การศึกษาในประเทศอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การศึกษาในประเทศอินเดีย
กระทรวงศึกษาธิการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการDharmendra Pradhan
งบประมาณทางการศึกษา (2005–2013)
งบประมาณ₹99,100ข้อผิดพลาดนิพจน์: "c" เป็นคำที่ไม่รู้จัก
ข้อมูลทั่วไป
ภาษาที่ใช้ภาษาของอินเดีย, ภาษาอังกฤษ
จัดตั้ง
ภารศึกษาภาคบังคับ
1 เมษายน 2010
การรู้หนังสือ (2011[2])
ทั้งหมด74%[1]
ผู้ชาย82.2%
ผู้หญิง69.5%
การลงทะเบียนเรียน
ทั้งหมด(ไม่มีข้อมูล)
ประถมศึกษา95%[ต้องการอ้างอิง]
มัธยมศึกษา69%[ต้องการอ้างอิง]
อุดมศึกษา25%[ต้องการอ้างอิง]

การศึกษาในประเทศอินเดียนั้นดำเนินการผ่านทางโรงเรียนรัฐ (ซึ่งบริหารจัดการในสามระดับ: รัฐบาลกลาง, รัฐ และ ท้องถิ่น) และโรงเรียนเอกชน ภายใต้หลายยทบัญญัติในรัฐธรรมนูญอินเดีย การศึกษาภาคบังคับโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั้นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเยาวชนอายุ 6 ถึง 14 ปี อัตราส่วนของโรงเรียนรัฐบาลต่อโรงเรียนเอกชนในประเทศอินเดียอยู่ที่ 7:5

ประเทศอินเดียได้ดำเนินการเพิ่มอัตราการเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษามาตลอด ในปี 2011 พบว่าราว 75% ของประชากรอินเดียที่อายุ 7 ถึง 10 ปีสามารถอ่านออกเขียนได้ (literate)[3] การพัฒนาระบบการศึกษาในประเทศอินเดียถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ[4] ถึงแม้สัดส่วนการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของประชากรอินเดียนั้นได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทศวรรษที่ผ่านมา มีสัดส่วนผู้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาทั้งประเทศอยู๋ที่ 24% ในปี 2013[5] แต่อินเดียก็ยังไม่ได้เข้าใกล้อัตราส่วนการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของประเทศพัฒนาแล้วประเทศอื่น ๆ เลย[6]

ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีระบบโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ พบว่านักเรียน 29% ที่อายุ 6 ถึง 14 ปี ศึกษาระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเอกชน[7] ในขณะที่โรงเรียนเทคนิกจำนวนมากก็เป็นโรงเรียนเอกชนเช่นกัน ตลาดการศึกษาเอกชนในประเทศอินเดียมีรายได้อยู่ที่ 450 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2008[8]

ข้อมูลจากรายงานสถานะการศึกษาประจำปี (Annual Status of Education Report: ASER) ปี 2012 ระบุว่าเยาวชนอายุ 6-14 ปีในพื้นที่ชนบท 96.5% ได้เข้าสมัครเรียนระบบการศึกษา นับเป็นปีที่สี่ที่สัดส่วนนี้สูงเกิน 96% ประเทศอินเดียสามารถคงสัดส่วนการเข้าสู่ระบบการศึกษาของนักเรียนอายุ 6-14 ไว้ที่ประมาณ 95% ตั้งแต่ปี 2007 ถึง 2014 ข้อมูลจาก ASER เมื่อปี 2018 พบว่ามีเยาวชนเพียง 2.8% เท่านั้นที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา[9] อีกรายงานหนึ่งจากปี 2013 ระบุว่ามีนักเรียนจำนวน 229 ล้านคนเข้าศึกษาในโรงเรียนที่ได้รับการรับรองทั่วประเทศ ในระดบัประถมหนึ่งถึงเจ็ด (Class I - XII) นับว่าเพิ่มขึ้น 2.3 ล้านคนจากปี 2002 และพบว่าในเด็กผู้หญิงนั้นเพิ่มขึ้นถึง 19%[10] ในขณะที่ในเชิงปริมาณ ประเทศอินเดียกำลังเข้าใกล้การครอบคลุมการศึกษาได้ทั่วถึงทั้งประชากรของประเทศ (universal education) แต่คุณภาพของการศึกษาในประเทศอินเดียนั้นเป็นที่ตั้งคำถามอย่างมาก โดยเฉพาะในโรงเรียนของรัฐบาล ถึงแม้นักเรียนมากกว่า 95% จะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา แต่พบว่าในระดับมัธยมศึกษา มีเยาวชนอินเดียเพียง 40% เท่านั้นที่เข้าศึกษาต่อในเกรด 9-12 (Grades 9-12) หรือเทียบเท่ากับ ม.3-6 ในระบบการศึกษาไทย นับตั้งแต่ปี 2000 ธนาคารโลกได้อุดหนุนทุน 2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐให้กับการศึกษาในประเทศอินเดีย เหตุผลบางประการที่ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาในประเทศอินเดียมีระดับที่ต่ำอาจมาในหนึ่งวันคุณครูทั่วประเทศประมาณ 25% ไม่ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ครู[11]

ถึงแม้ในประเทศอินเดียจะมีโรงเรียนเอกชนอยู่ แต่รัฐบาลก็ได้กำหนดและควบคุมการดำเนินงานของโรงเรียนเอกชนอย่างเคร่งครัด มีการกำหนดหลักสูตรที่สามารถเปิดสอนได้ ควบคุมเนื้อหาการเรียนการสอน ต้องดำเนินงานแบบไม่แสดงผลกำไร (non-profit) และมิติอื่น ๆ ของการดำเนินการเรียนการสอน ดังนั้นอาจพูดได้ว่าทั้งโรเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนในประเทศอินเดียอาจไม่ได้ต่างกันมากนัก[12]

ข้อมูลจากเดือนมกราคม ปี 2019 ระบุว่าประเทศอินเดียมีมหาวิทยาลัยทั้งหมดมากกว่า 900 สถาบัน และวิทยาลัยมากกว่า 40,000 สถาบันทั่วประเทศ[13]

คุณภาพ[แก้]

การรู้หนังสือ[แก้]

ข้อมูลจากสำมะโนครัวปี 2011 บัญญัติการรู้หนังสือไว้ว่า คือผู้ที่..."อายุมากกว่า 7 ปี สามารถอ่านและเขียนในภาษาใดก็ตาม" ("every person above the age of 7 years who can read and write with understanding in any language is said to be literate".) ภายใต้การบัญญัติดังนี้ อัตราการรู้หนังสือ (literacy rate) ของประเทศอินเดียอยู่ที่ 74.04%[14] อัตราการรู้หนังสือในเยาวชน (youth literacy rate) วัดในผู้ที่อายุ 15-24 ปี อยู่ที่ 81.1% (คิดเป็น 84.4% ในผู้ชายและ 74.4% ในผู้หญิง)[15] ส่วนอัตราการรู้หนังสือในประชากรกลุ่มอายุ 10-19 ปีอยู่ที่เด็กผู้ชาย 86% และในเด็กผู้หญิง 72%[16]

ในบรรดาเขตการปกครองทั้งหมดของประเทศ รัฐเกรละมีอัตราการรู้หนังสือสูงที่สุดในประเทศอยู่ที่ 93.91% ส่วนรัฐพิหารอยู่ที่ 61.8%[14] ในสถิติปี 2001 ระบุจำนวนทั้งหมดของประชากรที่ 'ไม่รู้หนังสือเลย' ('absolute non-literates') ในประเทศอินเดียอยู่ที่ 304 ล้านคน[14] ช่องว่างระหว่างเพศ (Gender gap) ในอัตราการรู้หนังสือยังคงมีอยู๋ในประเทศอินเดีย เช่นในรัฐราชสถาน ซึ่งมีอัตราการรู้หนังสือในผู้หญิงต่ำที่สุดในประเทศ[17] นั้นมีอัตราการรู็หนังสือเฉลี่ยในผู้หญิงอยู่ที่ 52.66% ในขณะที่สำหรับผู้ชายอยู่ที่ 80.51% คิดเป็นช่องว่างสูงถึง 27.85% ระหว่างสองเพศ[18]

การเข้าศึกษา[แก้]

ข้อมูลเมื่อ 2011 อัตราการสมัครเข้าศึกษา (enrolment rates) อยู่ที่ 58% ในระดับเตรียมประถมศึกษา, 93% ในระดับประถมศึกษา, 69% ในระดับมัธยมศึกษา และ 25% ในระดับอุดมศึกษา[19]

ถึงแม้อัตราส่วนการเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาจะสูง แต่พบว่าในบรรดาเด็กอายุ 10 ปีในพื้นที่ชนบทของประเทศอินเดียครึ่งหนึ่งไม่สามารถอ่านในระดับพื้นฐานได้, มากกว่า 60% ไม่สามารถหารเลขได้ และครึ่งหนึ่งลาออกจากโรงเรียน (dropout) ภายในอายุ 14 ปี[20]

ในปี 2009 สองรัฐในประเทศอินเดีย คือรัฐทมิฬนาฑู และรัฐหิมาจัลประเทศ ได้เข้าร่วมการสอบโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล PISA ที่จัดขึ้นทุก ๆ สามปีในเด็กอายุ 15 ปี ทั้งสองรัฐอย่อันดับท้ายของตาราง คะแนนสูงกว่าเพียงประเทศคีร์กีซสถานเท่านั้น และคะแนนรวมต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศกลุ่มโออีซีดีอยู่ 200 คะแนน (หรือสองค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน)[21] ในท้ายที่สุดประเทศอินเดียจึงตัดสินใจไม่เข้าร่วมการประเมินของ PISA ในปี 2012[22] และปี 2015[23]

ในขณะที่คุณภาพของโรงเรียนรัฐในชนบทกำลังเข้าขั้นวิกฤต คนยากจนในเขตเมืองส่วนมากได้เลือกหันเข้าสู่โรงเรียนเอกชน ในเมืองระดับนคร (urban city) บางเมือง มีการประมาณการไว้ว่านักเรียนทั้งหมด มากถึง 2 ใน 3 เข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน[24] ส่วนมากมีค่าการศึกษาอยู่ที่สองดอลล่าร์สหรัฐต่อเดือน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "India Literacy Rate". UNICEF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 10 October 2013.
  2. Estimate for India, from India, The Hindu
  3. "Education in India". World Bank. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2012. สืบค้นเมื่อ 8 January 2009.
  4. India achieves 27% decline in poverty, Press Trust of India via Sify.com, 12 September 2008
  5. "Gross enrollment ratio by level of education". UNESCO Institute for Statistics. สืบค้นเมื่อ 10 December 2015.
  6. "Global Education". University Analytics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 10 December 2015.
  7. "Over a quarter of enrollments in rural India are in private schools". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 21 August 2014.
  8. "Indian education: Sector outlook" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 23 January 2014.
  9. ASER-2018 RURAL, Annual Status of Education Report (Rural) (PDF). India: ASER Centre. 2019. p. 47. ISBN 9789385203015.
  10. Enrollment in schools rises 14% to 23 crore The Times of India (22 January 2013)
  11. Sharath Jeevan & James Townsend, Teachers: A Solution to Education Reform in India เก็บถาวร 2015-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Stanford Social Innovation Review (17 July 2013)
  12. Ramanuj Mukherjee. "Indian Education System: What needs to change?". Unlawyered.
  13. HRD to increase nearly 25 pc seats in varsities to implement 10 pc quota for poor in gen category, Economic Times, 16 January 2019.
  14. 14.0 14.1 14.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ I09RA-225
  15. "Country Profiles - India". UNESCO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-18. สืบค้นเมื่อ 22 August 2014.
  16. . National Family Health Survey (NFHS-2). International Institute for Population Sciences & ORC Macro. 2000. {{cite news}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  17. Khushboo Balani (11 January 2017). "Rajasthan: India's seventh largest state, lowest in female literacy". IndiaSpend.com. Business Standard. สืบค้นเมื่อ 1 April 2017.
  18. "Census 2011, Chapter 6 (State of Literacy)" (PDF). Government of India. สืบค้นเมื่อ 1 April 2017.
  19. "World Development Indicators: Participation in education". World Bank. สืบค้นเมื่อ 21 August 2014.
  20. "A special report on India: Creaking, groaning: Infrastructure is India's biggest handicap". The Economist. 11 December 2008.
  21. "Indian schools dwarfed in global ratings programme". Indian Express. สืบค้นเมื่อ 15 August 2014.
  22. "India backs out of global education test for 15-year-olds". Times of India. สืบค้นเมื่อ 14 August 2014.
  23. "India chickens out of international students assessment programme again". Times of India. สืบค้นเมื่อ 14 August 2014.
  24. "Many of India's Poor Turn to Private Schools". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 15 August 2014.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Blackwell, Fritz (2004), India: A Global Studies Handbook, United States of America: ABC-CLIO, Inc., ISBN 1-57607-348-3.
  • Elder, Joseph W. (2006), "Caste System", Encyclopedia of India (vol. 1) edited by Stanley Wolpert, 223–229, Thomson Gale: ISBN 0-684-31350-2.
  • Ellis, Catriona. "Education for All: Reassessing the Historiography of Education in Colonial India." History Compass (2009) 7#2 pp 363–375
  • Dharampal, . (2000). The beautiful tree: Indigenous Indian education in the eighteenth century. Biblia Impex Private Limited, New Delhi 1983; reprinted by Keerthi Publishing House Pvt Ltd., Coimbatore 1995.
  • Suri, R.K. and Kalapana Rajaram, eds. "Infrastructure: S&T Education", Science and Technology in India (2008), New Delhi: Spectrum, ISBN 81-7930-294-6.
  • India 2009: A Reference Annual (53rd edition), New Delhi: Additional Director General (ADG), Publications Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India, ISBN 978-81-230-1557-6.
  • Prabhu, Joseph (2006), "Educational Institutions and Philosophies, Traditional and Modern", Encyclopedia of India (vol. 2) edited by Stanley Wolpert, 23–28, Thomson Gale: ISBN 0-684-31351-0.
  • Raman, S.A. (2006). "Women's Education", Encyclopedia of India (vol. 4), edited by Stanley Wolpert, 235–239, Thomson Gale: ISBN 0-684-31353-7.
  • Rosser, Yvette Claire (2003). Curriculum as Destiny: Forging National Identity in India, Pakistan, and Bangladesh (PDF) (Dissertation). University of Texas at Austin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 September 2008. สืบค้นเมื่อ 11 September 2008.
  • Setty, E.D. and Ross, E.L. (1987), "A Case Study in Applied Education in Rural India", Community Development Journal, 22 (2): 120–129, Oxford University Press.
  • Sripati, V. and Thiruvengadam, A.K. (2004), "India: Constitutional Amendment Making The Right to Education a Fundamental Right", International Journal of Constitutional Law, 2 (1): 148–158, Oxford University Press.
  • Vrat, Prem (2006), "Indian Institutes of Technology", Encyclopedia of India (vol. 2) edited by Stanley Wolpert, 229–231, Thomson Gale: ISBN 0-684-31351-0.
  • Desai, Sonalde, Amaresh Dubey, B.L. Joshi, Mitali Sen, Abusaleh Shariff and Reeve Vanneman. 2010. India Human Development in India: Challenges for a Society in Transition. New Delhi: Oxford University Press.