ข้ามไปเนื้อหา

สถาปัตยกรรมอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถาปัตยกรรมอินเดีย หมายถึงสถาปัตยกรรมที่พบในประเทศอินเดียปัจจุบัน หยั่งรากมาจากประวัติศาสตร์ของชาติอินเดีย, วัฒนธรรมอินเดีย และ ศาสนาที่เกิดขึ้นในอินเดีย[1] ซึ่งมีการวิวัฒนาการและพัฒนา แตกต่างกันไปตามยุคสมัยและพื้นที่ ได้รับอิทธิพลจากภายนอกในแต่ละยุค ทั้ง กรีก, โรมัน, เปอร์เซีย และ อิสลาม ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมยุคก่อน ๆ และงานศิลปะที่อุทิศเพื่อกษัตริย์และศาสนาอย่างลงตัว

ยุคอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (3300 ปีก่อน ค.ศ. – 1700 ปีก่อน ค.ศ.)

[แก้]
โมเหนโจ-ดาโร หนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ[2]

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุครอบคุลมพื้นที่ขนาดใหญ่ล้อมรอบแม่น้ำสินธุและบริเวณโดยรอบ ในยุคที่อารยธรรมเจริญรุ่งเรืองมาก (2600–1900 BCE) ได้กำเนิดเมืองจำนวนหนึ่งที่มีความเป็นแบบแผนเดียวกัน ได้แก่ ฮารัปปา, โลธัล และ โมเหนโจ-ดาโร หนึ่งในแหล่งมรดกโลก การวางผังเมืองและการวิศวกรรมของเมืองเหล่านี้น่าสนใจมาก ในขณะที่การออกแบบอาคารต่าง ๆ นั้นยังเป็นแบบ "ยึดประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ" (utilitarian) กล่าวคือไม่ค่อยมีการประดิดประดอยหรือตกแต่งให้สวยงามวิจิตร จากหลักฐานพบยุ้งฉาง, ระบบชลประทานและท่อน้ำ, ที่เก็บน้ำ แต่ยังไม่สามารถระบุว่าพบสิ่งก่อสร้างที่เป็นปราสาทหรือศาสนสถานได้ บางเมืองพบการสร้างป้อมปราการ "citadel"[3] นอกจากนี้ยังพบบ่อน้ำอันนำมาสู่การสร้างบ่อน้ำขั้นบันได (stepwell)[4] ในแค่ส่วนหนึ่งของเมืองอาจพบได้มากถึง 700 บ่อ นักวิชาการบางคนจึงเชื่อว่าอารยธรรมฯ นี้เป็นผู้คิดค้นการขุดบ่อน้ำอิฐทรงกระบอก (cylindrical brick lined wells)[4]

การตกแต่งเชิงสถาปัตยกรรมนั้นพบได้น้อยมาก ถึงแม้จะพบ "รูเล็ก ๆ " ในผนังบางตึกก็ตาม งานศิลปะส่วนมากที่พบทำมาจากดินเผา (terracotta) และมีขนาดเล็กจิ๋ว เช่น พวกตราหรือโล่ต่าง ๆ ส่วนรูปปั้นขนาดใหญ่โตนั้นแทบไม่พบเลย ส่วนมากแล้วการก่อสร้างด้วยอิฐนั้นทำมาจากอิฐแบบเผาไฟ ซึ่งต่างกับอีกอารยธรรมใกล้เคียงกันคือเมโสโปเตเมีย ที่ใช้อิฐชนิดผึ่งแดด น้อยมากที่จะสร้างด้วยหิน เช่นใน ธลวีระ (Dholavira) บ้านเรือนส่วนใหญ่มีสองชั้น มีขนาดและแปลนที่เหมือน ๆ กันเมืองใหญ่ ๆ นั้นลดลงอย่างรวดเร็วตามลำดับโดยไม่รู้สาเหตุ เหลือไว้แต่เพียงซากหมู่บ้านและวัฒนธรรมที่ซับซ้อนน้อยกว่าให้ชม[5]

มหาชนะปัท (600 ปีก่อน ค.ศ. – 320 ปีก่อน ค.ศ. )

[แก้]

ยุคคลาสสิก (320 ปีก่อน ค.ศ. - 550 ปีก่อน ค.ศ. )

[แก้]

อนุสรณ์หินขนาดใหญ่

[แก้]
เสาแห่งอโศกที่สถูปสาญจี

ระลอกการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่นี้มาพร้อมกับจักรวรรดิเมารยะ ในปาฏลีบุตรเมืองหลวงของเมารยะซึ่งได้รับการกล่าวขานว่ามีขนาดมหึมาโดยทูตชาวกรีก Megasthenes อนุสรณ์สถานหินขนาดใหญ่โตเหล่านี้ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากเปอร์เซียยุคแรกและจากอารยธรรมกรีก

ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมาก พระองค์ได้มีพระราชกระแสให้ตั้งเสาแห่งอโศกขึ้นตามวัดพุทธต่าง ๆ และพระองค์ยังทรงสร้างสถูปอีกจำนวนราว 84.000 แห่ง ทั่วอินเดีย ภายในนั้นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่พระองค์รับสั่งให้ขุดออกมาจากสถูปโบราณในสมัยพุทธองค์ซึ่งล้วนเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา เป็นที่ยอมรับกันว่าสถูปต่าง ๆ นั้นเริ่มมีการสร้างขึ้นและวิวัฒนาการขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นต้นมา เช่น สถูปสาญจี, เกสริยาสถูป ที่ล้วนพบเสาแห่งอโศกตั้งอยู่ด้วยทั้งสิ้น สถูปอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ว่าสร้างโดยพระองค์หรือได้รับอิทธิพลจากสถูปในรัชสมัยพระองค์ เช่น ภารหุต, อมราวตีมหาเจดีย์ และ ธรรมราชิกสถูป ในคันธาระ[6]

พระองค์ยังทรงสร้างวัดมหาโพธิ์หลังแรกที่พุทธคยาล้อมรอบต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งภายในประกอบไปด้วยผลงานชิ้นเอก เช่น วัชรอาสนะ (พระที่นั่งเพชร)[7] และพระองค์ยังทรงนิยมสร้างโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสัตว์ขึ้นทุกที่ที่พระองค์เสด็จไป[8] นี่ถือเป็นช่วงเวลาที่ศิลปะอินเดียได้รับอิทธิพลมากและเฟื่องฟู

ในสมัยจักรวรรดิเมารยะ (321 - 185 ปีก่อน ค.ศ.) ได้สร้างบ้านเมืองที่ล้อมด้วยกำแพงเมือง และในเมืองเต็มไปด้วยสถูป วิหาร[9] ผลงานชิ้นสำคัญ เช่น ปาฏลีบุตร และเสาแห่งอโศก ซึ่งโดเด่นและยิ่งใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบกับอารยธรรมอื่น ๆ ในสมัยเดียวกันในส่วนอื่นของโลก ผลงานของเมารยะถือว่าโดดเด่นกว่าใคร จอห์น มาร์แชล (นักโบราณคดี) เคยถึงกับยอมรับว่า ผลงานของเมารยะนั้นถือว่าเอาชนะผลงานที่ดีที่สุดของพวกเอเธนส์ (กรีก) ในสมัยเดียวกันไปได้สบาย ๆ เลย[10][11]

ถ้ำเจาะหิน

[แก้]
เจดีย์ (Chaitya) หลักของถ้ำการเล (Karla Caves)

ในช่วงเวลาเดียวกันสถาปัตยกรรมการเจาะหินก็เริ่มต้นที่จะพัฒนา ถ้ำแรกที่มีการเจาะหินและแกะสลักเข้าไปคือ ถ้ำพรพาร (Barabar Caves) ในรัฐพิหาร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระเจ้าอโศกมหาราช[9] การเจาะหินเข้าไปในเขาเพื่อสร้างถ้ำฝีมือมนุษย์นี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถออันเหนือชั้นในการเจาะหินแกรนิตซึ่งแข็งและยากที่จะเจาะ แต่สามารถเจาะออกมาเป็นรูปร่างและรูปทรงที่ถูกต้องตามหลักทางเรขาคณิต นอกจากนี้ยังขัดผิวหินเหล่านี้จนเงามันและสามารถสะท้อนเหมือนกระจกเงาได้[12]

เชื่อกันว่าหลังการล่มสลายของจักรวรรดิเมารยะประมาณ 200 ปีก่อน ค.ศ. รวมกับการกวาดล้างชาวพุทธของ Pushyamitra Sunga ชาวพุทธหนีภัยไปบริเวณเดคคาน ภายใต้การปกป้องของจักรวรรดิสาตวาหนะ ชาวพุทธได้นำเทคนิคการเจาะถ้ำนี้ไปยังบริเวณตะวันตกของอินเดียนี้ด้วย ถ้ำเจาะหินในยุคนี้มีขนาดใหญ่ขึ้นและเกี่ยวพันกับศาสนาอย่างชัดเจน โดยมักสร้างเป็นศาสนสถานหรือประกอบพิธีกรรมของศาสนาพุทธและศาสนาเชน ถ้ำเจาะในยุคนี้ เช่น ถ้ำการเล (Karla Caves) และ ถ้ำปาณฑวเลนี (Pandavleni Caves)[12] ถ้ำเหล่านี้มีแปลนการสร้างที่วางแผนมาอย่างดี พบว่าโดยทั่วไปจะสร้างสถูปด้านหลังห้องเจดีย์ (Chaitya) เป็นทรง apsidal และห้องหับร้อมล้อมถ้ำเป็นวิหาร สร้างดวยแปลนทรงสี่เหลี่ยม[12] ถ้ำเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากเงินบริจาคจากพ่อค้า นักบวช พระ รัฐบาล หรือแม้แต่ ยาวานา ชาวกรีก โดยบุคคลเหล่านี้จะได้รับการจารึกชื่อผู้บริจาคไว้ในถ้ำ คิดเป็นประมาณ 8% ของจารึกทั้งหมด[13]

การเจาะถ้ำนี้เริ่มเสื่อมถอยลงหลังราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 อาจด้วยเพราะศาสนาพุทธอีกนิกายคือ มหายาน กำลังเจริญรุ่งเรืองขึ้น และงานสร้างทั้งสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมในคันธาระและอมรวาตีที่หนักหน่วงขึ้นเรื่อย ๆ [12] ถ้ำเจาะหินเริ่มกลับมาอีกครั้งในราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ตัวอย่างสำคัญคือ ถ้ำอชันตา[14] และ ถ้ำเอลโลรา จนเมื่อในที่สุดศาสนาฮินดูเข้ามาเป็นศาสนาหลักในอินเดีย ความนิยมในการสรางศาสนสถานแบบอาคารตั้งสูง (stand-alone) ก็เข้ามาแทนที่การสร้างเจาะหินเป็นถ้ำแทน[9][12]

สถาปัตยกรรมเจาะหินยังมาควบคู่กับการพัฒนาบ่อน้ำขั้นบันได (Stepwell) เช่นกัน ประมาณ ค.ศ. 200 - 400[15] ยาวจนถึง ค.ศ. 950 บ่อน้ำขั้นบันไดเริ่มมีการพัฒนาและวิจิตรขึ้นมาก[15]

สถูปที่ตกแต่งอย่างวิจิตร

[แก้]

สถูปต่าง ๆ เริ่มมีการตกแต่งอย่างวิจิตรด้วยรูปสลักนูนต่ำ โดยมีครั้งแรกที่สถูปสาญจี หมายเลข 2 (125 BCE) การตกแต่งเชิงประติมากรรมและภาพสลักพุทธประวัติต่อมาเริ่มพบที่ Bharhut (115 BCE), พุทธคยา (60 BCE), มธุรา (125–60 BCE), อีกครั้งที่สาญจีซึ่งพบการตั้งเสาโตรณะขึ้นครั้งแรก[16] และที่อมรวารตีสถูป[17] ต่อมาสถูปเริ่มแพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ เอเชียตะวันออก พร้อมกับการเข้ามาของศาสนาพุทธ[18] ซุ้มโตรณะนั้น นักวิชาการบางคนเชื่อว่าพัฒนาเป็นซุ้มโทริอิของญี่ปุ่นในปัจจุบัน[19][20]

วัดและโบสถ์พราหมณ์

[แก้]

วัดที่สร้างในสมัยนี้สามารถจำแนกเป็นรูปทรงต่าง ๆ ของอาคารวัดที่เหลืออยู่แบบตั้งเดี่ยว (stand alone) ได้แก่ รูปไข่ (elliptical), รูปกลม (circular), รูปสี่เหลี่ยม (quadrilateral), รูปสามเหลี่ยมกุด (truncated pyramidal) อย่างเช่นที่เจดีย์มหาโพธิ์ และทรงแอพไซดอล (apsiadal)

ยุคกลางตอนต้น (ค.ศ. 550 - 1200)

[แก้]

ยุคกลางตอนปลาย (ค.ศ. 1100 - 1526)

[แก้]

ยุคใหม่ตอนต้น (ค.ศ. 1500 - 1858)

[แก้]

สถาปัตยกรรมราชบุตร

[แก้]

สถาปัตยกรรมพระพุทธศาสนา

[แก้]

สถาปัตยกรรมอินโด-อิสลามตอนปลาย

[แก้]

สถาปัตยกรรมโมกุล

[แก้]

ลักษณะพื้นถิ่น

[แก้]

สถาปัตยกรรมมราฐา

[แก้]

สถาปัตยกรรมซิกข์

[แก้]

ยุคอาณานิคมยุโรป

[แก้]

ยุคปัจจุบัน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. See Raj Jadhav, pp. 7–13 in Modern Traditions: Contemporary Architecture in India.
  2. Takezawa, Suichi. "Stepwells -Cosmology of Subterranean Architecture as seen in Adalaj" (pdf). The Diverse Architectural World of The Indian Sub-Continent. สืบค้นเมื่อ 2009-11-18.
  3. Rowland, 31–34, 32 quoted; Harle, 15–18
  4. 4.0 4.1 Livingstone & Beach, 19
  5. Rowland, 31–34, 33 quoted; Harle, 15–18
  6. Buddhist Architecture, Lee Huu Phuoc, Grafikol 2009, pp. 140–174
  7. Piercey & Scarborough (2008)
  8. See Stanley Finger (2001), Origins of Neuroscience: A History of Explorations Into Brain Function, Oxford University Press, p. 12, ISBN 0-19-514694-8.
  9. 9.0 9.1 9.2 Chandra (2008)
  10. The Early History of India by Vincent A. Smith
  11. Annual report 1906–07 [1] p. 89
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 Buddhist Architecture, Le Huu Phuoc, Grafikol 2009, pp. 97–99
  13. Buddhist architecture, Lee Huu Phuoc, Grafikol 2009, pp. 98–99
  14. "Ajanta Caves". UNESCO World Heritage Centre (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-03-12.
  15. 15.0 15.1 Livingston & Beach, xxiii
  16. Centre, UNESCO World Heritage. "Buddhist Monuments at Sanchi". UNESCO World Heritage Centre (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-03-23.
  17. Buddhist Architecture, Lee Huu Phuoc, Grafikol 2009, pp. 149- –150
  18. Encyclopædia Britannica (2008), Pagoda.
  19. Encyclopædia Britannica (2008), torii
  20. Japanese Architecture and Art Net Users System (2001), torii.

แหล่งข้อมูล

[แก้]

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]