ข้ามไปเนื้อหา

พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2556)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไต้ฝุ่นวิภา
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นตีโน
พายุไต้ฝุ่นวิภาขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่
13 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว9 ตุลาคม พ.ศ. 2556
นอกเขตร้อน16 ตุลาคม พ.ศ. 2556
สลายตัว22 ตุลาคม พ.ศ. 2556
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA)
ความเร็วลมสูงสุด185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 27.32 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่น
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 27.32 นิ้วปรอท
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC)
ความเร็วลมสูงสุด240 กม./ชม. (150 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 27.17 นิ้วปรอท
ผลกระทบ
ผู้เสียชีวิต41 ราย
ความเสียหาย$405 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงินปี พ.ศ. 2556 USD)
พื้นที่ได้รับผลกระทบหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา,
กวม, ญี่ปุ่น, รัฐอะแลสกา,
รัสเซียตะวันออกไกล
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556

พายุไต้ฝุ่นวิภา[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นตีโน (ตากาล็อก: Tino)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีขนาดใหญ่ และสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกลางเดือนตุลาคมในปี พ.ศ. 2556 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 และพายุลูกนี้เกิดจากพายุดีเปรสชันเขตร้อนทางตะวันออกของกวม พายุได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกโดยพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกนี้ก่อตัวช้าในช่วงแรก อย่างไรก็ตาม สภาพบรรยากาศที่เอื้ออำนวยทำให้พายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อน และได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม[1] พายุเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พายุไต้ฝุ่นวิภาได้กลายเป็นพายุที่มีขนาดใหญ่มาก และมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 10 นาทีที่ 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (115 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 3] ความกดอากาศที่ 925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วของปรอท) พายุไต้ฝุ่นวิภาเปลี่ยนทิศทางไปทางทิศเหนือมากขึ้น และได้อ่อนกำลังลง เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อพายุ พายุได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างรวดเร็วเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม เนื่องจากพายุได้ปะทะกับแนวปะทะที่หยุดนิ่งทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น และต่อมาพายุก็เริ่มเปลี่ยนสถานะเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวได้สลายไปในช่วงเช้าของวันที่ 16 ตุลาคม[2]

พายุไต้ฝุ่นวิภาอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนตัวผ่านทางตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม แม้ว่าพายุจะสร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อย แต่ก็ก่อให้เกิดดินถล่มขนาดใหญ่บนอิซุโอชิมะที่คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อยประมาณ 31 ราย และมีผู้สูญหายอีกประมาณ 13 ราย นอกจากนี้ ยังมีผู้เสียชีวิตเป็นเด็กนักเรียน 1 ใน 2 ราย ที่หายตัวไปใกล้กับจังหวัดคานางาวะในเวลาต่อมา นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าชายคนหนึ่งในชิบะ และเด็กอีกคนได้สูญหายไปนอกเหนือจากผู้คนบนโอชิมะ บ้านเรือนอย่างน้อยประมาณ 350 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนักในอิซุโอชิมะ

ขณะที่พายุไต้ฝุ่นวิภาเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จึงทำให้เกิดฝนตกหนักในโอชิมะโดยมีปริมาณน้ำฝนรวมต่อชั่วโมงอยู่ที่ประมาณ 100 มิลลิเมตร (3.9 นิ้ว) และปริมาณน้ำฝนรวม 24 ชั่วโมง อยู่ที่ประมาณ 824 มิลลิเมตร (32.4 นิ้ว) เนื่องมาจากฝนตกหนัก ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดดินถล่มหลายแห่ง เศษซากของความลาดชันในชั้นเถ้าภูเขาไฟบาง ๆ บนพื้นผิวเนินเขา ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยประมาณ 41 ราย และพายุได้ทำให้เกิดความเสียหายในประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ 40 พันล้านเยน (404.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[nb 4]

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา

[แก้]
แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นวิภา

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นวิภา

  • วันที่ 8 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 5] รายงานว่าเกิดการรบกวนของหย่อมความกดอากาศต่ำขึ้นภายในบริเวณที่มีลมเฉือนแนวตั้งต่ำถึงระดับปานกลางประมาณ 670 กิโลเมตร (415 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฐานทัพอากาศแอนเดอร์สันบนกวมในระหว่างวันนั้น และพายุเริ่มก่อตัวเป็นศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำที่รวมตัวกัน
  • วันที่ 9 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 6] เริ่มตรวจสอบพายุดังกล่าวว่าเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในช่วงเช้าของวันนี้
  • วันที่ 10 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้เริ่มออกคำเตือนเกี่ยวกับพายุ และยกระดับจากหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน พายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้รับการประกาศว่าเป็นพายุโซนร้อนในขณะที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้กำหนดให้ชื่อ วิภา เป็นพายุ
  • วันที่ 11 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับจากพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงเมื่อพายุทวีกำลังแรงขึ้น
  • วันที่ 12 ตุลาคม พายุโซนร้อนวิภาได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นในขณะที่พายุเคลื่อนตัวช้า ๆ และได้เข้าสู่พื้นที่ที่มีน้ำอุ่นกับลมเฉือนต่ำ
  • วันที่ 13 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นวิภาได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 ด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (150 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเป็นเช่นนั้น พายุได้พัฒนาตาพายุที่เล็ก กะทัดรัด และชัดเจน ในเที่ยงวันของวันนี้ สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้สังเกตเห็นว่าพายุได้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ และได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า ตีโน
  • วันที่ 15 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นวิภาได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 และหลังจากนั้นก็กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 พายุได้เคลื่อนตัวออกจากพื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องจากน้ำทะเลรอบ ๆ พายุเริ่มเย็นลงในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศญี่ปุ่นด้วยสถานะพายุไต้ฝุ่นระดับ 1
  • วันที่ 16 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นวิภาได้เคลื่อนตัวเข้าสู่สถานะพายุหมุนนอกเขตร้อนในช่วงดึกของวันนี้ และส่วนที่เหลือของพายุยังคงเคลื่อนตัวเข้าสู่สถานะพายุหมุนนอกเขตร้อน เนื่องจากพายุลูกนี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรคัมชัตคาในวันถัดไป
  • วันที่ 18 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้รายงานว่าพายุยังคงเคลื่อนตัวด้วยความเร็ว และสลายอยู่นอกเขตร้อน

การเตรียมการ

[แก้]

ประเทศญี่ปุ่น

[แก้]

ด้วยความคาดหมายว่าจะมีฝนตกหนักที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งที่พังทรุดโทรม และบริษัท โตเกียว อิเล็คทริค พาวเวอร์ ได้วางกระสอบทรายรอบ ๆ คูระบายน้ำเพื่อกักเก็บน้ำที่มีกัมมันตภาพรังสี[5] สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้กล่าวว่าพายุลูกนี้ถือเป็น “พายุลูกหนึ่งในรอบทศวรรษ” โรงเรียนทั่วโตเกียวได้หยุดการเรียนการสอนในวันที่ 16 ตุลาคม และการคมนาคมขนส่งก็ได้หยุดชะงักลง ผู้คนประมาณกว่า 60,000 คน ต้องยกเลิกเที่ยวบิน และสถานีรถไฟในบางพื้นที่ของเมืองได้ทำการปิดบริการชั่วคราว บริษัทน้ำมัน 3 แห่ง ได้ถูกระงับการจัดส่งทางตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น เช่น บริษัท คอสโมออยล์ บริษัท ฟูจิออยล์ บริษัท อิเดมิตสึ โคซัง และบริษัท อีนีออส โฮลดิ้งส์ ในขณะที่บริษัท นิสสันมอเตอร์ จำกัด ได้ทำการยกเลิกการจัดส่งในวันนั้น[6]

เกาะอิซุโอชิมะ

[แก้]

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับโคลนถล่มสำหรับเกาะภูเขาไฟ 2 แห่ง เช่น เกาะอิซุโอชิมะ และเกาะมิยาเกะ ซึ่งต่อมาได้ส่งต่อไปยังรัฐบาลโตเกียว และได้ส่งโทรสารไปยังรัฐบาลท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบในขณะที่รัฐบาลมิยาเกะได้รับคำเตือน และแนะนำให้ประชาชนอพยพ เจ้าหน้าที่ในสำนักงานโอชิมะก็ได้ออกไปทั้งวันโดยเหลือเพียงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเท่านั้น และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก็ไม่เห็นคำแนะนำดังกล่าวจนกระทั่งประมาณเที่ยงคืนตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นพวกเขาก็ตัดสินใจว่ามันอันตรายเกินไปที่จะขอให้ผู้อยู่อาศัยออกจากบ้าน และไม่ออกคำสั่งอพยพ[7]

ผลกระทบ

[แก้]

ประเทศญี่ปุ่น

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นวิภากำลังเคลื่อนตัวเข้าประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

พายุไต้ฝุ่นวิภาอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนตัวผ่านทางตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม แม้ว่าพายุจะสร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อย แต่ก็ก่อให้เกิดดินถล่มขนาดใหญ่ในอิซุโอชิมะที่คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อยประมาณ 31 ราย และมีผู้สูญหายอีกประมาณ 13 ราย[8] นอกจากนี้ ยังมีผู้เสียชีวิตเป็นเด็กนักเรียน 1 ใน 2 ราย ที่หายตัวไปใกล้กับจังหวัดคานางาวะในเวลาต่อมา นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าชายคนหนึ่งในชิบะ และเด็กอีกคนได้สูญหายไปนอกเหนือจากผู้คนบนโอชิมะ[9] มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อยประมาณ 17 ราย หลังจากที่พายุเคลื่อนตัวพัดถล่มทางตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น ทางตอนใต้ของโตเกียว อิซุ และโอชิมะ ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากพายุไต้ฝุ่นวิภาโดยประสบกับดินถล่ม และน้ำท่วม มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเมื่อบ้านเรือนพังทลาย หรือถูกโคลนถล่มฝังกลบ ยังมีผู้สูญหายอย่างน้อยประมาณ 50 ราย และได้มีการดำเนินการเพื่อปกป้องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งที่พังทลายแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานกล่าวว่า "ดูเหมือนว่าจะรอดพ้นจากพายุที่เลวร้ายที่สุดแล้ว" เที่ยวบินถูกยกเลิก รถไฟความเร็วสูงถูกระงับ และโรงเรียนปิด ในโตเกียว ขณะนี้พายุไต้ฝุ่นวิภาได้อ่อนกำลังลงกลายเป็นพายุโซนร้อนในขณะที่พายุเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พายุได้ทำให้เกิดฝนตกเป็นประวัติการณ์ในตอนเช้าโดยมีปริมาณน้ำฝนลดลงเกือบ 127 มิลลิเมตร (5 นิ้ว) ในเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมงในอิซุโอชิมะ ซึ่งอยู่ห่างจากโตเกียวไปทางทิศใต้ประมาณ 120 กิโลเมตร (75 ไมล์) พายุได้ทำให้ดินจำนวนมากลงมาตามไหล่เขา และทำให้แม่น้ำต่าง ๆ ท่วมตลิ่ง

สื่อของประเทศญี่ปุ่นระบุว่ามียอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 16 ราย แต่ยังมีผู้เสียชีวิตอีกประมาณ 51 ราย ในอิซุโอชิมะ รายงานท้องถิ่นระบุว่าเจ้าหน้าที่กู้ภัยกำลังดิ้นรนเพื่อเข้าถึงพื้นที่หลายแห่ง "ศาลากลางกับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงกำลังทำงานกู้ภัยในสถานที่ที่สามารถเข้าถึงได้" เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นบอกกับสำนักข่าวอาช็องซ์ ฟร็องซ์ เปร็ส เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และเฮลิคอปเตอร์เพิ่มเติม ได้ถูกส่งไปยังเกาะแห่งนี้ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่มีผู้อยู่อาศัยมากกว่าประมาณ 8,000 คน เพื่อช่วยเหลือในการกู้ภัยในโตเกียว และเที่ยวบินภายในประเทศกับระหว่างประเทศประมาณ 400 เที่ยวบิน ได้ถูกยกเลิกลงเช่นกัน สำนักข่าวเกียวโดระบุสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่ามีประชาชนประมาณเกือบ 20,000 คน ถูกสั่งให้อพยพออกไป และโรงเรียนหลายพันแห่งต้องปิด เนื่องจากพายุลูกนี้ บ้านเรือนอย่างน้อยประมาณ 350 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนักในอิซุโอชิมะ[10]

สถานที่ฟื้นฟูภัยพิบัติการไหลของเศษซากอิซุโอชิมะ ประเทศญี่ปุ่น

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งมีถังเก็บน้ำประมาณ 12 ถัง ได้ล้น เนื่องจากฝนตกหนักจากพายุไต้ฝุ่นวิภา ค่าระดับรังสีบีตาได้พุ่งสูงขึ้นเป็นประมาณ 400,000 เบ็กเคอเรล หลังเกิดพายุ ซึ่งมากกว่าครั้งก่อนถึงประมาณ 6,500 เท่า กระแสน้ำล้นเกิดจากการเตรียมการที่ไม่เพียงพอของบริษัท โตเกียว อิเล็คทริค เพาเวอร์ และไม่ใส่ใจคำเตือนเกี่ยวกับพายุ นอกจากนี้ ยังตรวจพบรังสีบีตาในพื้นที่ที่อยู่นอกเขื่อน ซึ่งออกแบบมาเพื่อกักเก็บน้ำที่ปนเปื้อน บริษัท โตเกียว อิเล็คทริค เพาเวอร์ ได้ประกาศอีกครั้งเกี่ยวกับถังเก็บน้ำกัมมันตภาพรังสีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง และผู้ดำเนินการนิวเคลียร์ระบุว่ามีน้ำล้นออกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หลังจากฝนตกหนักในช่วงสองสามวันที่ผ่านมาจากข้อมูลของบริษัท โตเกียว อิเล็คทริค เพาเวอร์ ระบุว่าฝนตกหนักทำให้น้ำล้นใน 12 ภาคส่วน ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีถังเก็บน้ำที่มีการปนเปื้อนรังสี นอกจากนี้ ยังพบว่ามีน้ำที่มีรังสีบีตาอยู่เลยเหนือเขื่อนด้วย และในขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญของหน่วยงานสาธารณูปโภคกำลังค้นหาปริมาณน้ำที่รั่วออกจากถังรวมถึงระดับรังสี น้ำที่มีการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี ซึ่งบริษัท โตเกียว อิเล็คทริค เพาเวอร์ ได้อ้างว่ารั่วไหล "เนื่องจากฝนตกหนักในภูมิภาคโทโฮกุ" มีแนวโน้มที่จะเพิ่มความกังวล และความสงสัยของผู้คนที่เกี่ยวกับความสามารถของผู้ปฏิบัติงานนิวเคลียร์ในการทำความสะอาดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เลิกใช้งานแล้ว

เศษซากดินถล่มในอิซุโอชิมะ ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นวิภา ซึ่งถือเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดที่เคลื่อนตัวเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นในรอบทศวรรษ แต่ผลกระทบสามารถลดลงได้หากปฏิบัติตามข้อควรระวังที่เหมาะสม น่าเสียดายที่บริษัท โตเกียว อิเล็คทริค เพาเวอร์ เพิกเฉยต่อคำเตือนพยากรณ์อากาศ เจ้าหน้าที่เทปโกตรวจพบรังสีบีตาได้ประมาณ 400,000 เบ็กเคอเรล ซึ่งสูงกว่าการตรวจวัดครั้งก่อนถึงประมาณ 6,500 เท่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม และมีการประกาศว่าระดับรังสีในน้ำใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ประมาณ 140,000 เบ็กเคอเรล ซึ่งสูงกว่าระดับสูงสุดก่อนหน้านี้อยู่ที่ประมาณ 59,000 เบ็กเคอเรล การเพิ่มขึ้นของรังสีมีสาเหตุมาจากฝนตกหนักจากพายุไต้ฝุ่นวิภา[11]

เกาะอิซุโอชิมะ

[แก้]

เมื่อวันที่ 16 กันยายน ขณะที่พายุไต้ฝุ่นวิภาเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จึงทำให้เกิดฝนตกหนักในโอชิมะโดยมีปริมาณน้ำฝนรวมต่อชั่วโมงอยู่ที่ประมาณ 100 มิลลิเมตร (3.9 นิ้ว) และปริมาณน้ำฝนรวม 24 ชั่วโมง อยู่ที่ประมาณ 824 มิลลิเมตร (32.4 นิ้ว)[12] เนื่องมาจากฝนตกหนัก ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดดินถล่มหลายแห่ง เศษซากของความลาดชันในชั้นเถ้าภูเขาไฟบาง ๆ บนพื้นผิวเนินเขา ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยประมาณ 41 ราย[13] และพายุได้ทำให้เกิดความเสียหายในประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ 40 พันล้านเยน (404.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[14]

ในระหว่างเหตุการณ์หลังระบบรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่นได้จัดตั้งสำนักงานตอบสนองภัยพิบัติในโอชิมะอย่างรวดเร็วเพื่อสนับสนุนการอพยพผู้อยู่อาศัย และช่วยป้องกันภัยพิบัติรองใด ๆ รัฐบาลได้ส่งกองกำลังควบคุมเหตุฉุกเฉินทางเทคนิค และกองกำลังป้องกันตนเองของประเทศญี่ปุ่น ไปยังเกาะเพื่อดำเนินการค้นหา และช่วยเหลือ ประเมินขอบเขตของความเสียหาย และช่วยป้องกันภัยพิบัติรอง รัฐบาลของโตเกียวถูกสื่อวิพากษ์วิจารณ์จากการใช้โทรสารเพื่อส่งคำเตือน แม้จะมีการปรับปรุงเทคโนโลยีอย่างมากมายก็ตาม อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะยืนหยัดในการใช้โทรสารเพื่อเผยแพร่คำเตือน เนื่องจากสามารถส่งคำเตือนได้ในคราวเดียวในวันที่ 17 ตุลาคม นายกเทศมนตรีของอิซุโอชิมะได้ออกคำขอโทษต่อสาธารณชนที่ไม่ได้ออกคำสั่งอพยพ และยอมรับว่าคำสั่งดังกล่าวอาจช่วยชีวิตได้[15]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. "วิภา" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 2 ลำดับที่ 12 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  2. พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "ตีโน" (11 ถึง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
  3. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  4. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2556 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  5. ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[3]
  6. สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Typhoon Tino enters PAR" (ภาษาอังกฤษ). JK/Sunnex. 2013-10-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2013. สืบค้นเมื่อ 14 October 2013.
  2. RSMC Tokyo — Typhoon Center (18 November 2013). Typhoon Wipha (RSMC Tropical Cyclone Best Track). Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2024. สืบค้นเมื่อ 18 November 2013.
  3. "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  4. "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  5. Ida Torres (2013-10-24). "Fukushima water reaches new radiation high" (ภาษาอังกฤษ). Japan Daily Press. สืบค้นเมื่อ 24 October 2013.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. Faith Aquino (2013-10-15). "Typhoon Wipha: 'Once in a decade' storm heading towards Tokyo" (ภาษาอังกฤษ). Japan Daily Press. สืบค้นเมื่อ 24 October 2013.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. Hofilena, John (2013-10-23). "Japan's continued reliance on fax technology to blame for lack of mudslide warning?" (ภาษาอังกฤษ). Japan Daily Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2013. สืบค้นเมื่อ 24 October 2013.
  8. <伊豆大島>25日に全域避難勧告…台風27号接近に備え. 毎日新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). Yahoo! News. 2013-10-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2024. สืบค้นเมื่อ 24 October 2013.
  9. "AFP: Frogmen join body hunt as Japan typhoon tolls hit 24". web.archive.org (ภาษาอังกฤษ). 2014-02-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-19. สืบค้นเมื่อ 2024-09-20.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  10. "Japan Typhoon Wipha kills 17 people". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 2013-10-16. สืบค้นเมื่อ 16 October 2013.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. Joint Typhoon Warning Center (2013-10-08). "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Oceans October 8, 2013 00z" (ภาษาอังกฤษ). United States Navy, United States Air Force. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2024. สืบค้นเมื่อ 27 November 2013.
  12. "Japan Typhoon Wipha kills 13 people". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 2013-10-16. สืบค้นเมื่อ 16 October 2013.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. Japan Meteorological Agency (22 November 2013). Member Report: Japan (PDF). ESCAP/WMO Typhoon Committee: 8th Integrated Workshop/2nd TRCG Forum. ESCAP/WMO Typhoon Committee. p. 9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 December 2013. สืบค้นเมื่อ 26 November 2013.
  14. 平成25年の水害被害額について (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism. 2015-03-27. สืบค้นเมื่อ 15 May 2015.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. Hofilena, John (2013-10-17). "Typhoon Wipha: Island mayor admits evacuation could have saved more lives" (ภาษาอังกฤษ). Japan Daily Press. สืบค้นเมื่อ 24 October 2013.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]