ผู้ใช้:Kattie Katey/พายุหมุนเขตร้อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไต้ฝุ่น 3 ลูก ขณะที่กำลังเคลื่อนตัวอยู่เหนือมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 พายุไต้ฝุ่นมาเรีย (ด้านขวาล่าง) พายุโซนร้อนกำลังแรงบบพา (ด้านซ้าย) และพายุไต้ฝุ่นซาวมาย (ด้านขวาบน)

พายุไต้ฝุ่น เป็นพายุหมุนเขตร้อนความเร็วลมสูงสุด ซึ่งก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา ถึงเส้นเมริเดียนที่ 100 องศาตะวันออก ซึ่งภูมิภาคนี้ถูกตั้งชื่อว่า "แอ่งแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ" สำหรับจุดประสงค์เกี่ยวกับองค์กร มหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือถูกแบ่งออกเป็น 3 เขต ได้แก่ ทางตะวันออก (ทวีปอเมริกาเหนือจนถึงเส้นเมริเดียนที่ 140 องศาตะวันตก) ตอนกลาง (เส้นเมริเดียนที่ 140 องศาตะวันตก ถึงเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา) และทางตะวันตก (เส้นเมริเดียนที่ 180 องศา ถึงเส้นเมริเดียนที่ 100 องศาตะวันออก) ปรากฏการณ์พายุแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือทางตะวันออกจะถูกเรียกว่า พายุเฮอร์ริเคน และพายุหมุนเขตร้อนที่กำลังเคลื่อนตัวไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกจะถูกเรียกว่า พายุไต้ฝุ่น ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) ซึ่งมีหน้าที่พยากรณ์การเกิดพายุหมุนเขตร้อนตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น และศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนอื่น ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งอยู่ในโฮโนลูลู คือ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ประเทศฟิลิปปินส์ และฮ่องกง ขณะที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) ได้ตั้งชื่อในแต่ละระบบ และตัวรายชื่อหลักนั้นเป็นความร่วมมือกันระหว่าง 18 ประเทศ รวมทั้งสหรัฐ ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นทุกปี

ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ พายุไต้ฝุ่นไม่มีการกำหนดฤดูกาลอย่างเป็นทางการเพราะพายุไต้ฝุ่นก่อตัวขึ้นตลอดทั้งปี เช่นเดียวกับพายุหมุนเขตร้อนทั่วไป ปัจจัยที่ทำให้พายุไต้ฝุ่นก่อตัว และมีความเร็วเพิ่มขึ้นนั้นมี 6 ประการ ได้แก่ อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อุ่นเพียงพอ ความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ ระดับความชื้นสัมพัทธ์สูงในชั้นโทรโพสเฟียร์ระดับล่างถึงระดับกลาง แรงโคริโอลิสที่มากพอที่จะสร้างศูนย์ความดันอากาศต่ำ การรบกวนหรือจุดรวมระดับต่ำที่มีอยู่แล้ว และการเปลี่ยนแปลงความเร็วลมหรือทิศทางของลมในระยะสั้น ๆ[1] พายุไต้ฝุ่นส่วนมากก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายน และเดือนพฤศจิกายน ขณะที่พายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นอย่างน้อยก็ระหว่างเดือนธันวาคม และเดือนพฤษภาคม โดยเฉลี่ยแล้ว มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนบ่อยครั้งที่สุด และรุนแรงที่สุดในโลก เช่น เดียวกับแอ่งอื่น ๆ พายุจะถูกนำทางโดยสันความกดอากาศสูงเหนือเขตร้อนไปทางทิศตะวันตกหรือทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และมีบางลูกที่ย้อนกลับมาใกล้ทางทิศตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการพัดขึ้นฝั่ง ประเทศจีนหรือประเทศญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยกว่าบ้าง พายุไต้ฝุ่นที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ได้พัดเข้าถล่มประเทศจีน ทางตอนใต้ของประเทศจีนมีการบันทึกผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นที่ยาวนานที่สุด ซึ่งสามารถย้อนหลังไปได้นับ 1,000 ปี ผ่านเอกสารในหอจดหมายเหตุ ประเทศไต้หวันเคยประสบกับพายุไต้ฝุ่นที่มีฝนตกหนักมากที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมาในแอ่งพายุหมุนเขตร้อนแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ

พายุหมุนเขตร้อนรายชื่อประเทศไทย[แก้]

ภาพรวมฤดูกาล[แก้]

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[แก้]

พายุไต้ฝุ่นทุเรียนพายุไต้ฝุ่นนิดา (พ.ศ. 2552)พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553)พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (พ.ศ. 2562)พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2559)พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550)พายุไต้ฝุ่นมังคุดพายุไต้ฝุ่นขนุน (พ.ศ. 2548)พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547)พายุไต้ฝุ่นอัสนี (พ.ศ. 2558)พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุน (พ.ศ. 2555)พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557)พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545)พายุไต้ฝุ่นนิดา (พ.ศ. 2547)พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2551)
มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (คณะกรรมการไต้ฝุ่น)
  พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (118–156 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (157–193 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (≥194 กม./ชม.)

พายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นภายในซีกโลกเหนือ ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาถึงเส้นเมริเดียนที่ 100 องศาตะวันออก จะถูกติดตามอย่างเป็นทางการโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA, RSMC) ภายในภูมิภาคนี้พายุหมุนเขตร้อนจะถูกนิยามเป็นการเริ่มขึ้นของพายุหมุนในระดับภูมิภาคแบบไม่มีหน้าปะทะอากาศเหนือทะเลเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน ซึ่งมีการจัดระบบการพาความร้อนและมีการไหลเวียนลมพื้นผิวแบบพายุหมุนอย่างแน่นอน การจัดความรุนแรงขั้นต่ำที่สุดที่ใช้โดยคณะกรรมการไต้ฝุ่น คือ พายุดีเปรสชันเขตร้อน ด้วยความเร็วลมต่อเนื่อง 10 นาที อย่างน้อย 33 นอต (61 กม./ชม. หรือ 17 ม./ว. หรือ 38 ไมล์/ชม.) ถ้าหากพายุดีเปรสชันเขตร้อนนั้นทวีกำลังแรงขึ้น โดยมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 33–47 นอต (61–87 กม./ชม. หรือ 17–24 ม./ว. หรือ 38–54 ไมล์/ชม.) พายุนั้นจะได้รับการตั้งชื่อและถูกจัดความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อน ถ้าหากระบบยังทวีกำลังแรงต่อไปอีก โดยมีความเร็วลมอยู่ระหว่าง 48–63 นอต (89–117 กม./ชม. หรือ 25–32 ม./ว. หรือ 55–72 ไมล์/ชม.) พายุนั้นจะถูกจัดความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ส่วนการจัดระดับความรุนแรงที่สูงที่สุดตามมาตราของคณะกรรมการไต้ฝุ่น คือ พายุไต้ฝุ่น โดยพายุจะต้องมีความเร็วลมมากกว่า 64 นอต (119 กม./ชม. หรือ 33 ม./ว. หรือ 74 ไมล์/ชม.)[nb 1]

มาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน[แก้]

พายุไต้ฝุ่นทุเรียนพายุไต้ฝุ่นนิดา (พ.ศ. 2552)พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553)พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (พ.ศ. 2562)พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2559)พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550)พายุไต้ฝุ่นมังคุดพายุไต้ฝุ่นขนุน (พ.ศ. 2548)พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547)พายุไต้ฝุ่นอัสนี (พ.ศ. 2558)พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุน (พ.ศ. 2555)พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557)พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545)พายุไต้ฝุ่นนิดา (พ.ศ. 2547)พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2551)
มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก (SSHWS)
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)

พายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นภายในซีกโลกเหนือ ทางด้านตะวันออกของเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา จะถูกติดตามอย่างเป็นทางการโดยศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติหรือศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลาง ภายในภูมิภาคนี้ พายุหมุนเขตร้อนถูกนิยามว่าเป็นแกนอากาศที่อบอุ่น การแปรปรวนในระดับภูมิภาคแบบไม่มีหน้าปะทะอากาศก่อตัวขึ้นเหนือทะเลในเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน โดยมีการจัดระบบการพาความร้อนในชั้นบรรยากาศ และมีศูนย์กลางการหมุนเวียนที่เหมาะสม ในภูมิภาคนี้ยังนิยามพายุหมุนกึ่งเขตร้อนด้วยว่าเป็น การแปรปรวนของหย่อมความกดอากาศต่ำแบบไม่มีหน้าปะทะอากาศ ซึ่งมีคุณลักษณะเป็นทั้งแบบพายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนนอกเขตร้อน โดยเมื่อใดก็ตามที่พายุควรจะได้รับการจัดความรุนแรงตามหมวดเหล่านี้ จะมีการเริ่มออกคำแนะนำ และศูนย์เตือนภัยจะจัดความรุนแรงระบบในฐานะพายุดีเปรสชันเขตร้อน หรือพายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อนอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อความเร็วลมต่อเนื่องในหนึ่งนาทีอยู่ที่ประมาณหรืออย่างน้อย 33 นอต (62 กม./ชม. หรือ 38 ไมล์/ชม)[nb 2]

พายุไต้ฝุ่นรามสูร[แก้]

0802 (JMA)・03W (JTWC)・บุตโชย (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 7 พฤษภาคม – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นรามสูร

พายุไต้ฝุ่นรามสูร (อักษรโรมัน: Rammasun)[nb 3] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นบุตโชย (ตากาล็อก: Butchoy)[nb 4] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีขนาดใหญ่ และมีความรุนแรงที่สุดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2551 พายุไต้ฝุ่นรามสูรเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 5, พายุโซนร้อนลูกที่ 2 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 2 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2551 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เนื่องมาจากสภาพอากาศที่กำลังแปรปรวนในเขตร้อนชื้น และในวันรุ่งขึ้นพายุก็เริ่มมีการก่อตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พายุโซนร้อนรามสูรได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ พายุไต้ฝุ่นรามสูรมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 5] และด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งทำให้พายุไต้ฝุ่นรามสูรกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน หลังจากนั้นพายุก็ได้อ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในวันที่ 12 พฤษภาคม ก่อนที่จะเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และจนกระทั่งหลายชั่วโมงต่อมาพายุก็ได้สลายไปทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในโลกผูกกับพายุไต้ฝุ่นชังมีในปี พ.ศ. 2551 อีกด้วย

พายุไต้ฝุ่นรามสูรมีความรุนแรงมากกว่าพายุไซโคลนนาร์กิสนั้นไม่ใช่เรื่องปกติ[4] แม้ว่าพายุจะไม่เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งโดยตรง แต่คลื่นพายุชั้นนอกทำให้มีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 2 ราย ในตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมีการรายงานน้ำท่วม และดินถล่มอีกด้วย พายุยังส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่นด้วยคลื่นลมแรง

หางจากพายุไต้ฝุ่นรามสูรที่พัดถล่มประเทศฟิลิปปินส์ในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวพัดผ่านทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ลมแรงที่เกิดจากพายุได้ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่ออาคารบางแห่ง และต้นไม้จำนวนมากโค่นล้มลง ความเสียหายที่เกิดจากพายุทอร์นาโด แต่ไม่มีคำอธิบายสำหรับความเป็นไปได้นี้ และได้เกิดความเสียหายรวมประมาณ 11 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (214,109 ดอลลาร์สหรัฐ) พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 10 เฮกตาร์ ได้รับความเสียหายในประเทศญี่ปุ่น โดยรวมแล้ว พายุไต้ฝุ่นรามสูรได้คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 4 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกประมาณ 40 ราย และมูลค่าความเสียหายโดยรวมประมาณ 9.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 6] ทั้งในประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศญี่ปุ่น

พายุไต้ฝุ่นนิดา[แก้]

0402 (JMA)・04W (JTWC)・ดินโด (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 13 พฤษภาคม – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นนิดา

พายุไต้ฝุ่นนิดา (อักษรโรมัน: Nida)[nb 7] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นดินโด (ตากาล็อก: Dindo)[nb 8] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดเป็นอันดับสามรองจากพายุไต้ฝุ่นเตี้ยนหมู่ และพายุไต้ฝุ่นชบา และเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดต่อทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์นับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นเซ็บในปี พ.ศ. 2541 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 อยู่ทางตะวันออกของประเทศปาเลา หลังจากนั้นพายุก็เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างช้า ๆ และกลายเป็นพายุโซนร้อนเมื่อเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พายุโซนร้อนนิดาได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น และเผยให้เห็นตาพายุที่กำลังปรากฏขึ้น พายุไต้ฝุ่นนิดามีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (125 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 9] และความกดอากาศที่ 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วของปรอท) หลังจากนั้นพายุก็เริ่มเปลี่ยนทิศทางไปทางทิศเหนือมากขึ้นเมื่อเคลื่อนตัวผ่านจังหวัดคาตันดัวเนส และอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้นพายุโซนร้อนนิดาก็ได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และพายุสลายไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น

การกระจายความรุนแรงของลมกับฝนในแนวนอนจากพายุไต้ฝุ่นนิดา อัตราน้ำฝนในบริเวณกึ่งกลางมาจากเรดาร์วัดปริมาณน้ำฝนในเขตร้อนชื้นในขณะที่อัตราน้ำฝนในเขตรอบนอกมาจากเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนแบบภาพไมโครเวฟ อัตราน้ำฝนซ้อนทับบนข้อมูลอินฟราเรดจากเครื่องสแกนแบบมองเห็น และอินฟราเรด ภารกิจวัดปริมาณน้ำฝนในเขตร้อนแสดงให้เห็นว่าพายุยังคงก่อตัวขึ้นอยู่เรื่อย ๆ โดยยังไม่มีหลักฐานใด ๆ เพราะยังเป็นแค่พายุโซนร้อน และอัตราน้ำฝนระดับปานกลางส่วนใหญ่อยู่ใกล้ศูนย์กลางของพายุ หลักจากนั้นพายุไต้ฝุ่นนิดาก็จัดระเบียบได้ดีขึ้น และมีแถบคาดมากขึ้นในทุ่งฝน แม้ว่าตาพายุจะยังสมบูรณ์ได้ไม่ดีก็ตาม ศูนย์กลางของพายุลูกนี้น่าจะแสดงผลของการถูกรบกวนโดยภูมิประเทศเมื่อพายุเคลื่อนตัวผ่านจังหวัดคาตันดัวเนส และเครื่องสร้างภาพไมโครเวฟแสดงให้เห็นตาพายุที่มีรูปร่างเกือบสมบูรณ์พร้อมบริเวณที่มีฝนตกหนัก[5]

พายุไต้ฝุ่นนิดาทำให้เกิดน้ำท่วม และดินถล่มในเขตบีโคลของเกาะลูซอน จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 ราย และมีผู้อพยพประมาณ 1,000 คน ขณะที่พายุอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ก่อนที่จะเคลื่อนตัวไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น[6] โดยรวมแล้ว มีผู้เสียชีวิตประมาณ 31 ราย และเกิดความเสียหายประมาณ 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 10]

พายุไต้ฝุ่นรามสูร[แก้]

0205 (JMA)・09W (JTWC)・โฟลรีตา (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 28 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
930 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.46 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นรามสูร

พายุไต้ฝุ่นรามสูร (อักษรโรมัน: Rammasun)[nb 11] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุไต้ฝุ่นโฟลรีตา (ตากาล็อก: Florita)[nb 12] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีส่วนทำให้เกิดฝนตกหนัก และน้ำท่วมร้ายแรงในประเทศฟิลิปปินส์ พายุไต้ฝุ่นรามสูรเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 11, พายุโซนร้อนลูกที่ 5 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 3 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ในช่วงเวลาเดียวกันกับพายุไต้ฝุ่นชาทาอานห่างไกลออกไปทางทิศตะวันตก พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อน และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเพื่อมุ่งหน้าสู่ประเทศไต้หวัน พายุไต้ฝุ่นรามสูรมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 165 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (105 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 13] และความกดอากาศที่ 930 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.46 นิ้วของปรอท) ในวันที่ 2 กรกฎาคม หลังจากนั้นพายุไต้ฝุ่นรามสูรก็เริ่มเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือผ่านทางตะวันออกของประเทศไต้หวัน และประเทศจีน พายุเริ่มอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน เนื่องจากร่องน้ำกำลังเคลื่อนตัวเข้าหากัน ซึ่งทำให้พายุเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของมิยาโกจิมะ และทางตะวันตกของจังหวัดเชจู ฝนตกหนักจากพายุหมุนนอกเขตร้อนที่ส่งผลกระทบต่อประเทศเกาหลีเหนือ และดินแดนปรีมอร์เยในรัสเซียตะวันออกไกล[7]

การวิเคราะห์โครงสร้างจลนพลศาสตร์เคมี และอุณหพลศาสตร์ของพายุไต้ฝุ่นรามสูรอยู่ทางทิศเหนือในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือโดยใช้หน่วยเสียงไมโครเวฟขั้นสูง การดูดซึมข้อมูลรูปแบบสามมิติใช้ในการสังเกตโดยดาวเทียมของโนอา และผลการวิจัยได้พบว่าลักษณะโครงสร้างของพายุสามารถอธิบายได้อย่างสมเหตุสมผลมากขึ้นจากข้อมูลที่หลอมรวมเข้าด้วยกัน เช่น การไหลเวียนศูนย์กลางของพายุ และปริมาณน้ำฝนได้รับการพัฒนามากขึ้น เป็นต้น[8]

สายฝนชั้นนอกกำแพงตาของพายุไต้ฝุ่นรามสูรได้ลดปริมาณน้ำฝน ซึ่งช่วยบรรเทาความแห้งแล้งในประเทศจีนได้ แม้ว่าจะมีความเสียหายน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ และจังหวัดแห่งหนึ่งในมณฑลเจ้อเจียงได้รับความเสียหายประมาณ 85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากส่งผลกระทบต่อประเทศไต้หวัน และประเทศจีน บ้านเรือนในจังหวัดโอกินาวะประมาณ 10,000 หลัง ได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับจากลมแรง พืชผลได้รับความเสียหายเล็กน้อย มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 1 ราย และคลื่นสูงซัดเรือล่มทำให้มีลูกเรือเสียชีวิตประมาณ 2 ราย ในประเทศญี่ปุ่น หลังจากพายุเคลื่อนตัวผ่านไปทางตะวันตกของจังหวัดเชจู จึงทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย และเกิดความเสียหายประมาณ 12.8 พันล้านวอน (9.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[9] ความเสียหายโดยรวมประมาณ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 14]

พายุไต้ฝุ่นรามสูร[แก้]

1409 (JMA)・09W (JTWC)・เกลนดา (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 9 กรกฎาคม – 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นรามสูร

พายุไต้ฝุ่นรามสูร (อักษรโรมัน: Rammasun) หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นเกลนดา (ตากาล็อก: Glenda) เป็นพายุหมุนเขตร้อนหนึ่งในสามพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ที่มีการบันทึกไว้ในทะเลจีนใต้ และอีกลูก คือ พายุไต้ฝุ่นแพเมลาในปี พ.ศ. 2497 และพายุไต้ฝุ่นราอีในปี พ.ศ. 2564 พายุไต้ฝุ่นรามสูรส่งผลกระทบทำลายล้างทั่วประเทศฟิลิปปินส์ ตอนใต้ของประเทศจีน และประเทศเวียดนาม ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557[10] หลังจากพายุโซนร้อนเหล่งเหล่ง และพายุโซนร้อนคาจิกิ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2557 พายุไต้ฝุ่นรามสูรกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกที่ 3 และพายุไต้ฝุ่นลูกแรกที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2557 เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 12, พายุโซนร้อนลูกที่ 9 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 3 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2557 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำในเขตร่องมรสุมใกล้กับเส้นศูนย์สูตรที่ลมค้าตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันออกเฉียงใต้พัดมารวมกัน และค่อย ๆ เคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือ หลังจากผ่านประเทศไมโครนีเชียพายุเคลื่อนตัวหันไปทางทิศตะวันตก และเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วภายใต้อิทธิพลของละติจูดม้า พายุไต้ฝุ่นรามสูรเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อเกาะลูซอนของประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องจากคาดว่าจะถึงระดับความรุนแรงของระดับพายุไต้ฝุ่นก่อนที่จะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่ง แม้ในขั้นต้นคาดการณ์ว่าพายุจะพัดขึ้นฝั่งในเขตลัมบักนางคากายันตามเส้นทางตะวันตก และต่อมาได้มีการคาดการณ์ว่าพายุจะพัดขึ้นฝั่งในเขตบีโคล จากนั้นผ่านเข้าทางจังหวัดบาตาอัน และจังหวัดซัมบาเลส ก่อนจะพัดผ่านเมโทรมะนิลา ตามลำดับ[11]

ในการเตรียมพร้อมสำหรับพายุผู้ว่าการกวม เอ็ดดี้ บาซา คาลโว ประกาศเกาะนี้ในคำเตือนพายุหมุนเขตร้อนระดับสีเหลือง[12] และต่อมาได้ยกระดับเป็นคำเตือนระดับสีแดง เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ดาวเทียมของนาซาเปิดเผยว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อนผ่านโดยตรงเหนือกวม[13] บริการสภาพอากาศแห่งชาติระบุว่าลมเฉือนที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิดทำให้พายุยังไม่รุนแรงขึ้นอีกมากก่อนที่จะถึงกวม พายุดีเปรสชันเขตร้อนสร้างแผ่นดินถล่มบนกวม โดยมีลมอ่อนกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก อย่างไรก็ตาม ภายใต้พายุ กวมได้รับปริมาณน้ำฝนมาก ทำให้วันนั้นฝนตกชุกที่สุดในรอบ 3 เดือน ในดินแดนของสหรัฐได้รับฝน 50 มิลลิเมตร (2 นิ้ว) เช่นเดียวกับประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศไต้หวัน ก็คาดหวังผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นรามสูรด้วย คาดว่ามีฝนปานกลางถึงหนักเกือบทั่วประเทศ[14] นักอุตุนิยมวิทยาจีนกำลังมุ่งความสนใจไปที่มณฑลไหหลำของประเทศจีน และประเทศเวียดนาม ผู้อยู่อาศัยในฮ่องกงได้รับคำเตือนถึงปริมาณน้ำฝน และดินถล่มที่ตามมา

ภายหลังการปิดท่าเรือทางทะเล มีรายงานว่าผู้โดยสารมากกว่า 100 คน ติดอยู่ที่ท่าเรือนานาชาติบาตังกัสพร้อมกับสินค้าอีก 39 ลำ ในขณะเดียวกัน ผู้โดยสารอย่างน้อย 841 คน ติดอยู่ที่ท่าเรือ 5 แห่ง ในเขตบีโคล ได้แก่ มัตนอก ทาบาโก บุหลัน คาตางัน และปิลาร์ เป็นต้น[15] รวม 50 เที่ยวบิน ถูกยกเลิก และ 100,000 ครอบครัว ถูกอพยพเมื่อพายุไต้ฝุ่นรามสูรใกล้แผ่นดิน[16] กรมอนามัยฟิลิปปินส์กล่าวว่าได้เตรียมโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งเพื่อช่วยเหลือกระบวนการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์[17] เมืองในจังหวัดอัลไบได้ประกาศภาวะภัยพิบัติ[18] ส่วนต่าง ๆ ของเขตเมืองหลวงแห่งชาติรายงานว่าไฟฟ้าดับระหว่างเกิดพายุไต้ฝุ่นรามสูร[19] และประชาชนอย่างน้อย 6,000 คน ติดอยู่ที่ท่าเรือต่าง ๆ ทั่วประเทศเนื่องจากพายุ ความเสียหายโดยรวมประมาณ 8.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 15]

พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุน[แก้]

1207 (JMA)・08W (JTWC)・เอนเตง (PAGASA)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 14 กรกฎาคม – 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุโซนร้อนกำลังแรงขนุน

พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุน (อักษรโรมัน: Khanun)[nb 16] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุโซนร้อนเอนเตง (ตากาล็อก: Enteng)[nb 17] เป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศเกาหลีในรอบ 2 ปี ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกวม กลุ่มพายุฝนฟ้าคะนองขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับระดับต่ำสุดในทางตอนบนที่ทำให้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำที่มีกำลังแรงเล็กน้อย แกนลมเย็นแยกออกจากข้างล่างแกนอบอุ่นต่ำ และการพาความร้อนของแกนอบอุ่นต่ำเริ่มก่อตัวขึ้น จึงทำให้พายุทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุโซนร้อนกำลังแรงในวันรุ่งขึ้น เนื่องจากศูนย์กลางของพายุกำลังเคลื่อนตัวผ่านโอกิโนเอราบูจิมะทำให้พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุนอ่อนกำลังลงกลายเป็นพายุโซนร้อน ก่อนที่จะเคลื่อนตัวผ่านจังหวัดเชจู พายุอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนใกล้เขตปลอดทหารเกาหลีในช่วงเช้าของวันที่ 19 กรกฎาคม และกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนในวันเดียวกัน[20]

พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุนได้คร่าชีวิตผู้คนอย่างน้อย 1 ราย ในประเทศเกาหลีใต้ ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวอยู่ในประเทศเกาหลีเหนือ สื่อของรัฐได้รายงานว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 ราย ในจังหวัดคังว็อน และมีรายงานผู้เสียชีวิตรายที่ 8 ซึ่งอยู่ที่อื่น ๆ พายุลูกนี้ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก เช่น บ้านเรือนประมาณ 650 หลัง อาคารสาธารณะ 30 แห่ง ทางรถไฟ ถนน สะพาน และระบบต่าง ๆ ได้รับความเสียหาย น้ำท่วมบ้านเรือนประมาณ 3,870 หลัง ส่งผลให้ผู้คนประมาณ 16,250 คน ไร้ที่อยู่อาศัย[21]

รัฐบาลประเทศเกาหลีเหนือได้รายงานเพิ่มจำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ 88 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกประมาณ 134 ราย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม การสูญเสียชีวิตครั้งใหญ่ที่สุด คือ จังหวัดพย็องอันใต้ น้ำท่วมครั้งนี้ทำให้ประชาชนอย่างน้อย 63,000 คน ไร้ที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 30,000 เฮกตาร์ จมอยู่ใต้น้ำ อาคารสาธารณะประมาณ 300 แห่ง และโรงงาน 60 แห่ง ได้รับความเสียหายระหว่างเกิดพายุ[22] ความเสียหายโดยรวมประมาณ 11.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 18]

พายุไต้ฝุ่นอัสนี[แก้]

1516 (JMA)・17W (JTWC)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 14 สิงหาคม – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นอัสนี

พายุไต้ฝุ่นอัสนี (อักษรโรมัน: Atsani)[nb 19] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดเป็นอันดับสองรองจากพายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์ และเป็นพายุลูกที่สิบหกในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2558 พายุไต้ฝุ่นอัสนีเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 23, พายุโซนร้อนลูกที่ 16 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 10 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558[23] ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อตัวขึ้นทางเหนือของเอเนเวตัก และทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเวก ต่อมาหย่อมความกดอากาศต่ำก็ได้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน เนื่องจากสภาพอากาศที่มีความแปรปรวนเป็นอย่างมาก พายุก็ได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และถึงสถานะพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นในวันที่ 19 สิงหาคม ตามระบบเตือนภัย และประสานงานภัยพิบัติทั่วโลก พายุไต้ฝุ่นอัสนีมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) หรือมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน หลังจากนั้นไม่นานพายุไต้ฝุ่นอัสนีก็เริ่มอ่อนกำลังลงอย่างช้า ๆ และในวันต่อมาพายุก็ได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนอยู่ทางตอนใต้ของปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี ประเทศรัสเซีย ทำให้เกิดคำเตือนสำหรับฝนตกหนัก และหิมะในบางส่วนของรัฐอะแลสกา พายุฤดูหนาวมีผลต่อทางตอนเหนือแฟร์แบงก์ รัฐอะแลสกา จนถึงเย็นวันที่ 27 สิงหาคม[24][25]

พายุไต้ฝุ่นอัสนีเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ทางตะวันออกในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และก่อตัวขึ้นในเวลาเดียวกันกับพายุไต้ฝุ่นโคนี[26] พายุตั้งอยู่ประมาณ 2,575 กิโลเมตร (1,600 ไมล์) ทางตะวันออกของพายุไต้ฝุ่นโคนี และทางตะวันออกเฉียงใต้ของโตเกียวไปประมาณ 2,010 กิโลเมตร (1,250 ไมล์) ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่คอยเฝ้าดูพายุด้วยความสนใจเพื่อดูว่าพายุทั้ง 2 ลูก จะขึ้นสู่ความรุนแรงเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นพร้อมกัน หรือไม่ แต่พายุไต้ฝุ่นอัสนีไปถึงจุดความรุนแรงสูงสุดพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ก่อนพายุไต้ฝุ่นโคนี พายุทั้ง 2 ลูก พัฒนาไปพร้อมกันภายในระยะไม่กี่ร้อยไมล์จากกันและกัน แต่พายุแต่ละลูกก็ดำเนินชีวิตด้วยตัวของมันเอง และจะมีผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างมาก พายุไต้ฝุ่นโคนีเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดต่อแผ่นดินอย่างประเทศไต้หวัน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น[27]

ในข้อมูลดาวเทียมสังเกตการณ์แสดงถึงพื้นที่ที่เมฆ และเม็ดฝนสะท้อนสัญญาณที่แรงที่สุดกลับไปยังเรดาร์ดาวเทียม พื้นที่เหล่านี้มีฝนตกหนักที่สุด และมีพายุฝนฟ้าคะนองที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ ข้อมูลดาวเทียมสังเกตการณ์ได้เคลื่อนตัวผ่านตาพายุไปทางทิศตะวันตก ทำให้สามารถมองเห็นผนังตาที่ลาดลงด้านนอกของพายุ การพาความร้อน ปริมาณน้ำฝนที่เข้มข้น และโครงสร้างเมฆได้อย่างดี เมฆของพายุไต้ฝุ่นอัสนีมีความสูงประมาณ 16 กิโลเมตร (10 ไมล์) เป็นที่จุดสูงสุด[28]

พายุไต้ฝุ่นชบา[แก้]

0416 (JMA)・19W (JTWC)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 18 สิงหาคม – 5 กันยายน พ.ศ. 2547
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นชบา

พายุไต้ฝุ่นชบา (อักษรโรมัน: Chaba)[nb 20] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2547 และก่อให้เกิดความเสียหายตั้งแต่หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น ระยะเวลาตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนของปีนั้น พายุไต้ฝุ่นชบาเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่สร้างความเสียหายมากเป็นอันดับสองของประเทศญี่ปุ่น และได้เป็นพายุที่มีกำลังแรงสูงสุดเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของควาจาเลน หลังจากนั้นพายุก็เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก ต่อมาพายุดีเปรสชันเขตร้อนก็ได้กลายเป็นพายุโซนร้อน และทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันที่ 20 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบามีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 21] และด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในวันที่ 23 สิงหาคม หลังจากนั้นพายุก็เริ่มเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ความรุนแรงของพายุลูกนี้ยังคงอยู่เป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนที่พายุไต้ฝุ่นชบาจะเริ่มอ่อนกำลังลงในขณะที่เคลื่อนตัวไปทางทิศใต้ของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม สามวันต่อมา พายุไต้ฝุ่นชบาได้ขึ้นฝั่งเกาะคีวชู[29] และเคลื่อนตัวข้ามทะเลญี่ปุ่นเมื่อพายุอ่อนกำลังลงพร้อม ๆ กันในวันที่ 31 สิงหาคม พายุได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และต่อมาก็สลายไปในทะเลโอค็อตสค์เมื่อวันที่ 5 กันยายน[30] นอกจากนี้ ยังเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในโลกผูกกับพายุไต้ฝุ่นเตี้ยนหมู่ และพายุไซโคลนกาฟิโลในปี พ.ศ. 2547 อีกด้วย

พายุไต้ฝุ่นชบาได้สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อพื้นที่ในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา ซึ่งถูกลมกระหน่ำพัดแรง เกาะโรตาได้รับผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดจากพายุไต้ฝุ่นชบาในขณะที่เกาะยังคงอยู่ในตาพายุเป็นเวลาหลายชั่วโมง พายุมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 1 นาทีที่ 220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (140 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในบริเวณสนามบินนานาชาติโรตา และลมแรงได้พัดถล่มบ้านเรือนจำนวนมาก กระแสไฟฟ้าได้ขัดข้องทั่วพื้นที่ และชายหาดได้รับผลกระทบอันเป็นผลมาจากพายุ พายุได้สร้างความเสียหายในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาประมาณ 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 13 ราย อีกที่ที่เกิดเหตุขึ้นในกวมที่สถานการณ์คล้ายคลึงกัน แม้ว่าจะมีความเสียหายน้อยกว่าหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หลังจากพายุเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งกวม และพื้นที่ทางตอนเหนือของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาได้ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติจากรัฐบาลกลาง

ความเสียหายส่วนใหญ่ที่เกิดจากพายุไต้ฝุ่นชบาในประเทศญี่ปุ่นโดยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 18 ราย และมีมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 105.4 พันล้านเยน (959 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) พายุไต้ฝุ่นชบาได้สร้างความเสียหายมากเป็นอันดับที่ 14 จากบันทึกที่ผ่านมา บ้านเรือนประมาณ 8,627 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากผลกระทบของพายุ และบ้านเรือนอีกประมาณ 46,561 หลัง ได้ถูกน้ำท่วม ผลกระทบในประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่อยู่ที่เกาะคีวชู พายุไต้ฝุ่นชบาได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งเป็นครั้งแรก จึงทำให้มีปริมาณน้ำฝนสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 821 มิลลิเมตร (32.32 นิ้ว) ในจังหวัดมิยาซากิ หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับ และเกิดความล่าช้าในการขนส่งจำนวนมากในประเทศญี่ปุ่น ความเสียหายโดยรวมประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 22]

พายุไต้ฝุ่นขนุน[แก้]

0515 (JMA)・15W (JTWC)・กีโก (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 5 กันยายน – 13 กันยายน พ.ศ. 2548
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.17 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นขนุน

พายุไต้ฝุ่นขนุน (อักษรโรมัน: Khanun)[nb 23] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นกีโก (ตากาล็อก: Kiko)[nb 24] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดที่เข้าชายฝั่งมณฑลเจ้อเจียงนับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นแวนดาในปี พ.ศ. 2499 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2548 ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อตัวขึ้นจากพื้นที่ที่มีการพาความร้อนในทางตะวันออกเฉียงใต้ของแยป และพายุก็เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นไม่นานพายุดีเปรสชันเขตร้อนก็ได้กลายเป็นพายุโซนร้อน และทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันรุ่งขึ้น พายุไต้ฝุ่นขนุนมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (120 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 25] และความกดอากาศที่ 920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.17 นิ้วของปรอท) หลังจากนั้นพายุก็อ่อนกำลังลงเล็กน้อย และเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งมณฑลเจ้อเจียงในวันรุ่งขึ้น พายุไต้ฝุ่นขนุนอ่อนกำลังลงอีกครั้งเมื่อขึ้นฝั่งมณฑลเจ้อเจียง และกลายเป็นพายุโซนร้อน หลังจากนั้นพายุก็เคลื่อนตัวสู่ทะเลเหลืองเมื่อวันที่ 12 กันยายน พายุโซนร้อนขนุนได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และเศษซากของพายุลูกนี้ได้สลายไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือก่อนที่จะถูกบันทึกไว้เมื่อวันที่ 16 กันยายน[31]

เมื่อพายุไต้ฝุ่นขนุนกำลังเคลื่อนตัวเข้าประเทศจีน จึงทำให้ลมมรสุมที่พัดออกมาจากพายุพัดเอาอากาศเสียที่อยู่ข้างหน้าออกไปในขณะที่หมอกควันปกคลุมเหนืออิทธิพลของพายุ พายุไต้ฝุ่นขนุนเป็นพายุลูกที่ 15 ที่เข้าพัดถล่มประเทศจีนในปี พ.ศ. 2548 ส่วนใหญ่ดินถล่มเกิดมาจากฝนตกหนักที่พายุกำลังเคลื่อนตัวพัดเข้ามา และพื้นที่ที่เกิดดินถล่มมาจากพายุฝนฟ้าคะนองของพายุลูกอื่น ๆ จึงทำให้ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ดินโคลนถล่มนั้นสูงผิดปกติ ผู้คนประมาณ 1 ล้านคน ได้ถูกอพยพออกจากพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่พายุไต้ฝุ่นขนุนกำลังเคลื่อนตัวใกล้เข้ามา[32]

อพยพผู้คนประมาณกว่า 800,000 คน ออกจากบ้านเรือนเมื่อพายุไต้ฝุ่นขนุนกำลังเคลื่อนตัวใกล้เข้ามา ผู้คนจำนวนมากที่อพยพออกจากกองทัพถูกนำตัวไปยังโรงเรียน สถานีรถไฟ โรงแรม และอาคารอื่น ๆ ที่มีโครงสร้างแข็งแรง เพื่อใช้เป็นที่กำบังจากพายุที่กำลังเคลื่อนตัวใกล้เข้ามาไทโจว มณฑลเจ้อเจียงต้องเผชิญกับพายุที่รุนแรงในระยะแรก เนื่องจากใกล้กับที่เกิดพายุห่างจากเซี่ยงไฮ้ไปทางตอนใต้ 220 กิโลเมตร (135 ไมล์) เมืองที่ใกล้ชายฝั่งที่อื่น ๆ เตรียมพร้อมที่จะรับมือพายุไต้ฝุ่นขนุนในขณะที่กำลังเคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ หมู่เกาะซากิชิมะทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นได้ประสบกับลมแรง คลื่นสูง และฝนตกหนัก ขณะที่พายุเคลื่อนตัวผ่านพ้นไป หน่วยเลือกตั้งบางแห่งมีการเปลี่ยนแปลงเวลาทำการเพื่อให้แน่ใจว่าประชาชนยังคงสามารถลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งของประเทศญี่ปุ่นได้ หรือไม่ แม้ว่าจะมีสภาพอากาศแปรปรวนก็ตาม มีผู้เสียชีวิตประมาณ 16 ราย ในมณฑลเจ้อเจียง และความเสียหายโดยรวม 1.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 26]

พายุไต้ฝุ่นมังคุด[แก้]

1822 (JMA)・26W (JTWC)・โอมโปง (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 7 กันยายน – 17 กันยายน พ.ศ. 2561
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นมังคุด

พายุไต้ฝุ่นมังคุด (อักษรโรมัน: Mangkhut) หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นโอมโปง (ตากาล็อก: Ompong) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2561 และเป็นภัยพิบัติพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางในกวม, ประเทศฟิลิปปินส์ และตอนใต้ของประเทศจีน พายุไต้ฝุ่นมังคุดเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดที่เคยขึ้นฝั่งประเทศฟิลิปปินส์นับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 6,000 ราย และเป็นพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดที่เคยพัดถล่มเกาะลูซอนนับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นเมกีในปี พ.ศ. 2553 นอกจากนี้ ตอนเหนือของเกาะลูซอนยังได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นไหหม่าในปี พ.ศ. 2559 ด้วยบ้านเรือนถูกทำลาย 14,000 หลัง และบ้านเรือนเสียหาย 50,000 หลัง และพายุไต้ฝุ่นเมอรันตีในปี พ.ศ. 2559[33] พายุไต้ฝุ่นมังคุดเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 31, พายุโซนร้อนลูกที่ 22 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 9 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561 พายุลูกนี้ขึ้นฝั่งที่จังหวัดคากายันของประเทศฟิลิปปินส์ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561 ในฐานะซูเปอร์ไต้ฝุ่นที่มีความเร็วลมเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน จากนั้นได้ส่งผลกระทบอย่างหนักในฮ่องกง และตอนใต้ของประเทศจีน[34] นอกจากนี้ ยังเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในโลกผูกกับพายุไต้ฝุ่นยวี่ถู่ในปี พ.ศ. 2561 อีกด้วย

พายุไต้ฝุ่นมังคุดมีความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) ก่อนที่จะขึ้นฝั่งในจังหวัดคากายัน ทางตอนเหนือสุดของเกาะลูซอน หลังจากศูนย์กลางของพายุเคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์ ความเร็วลมของพายุไต้ฝุ่นมังคุดก็เริ่มอ่อนกำลังลงมากพอที่จะลดจากพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5เป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 แต่ยังคงเป็นพายุที่มีทรงพลังมาก โดยมีความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) ที่กำลังพัดถล่มประเทศฟิลิปปินส์ด้วยฝนตกหนัก และเคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกสู่ทะเลจีนใต้สู่ฮ่องกงและตอนใต้ของประเทศจีน

วันที่ 23 กันยายน พบผู้เสียชีวิตจากพายุไต้ฝุ่นมังคุดแล้ว 134 ราย แบ่งเป็น 127 ราย ในประเทศฟิลิปปินส์,[35][36] 6 ราย ในประเทศจีน[37] และ 1 ราย ในประเทศไต้หวัน[38] วันที่ 5 ตุลาคม สภาลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการจัดการแห่งชาติของประเทศฟิลิปปินส์ ประมาณว่าพายุไต้ฝุ่นมังคุดทำให้เกิดความเสียหายในประเทศฟิลิปปินส์ 3.39 หมื่นล้านเปโซฟิลิปปินส์ (627 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ต้นไม้ล้มอย่างน้อย 60,000 ต้น ในฮ่องกง เนื่องจากต้นไม้ล้มจำนวนมาก และน้ำท่วมอย่างรุนแรง การจราจรติดขัด รัฐบาลฮ่องกงประกาศหยุดเรียน 2 วัน ติดต่อกันแต่ไม่ได้หยุดงาน การจราจรที่ติดขัด หลังเกิดพายุไต้ฝุ่นมังคุดทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างกว้างขวาง ราคาข้าว และพืชผลข้าวโพดอาจสูงถึง 116 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าจะมีทุ่งนากว่า 1,220,000 เฮกตาร์ เสียหายจากพายุฝนฟ้าคะนอง และความเสียหายโดยรวมประมาณ 3.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 27]

พายุไต้ฝุ่นวิภา[แก้]

0712 (JMA)・13W (JTWC)・โกริง (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 15 กันยายน – 22 กันยายน พ.ศ. 2550
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นวิภา

พายุไต้ฝุ่นวิภา (อักษรโรมัน: Wipha) หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นโกริง (ตากาล็อก: Goring) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2550 และเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดที่เข้าชายฝั่งประเทศจีนนับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นซาวมายในปี พ.ศ. 2549 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2550 ได้พัฒนาเป็นพายุโซนร้อน และทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันรุ่งขึ้นมีลักษณะเป็นตาพายุ หลังจากช่วงเวลาของการทำให้เข้มข้นขึ้นอย่างรวดเร็ว พายุไต้ฝุ่นวิภามีกำลังแรงสูงสุดในวันที่ 18 กันยายน ด้วยความเร็วลม 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วของปรอท) ต่อมาในวันนั้น พายุไต้ฝุ่นวิภาเริ่มอ่อนกำลังลงเมื่อกระทบกับภูมิประเทศที่เป็นภูเขาของประเทศไต้หวันก่อนจะพัดทางด้านเหนือของเกาะ พายุไต้ฝุ่นวิภาได้ขึ้นฝั่งชายแดนของมณฑลฝูเจี้ยน และมณฑลเจ้อเจียงโดยมีความเร็วลมประมาณ 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (120 ไมล์ต่อชั่วโมง) หลังจากนั้นไม่นาน พายุไต้ฝุ่นวิภาก็อ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนตัวเข้าสู่แผ่นดิน และอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนภายใน 18 ชั่วโมง หลังจากเคลื่อนตัวผ่านแผ่นดิน จากนั้นก็สลายไปนอกชายฝั่งประเทศเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ ยังเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในโลกผูกกับพายุไต้ฝุ่นเซอปัต และพายุไซโคลนจอร์จในปี พ.ศ. 2550 อีกด้วย

อพยพประชาชนเกือบ 2 ล้านคน ตามแนวชายฝั่งของประเทศจีน ก่อนพายุไต้ฝุ่นวิภาจะมาถึง ทหารจีนเกือบ 20,000 นาย ถูกส่งไปยังพื้นที่เพื่อช่วยเหลือผู้อยู่อาศัยในการเสริมกำลังแนวป้องกันน้ำท่วม และเร่งการอพยพ พายุไต้ฝุ่นวิภาทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง โดยมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 353 มิลลิเมตร (13.9 นิ้ว) บ้านเรือนเสียหายประมาณ 13,000 หลัง เสียหายอีก 57,000 หลัง และพื้นที่เพาะปลูก 100,000 เฮกตาร์ ถูกน้ำท่วมทั่วประเทศจีน มีผู้เสียชีวิต 14 ราย และเกิดความเสียหายเป็นจำนวนเงิน 7.45 พันล้านเยน (1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

แม้ว่าพายุไต้ฝุ่นวิภาจะไม่เคลื่อนตัวผ่านใกล้ประเทศฟิลิปปินส์แต่มีสายฝนจากพายุทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงในจังหวัดเนโกรสโอกซีเดนตัล ผู้เสียชีวิต 2 ราย และอีก 3 ราย ถูกระบุว่าสูญหาย ความเสียหายจำนวน 15.3 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (314,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ที่ประเทศไต้หวันลมแรงทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 1 ราย ปริมาณน้ำฝนสูงสุด 495 มิลลิเมตร (19.5 นิ้ว) ทำให้เกิดดินถล่ม น้ำท่วมทั่วทั้งเกาะ เกิดความสูญเสียทางการเกษตรในประเทศไต้หวันมีมูลค่า 7.8 ล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่ (236,300 ดอลลาร์สหรัฐ) ในจังหวัดโอกินาวะลมแรง และปริมาณน้ำฝนสูงถึง 335 มิลลิเมตร (13.2 นิ้ว) สร้างความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บ้าน 7 หลัง ทั่วเกาะถูกทำลาย และมีความเสียหายรวม 28.3 พันล้านเยน (285 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ความเสียหายโดยรวมประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 28]

พายุไต้ฝุ่นชบา[แก้]

1618 (JMA)・21W (JTWC)・อิกเม (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 24 กันยายน – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นชบา

พายุไต้ฝุ่นชบา (อักษรโรมัน: Chaba)[nb 29] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นอิกเม (ตากาล็อก: Igme)[nb 30] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดที่เข้าชายฝั่งประเทศเกาหลีใต้นับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นซันปาในปี พ.ศ. 2555 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559 อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกวม[39][40] พายุดีเปรสชันเขตร้อนมาถึงสถานะพายุโซนร้อนในวันรุ่งขึ้น[41] เมื่อถึงวันที่ 30 กันยายน พายุโซนร้อนชบาได้ทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง หลังจากการพาความร้อนลึกได้พัฒนาเป็นลักษณะแถบ และภายใต้เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยมาก[42][43] ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือพายุโซนร้อนกำลังแรงได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่น และโครงสร้างของพายุเริ่มดีขึ้นเป็นอย่างมาก[44][45][46] ในวันรุ่งขึ้นพายุไต้ฝุ่นชบาทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงระดับความรุนแรงสูงสุดเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน[47][48] พายุไต้ฝุ่นชบามีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 31] และความกดอากาศที่ 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วของปรอท)[49] หลังจากนั้นพายุไต้ฝุ่นชบาก็เริ่มอ่อนกำลังลงเมื่อแกนกลางอสมมาตร เนื่องจากลมเฉือน[50][51] ขณะที่พายุเข้าใกล้ชายฝั่งปูซานพายุได้แปรสภาพเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และสลายไปในที่สุด[52]

ดาวเทียมของจีพีเอ็มได้เคลื่อนตัวผ่านตรงเหนือตาพายุของพายุไต้ฝุ่นชบา เครื่องวัดปริมาณน้ำฝนทั่วโลกแบบภาพไมโครเวฟ และเรดาร์ปริมาณน้ำฝนแบบความถี่คู่แสดงให้เห็นว่าพายุกำลังตกตะกอนอย่างหนักมาก ปริมาณน้ำฝนในผนังตาเล็ก ๆ ของพายุวัดโดยภารกิจวัดปริมาณน้ำฝนทั่วโลก และปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในอัตรามากกว่า 234 มิลลิเมตร (9.2 นิ้ว) ต่อชั่วโมง อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่อบอุ่น และแรงลมเฉือนในแนวดิ่งต่ำเป็น 2 ปัจจัย ที่ทำให้พายุไต้ฝุ่นชบากลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นขณะที่กำลังเคลื่อนตัวผ่านทะเลฟิลิปปิน และเครื่องวัดสเปกโตรเรดิโอมิเตอร์การถ่ายภาพความละเอียดปานกลางแสดงให้เห็นตาพายุที่ชัดเจน ซึ่งล้อมรอบด้วยพายุฝนฟ้าคะนองที่รุนแรง

พายุไต้ฝุ่นชบาได้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างทั่วภาคใต้ของประเทศเกาหลีใต้ จึงทําให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 ราย และมีผู้สูญหายอีก 4 ราย การคมนาคมขนส่งหยุดชะงัก และมีการยกเลิกเที่ยวบิน 100 เที่ยวบิน บ้านเรือนประสบปัญหาไฟฟ้าดับกว่า 200,000 หลัง[53] และความเสียหายโดยรวมประมาณ 129 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 32]

พายุไต้ฝุ่นบัวลอย[แก้]

1921 (JMA)・22W (JTWC)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 18 ตุลาคม – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นบัวลอย

พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (อักษรโรมัน: Bualoi)[nb 33] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดเป็นอันดับสามรองจากพายุไต้ฝุ่นฮากีบิส และพายุไต้ฝุ่นหะลอง และเป็นพายุลูกที่ยี่สิบเอ็ดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2562 พายุไต้ฝุ่นบัวลอยเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 39, พายุโซนร้อนลูกที่ 21 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 11 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562 อยู่ทางตะวันออกของสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ พายุก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาพอากาศที่มีความแปรปรวนด้วยอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อบอุ่นมาก และแรงลมต่ำ จึงทำให้พายุมีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พายุโซนร้อนบัวลอยได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และในเวลาต่อมาพายุก็ได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่น พายุไต้ฝุ่นบัวลอยถึงสถานะความรุนแรงสูงสุดในวันที่ 22 ตุลาคม ด้วยความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 34] และด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) เทียบเท่ากับความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน และพายุเริ่มอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วในวันรุ่งขึ้น[54]

หลังจากพายุไต้ฝุ่นฮากีบิสเคลื่อนตัวผ่านพ้นไป ประเทศญี่ปุ่นต้องเตรียมรับมือพายุ 2 ลูก อีกครั้ง เช่น พายุไต้ฝุ่นนอกูรี และพายุไต้ฝุ่นบัวลอย เป็นต้น[55] มีความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง แผ่นดินถล่ม และน้ำท่วมในพื้นที่ราบต่ำ หรือพื้นที่ริมแม่น้ำทางชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นนอกูรีกำลังเคลื่อนตัวไปยังภูมิภาคดังกล่าว และในขณะเดียวกันพายุไต้ฝุ่นบัวลอยกำลังเคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปยังชายฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นเดียวกัน[56]

ภายใต้อิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดฝนตกหนักในทางตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น[57] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดชิบะ และจังหวัดฟูกูชิมะ มีปริมาณน้ำฝนรวมไว้ประมาณ 200 มิลลิเมตร (8 นิ้ว) ซึ่งเป็นปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักเป็นประวัติการณ์ในเวลาไม่ถึงครึ่งวัน และเกินปริมาณน้ำฝนเป็นเวลาหนึ่งเดือนในเดือนตุลาคมของปี[58][59] ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 11 ราย ในจังหวัดชิบะ[60] และ 2 ราย ในจังหวัดฟูกูชิมะ บริการขนส่งได้หยุดให้บริการในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุ บ้านเรือนได้รับความเสียหายประมาณ 4,998 หลัง และเกิดความเสียหายประมาณ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 35]

พายุไต้ฝุ่นชบา[แก้]

1014 (JMA)・16W (JTWC)・กาตริง (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 20 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นชบา

พายุไต้ฝุ่นชบา (อักษรโรมัน: Chaba)[nb 36] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นกาตริง (ตากาล็อก: Katring)[nb 37] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดเป็นอันดับสองรองจากพายุไต้ฝุ่นเมกี และเป็นพายุลูกแรกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศญี่ปุ่นนับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นเมอโลร์ในปี พ.ศ. 2552 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553 อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หย่อมความกดอากาศต่ำได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างเชื่องช้าจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุโซนร้อนในวันรุ่งขึ้น พายุโซนร้อนชบาได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในเช้าตรู่ของวันที่ 26 ตุลาคม และมีความรุนแรงสูงสุดเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน พายุไต้ฝุ่นชบามีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (125 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 38] และความกดอากาศที่ 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วของปรอท) หลังจากนั้นไม่นานพายุไต้ฝุ่นชบาก็เริ่มอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนเมื่อผ่านไปใกล้ประเทศญี่ปุ่น ส่วนที่เหลือของพายุยังคงอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วในขณะที่เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ จนกระทั่งพายุสลายไปในวันรุ่งขึ้น[61]

เครื่องวัดกำลังงานแสงเชิงสเปกตรัมแบบการถ่ายภาพความละเอียดปานกลางของดาวเทียมของนาซาได้ถ่ายภาพกลุ่มเมฆที่หมุนเป็นเกลียวของพายุไต้ฝุ่นชบาได้พัดแผ่กระจายปกคลุมไปทั่วพื้นที่ส่วนใหญ่ของทะเลฟิลิปปิน[62] และเมฆปกคลุมเหนือหมู่เกาะรีวกีวของประเทศญี่ปุ่นรวมถึงเกาะโอกินาวะ และกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ[63]

พายุฝนฟ้าคะนองจากพายุไต้ฝุ่นชบาได้ถล่มเมืองทำให้บ้านเรือนประมาณ 500 หลัง ได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 5 ราย ในจังหวัดโอกินาวะ[64] การแข่งขันรถในโตเกียวได้ถูกเลื่อนโดยสมาคมแข่งรถแห่งประเทศญี่ปุ่นไปจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นชบา[65]

พายุไต้ฝุ่นนิดา[แก้]

0922 (JMA)・26W (JTWC)・บินตา (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 21 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ความรุนแรง 230 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.43 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นนิดา

พายุไต้ฝุ่นนิดา (อักษรโรมัน: Nida)[nb 39] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นบินตา (ตากาล็อก: Vinta)[nb 40] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2552[66] ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ทางตอนใต้ของประเทศไมโครนีเชีย และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อนในวันรุ่งขึ้น และภายใต้สภาพอากาศที่กำลังแปรปรวน จึงทำให้พายุโซนร้อนนิดาได้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และต่อมาเป็นพายุไต้ฝุ่นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่นนิดาได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยถึงระดับความรุนแรงสูงสุดในวันนั้นด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 315 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (195 ไมล์ต่อชั่วโมง) และด้วยความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 230 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (145 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 41] หลังจากนั้นพายุก็ไม่มีการเคลื่อนตัวเป็นเวลาหลายวัน และความรุนแรงผันผวน พายุไต้ฝุ่นนิดาเริ่มอ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และต่อมาก็ได้กลายเป็นพายุโซนร้อนในวันรุ่งขึ้น หลังจากนั้นพายุก็อ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุก็ได้สลายไป เนื่องจากเศษซากของพายุบางส่วนถูกดูดกลืนเข้าไปในกระแสน้ำ นอกจากนี้ ยังเป็นพายุที่แรงที่สุดในเดือนพฤศจิกายน[67] และเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2552 อีกด้วย

ภารกิจวัดปริมาณน้ำฝนในเขตร้อนระบุว่าปริมาณน้ำฝนส่วนใหญ่ของพายุไต้ฝุ่นนิดาอยู่ที่ประมาณ 40 มิลลิเมตร (1.57 นิ้ว) และพื้นที่ใกล้กับศูนย์กลางของพายุจะมีปริมาณน้ำฝนอยู่ที่ประมาณ 50.8 มิลลิเมตร (2 นิ้ว) ซึ่งถือเป็นปริมาณน้ำฝนที่ตกหนัก และพื้นที่บางแห่งมีฝนตกชุก อุณหภูมิความร้อนของเมฆคิวมูโลนิมบัสที่ขยายออกไปนอกชั้นโทรโพสเฟียร์ และเข้าสู่โทรโพพอส ภารกิจวัดปริมาณน้ำฝนในเขตร้อนได้สังเกตเห็นอุณหภูมิความร้อนของเมฆ 3 กลุ่ม ในพายุไต้ฝุ่นนิดา และมียอดเมฆสูงประมาณ 14 กิโลเมตร (9 ไมล์) เนื่องจากความร้อนแฝงจำนวนมากที่ปล่อยออกมาเมื่อไอน้ำควบแน่นเป็นของเหลว[68]

แม้ว่าลมจากพายุไต้ฝุ่นนิดาจะมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก แต่พายุไม่ได้เคลื่อนตัวพัดเข้าฝั่งบริเวณชายฝั่งโดยตรง แม้ว่าจะต้องมีการออกคำเตือนพายุหมุนเขตร้อน เนื่องจากพายุอยู่ใกล้กับประเทศไมโครนีเชีย และไม่มีผลกระทบโดยตรง จึงไม่มีความเสียหาย ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิต

พายุไต้ฝุ่นทุเรียน[แก้]

0621 (JMA)・24W (JTWC)・เรมิง (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 25 พฤศจิกายน – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2549
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นทุเรียน

พายุไต้ฝุ่นทุเรียน (อักษรโรมัน: Durian) หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นเรมิง (ตากาล็อก: Reming) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2549 และเป็นภัยพิบัติพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเหตุให้มีประชาชนหลายหมู่บ้านเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากโคลนถล่มที่ภูเขาไฟมายอน พายุไต้ฝุ่นทุเรียนสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือน 200,000 หลัง บ้านเรือนถูกทำลายไป 34,000 หลัง โรงเรียนถูกทำลายไป 850 แห่ง และเรือจม 800 ลำ มีความสูญเสียในการดำรงชีวิตอย่างมาก ซึ่งเห็นได้ชัดเจนที่สุดในจังหวัดบิ่ญถ่วน หวุงเต่า จังหวัดเบ๊นแจ และจังหวัดหวิญล็อง รวมถึงนครโฮจิมินห์[69] คร่าชีวิตผู้คนไป 1,399 ราย ในประเทศฟิลิปปินส์[70] พายุไต้ฝุ่นทุเรียนเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 24, พายุโซนร้อนลูกที่ 23 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 14 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2549 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ใกล้ชุก พายุตั้งอยู่ทางตอนใต้ของสันเขาพายุติดตามทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านบริเวณที่มีลมเฉือนต่ำ และเสริมกำลังความรุนแรงของลมเกิดขึ้นในช่วงสองวันต่อมาขณะที่พายุเข้าใกล้ประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากเข้าสู่สถานะพายุไต้ฝุ่นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่นทุเรียนได้รับความรุนแรงอย่างรวดเร็ว ปิดท้ายด้วยความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ความเร็วลมสูงสุด 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วของปรอท) วันต่อมาพายุไต้ฝุ่นทุเรียนกลายเป็นพายุโซนร้อนที่พัดไปทางตะวันตกเฉียงใต้ พัดถล่มประเทศเวียดนามตอนใต้ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม โดยเป็นพายุโซนร้อนก่อนที่จะลดระดับลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน พายุได้เคลื่อนตัวหันไปทางทิศตะวันตกอีกครั้ง และข้ามคาบสมุทรมลายูไปในที่สุด นอกจากนี้ ยังเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2549 อีกด้วย

ปลายเดือนตุลาคมพายุไต้ฝุ่นซีมารอนกลายเป็นพายุที่รุนแรงที่สุดลูกหนึ่งที่เคลื่อนตัวเข้าเกาะลูซอน อย่างไรก็ตาม ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่มีประชากรเบาบาง และมีผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตค่อนข้างน้อย น้อยกว่าสามสัปดาห์ต่อมา พายุไต้ฝุ่นเชบีดำเนินไปตามเส้นทางที่คล้ายคลึงกันกับพายุไต้ฝุ่นซีมารอน แม้ว่าจะมีขนาดที่เล็กทำให้เกิดความเสียหายได้ค่อนข้างจำกัด พายุไต้ฝุ่นทุเรียนจะกลายเป็นพายุลูกที่ 4 ของพายุที่ส่งผลกระทบถึงประเทศฟิลิปปินส์ ในเดือนธันวาคมพายุไต้ฝุ่นอูตอร์ ซึ่งเป็นพายุที่อ่อนแอที่สุดในห้า และเดินตามทางตอนใต้มากกว่า

พายุไต้ฝุ่นทุเรียนขึ้นบกครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ มีลมแรง ฝนตกหนัก และคร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 720 ราย ในประเทศฟิลิปปินส์[71] ความเสียหายส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่จังหวัดอัลไบ ซึ่งพายุไต้ฝุ่นทุเรียนได้สร้างโคลนถล่มจากขี้เถ้าภูเขาไฟ และก้อนหินจากภูเขาไฟมายอน ที่บารังไกย์ เลกัซปี ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองที่ปกคลุมไปด้วยโคลนจนถึงหลังคาบ้านเรือน พายุได้คร่าชีวิตผู้คนกว่า 200 ราย ในประเทศ และสร้างความเสียหาย 5.9 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ (150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) หลังจากนั้นก็เข้าสู่ทะเลจีนใต้ และอ่อนกำลังลงเล็กน้อย ก่อนที่จะทวีความรุนแรง และขึ้นบกที่ประเทศเวียดนามใกล้กับนครโฮจิมินห์ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 81 ราย และอีก 16 ราย สูญหายไปจากคลื่นลมแรง[72] พายุไต้ฝุ่นทุเรียนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1,497 ราย และสูญหายมากกว่า 100 ราย มูลค่าความเสียหายโดยรวมอย่างน้อย 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 42][73]

ผลกระทบ[แก้]

ตารางนี้รวมเอาทั้งหมดของระบบพายุที่ก่อตัวภายใน หรือเคลื่อนตัวเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งวันสากล ตารางนี้ยังมีภาพรวมของความรุนแรงของระบบ ระยะเวลา บริเวณที่มีผลกระทบกับแผ่นดิน และจำนวนความเสียหาย หรือจำนวนผู้เสียชีวิตใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบพายุ

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
รามสูร
(บุตโชย)
7 พฤษภาคม – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) 900 เฮกโตปาสกาล (26.58 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&00000000096000000000009.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 4 ราย [4]
นิดา
(ดินโด)
13 พฤษภาคม – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) 905 เฮกโตปาสกาล (26.72 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&00000000013000000000001.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 31 ราย [5][6]
รามสูร
(โฟลรีตา)
28 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) 930 เฮกโตปาสกาล (27.46 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีน
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
เกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ
&0000000100000000000000100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 97 ราย [7][8][9]
รามสูร
(เกลนดา)
9 กรกฎาคม – 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) 905 เฮกโตปาสกาล (26.72 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์
หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
จีน จีน
ฮ่องกง ฮ่องกง
มาเก๊า มาเก๊า
เวียดนาม เวียดนาม
&00000080800000000000008.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 225 ราย [10][11][12][13][14]
ขนุน
(เอนเตง)
14 กรกฎาคม – 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) 985 เฮกโตปาสกาล (29.09 นิ้วปรอท) เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
เกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
&000000001140000000000011.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 69 ราย [21][22]
อัสนี 14 สิงหาคม – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558 พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) 900 เฮกโตปาสกาล (26.58 นิ้วปรอท) หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา ไม่มี ไม่มี [23][24][25][26][27]
ชบา 18 สิงหาคม – 5 กันยายน พ.ศ. 2547 พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) 900 เฮกโตปาสกาล (26.58 นิ้วปรอท) หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
กวม กวม
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&00000020000000000000002 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 20 ราย [29][30]
ขนุน
(กีโก)
5 กันยายน – 13 กันยายน พ.ศ. 2548 พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) 920 เฮกโตปาสกาล (27.17 นิ้วปรอท) สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีน
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&00000012200000000000001.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 16 ราย [31][32]
มังคุด
(โอมโปง)
7 กันยายน – 17 กันยายน พ.ศ. 2561 พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) 900 เฮกโตปาสกาล (26.58 นิ้วปรอท) หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
กวม กวม
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
ฮ่องกง ฮ่องกง
มาเก๊า มาเก๊า
จีน จีน
เวียดนาม เวียดนาม
&00000037700000000000003.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 134 ราย [33][34][35][36][37]
วิภา
(โกริง)
15 กันยายน – 22 กันยายน พ.ศ. 2550 พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) 900 เฮกโตปาสกาล (26.58 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีน
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
เกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ
&00000013000000000000001.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 20 ราย
ชบา
(อิกเม)
24 กันยายน – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) 905 เฮกโตปาสกาล (26.72 นิ้วปรอท) หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&0000000129000000000000129 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 10 ราย [39][40][41][42][43]
บัวลอย 18 ตุลาคม – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562 พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) 905 เฮกโตปาสกาล (26.72 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์
หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&0000000200000000000000200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 13 ราย [54][55][56][57][58]
ชบา
(กาตริง)
20 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) 905 เฮกโตปาสกาล (26.72 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ไม่มี ไม่มี [61][62][63][64][65]
นิดา
(บินตา)
21 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552 พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 230 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.) 895 เฮกโตปาสกาล (26.43 นิ้วปรอท) ไมโครนีเชีย ไมโครนีเชีย
กวม กวม
ไม่มี ไม่มี [66][67][68]
ทุเรียน
(เรมิง)
25 พฤศจิกายน – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2549 พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) 900 เฮกโตปาสกาล (26.58 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
เวียดนาม เวียดนาม
ไทย ไทย
มาเลเซีย มาเลเซีย
อินเดีย อินเดีย
&0000000580000000000000580 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 1,497 ราย [69][70][71][72][73]
สรุปฤดูกาล
15 ลูก 7 พฤษภาคม
- 6 ธันวาคม ทุกปี
  230 กม./ชม.
(145 ไมล์/ชม.)
895 เฮกโตปาสกาล
(มิลลิบาร์ 26.43 นิ้วปรอท)
  17.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(≈583 พันล้านบาท)
2,136 ราย


ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[2]
  2. ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[3]
  3. "รามสูร" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 2 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  4. พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "บุตโชย" (7 ถึง 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
  5. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  6. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2551 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  7. "นิดา" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 4 ลำดับที่ 12 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  8. พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "ดินโด" (13 ถึง 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2547) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
  9. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  10. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2547 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  11. "รามสูร" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 2 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  12. พายุไต้ฝุ่น "โฟลรีตา" (28 มิถุนายน ถึง 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2545) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
  13. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  14. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2545 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  15. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2557 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  16. "ขนุน" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 5 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  17. พายุโซนร้อน "เอนเตง" (16 ถึง 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
  18. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2555 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  19. "อัสนี" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 3 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  20. "ชบา" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 4 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  21. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  22. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2547 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  23. "ขนุน" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 5 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  24. พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "กีโก" (7 ถึง 10 กันยายน พ.ศ. 2548) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
  25. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  26. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2548 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  27. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2561 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  28. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2550 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  29. "ชบา" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 4 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  30. พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "อิกเม" (1 ถึง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
  31. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  32. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2559 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  33. "บัวลอย" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 2 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  34. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  35. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2562 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  36. "ชบา" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 4 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  37. พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "กาตริง" (23 ถึง 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
  38. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  39. "นิดา" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 4 ลำดับที่ 12 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  40. พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "บินตา" (25 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
  41. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  42. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2549 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ubonmet.tmd.go.th/files/KM-base/KM-2563-5.pdf
  2. "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  3. "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  4. 4.0 4.1 "Digital Typhoon: Typhoon 200802 (RAMMASUN)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. 2008-05-12. สืบค้นเมื่อ 12 May 2008.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 "Typhoon Nida". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2004-05-18. สืบค้นเมื่อ 18 May 2004.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 "Typhoon Nida". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2004-05-19. สืบค้นเมื่อ 19 May 2004.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 "Typhoon Rammasun - EPOD - a service of USRA". epod.usra.edu. สืบค้นเมื่อ 5 November 2022.
  8. 8.0 8.1 Zhang, Hua; Chou, Jifan; Qiu, Chongjian (1 February 2004). "Assimilation analysis of Rammasun typhoon structure over Northwest Pacific using satellite data". Chinese Science Bulletin (ภาษาอังกฤษ). pp. 389–395. doi:10.1007/BF02900323. สืบค้นเมื่อ 5 November 2022.
  9. 9.0 9.1 "July 2002 Global Hazards | National Centers for Environmental Information (NCEI)". www.ncei.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 5 November 2022.
  10. 10.0 10.1 http://www.taipeitimes.com/News/taiwan/archives/2014/07/12/2003594929
  11. 11.0 11.1 https://www.wsj.com/articles/tropical-storm-rammasun-approaches-philippine-capital-manila-1405335465
  12. 12.0 12.1 https://www.kuam.com/story/25991947/2014/07/10/governor-declares-condition-of-readiness-3
  13. 13.0 13.1 https://www.sciencecodex.com/nasa_sees_tropical_storm_9_over_guam-137402
  14. 14.0 14.1 https://focustaiwan.tw/society/201407140024
  15. https://web.archive.org/web/20140715005150/http://www.interaksyon.com/article/91195/glenda-update--typhoon-glenda-intensifies-more-areas-under-storm-signal
  16. https://globalnation.inquirer.net/107928/more-than-50-flights-cancelled-due-to-glenda
  17. https://www.rappler.com/nation/63385-doh-preparation-typhoon-glenda/
  18. https://www.rappler.com/nation/63409-tabaco-albay-glenda/
  19. https://newsinfo.inquirer.net/620259/power-outage-hits-parts-of-metro-manila
  20. "Rain-battered Japan braces for arrival of typhoon" (ภาษาอังกฤษ). Taipei Times. 2012-07-18. สืบค้นเมื่อ 18 July 2012.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  21. 21.0 21.1 "Tropical Storm Khanun kills at least 7 in North Korea" (ภาษาอังกฤษ). BNO News. 2012-07-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2012. สืบค้นเมื่อ 25 July 2012.
  22. 22.0 22.1 "Scores killed in North Korea floods" (ภาษาอังกฤษ). Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 29 July 2012.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. 23.0 23.1 "Digital Typhoon: Typhoon 201516 (ATSANI) - General Information (Pressure and Track Charts)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. 2015-08-25. สืบค้นเมื่อ 25 August 2015.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  24. 24.0 24.1 "Typhoon Atsani". modis.gsfc.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2015-07-27. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  25. 25.0 25.1 デジタル大辞泉プラス. "アッサニーとは? 意味や使い方". コトバンク (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 20 August 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  26. 26.0 26.1 "Digital Typhoon: Typhoon 201516 (ATSANI)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. 2015-08-25. สืบค้นเมื่อ 25 August 2015.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  27. 27.0 27.1 Mersereau, Dennis (2015-08-19). "'Twin Typhoons' Spinning in Western Pacific, Taiwan and Japan at Risk". Gawker (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-05. สืบค้นเมื่อ 19 August 2015.
  28. "A View Inside Typhoon Atsani". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2015-08-21. สืบค้นเมื่อ 21 August 2015.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  29. 29.0 29.1 "Japan Meteorological Agency | RSMC Tokyo - Typhoon Center | Technical Review No.9". www.jma.go.jp (ภาษาอังกฤษ). Japan Meteorological Agency. 2014-02-11. สืบค้นเมื่อ 11 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  30. 30.0 30.1 "Monthly Global Tropical Cyclone Summary August 2004". australiasevereweather.com (ภาษาอังกฤษ). August 2004. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  31. 31.0 31.1 "Tropical Cyclones in 2005" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Kowloon, Hong Kong: Hong Kong Observatory. 2005-09-13. สืบค้นเมื่อ 13 September 2005.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  32. 32.0 32.1 "Typhoon Khanun". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2005-09-13. สืบค้นเมื่อ 13 September 2005.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  33. 33.0 33.1 CNN, James Griffiths, Steve George and Jo Shelley. "Typhoon Mangkhut lashes the Philippines, strongest storm this year". CNN.
  34. 34.0 34.1 "Typhoon Mangkhut: Philippines hit by strongest storm". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 2022-01-03.
  35. 35.0 35.1 "Typhoon Mangkhut death toll hits 127". PerthNow (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-22.
  36. 36.0 36.1 https://www.rappler.com/nation/212481-typhoon-ompong-death-toll-september-21-2018/
  37. 37.0 37.1 "应急管理新机制助力台风"山竹"应对". web.archive.org. 2018-09-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-28. สืบค้นเมื่อ 2022-01-03.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  38. CNN, Sheena McKenzie and Joshua Berlinger. "Typhoon Mangkhut hits mainland China, lashes Hong Kong, dozens dead in Philippines". CNN.
  39. 39.0 39.1 "Archived copy" (ภาษาอังกฤษ). 2016-09-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2016. สืบค้นเมื่อ 26 September 2016.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  40. 40.0 40.1 "Archived copy" (ภาษาอังกฤษ). 2016-09-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2016. สืบค้นเมื่อ 26 September 2016.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  41. 41.0 41.1 "TS 1618 CHABA (1618) UPGRADED FROM TD" (ภาษาอังกฤษ). Japan Meteorological Agency. 2016-09-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  42. 42.0 42.1 "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 21W (Chaba) Warning Nr 08" (ภาษาอังกฤษ). Joint Typhoon Warning Center. 2016-09-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  43. 43.0 43.1 "STS 1618 CHABA (1618) UPGRADED FROM TS" (ภาษาอังกฤษ). Japan Meteorological Agency. 2016-09-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  44. "Severe Weather Bulletin #1: Severe Tropical Storm "IGME" (CHABA)" (ภาษาอังกฤษ). PAGASA. 2016-10-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  45. "TY 1618 CHABA (1618) UPGRADED FROM STS" (ภาษาอังกฤษ). Japan Meteorological Agency. 2016-10-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  46. "Prognostic Reasoning for Typhoon 21W (Chaba) Warning Nr 15" (ภาษาอังกฤษ). Joint Typhoon Warning Center. 2016-10-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  47. "Prognostic Reasoning for Typhoon 21W (Chaba) Warning Nr 17" (ภาษาอังกฤษ). Joint Typhoon Warning Center. 2016-10-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  48. "Prognostic Reasoning for Super Typhoon 21W (Chaba) Warning Nr 22". en. Joint Typhoon Warning Center. 2016-10-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  49. "TY 1618 CHABA (1618)" (ภาษาอังกฤษ). Japan Meteorological Agency. 2016-10-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  50. "Prognostic Reasoning for Typhoon 21W (Chaba) Warning Nr 23" (ภาษาอังกฤษ). Joint Typhoon Warning Center. 2016-10-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  51. "Prognostic Reasoning for Typhoon 21W (Chaba) Warning Nr 28" (ภาษาอังกฤษ). Joint Typhoon Warning Center. 2016-10-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  52. "DEVELOPED LOW STS 1618 CHABA (1618)" (ภาษาอังกฤษ). Japan Meteorological Agency. 2016-10-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  53. "Typhoon claims six lives in South Korea" (ภาษาอังกฤษ). Financial Times Bangladesh. 2016-10-06. สืบค้นเมื่อ 6 October 2016.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  54. 54.0 54.1 "Typhoon Bualoi". blogs.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2019-10-25. สืบค้นเมื่อ 25 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  55. 55.0 55.1 Korosec, Marko (2019-10-22). "Super typhoon BUALOI remains a powerful Category 4 and is on its way towards Iwo Jima island tomorrow". Severe Weather Europe (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  56. 56.0 56.1 "ญี่ปุ่นเตรียมรับศึกใหม่ ไต้ฝุ่น 2 ลูก จ่อถล่มซ้ำ หลังฮากิบิสเพิ่งผ่านพ้น". kapook.com. 2019-10-21. สืบค้นเมื่อ 21 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  57. 57.0 57.1 "強颱風「博羅依」靠近日本 四國至關東嚴防大雨". www.bastillepost.com (ภาษาจีน). 2019-10-24. สืบค้นเมื่อ 24 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  58. 58.0 58.1 "大雨、千葉と福島で死者10人に 1カ月分超の雨量襲う:朝日新聞デジタル". 朝日新聞デジタル (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ 26 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  59. "令和元年台風21号(2019年10月25日) | 災害カレンダー". Yahoo!天気・災害 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 25 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  60. "25日の千葉・福島の大雨被害 13人死亡 | NHKニュース". web.archive.org (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-10-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-31. สืบค้นเมื่อ 31 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  61. 61.0 61.1 "Typhoon Chaba". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2023-10-25. สืบค้นเมื่อ 25 October 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  62. 62.0 62.1 "Typhoon Chaba". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2010-10-27. สืบค้นเมื่อ 27 October 2010.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  63. 63.0 63.1 "Typhoon Chaba". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2010-10-29. สืบค้นเมื่อ 29 October 2010.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  64. 64.0 64.1 Staff Writer (2010-10-30). "Strong typhoon approaches rain-hit Amami region - The Mainichi Daily News" (ภาษาอังกฤษ). The Mainichi Daily News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-30. สืบค้นเมื่อ 31 October 2010.
  65. 65.0 65.1 Hur, Jae (2010-10-29). "Chaba Weakens Over Japan, Downgraded to Tropical Storm as It Nears Tokyo" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 30 October 2010.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  66. 66.0 66.1 "Digital Typhoon: Typhoon List". agora.ex.nii.ac.jp.
  67. 67.0 67.1 AccuWeather (2009-11-29). "Nida is Mightiest Tropical System of 2009" (ภาษาอังกฤษ). StarTribune. สืบค้นเมื่อ 29 November 2009.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  68. 68.0 68.1 "Typhoon Nida". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2023-10-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-12. สืบค้นเมื่อ 23 October 2023.
  69. 69.0 69.1 "Viet Nam: Typhoons Revised Appeal No. MDRVN001 Operation Update No. 3 - Viet Nam". ReliefWeb (ภาษาอังกฤษ).
  70. 70.0 70.1 "Disaster data: A balanced perspective - Mar 2007 - Indonesia". ReliefWeb (ภาษาอังกฤษ).
  71. 71.0 71.1 https://reliefweb.int/report/philippines/philippines-ndcc-media-update-typhoon-reming-durian-13-dec-2006
  72. 72.0 72.1 https://reliefweb.int/report/viet-nam/viet-nam-ndmp-durian-typhoon-damage-update-08-dec-2006
  73. 73.0 73.1 http://www.typhoon2000.ph/stormstats/CostliestPhilippineTyphoons.htm

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]