ข้ามไปเนื้อหา

รัฐบาลอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐบาลอินเดีย
Bhārat Sarkār
ก่อตั้ง26 มกราคม 1950; 74 ปีก่อน (1950-01-26)
ประเทศสาธารณรัฐอินเดีย
เว็บไซต์india.gov.in
ศูนย์กลางราษฎรบดีภวัน (ที่พักอาศัยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีอินเดีย)
นิติบัญญัติ
นิติบัญญัติรัฐสภา
สภาสูงราชยสภา
ผู้นำประธาน (เวนไกอาห์ ไนฑู)
สภาล่างโลกสภา
ผู้นำโฆษก (โอม พิรลา)
สถานที่ประชุมสันสัทภวัน
บริหาร
ประมุขประธานาธิบดี รามนาถ โกวินทะ
หัวหน้ารัฐบาลนายกรัฐมนตรี นเรนทร โมดี
คณะหลักคณะรัฐมนตรี
หัวหน้าฝ่ายบริหารเลขานุการรัฐมนตรี (ราชีพ คาวบา, IAS)
สถานที่ประชุมอาคารเซเครทาเรียตกลาง
กระทรวง57
รับผิดชอบต่อโลกสภา
ยุติธรรม
ศาลศาลสูงอินเดีย
ประธานตุลาการศราท อรวินท์ โบบเด

รัฐบาลประเทศอินเดีย (ISO: Bhārat Sarkār; ภารตสรการ) หรือเรียกด้วยชื่อย่อว่า GoI เป็นรับบาลสหภาพที่แต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญอินเดียเพื่อปกครองละบริหารด้านนิติบัญญัติ การบริหาร และขบวนการยุติธรรม ของสหภาพอันประกอบด้วยยี่สิบแปดรัฐ และแปด ดินแดนสหภาพ ภายใต้สาธารณรัฐในระบอบประชาธิปไตย ศูนย์กลางรัฐบาลอินเดียตั้งอยู่ที่นิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย

โครงสร้าง

[แก้]

รัฐบาลอินเดียใช้รูปแบบที่รับมาจากระบบเวสต์มินส์เตอร์ในการปรครองรัฐ[1] รัฐบาลสหภาพ (Union government) ของอินเดียนั้นหลัก ๆ แล้วประกอบด้วยฝ่ายบริหาร, ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายกระบวนการยุติธรรม ภายใต้รัฐธรรมนูญอินเดีย ในนายกรัฐมนตรี, รัฐสภา และศาลสูง ประเทศอินเดียมีประธานาธิบดีอินเดียเป็นประมุขของรัฐ และผู้นำทหารสูงสุดของกองทัพอินเดีย ในขณะที่นายกรัฐมนตรีที่ได้มาจากการเลือกตั้งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและมีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลขับเคลื่อนรัฐบาลสหภาพ[2] รัฐสภาของอินเดียเป็นระบบสองสภา ประกอบด้วยโลกสภาเป็นสภาล่าง และราชยสภาเป็นสภาสูง ระบบยุติธรรมประกอบด้วยศาลสูงสุดอินเดียเป็นศาลสูงสุด, 24 ศาลสูง และศาลประจำอำเภออีกจำนวนหนึ่งภายใต้ศาลสูงสุดอินเดีย[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Subramanian, K. (17 June 2014). "A prime ministerial form of government". The Hindu. ISSN 0971-751X. OCLC 13119119. สืบค้นเมื่อ 9 March 2018.
  2. "Government of India, Structure of Government India". elections.com. 8 January 2018.
  3. "Constitution of India's definition of India". Indiagovt.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2019.