ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สปริงนิวส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Vrovxzo720 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
บรรทัด 29: บรรทัด 29:
'''สปริงนิวส์''' ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นวันที่จดทะเบียนบริษัท เริ่มทดลองแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553 และได้มีการเปิดตัวสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมสปริงนิวส์เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ที่[[โรงแรมเรเนซองส์]] [[สี่แยกราชประสงค์]] ในช่วงทดลองออกอากาศ สปริงนิวส์ได้ออกอากาศตั้งแต่เวลา 9.00 น. ถึง 24.00 น. จากนั้นได้ขยายมาเป็น 24 ชั่วโมงในเวลาต่อมา มีสำนักงานอยู่ที่ชั้น 11 อาคาร[[ไอที สแควร์ หลักสี่]] [[ถนนวิภาวดีรังสิต]]
'''สปริงนิวส์''' ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นวันที่จดทะเบียนบริษัท เริ่มทดลองแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553 และได้มีการเปิดตัวสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมสปริงนิวส์เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ที่[[โรงแรมเรเนซองส์]] [[สี่แยกราชประสงค์]] ในช่วงทดลองออกอากาศ สปริงนิวส์ได้ออกอากาศตั้งแต่เวลา 9.00 น. ถึง 24.00 น. จากนั้นได้ขยายมาเป็น 24 ชั่วโมงในเวลาต่อมา มีสำนักงานอยู่ที่ชั้น 11 อาคาร[[ไอที สแควร์ หลักสี่]] [[ถนนวิภาวดีรังสิต]]


หลังการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมสปริงนิวส์ ได้ย้ายที่ทำการไปยังอาคารเล้าเป้งง้วน 1 ชั้น 11 ซอยเฉยพ่วง [[ถนนวิภาวดีรังสิต]] แขวงจอมพล [[เขตจตุจักร]] [[กรุงเทพมหานคร]] 10900 มาตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และได้มีการปรับผังรายการตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และช่วงกลางปี 2554 ข่าวทุกช่วงได้ปรับมาใช้ชื่อ "ข่าวจริง สปริงนิวส์" โดยมีการบอกเวลาในไตเติลข่าวอีกด้วย
หลังการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมสปริงนิวส์ ได้ย้ายที่ทำการไปยังอาคารเล้าเป้งง้วน 1 ชั้น 11 ซอยเฉยพ่วง [[ถนนวิภาวดีรังสิต]] แขวงจอมพล [[เขตจตุจักร]] [[กรุงเทพมหานคร]] 10900 มาตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และได้มีการปรับผังรายการตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และช่วงกลางปี 2554 ข่าวทุกช่วงได้ปรับมาใช้ชื่อ "ข่าวจริง สปริงนิวส์" โดยมีการบอกเวลาในไตเติลข่าวอีกด้วยสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมชายสมตุ๊ดไอดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดนัยบ้า


=== ความร่วมมือกับซีเอ็นเอ็น ===
=== ความร่วมมือกับซีเอ็นเอ็น ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:55, 22 กรกฎาคม 2563

สปริงนิวส์
ไฟล์:Spring News 2017 Logo.png
ประเทศประเทศไทย
พื้นที่แพร่ภาพประเทศไทย
เครือข่ายสำนักข่าวออนไลน์ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ
คำขวัญข่าวจริงสปริงนิวส์ ทันเหตุการณ์ เห็นอนาคต
สำนักงานใหญ่1858/127-128, ถนนเทพรัตน, แขวงบางนาใต้, เขตบางนา, กรุงเทพฯ 10260
แบบรายการ
ภาษาไทย
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของบริษัท เนชั่น ดิจิตอล คอนเท้นท์ จำกัด
ช่องรองกรุงเทพธุรกิจ
เนชั่นทีวี
คมชัดลึก
ฐานเศรษฐกิจ
NationThailand
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ5 มีนาคม พ.ศ. 2553 (14 ปี)
ยุติออกอากาศ15 สิงหาคม 2562 (9 ปี 163 วัน)
ลิงก์
เว็บไซต์[1]
ออกอากาศ
สื่อสตรีมมิง
SpringNews[2]

สปริงนิวส์ออนไลน์ อังกฤษ: Spring News จากสถานีโทรทัศน์ดิจิตอล ปรับตัวสู่สำนักข่าวออนไลน์ ภายใต้เว็บไซต์ www.springnews.co.th และโซเชียลมีเดียช่องทางต่างๆ หลังจากบริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด (หมายเลขช่อง 19 หรือช่อง Spring News) ได้คืนใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์กับทางกสทช. ออกอากาศวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2562 และยุติการออกอากาศในเช้าวันที่ 16 ส.ค. 2562 เวลา 00.01 น. ค่าชดเชยก่อนหักเงินค้างชำระงวดที่จำนวน 500,951,978.91 บาท ยอดค้างชำระงวด 4 ไม่มี จำนวนเงินค่าชดเชยสุทธิ 500,951,978.91 บาท

สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ อังกฤษ: Spring News เป็นสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล ออกอากาศผ่านโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ช่อง 19 โดยมีชื่อเต็มว่า บริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริหารงานโดยคุณอารักษ์ ราษฎร์บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และถือหุ้นอยู่ร้อยละ 99.99

สปริงนิวส์ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ผ่านโครงข่ายดาวเทียม หลังประมูลทีวีดิจิทัลมาด้วยราคา 1,318 ล้านบาท เริ่มออกอากาศ ช่องสปริงนิวส์ 19 วันที่ 25 เมษายน 2557 และยุติการออกอากาศ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ออกอากาศในระบบทีวีดิจิทัล ทำรายได้รวม 919 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.018 ในปี 2557 และต่ำสุด 0.020 ปี 2561[1]

ประวัติ

สปริงนิวส์ ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นวันที่จดทะเบียนบริษัท เริ่มทดลองแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553 และได้มีการเปิดตัวสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมสปริงนิวส์เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ที่โรงแรมเรเนซองส์ สี่แยกราชประสงค์ ในช่วงทดลองออกอากาศ สปริงนิวส์ได้ออกอากาศตั้งแต่เวลา 9.00 น. ถึง 24.00 น. จากนั้นได้ขยายมาเป็น 24 ชั่วโมงในเวลาต่อมา มีสำนักงานอยู่ที่ชั้น 11 อาคารไอที สแควร์ หลักสี่ ถนนวิภาวดีรังสิต

หลังการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมสปริงนิวส์ ได้ย้ายที่ทำการไปยังอาคารเล้าเป้งง้วน 1 ชั้น 11 ซอยเฉยพ่วง ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 มาตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และได้มีการปรับผังรายการตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และช่วงกลางปี 2554 ข่าวทุกช่วงได้ปรับมาใช้ชื่อ "ข่าวจริง สปริงนิวส์" โดยมีการบอกเวลาในไตเติลข่าวอีกด้วยสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมสมชายสมตุ๊ดไอดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดนัยบ้า

ความร่วมมือกับซีเอ็นเอ็น

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 สปริงนิวส์ได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับซีเอ็นเอ็น ในการนำเสนอเนื้อหารายการจากทางซีเอ็นเอ็นไอรวมถึงการจัดการฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ของสปริงนิวส์เอง ระนาบเดียวกันสปริงนิวส์ได้เปิดตัวอัตลักษณ์ใหม่ รวมถึงกราฟิกหน้าจอที่ถอดรูปแบบมาจากซีเอ็นเอ็น โดยกราฟิกแบบนี้เริ่มใช้ครั้งแรกในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560[2]

การปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการและความร่วมมือกับทีวี ไดเร็ค

ในช่วงกลางปี 2561 สปริงนิวส์ ได้ปรับรูปแบบออกอากาศใหม่ โดยสปริงนิวส์ได้ปรับเปลี่ยนจากสถานีโทรทัศน์มาเป็นผู้ผลิตรายการเพื่อผลิตรายการข่าวต่างๆ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ ทีวีดิจิทัล ช่อง 19 รวมถึงสปริง 26 (ในตอนนั้นใช้ชื่อนาว 26) และเนชั่นทีวี ช่อง 22 ในชื่อเครื่องหมายการค้าสปริงนิวส์ เน็ตเวิร์ค (อังกฤษ: Spring News Network) จนถึงปัจจุบัน รวมถึงได้มีความร่วมมือกับ บริษัท ทีวีไดเร็ค จำกัด (มหาชน) ในการออกอากาศรายการแนะนำสินค้าจากทีวีไดเร็ควันละ 18 ชั่วโมง

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 ทีวีไดเร็คเข้าซื้อหุ้นของสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ร้อยละ 90.10[3] ภายหลังได้ยุติการลงทุนในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเตรียมออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ส่งผลให้เกิดการเจรจาระหว่างกันภายใต้เงื่อนไขใหม่ ซึ่งยังไม่สามารถหาข้อสรุป[4]

การขอคืนใบอนุญาต

สปริงนิวส์ ได้ขอคืนใบอนุญาตที่มีการแจ้งความประสงค์เพื่อขอคืนใบอนุญาตแล้ว เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2562 คณะอนุกรรมการเยียวยาฯ เพื่อพิจารณาเรื่องแผนเยียวยาผู้บริโภคและการเยียวยาพนักงานของช่องสปริง 26 และสปริงนิวส์ มีมติให้ช่องสปริงนิวส์ ยุติการออกอากาศในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562[5] โดยหลังจากการยุติออกอากาศ สปริงนิวส์ยังคงเผยแพร่เนื้อหาผ่านทางช่องทางออนไลน์

สปริงนิวส์ได้ยุติการผลิตรายการข่าวทางโทรทัศน์ที่ออกอากาศคู่ขนานทางสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ ช่อง 19 และสถานีโทรทัศน์สปริง 26 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ก่อนการยุติการออกอากาศในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562 และได้นำรายการสารคดีและรายการที่ให้ความรู้มาแทนรายการข่าวที่เคยออกอากาศ รวมถึงได้เปลี่ยนมาออกอากาศรายการข่าวสั้นจากเนชั่นทีวี แทนที่รายการข่าวสั้นที่เคยผลิตโดยสปริงนิวส์ โดยกองบรรณธิการยังคงทำการผลิตข่าว สาระ ข้อมูล ความรู้ บนโลกดิจิตอลผ่านทางเว็บไซต์ www.springnews.co.th

อดีตผู้ประกาศข่าวและผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์

  • ชัยรัตน์ ถมยา (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • วิลาสินี แวน ฮาเรน (ปัจจุบันอยู่ช่องเนชั่นทีวี)
  • สุตา สุธีพิเชฐภัณฑ์ (ปัจจุบันอยู่ช่องพีพีทีวีและทีเอ็นเอ็น 16)
  • ปวีณา ปทุมานนท์ (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • ชุมานันท์ วิเชียรศรี (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • อุษณี ธนากรเมธา (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • ธนภัทร ติรางกูล (ปัจจุบันอยู่ช่องเวิร์คพอยท์)
  • อาณัติ สนิทสุริวงค์ (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • พิชาญพงศ์ วงศ์ศรีแก้ว (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • ภัทรพล นิธิวรพล (ปัจจุบันอยู่ช่อง 8)
  • ภัทรี ภัทรโสภสกุล (ปัจจุบันอยู่PPTV)
  • ศศิพงษ์ ชาติพจน์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 8)
  • เกศปรียา แก้วแสนเมือง (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกพรรคเพื่อชาติ)
  • จิรนันท์ พรหมมาตร์ (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • ธันย์ชนก จงยศยิ่ง (ปัจจุบันอยู่ช่องทีเอ็นเอ็น16)
  • เกศินี สุวรรณชีวะศิริ (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • นิธิพงศ์ พฤฒิพานิช (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • พงษกร หงษ์จันทร์ (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • จอม เพชรประดับ (ปัจจุบันลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศและทำรายการผ่านยูทูบในชื่อ "เสียงไทยเพื่อเสรีภาพของคนไทย (jom voice)")
  • ธีระ ธัญญอนันต์ผล (ปัจจุบันอยู่ช่อง8)
  • ชนิตร์นันทน์ ปุณณะนิธิ (ปัจจุบันอยู่ช่อง8)
  • วรวีร์ วูวนิช (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • พิชาญพงศ์ วงศ์ศรีแก้ว (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • กาญจนา ปลื้มจิตต์ (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • รัชนีวรรณ ดวงแก้ว (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • จตุพร สุวรรณรัตน์ (ปัจจุบันอยู่ช่องพีพีทีวี)
  • บุญเลิศ มโนสุจริตชน (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • อนุรักษ์ ทรัพย์เพ็ง (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • อภิวัฒน์ บุราคร (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • ธนากร ริตุ (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • กรรณิการ์ เมืองชู (ปัจจุบันอยู่อมรินทร์ทีวี)
  • อรชุน รินทรวิฑูรย์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 เอชดีและTCNN Networks)
  • เกสรา บัวลอย (ปัจจุบันอยู่ช่อง 8)
  • ศุภโชค โอภาสะคุณ (ปัจจุบันอยู่ช่องอมรินทร์ทีวี)
  • อนนท์ น้อยพิทักษ์ (ปัจจุบันอยู่ช่องอมรินทร์ทีวี)
  • ตะวันรุ่ง เตี๋ยประดิษฐ์ (ปัจจุบันอยู่ช่องนิว 18)
  • ธรรมมิก โชติช่วง (ปัจจุบันอยู่ช่องวัน 31)
  • ปิยลักษณ์ รักประทานพร (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • อุบลรัตน์ เถาว์น้อย (ปัจจุบันอยู่ช่องเนชั่นทีวี)
  • พัชระ สารพิมพา (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • ประชาไท ธนณรงค์ (ปัจจุบันอยู่ช่องเนชั่นทีวี)
  • ผกามาศ สหดิษฐกุล (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • จุฑารัตน์ เอี่ยมอำพันธ์ (ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี)
  • ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ (ปัจจุบันร่วมงานกับ บจก. อัปลิงก์มีเดีย (รายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand)
  • อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ (ปัจจุบันร่วมงานกับ บจก. อัปลิงก์มีเดีย (รายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand)และทีเอ็นเอ็น 16
  • มลฤดี ตันนุกูลกิจ (ปัจจุบันอยู่ช่องไทยรัฐทีวี)
  • ณัฐชา ทองย้อย (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • ตรีภพ หวังวรรณะกิจ (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • ปิยะฉัตร กรุณานนท์ (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • วิเทศ วงศ์ศรีแก้ว (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • ประจักษ์ มะวงษ์สา (ปัจจุบันอยู่New18)
  • รุ่งโรจน์ ลุ้ยประเสริฐ (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • สมสกุล ชมชื่น (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • กาญจนา นิตย์เมธา (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • ระวี ตะวันธรงค์ (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
  • สุรพัศ จารุมณี (ปัจจุบันอยู่ทีสปอร์ตแชนแนล และเป็นพิธีกรรายการมวยอิสระทางช่องต่างๆ)

อ้างอิง

  1. "ปิดฉาก "7 ช่อง" ทีวีดิจิทัล บนเส้นทางวิบาก ย้อนดูผลงาน 5 ปี "เรตติ้ง" ดิ่ง ขาดทุนอ่วม". โพซิชันนิงแมก. 15 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. “สปริงนิวส์” ผนึก CNN ขยายฐานสถานีข่าว มั่นใจรายได้ปี 60 ก้าวกระโดด 200%
  3. เทคโอเวอร์! ทีวีไดเร็คเข้าซื้อหุ้นสปริงนิวส์ 90.10% มูลค่า 949.22 ล้านบาท ผ่อน 124 เดือน
  4. ล้มดีล! TV Direct ประกาศยุติเข้าลงทุนในช่อง Spring News
  5. ช่อง Spring 26 – Spring News 19 จอดำ 15 ส.ค.นี้

แหล่งข้อมูลอื่น