พายุไต้ฝุ่นนิดา (พ.ศ. 2552)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไต้ฝุ่นนิดา
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นบินตา
พายุไต้ฝุ่นนิดาขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
สลายตัว3 ธันวาคม พ.ศ. 2552
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA)
ความเร็วลมสูงสุด230 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.43 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่น
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด230 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.43 นิ้วปรอท
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC)
ความเร็วลมสูงสุด315 กม./ชม. (195 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด890 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.28 นิ้วปรอท
ผลกระทบ
ผู้เสียชีวิตไม่มีการรายงาน
ความเสียหายไม่มีการรายงาน
พื้นที่ได้รับผลกระทบประเทศไมโครนีเชีย, กวม
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2552

พายุไต้ฝุ่นนิดา (อักษรโรมัน: Nida)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นบินตา (ตากาล็อก: Vinta)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2552[1] ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ทางตอนใต้ของประเทศไมโครนีเชีย และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อนในวันรุ่งขึ้น และภายใต้สภาพอากาศที่กำลังแปรปรวน จึงทำให้พายุโซนร้อนนิดาได้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และต่อมาเป็นพายุไต้ฝุ่นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่นนิดาได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยถึงระดับความรุนแรงสูงสุดในวันนั้นด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 315 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (195 ไมล์ต่อชั่วโมง) และด้วยความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 230 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (145 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 3] หลังจากนั้นพายุก็ไม่มีการเคลื่อนตัวเป็นเวลาหลายวัน และความรุนแรงผันผวน พายุไต้ฝุ่นนิดาเริ่มอ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และต่อมาก็ได้กลายเป็นพายุโซนร้อนในวันรุ่งขึ้น หลังจากนั้นพายุก็อ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุก็ได้สลายไป เนื่องจากเศษซากของพายุบางส่วนถูกดูดกลืนเข้าไปในกระแสน้ำ นอกจากนี้ ยังเป็นพายุที่แรงที่สุดในเดือนพฤศจิกายน[2] และเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2552 อีกด้วย

ภารกิจวัดปริมาณน้ำฝนในเขตร้อนระบุว่าปริมาณน้ำฝนส่วนใหญ่ของพายุไต้ฝุ่นนิดาอยู่ที่ประมาณ 40 มิลลิเมตร (1.57 นิ้ว) และพื้นที่ใกล้กับศูนย์กลางของพายุจะมีปริมาณน้ำฝนอยู่ที่ประมาณ 50.8 มิลลิเมตร (2 นิ้ว) ซึ่งถือเป็นปริมาณน้ำฝนที่ตกหนัก และพื้นที่บางแห่งมีฝนตกชุก อุณหภูมิความร้อนของเมฆคิวมูโลนิมบัสที่ขยายออกไปนอกชั้นโทรโพสเฟียร์ และเข้าสู่โทรโพพอส ภารกิจวัดปริมาณน้ำฝนในเขตร้อนได้สังเกตเห็นอุณหภูมิความร้อนของเมฆ 3 กลุ่ม ในพายุไต้ฝุ่นนิดา และมียอดเมฆสูงประมาณ 14 กิโลเมตร (9 ไมล์) เนื่องจากความร้อนแฝงจำนวนมากที่ปล่อยออกมาเมื่อไอน้ำควบแน่นเป็นของเหลว[3]

แม้ว่าลมจากพายุไต้ฝุ่นนิดาจะมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก แต่พายุไม่ได้เคลื่อนตัวพัดเข้าฝั่งบริเวณชายฝั่งโดยตรง แม้ว่าจะต้องมีการออกคำเตือนพายุหมุนเขตร้อน เนื่องจากพายุอยู่ใกล้กับประเทศไมโครนีเชีย และไม่มีผลกระทบโดยตรง จึงไม่มีความเสียหาย ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิต

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา[แก้]

แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นนิดา

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นนิดา

  • วันที่ 21 พฤศจิกายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 4] รายงานว่าพื้นที่ของการพาความร้อนได้ยังคงอยู่ภายในร่องมรสุมประมาณ 880 กิโลเมตร (545 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกวมในเวลานี้ หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังเคลื่อนตัวไปรอบ ๆ สันเขากึ่งเขตร้อน การหมุนเวียนได้รวมตัวกันเหนือศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำที่กว้าง และยาว ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีลมแนวตั้งน้อยที่สุดของลมเฉือน และต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในเช้าของวันนั้น ลมจากพายุได้มีการปล่อยตัวออกมา เนื่องจากการพาความร้อนลึกเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในกลุ่มที่มีการพาความร้อนหลายแถบเริ่มห่อหุ้มศูนย์หมุนเวียนระดับต่ำที่กำลังพัฒนาอยู่ หลังจากนั้นไม่นานกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 5] ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนเช่นกัน และกำหนดหมายเลขให้พายุลูกนี้อย่างเป็นทางการว่า 26W
  • วันที่ 22 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้กำหนดหมายเลขให้พายุลูกนี้อย่างเป็นทางการว่า 0922 และกำหนดให้ชื่อว่า นิดา ในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปตามสันเขากึ่งเขตร้อน
  • วันที่ 23 พฤศจิกายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และต่อมาในวันรุ่งขึ้นกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพายุโซนร้อนนิดาได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ตาพายุก็ได้เริ่มปรากฏขึ้นมาภายในศูนย์กลางการไหลเวียนระดับต่ำที่มีการจัดระเบียบได้อย่างดี และในวันรุ่งขึ้นศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุโซนร้อนนิดาได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 เนื่องจากตาพายุส่วนใหญ่มีการจัดระเบียบได้อย่างดีด้วยการพาความร้อนลึกอยู่รอบตาพายุ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (100 ไมล์ต่อชั่วโมง) และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (70 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งทำให้พายุโซนร้อนนิดากลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
    พายุไต้ฝุ่นนิดาขณะมีกำลังแรงสูงสุดอีกครั้งเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
  • วันที่ 25 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนกำลังแรงให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่น และก่อนที่จะรายงานในวันนั้นว่าพายุไต้ฝุ่นนิดาได้ทวีความรุนแรงขึ้นจนมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 10 นาทีที่ 230 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (145 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.43 นิ้วของปรอท) มีความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 315 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (195 ไมล์ต่อชั่วโมง) ตามรายงานของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านกวม พายุไต้ฝุ่นนิดากลายเป็นพายุลูกแรกของความรุนแรงนี้ในแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตก และในแง่ของความเร็วลมสูงสุด 10 นาที 230 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (145 ไมล์ต่อชั่วโมง) นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพายุมีความกดอากาศที่ต่ำสุด 895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.43 นิ้วของปรอท) ทำให้พายุไต้ฝุ่นนิดาเป็นพายุที่แรงที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2552 รองลงมาเป็นอันดับที่ 2 จากพายุไต้ฝุ่นนิดา คือ พายุเฮอริเคนริกในปี พ.ศ. 2552
  • วันที่ 27 พฤศจิกายน ความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นนิดาได้ถูกลดระดับจากพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 กลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 อันเนื่องมาจากพายุเริ่มเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตา และไม่นานก็ทวีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งก่อนมีกำลังเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่นนิดาได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 อีกครั้ง ด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 280 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (175 ไมล์ต่อชั่วโมง) และต่อมาพายุก็ไม่มีการเคลื่อนตัวอยู่ครู่หนึ่ง เนื่องจากพายุกำลังขยายตัวให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หลังจากนั้นพายุก็ค่อย ๆ อ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1
  • วันที่ 30 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่นนิดาได้สร้างช่องว่างขนาดใหญ่ในสันเขากึ่งเขตร้อนในขณะที่พายุอ่อนกำลังลง และมีความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (115 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • วันที่ 1 ธันวาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่อง 10 นาทีที่ 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (70 ไมล์ต่อชั่วโมง) เนื่องจากพายุยังไม่มีการเคลื่อนตัวออกไปไหน
  • วันที่ 2 ธันวาคม พายุโซนร้อนกำลังแรงนิดาเริ่มเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนืออย่างช้า ๆ และอ่อนกำลังลงอีกจนกลายเป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 3 ธันวาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพายุโซนร้อนนิดาได้อ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และในวันเดียวกันศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกคำเตือนเป็นครั้งสุดท้าย เศษซากบางส่วนของพายุถูกดูดกลืนเข้าไปในกระแสน้ำ และส่วนอื่น ๆ ของการพาความร้อนยังคงอยู่ที่จะรวมเข้ากับพายุดีเปรสชันเขตร้อน 28W แรงเฉือนในแนวดิ่งที่มีกำลังแรง ซึ่งสัมพันธ์กับลมมรสุมทางตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นพายุก็ได้สลายไป

การเตรียมการ[แก้]

ประเทศไมโครนีเชีย[แก้]

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติในกวม (NWS Guam) ได้ออกคำเตือนในเกาะฟาเราเลปให้อยู่ในภายใต้การเตือนภัยระดับพายุโซนร้อน และก่อนที่จะเช้าของวันนั้นจะมีการเฝ้าระวังสำหรับเกาะไฟส์ และเกาะอุลิธิ[6][7] ขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนนิดาให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่น และกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติในกวม (NWS Guam) ได้ยกระดับการเตือนภัยระดับพายุโซนร้อนสำหรับเกาะฟาเราเลปให้กลายเป็นการเตือนภัยระดับพายุไต้ฝุ่น[8] หลังจากนั้นก็มีการรายงานว่าการเตือนภัยระดับพายุไต้ฝุ่นสำหรับเกาะฟาเราเลปก็ได้ถูกยกเลิก เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นนิดากำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือโดยห่างไกลจากเกาะฟาเราเลปมาก และก่อนเช้าในวันรุ่งขึ้นการเตือนภัยระดับพายุโซนร้อนสำหรับเกาะไฟส์ และเกาะอุลิธิก็ได้ถูกยกเลิกเช่นกัน[9]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. "นิดา" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 4 ลำดับที่ 12 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  2. พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "บินตา" (25 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
  3. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  4. ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[4]
  5. กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Digital Typhoon: Typhoon List". agora.ex.nii.ac.jp.
  2. AccuWeather (2009-11-29). "Nida is Mightiest Tropical System of 2009" (ภาษาอังกฤษ). StarTribune. สืบค้นเมื่อ 29 November 2009.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "Typhoon Nida". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2023-10-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-12. สืบค้นเมื่อ 23 October 2023.
  4. "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  5. "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  6. Dan, Mundell (2009-11-24). "Tropical Storm 26W (Nida) Special Advisory Number Eight A" (ภาษาอังกฤษ). National Weather Service in Guam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2009. สืบค้นเมื่อ 24 November 2009.
  7. Dan, Mundell (2009-11-24). "Tropical Storm 26W (Nida) Advisory Number Nine" (ภาษาอังกฤษ). National Weather Service in Guam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2009. สืบค้นเมื่อ 24 November 2009.
  8. Paul Stanko and Clint Simpson (2009-11-24). "Tropical Storm 26W (Nida) Special Advisory Number Ten A" (ภาษาอังกฤษ). National Weather Service in Guam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2009. สืบค้นเมื่อ 24 November 2009.
  9. Dan, Mundell (2009-11-25). "Tropical Storm 26W (Nida) Advisory Number Thirteen". National Weather Service in Guam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2009. สืบค้นเมื่อ 25 November 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]