ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่ปลาศี

พิกัด: 23°48′N 88°15′E / 23.80°N 88.25°E / 23.80; 88.25
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่ปลาศี
ส่วนหนึ่งของ สงครามเจ็ดปีและสงครามกรณาฏ

ท่านลอร์ดไคลฟ์พบกับมีร์ จาฟาร์ หลังยุทธการที่ปลาศี
วันที่23 มิถุนายน ค.ศ. 1757
สถานที่
ปลาศี ในภาคเบงกอล
23°48′N 88°15′E / 23.80°N 88.25°E / 23.80; 88.25
ผล ชัยชนะของบริษัทอินเดียตะวันออก
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
เบงกอลตกเป็นของบริษัทอินเดียตะวันออก
คู่สงคราม

 บริเตนใหญ่

จักรวรรดิโมกุล

 ฝรั่งเศส
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ พันเอกรอเบิร์ต ไคลฟ์

  • พันตรี Kilpatrick
  • พันตรี Grant
  • พันตรี Eyre Coote
  • ร้อยเอก Gaupp

ศรีรัช อุดดอลา

  • Mohan Lal
  • Mir Madan  
  • มีร์ จาฟาร์
    (แปรพักตร์)
  • Yar Lutuf Khan
    (แปรพักตร์)
  • Rai Durlabh
    (แปรพักตร์)
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส Monsieur Sinfray
กำลัง
ทหารอังกฤษ 750 นาย
ทหารแขก 2,100 นาย
พลปืน 100 นาย
ลูกเรือ 50 นาย
ปืนใหญ่ 8 กระบอก

จักรวรรดิโมกุล:
ทหาราบ 42,000 นาย
ทหารม้า 20,000 นาย
ปืนครก 53 กระบอก


ฝรั่งเศส:
ทหารปืนใหญ่ 50 นาย
ปืนครก 6 กระบอก
ความสูญเสีย
ตาย 22
เจ็บ 50
ตายและเจ็บ 500

ยุทธการที่ปลาศี (อังกฤษ: Battle of Plassey) เป็นการต่อสู้ระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษกับแคว้นเบงกอลของจักรวรรดิโมกุลที่มีฝรั่งเศสหนุนหลัง[1] การต่อสู้เกิดขึ้นในภาคเบงกอลซึ่งอยู่ทางตะวันออกของอินเดียในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1757 ซึ่งกองทัพของบริษัทได้รับชัยชนะขาดลอยเหนือกองทัพโมกุล เป็นผลให้จักรวรรดิโมกุลต้องเสียดินแดนในเบงกอลให้แก่บริษัทอินเดีย เป็นจุดเริ่มต้นการยึดครองอนุทวีปอินเดียของสหราชอาณาจักร ซึ่งสหราชอาณาจักรสามารถยึดครองอนุทวีปอินเดียได้ทั้งหมดในอีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้า

ก่อนการปะทะนั้น เบงกอลมีขุนนางผู้ปกครองคือ ศรีรัช อุดดอลา ตำแหน่งเจ้าพระยาเบงกอล ซึ่งขึ้นปกครองมายังไม่ถึงปี เขาได้มีคำสั่งให้อังกฤษยุติการขยายป้อมปราการของอังกฤษ และได้ส่งทหารเข้าโจมตีเมืองกัลกัตตาซึ่งอยู่ในบังคับของอังกฤษและสังหารหมู่นักโทษชาวอังกฤษในคุกใต้ตินของกัลกัตตา อังกฤษจึงส่งกำลังเสริมของพันเอกรอเบิร์ต ไคลฟ์ และนายพลเรือชาลส์ วัตสัน จากเมืองมัทราสสู่แคว้นเบงกอลเพื่อทวงคืนเมืองกัลกัตตา ในวันที่ 23 มีนาคม พันเอกไคลฟ์และนายพลเรือวัตสันได้นำกองเรือไปโจมตีป้อมปราการของฝรั่งเศสซึ่งอยู่ใกล้กับกัลกัตตาด้วย และพันเอกไคลฟ์ได้แอบเจรจากับ มีร์ จาฟาร์ หนึ่งในผู้บัญชาการกองทัพเบงกอลซึ่งกุมกำลังหลัก โดยให้สินบนว่าจะตั้งเขาเป็นเจ้าพระยาเบงกอลและจะให้เงินจำนวนหนึ่งหากในสนามรบเขานำกองทหารของเขาเข้าสนับสนุนอังกฤษ

ยุทธการที่ปลาศีเริ่มขึ้นในบริเวณที่เรียกว่าปลาศีริมตลิ่งแม่น้ำภาหิรัฐในภาคเบงกอล ประมาณ 150 กิโลเมตรทางเหนือของเมืองกัลกัตตา ท้ายที่สุด จากการแปรพักตร์ของมีร์ จาฟาร์ กองทหารอังกฤษก็ได้รับชัยชนะเหนือกองทัพเบงกอลและเข้ายึดคืนกัลกัตตา[2] บริษัทฯได้ตั้ง มีร์ จาฟาร์ เป็นเจ้าพระยาเบงกอลคนใหม่ การปะทะครั้งนี้กองทัพแขกนั้นมีกำลังพลมากกว่า 50,000 นาย กลับถูกพิชิตโดยกองทหารเพียง 3,000 นายของพันเอกไคลฟ์ การปะทะกินเวลา 11 ชั่วโมง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Campbell, John; Watts, William (1760). [[[:แม่แบบ:Wdl]] "Memoirs of the Revolution in Bengal, Anno Domini 1757"]. World Digital Library. สืบค้นเมื่อ 30 September 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  2. Robins, Nick. "This Imperious Company - The East India Company and the Modern Multinational - Nick Robins - Gresham College Lectures". Gresham Colelge Lectures. Gresham College. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.