวนาครี, อักษรเตลูกู (ใช้ในคำสันธาน)
รหัสภาษา
ISO 639-2gon
ISO 639-3gonรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
gno – โคณฑีเหนือ
esg – Aheri Gondi
wsg – Adilabad Gondi
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาโคณฑี ไม่รวม Koya

ภาษาโคณฑี (แม่แบบ:Script/Gunjala Gondi, แม่แบบ:Script/Masaram Gondi, గోండీ, गोंडी, Gōṇḍī) อยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน เป็นภาษาที่พูดโดยชาวโคณฑีประมาณสามล้านคน[2] มักพูดในบริเวณรัฐมัธยประเทศ รัฐคุชราต รัฐอานธรประเทศ รัฐมหาราษฏระและรัฐฉัตตีสครห์ รวมทั้งรัฐใกล้เคียง ปัจจุบันมีชาวโคณฑีประมาณครึ่งหนึ่งที่พูดภาษานี้ ภาษานี้ไม่มีวรรณคดีในรูปการเขียน แต่มีเพลงพื้นบ้านมากมายเช่นเพลงเกี่ยวกับการแต่งงาน ภาษานี้มีระบบเพศสองระบบ คำนามอาจจะเป็นเพศชายหรือไม่เป็นเพศชาย ภาษานี้แยกออกจากภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมโดยพัฒนาเสียงโฆษะทั้งเสียงไม่มีลม (g, j, ḍ, d, b) และเสียงมีลม (kh, gh, jh, dh, ph) สำเนียงของภาษาโคณฑียังมีการศึกษาและบันทึกไว้ไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่จะแยกเป็นกลุ่มสำเนียงตะวันตกเฉียงเหนือกับตะวันออกเฉียงใต้ ในอดีตภาษานี้เคยมีอักษรเป็นของตนเองเรียกว่าอักษรคุญชลาโคณฑี และอักษรมสรามโคณฑี แต่ปัจจุบันมักใช้อักษรเทวนาครีหรืออักษรเตลูกูในการเขียนภาษานี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Census of India Website : Office of the Registrar General & Census Commissioner, India". www.censusindia.gov.in. สืบค้นเมื่อ 2018-07-05.
  2. Beine, David K. 1994. A Sociolinguistic Survey of the Gondi-speaking Communities of Central India. M.A. thesis. San Diego State University. chpt. 1

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Beine, David K. 1994. A Sociolinguistic Survey of the Gondi-speaking Communities of Central India. M.A. thesis. San Diego State University. 516 p.
  • Chenevix Trench, Charles. Grammar of Gondi: As Spoken in the Betul District, Central Provinces, India; with Vocabulary, Folk-Tales, Stories and Songs of the Gonds / Volume 1 - Grammar. Madras: Government Press, 1919.
  • Hivale, Shamrao, and Verrier Elwin. Songs of the Forest; The Folk Poetry of the Gonds. London: G. Allen & Unwin, ltd, 1935.
  • Moss, Clement F. An Introduction to the Grammar of the Gondi Language. [Jubbalpore?]: Literature Committee of the Evangelical National Missionary Society of Sweden, 1950.
  • Pagdi, Setumadhava Rao. A Grammar of the Gondi Language. [Hyderabad-Dn: s.n, 1954.
  • Subrahmanyam, P. S. Descriptive Grammar of Gondi Annamalainagar: Annamalai University, 1968.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]