พายุไต้ฝุ่นขนุน (พ.ศ. 2566)
พายุไต้ฝุ่นขนุนขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 | |
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา | |
---|---|
ก่อตัว | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 |
นอกเขตร้อน | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2566 |
สลายตัว | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2566 |
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง | |
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.58 นิ้วปรอท |
พายุไต้ฝุ่น | |
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.58 นิ้วปรอท |
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 | |
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.43 นิ้วปรอท |
ผลกระทบ | |
ผู้เสียชีวิต | 13 ราย |
ความเสียหาย | $98.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี พ.ศ. 2566 USD) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, คาบสมุทรเกาหลี, จีน, รัสเซียตะวันออกไกล |
IBTrACS | |
ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 |
พายุไต้ฝุ่นขนุน (อักษรโรมัน: Khanun)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นฟัลโกน (ตากาล็อก: Falcon)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรง ไม่แน่นอน และอยู่ยาวนาน ซึ่งเคลื่อนตัวไปตามเกาะโอกินาวะ และชายฝั่งทางตะวันตกของคาบสมุทรเกาหลีในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 นับเป็นพายุลูกที่ 6 ที่ได้รับการตั้งชื่อ และเป็นพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 4 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566[1] ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ[2] หลังจากนั้นพายุก็ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุที่มีความเร็วลมเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน พายุไต้ฝุ่นขนุนมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 3] และด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง)[3] ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทะเลฟิลิปปินเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ก่อนที่จะเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตา พายุไต้ฝุ่นขนุนเริ่มอ่อนกำลังลงเล็กน้อยเมื่อเคลื่อนตัวเข้าใกล้หมู่เกาะรีวกีวส่งผลให้มีฝนตกหนัก และลมแรง พายุเริ่มลดการมองเห็นภาพจากดาวเทียม เนื่องจากยอดเมฆที่เกือบจะนิ่ง และอุ่นขึ้น การอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่องของพายุยังคงดำเนินต่อไปเมื่อเคลื่อนตัวเข้าใกล้คาบสมุทรเกาหลี และในที่สุดก็เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่กอเจโดในประเทศเกาหลีใต้ หลังจากนั้นพายุก็สลายไปในเวลาไม่นาน[4]
พายุไต้ฝุ่นขนุนกลายเป็นพายุลูกแรกที่เคลื่อนตัวผ่านคาบสมุทรเกาหลีจากประเทศเกาหลีใต้ไปประเทศเกาหลีเหนือตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกข้อมูลในปี พ.ศ. 2494 ในประเทศเกาหลีใต้ ประชาชนประมาณ 40,350 คน ไม่มีไฟฟ้าใช้ และมีรายงานว่าสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อย่างน้อยประมาณ 159 แห่ง ได้รับความเสียหาย พื้นที่เกษตรกรรมมากกว่าประมาณ 1,019 เฮกตาร์ ในจังหวัดคย็องซังใต้ได้รับความเสียหาย สื่อของรัฐในประเทศเกาหลีเหนือได้รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นขนุนทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยเช่นกัน
พายุได้ทำให้เกิดฝนตกหนักในบางส่วนของดินแดนปรีมอร์เยในรัสเซียตะวันออกไกล ประเทศรัสเซียได้ส่งคณะทำงานไปสังเกตการณ์การทำความสะอาดพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ มีการประกาศภาวะฉุกเฉินใน 21 เทศบาล มีรายงานผู้เสียชีวิตประมาณ 13 ราย มีผู้สูญหายประมาณ 16 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกประมาณ 115 ราย และความเสียหายโดยรวมประมาณ 98.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 4]
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
[แก้]ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นขนุน
- วันที่ 26 กรกฎาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 5] ได้ประกาศการก่อตัวของบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำในมหาสมุทรแปซิฟิก สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มส่งสัญญาณเตือนพายุโดยประกาศว่าเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน การวิเคราะห์จากสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นบ่งชี้ว่าพายุอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาโดยมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่อบอุ่น และลมเฉือนแนวตั้งต่ำ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 6] ได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนสำหรับพื้นที่ที่มีการพาความร้อนทางตะวันออกของแยป
- วันที่ 27 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้เริ่มออกคำเตือนเกี่ยวกับพายุดังกล่าว และจัดประเภทเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนเมื่อเวลา 16:00 น. (09:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ภาพถ่ายดาวเทียมพบว่าศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำของพายุได้ถูกกำหนดไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม โครงสร้างการพาความร้อนยังคงอสมมาตร
- วันที่ 28 กรกฎาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้กำหนดให้ชื่อ ขนุน พายุได้รวมศูนย์การไหลเวียนระดับต่ำเข้ากับแถบการพาความร้อนแบบก่อตัว และการพาความร้อนแบบลึกเหนือครึ่งวงกลมทางทิศตะวันออก
- วันที่ 29 กรกฎาคม พายุโซนร้อนขนุนได้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์เมื่อเวลา 10:00 น. (03:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า ฟัลโกน พายุได้เคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อนระดับกลางที่อยู่ใกล้เคียง จึงทำให้พายุทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
- วันที่ 30 กรกฎาคม พายุโซนร้อนขนุนเกิดเมฆปกคลุมหนาแน่นบริเวณศูนย์กลางของพายุ และตาพายุขรุขระ แสดงให้เห็นว่าพายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (80 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1
- วันที่ 31 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) ทำให้พายุไต้ฝุ่นขนุนมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประเมินพร้อมกันว่าพายุมีความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วของปรอท)
- วันที่ 1 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นขนุนได้เคลื่อนตัวออกจากพื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์เมื่อเวลาประมาณ 02:00 น. (19:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และพายุอ่อนกำลังลงเล็กน้อยในขณะที่เคลื่อนตัวเข้าใกล้หมู่เกาะรีวกีว
- วันที่ 2 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นขนุนได้อ่อนกำลังลง เนื่องจากพายุเกิดวัฏจักรการแทนที่กำแพงตา และทำให้ตาพายุขยายตัวขึ้นอย่างมาก แต่โครงสร้างโดยรวมของพายุได้เสื่อมลง ตาพายุชั้นในเริ่มเผชิญกับอุณหภูมิของมหาสมุทรที่เย็นลงจากภาพถ่ายดาวเทียมอินฟราเรด ซึ่งล้อมรอบด้วยวงแหวนสมมาตรของความเย็น
- วันที่ 3 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นขนุนได้เคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่เย็นลง และด้วยเหตุนี้พายุจึงมีแนวโน้มอ่อนกำลังลงตาพายุ พายุไต้ฝุ่นขนุนได้อ่อนกำลังลง เนื่องจากเมฆที่เกือบจะนิ่ง และอุ่นขึ้น
- วันที่ 4 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นขนุนได้เคลื่อนตัวไปทางขั้วโลก และพายุได้เปลี่ยนทิศไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในขณะที่เคลื่อนตัวผ่านขอบด้านใต้ของพายุหมุนกึ่งเขตร้อน หลังจากโครงสร้างของพายุได้อ่อนแอลงทำให้สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ลดระดับจากพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงโดยมีความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (60 ไมล์ต่อชั่วโมง) พายุเริ่มมีกำลังแรงขึ้นโดยมีแถบพายุแบบลึกเหนือจตุภาคในวันต่อมา
- วันที่ 6 สิงหาคม พายุโซนร้อนขนุนได้เคลื่อนตัวไปทางเหนือของโทคุโนะชิมะ และพายุได้เคลื่อนตัวเร่งความเร็วไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์กลางของพายุได้ถูกเปิดเผย และแถบพายุฝนฟ้าคะนองแบบลึกห่อหุ้มเป็นวงกว้าง
- วันที่ 9 สิงหาคม ภาพถ่ายดาวเทียมได้แสดงศูนย์การไหลเวียนระดับต่ำที่รวมตัวกันโดยมีแถบพายุฝนฟ้าคะนองแบบก่อตัว และการพาความร้อนแบบลึกเหนือครึ่งวงกลมทางทิศเหนือ พายุได้เคลื่อนตัวผ่านไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะคีวชู
- วันที่ 10 สิงหาคม พายุโซนร้อนขนุนได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่กอเจโดในประเทศเกาหลีใต้ด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (50 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 07:00 น. (00:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) หลังจากนั้นพายุเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำถูกบดบังด้วยพายุที่ยังคงอยู่ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ยังคงติดตามพายุในฐานะพายุหมุนนอกเขตร้อนจนถึงเช้าของวันต่อมา
การเตรียมการ
[แก้]ประเทศญี่ปุ่น
[แก้]ประชาชนในเกาะโอกินาวะ และหมู่เกาะอามามิ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่นได้รับคำแนะนำให้เตรียมพร้อมรับมือกับพายุไต้ฝุ่นขนุน[7] สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้คาดการณ์ว่าจะมีฝนตกสูงถึงประมาณ 100 มิลลิเมตร (3.9 นิ้ว) ในเกาะโอกินาวะ และในอีก 24 ชั่วโมง ข้างหน้าจะสูงถึงประมาณ 150 มิลลิเมตร (5.9 นิ้ว) ในหมู่เกาะอามามิ[8] พายุฝนฟ้าคะนองที่มีปริมาณน้ำฝนสูงถึงประมาณ 400 มิลลิเมตร (16 นิ้ว) จะพัดถล่มเกาะคีวชู และเกาะชิโกกุ ในนางาซากิได้ย้ายการรำลึกถึงวันครบรอบ 78 ปี ของการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิจากสวนสาธารณะไปยังศูนย์การประชุมในร่ม[9]
ผลกระทบ
[แก้]ประเทศฟิลิปปินส์
[แก้]ขณะที่พายุไต้ฝุ่นขนุนเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้ออกประกาศฉบับต่อมา แม้ว่าพายุจะไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศฟิลิปปินส์แต่ทั้งพายุไต้ฝุ่นขนุน และพายุไต้ฝุ่นทกซูรี แต่ก็ได้ทำให้ลมมรสุมรุนแรงขึ้นเป็นเวลาหลายวัน ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงทั่วประเทศ[10] หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วเกาะลูซอนยังได้ระงับการเรียนการสอนในโรงเรียนของรัฐ และสำนักงานของรัฐ[11]
พายุได้ออกจากพื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ ได้ออกคำแนะนำครั้งสุดท้ายเกี่ยวกับพายุลูกนี้[12] หลังจากฝนตกติดต่อกันหลายวันจากมรสุมทางตะวันตกเฉียงใต้ ชุมชนบางแห่งในจังหวัดบูลาคันยังคงถูกน้ำท่วม[13] กรมสวัสดิการสังคมและการพัฒนาได้รายงานว่าประชาชนอย่างน้อยประมาณ 2 ล้านคน และตำบลประมาณ 1,042 แห่ง ในเกาะลูซอน และวิซายัส ได้รับผลกระทบจากฝนที่เกิดจากมรสุมทางตะวันตกเฉียงใต้ในขณะที่ฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งวันเขื่อนอังกัตก็มีปริมาณน้ำล้นถึงประมาณ 195.88 ลูกบาศก์เมตร (6,917 ลูกบาศก์ฟุต)[14]
ประเทศญี่ปุ่น
[แก้]เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อยประมาณ 115 ราย และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2 ราย ในจังหวัดโอกินาวะ[15] พบชายวัย 90 ปี ใต้โรงรถที่ถล่ม และเสียชีวิตในเวลาต่อมาในหมู่บ้านโอกิมิ[16] หญิงวัย 89 ปี ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการถูกไฟไหม้ทั่วร่างกายเพราะอยู่ในบ้านคอนกรีตที่ถูกไฟไหม้ เนื่องจากเทียนที่ใช้ดับไฟ และในเวลาต่อมาหญิงรายนี้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลในท้องถิ่นในอูรูมะ[17] ถนนสายเดียวที่มุ่งไปยังหมู่บ้านเล็ก ๆ ของคิตาอุเอะฮาระได้พังทลายลง และส่งผลกระทบให้ชาวบ้านไม่สามารถออกไปไหนได้[18] บริษัท โอกินาวะ อิเล็คทริค พาวเวอร์ รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นขนุนได้ทำให้บ้านเรือนประมาณ 220,000 หลัง ไม่มีไฟฟ้าใช้ หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของชาวโอกินาวะ[19]
บ้านเรือนอย่างน้อยประมาณ 7,000 หลัง ไม่มีไฟฟ้าใช้หมู่เกาะอามามิ ซึ่งเป็นเกาะทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะโอกินาวะ เรือบรรทุกสินค้าซินไห่โจว 2 เกยตื้นนอกชายฝั่งเกาะอิชิงากิ และแตกออกเป็นสองท่อนท่ามกลางคลื่นลมแรงที่เกิดจากพายุ[20] ความเสียหายในจังหวัดโอกินาวะอยู่ที่ประมาณ 2 พันล้านเยน (14.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[21] เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม นาฮะเริ่มจ่ายน้ำประมาณ 1,170 ลิตร (310 แกลลอน) ให้กับอพาร์ตเมนต์ และฟาร์ม ที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำกับไฟฟ้าเป็นเวลานาน[22] ในประเทศญี่ปุ่นมีสภาพอากาศที่เลวร้าย จึงทำให้รถไฟซันโยชิงกันเซ็งต้องยกเลิกบริการประมาณ 25 สาย ระหว่างสถานีรถไฟฮิโรชิมะกับสถานีรถไฟโคคุระในวันที่ 9 และ 10 สิงหาคม ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารประมาณ 5,200 คน บริการรถไฟท้องถิ่นในจังหวัดยามางูจิก็ถูกระงับเช่นเดียวกัน[23]
ประเทศจีน
[แก้]ประชาชนมากกว่าประมาณ 1,200 คน ในมณฑลเฮย์หลงเจียงได้รับการอพยพ[24] มณฑลเฮย์หลงเจียงได้ออกคำเตือนสีแดง 2 รายการ สำหรับพายุฝนฟ้าคะนอง ในขณะที่เฮ่อกัง เจียมู่ซือ ชวงหยาซาน จี้ซี และหมู่ตันเจียง ได้มีการคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำฝนอยู่ที่ประมาณ 40 มิลลิเมตร (1.6 นิ้ว) ถึง 80 มิลลิเมตร (3.1 นิ้ว)[25] รัฐบาลท้องถิ่นรายงานว่าซางจือจะมีการหยุดเรียน ทำงาน การผลิต การดำเนินงาน และกิจกรรมทางธุรกิจ[26] ฝนที่ตกหนักจากพายุได้ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และโคลนถล่มเป็นบริเวณกว้าง มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยประมาณ 2 ราย และมีผู้สูญหายประมาณ 16 ราย พายุฝนฟ้าคะนองได้ทำให้ถนน สะพาน และแหล่งจ่ายไฟ ได้รับความเสียหาย รวมถึงบริการรถไฟโดยสารอย่างน้อยประมาณ 20 เที่ยว ต้องหยุดชะงักลง[27]
ประเทศไต้หวัน
[แก้]พายุไต้ฝุ่นขนุนไม่ได้สร้างความเสียหายโดยตรงต่อประเทศไต้หวัน แต่กระแสลมทางตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดแรงได้ทำให้เกิดดินถล่มอย่างรุนแรงต่อพื้นที่ภูเขาตอนกลางของประเทศไต้หวัน นอกจากนี้ พายุได้ทำให้เกิดภัยพิบัติทางการเกษตรทั่วประเทศเป็นมูลค่ารวมอยู่ที่ประมาณ 181.22 ล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่ (5.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) หากแบ่งตามมณฑล และเมืองต่าง ๆ เทศมณฑลหนานโถวได้รับความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 157.63 ล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่ (4.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เทศมณฑลเหมียวลี่ได้รับความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 10.56 ล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่ (331,955 ดอลลาร์สหรัฐ) และเกาสฺยงได้รับความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 5.89 ล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่ (185,153 ดอลลาร์สหรัฐ) ความสูญเสียทางการเกษตรในเทศมณฑลหนานโถวค่อนข้างร้ายแรงคิดเป็น 87 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนเงินทั้งหมด และความเสียหายทางการเกษตรอยู่ที่ประมาณ 107.48 ล้านหยวนจีน (15.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) พื้นที่เพาะปลูกเสียหายประมาณ 1,123 เฮกตาร์ และระดับความเสียหายอยู่ที่ 22 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่แปลงที่ยังไม่เก็บเกี่ยวเป็นประมาณ 249 เฮกตาร์ พืชที่ได้รับความเสียหายส่วนใหญ่เป็นเสาวรสโดยมีพื้นที่เสียหายประมาณ 155 เฮกตาร์ และระดับความเสียหายอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแปลงที่ยังไม่เก็บเกี่ยวเป็นประมาณ 31 เฮกตาร์ และความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 21.86 ล้านหยวนจีน (101.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) รองลงมาจากเสาวรส คือ มะละกอ กะหล่ำปลี มะเขือเทศ และดอกลิลลี่ เป็นต้น[28]
ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ได้เรียกร้องให้ประชาชนหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การเดินป่า ตกปลา และกิจกรรมริมชายฝั่งอื่น ๆ เป็นต้น[29] การขนส่งได้หยุดชะงักลงโดยเที่ยวบินภายในประเทศหลายเที่ยวต้องยกเลิกลงเพื่อเป็นการป้องกันอันตราย[30] ประชาชนประมาณ 900 คน ในเกาสฺยงได้รับการอพยพ[31] มีการรายงานว่าบ้านเรือนไฟฟ้าดับประมาณ 1,300 ครัวเรือน[32] เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในเขตฟู่ซิงของเถา-ยฺเหวียน จึงส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 4 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 2 ราย[33] ประชาชนประมาณ 500 คน ติดอยู่ในหมู่บ้านบนภูเขาทั่วตอนกลาง และทางตอนใต้ของประเทศไต้หวัน เนื่องจากฝนตกหนัก[34] พายุไต้ฝุ่นขนุนได้ก่อให้เกิดความเสียหายทางการเกษตรรวมอยู่ที่ประมาณ 238 ล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่ (7.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[35]
ประเทศเกาหลีใต้
[แก้]พายุไต้ฝุ่นขนุนเป็นพายุลูกแรกที่เคลื่อนตัวพัดผ่านคาบสมุทรเกาหลีจากประเทศเกาหลีใต้ไปประเทศเกาหลีเหนือนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกข้อมูลในปี พ.ศ. 2494[36] พายุได้ส่งผลกระทบต่อกอเจโด ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่นอกชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเกาหลีใต้[37] ชายคนหนึ่งได้จมน้ำเสียชีวิตจากน้ำท่วมในแทกู[38] และชายอีกคนที่นั่งรถเข็นได้สูญหายไป หลังจากนั้นก็ถูกพบเสียชีวิตในอ่างเก็บน้ำ[39][40] ผู้คนมากกว่าประมาณ 15,862 คน ได้รับการอพยพ[41] และประชาชนประมาณ 40,350 คน ไม่มีไฟฟ้าใช้ แม้ว่าไฟฟ้าจะกลับมาใช้ได้แล้ว หรืออยู่ที่ประมาณ 94 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำฝนที่สะสมรวมประมาณ 382.5 มิลลิเมตร (15.06 นิ้ว) ในยังซัน, 322.4 มิลลิเมตร (12.69 นิ้ว) ในคังนึง, 315.7 มิลลิเมตร (12.43 นิ้ว) ในซกโช, 302 มิลลิเมตร (11.9 นิ้ว) ในเทศมณฑลชิลกอก และ 296 มิลลิเมตร (11.7 นิ้ว) ในคิมชอน มีรายงานว่าสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อย่างน้อยประมาณ 159 แห่ง ได้รับความเสียหาย เนื่องจากน้ำท่วม และดินถล่ม ถนนประมาณ 680 สาย ได้พังทลายลงโดยส่วนใหญ่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ โรงเรียนประมาณ 34 แห่ง[42] ได้รับความเสียหายเล็กน้อย พื้นที่เกษตรกรรมอย่างน้อยประมาณ 1.019 เฮกตาร์ ในจังหวัดคย็องซังใต้ได้รับความเสียหาย[43]
ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ยุน ซ็อก-ย็อล ได้สั่งการให้รัฐบาลจัดหาความช่วยเหลือทันที และเพียงพอแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นขนุน[44] ความเสียหายต่อทรัพย์สินเบื้องต้นคำนวณไว้อยู่ที่ประมาณ 8.3 พันล้านวอน (6.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[45] เนื่องจากเส้นทางที่เปลี่ยนไป และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากพายุ รัฐบาลของประเทศเกาหลีใต้มีการร่วมมือกับองค์การลูกเสือโลกในการย้ายผู้เข้าร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 25 จำนวนประมาณ 43,000 คน จากต่างประเทศไปยังโรงแรม หรือที่พักอื่น ๆ[46][47] มีการคาดการณ์ว่าจังหวัดคังว็อนจะได้รับปริมาณน้ำฝนสูงถึงประมาณ 600 มิลลิเมตร (24 นิ้ว) และมีการคาดการณ์อีกว่าโซลจะได้รับปริมาณน้ำฝนสูงถึงประมาณ 200 มิลลิเมตร (7.9 นิ้ว)[48] ในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ มีเที่ยวบินอย่างน้อยประมาณ 144 เที่ยวบิน ภายในกับภายนอกของเกาะเชจูได้ถูกยกเลิกตามรายงานของบริษัทท่าอากาศยานเกาหลี[49]
ประเทศเกาหลีเหนือ
[แก้]รัฐบาลของประเทศเกาหลีเหนือรายงานว่า "หากประเทศไม่เตรียมการป้องกันภัยพิบัติก่อนเกิดพายุ เศรษฐกิจของประเทศจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง"[50] ประเทศเกาหลีเหนือได้ประกาศเตือนภัยประชาชนให้เตรียมพร้อมสำหรับพายุไต้ฝุ่นขนุนโดยประกาศว่าองค์กรพรรครัฐบาลทั้งหมด "ควรต่อสู้ดิ้นรนเพื่อลดความเสียหายให้เหลือน้อยที่สุด"[51] ฝนตกหนักจากพายุได้ทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในว็อนซัน[52] หนังสือพิมพ์ทางการของพรรคแรงงานเกาหลี โรดอง ซินมุน ได้รายงานว่าเจ้าหน้าที่ได้รับคำสั่งให้ดำเนินการตอบสนองต่อภัยพิบัติในกรณีฉุกเฉิน และวางแผนอพยพ[53] สำนักข่าวกลางเกาหลีรายงานว่าพายุไต้ฝุ่นขนุนยังทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อย ซึ่งส่งผลให้กิ่งไม้หัก[54] และสำนักข่าวกลางเกาหลียังรายงานอีกด้วยว่าจังหวัดฮวังแฮใต้ได้ทุ่มเทความพยายามในการปกป้องพืชผลจากพายุ[55] ชาวเกาหลีเหนือได้รับคำสั่งให้ใช้มาตรการป้องกันที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อปกป้องภาพเหมือนของคิม อิล-ซ็อง และคิม จ็อง-อิล[56] นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์ของรัฐบาลประเทศเกาหลีเหนือได้ขอให้ชาวเกาหลีเหนือเก็บรักษารูปปั้น โมเสก ภาพวาด และอนุสรณ์ สถานอื่น ๆ ของราชวงศ์คิม[57] สถานีโทรทัศน์กลางบนแผ่นดินเกาหลีรายงานว่ามีความเร็วลมมากกว่า 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (11 ไมล์ต่อชั่วโมง) และปริมาณน้ำฝนอยู่ที่ประมาณ 181 มิลลิเมตร (7.1 นิ้ว) ในจังหวัดคังว็อน[58] มีรายงานว่าผู้นำประเทศเกาหลีเหนือคิม จ็อง-อึน ได้ไปเยือนเขตที่ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นขนุนในเขตอันบยอน และกำกับดูแลความพยายามในการฟื้นฟู[59] ผู้นำประเทศเกาหลีเหนือได้ตำหนิเจ้าหน้าที่ว่า "ไม่มีความรับผิดชอบ" ที่ล้มเหลวในการใช้มาตรการป้องกัน[60][61]
ประเทศรัสเซีย
[แก้]พายุไต้ฝุ่นขนุนได้ทำให้เกิดฝนตกหนักในบางส่วนของดินแดนปรีมอร์เยในรัสเซียตะวันออกไกล ประเทศรัสเซีย จึงส่งผลให้เกิดน้ำท่วม[62] หลังจากที่พายุเคลื่อนตัวผ่านไปประเทศรัสเซียได้ส่งคณะทำงานไปสังเกตการทำความสะอาดพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ[63] มีการประกาศภาวะฉุกเฉินใน 21 เทศบาล[64] สื่อของรัฐรายงานว่าบ้านเรือนประมาณ 4,368 หลัง พร้อมด้วยพื้นที่ใกล้เคียงประมาณ 5,654 แห่ง และอาคารอพาร์ตเมนต์ประมาณ 7 แห่ง ได้ถูกน้ำท่วม ผู้คนมากกว่าประมาณ 2,000 คน จากพื้นที่น้ำท่วมได้อพยพ มีผู้บาดเจ็บประมาณ 3 ราย[65] อาคารที่อยู่อาศัยอย่างน้อยประมาณ 4,368 หลัง บ้านเรือนประมาณ 5,654 หลัง และถนนประมาณ 43 สาย ได้จมอยู่ใต้น้ำ ความเสียหายในประเทศรัสเซียอยู่ที่ประมาณ 7 พันล้านรูเบิลรัสเซีย (70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[66]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566
- รายชื่อของพายุขนุน
- พายุไต้ฝุ่นที่มีเส้นทางที่คล้ายกัน
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ "ขนุน" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 5 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
- ↑ พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "ฟัลโกน" (28 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2566) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
- ↑ ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
- ↑ ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2566 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
- ↑ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[5]
- ↑ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "WTPQ51 RJTD 261200" (ภาษาอังกฤษ). Japan Meteorological Agency. 2023-07-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2023. สืบค้นเมื่อ 26 July 2023.
- ↑ "WWJP27 RJTD 260600" (ภาษาอังกฤษ). Japan Meteorological Agency. 2023-07-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2023. สืบค้นเมื่อ 26 July 2023.
- ↑ "WTPQ51 RJTD 010300" (ภาษาอังกฤษ). Japan Meteorological Agency. 2023-08-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2023. สืบค้นเมื่อ 1 August 2023.
- ↑ "WWJP27 RJTD 111200" (ภาษาอังกฤษ). Japan Meteorological Agency. 2023-08-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 12 August 2023.
- ↑ "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
- ↑ "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
- ↑ "Typhoon Khanun approaching Okinawa, Amami regions in Japan's southwest | NHK WORLD-JAPAN News". NHK WORLD (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2023. สืบค้นเมื่อ 7 August 2023.
- ↑ "Typhoon Khanun headed toward Japan's Okinawa, Amami regions | NHK WORLD-JAPAN News". NHK WORLD (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2023. สืบค้นเมื่อ 7 August 2023.
- ↑ "More Japanese regions brace for storms as Typhoon Khanun heads west". www.zawya.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2023. สืบค้นเมื่อ 8 August 2023.
- ↑ "Situation Report No. 20 for Southwest Monsoon enhanced by Tropical Cyclone EGAY and FALCON (2023)" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). National Disaster Risk Reduction and Management Council. 2023-08-03. สืบค้นเมื่อ 3 August 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Walang pasok: Class, gov't work suspensions for August 1 due to 'Falcon'". Philstar.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2023. สืบค้นเมื่อ 7 August 2023.
- ↑ "Parts of Bulacan still flooded as Habagat continues to bring rains". GMA News Online (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2023. สืบค้นเมื่อ 7 August 2023.
- ↑ "DSWD DROMIC Report #6 on the Effects of Southwest Monsoon enhanced by Typhoon "Falcon" as of 05 August 2023, 6PM - Philippines | ReliefWeb". reliefweb.int (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2023. สืบค้นเมื่อ 7 August 2023.
- ↑ Lazaro, Ramon Efren (2023-08-06). "Falcon rains raise Angat Dam water level". Philstar.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 August 2023. สืบค้นเมื่อ 6 August 2023.
- ↑ "【台風6号】負傷115人、暴風解除も大雨警戒 停電470世帯、きょうの復旧目指す" [[Typhoon No. 6] 115 people injured, heavy rain warning remains even after storm warning lifts, blackouts for 470 households, aiming for today's recovery]. Ryūkyū Shimpō (ภาษาญี่ปุ่น). 2023-08-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-15. สืบค้นเมื่อ 7 August 2023 – โดยทาง Yahoo! News.
- ↑ "台風6号 沖縄に最接近 車庫倒壊 下敷き男性死亡" (ภาษาญี่ปุ่น). FNNプライムオンライン. 2023-08-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2023. สืบค้นเมื่อ 2 August 2022.
- ↑ "台風6号、沖縄で死者2人に 停電16万戸 ゆっくりと北東へ進路" [Typhoon No.6 kills two people in Okinawa, blackouts 160,000 houses and slowly heading northeast]. 朝日新聞デジタル (ภาษาญี่ปุ่น). 2023-08-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2023. สืบค้นเมื่อ 3 August 2023.
- ↑ "台風6号:村道が崩落 唯一の通り道が寸断し孤立状態に 「外にも出られず、断水も」と実家避難へ 沖縄・中城村北上原" [Typhoon No. 6: A village road collapses, leaving the only path cut off and in an isolated state Evacuated from home because "I can't even go outside and the water supply is cut off" Kitauehara, Nakagusuku Village, Okinawa]. Okinawa Times (ภาษาญี่ปุ่น). 2023-08-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2023. สืบค้นเมื่อ 6 August 2023 – โดยทาง Yahoo! News.
- ↑ "Typhoon Khanun forecast to turn back to Japanese islands where it already caused damage and injuries". ABC News (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2023. สืบค้นเมื่อ 8 August 2023.
- ↑ "貨物船、真っ二つに破断 石垣島と西表島間で座礁 台風の強風・うねりのためか" [Cargo ship breaks in half Stranded between Ishigaki Island and Iriomote Island Is it because of the strong winds and swells of the typhoon?] (ภาษาญี่ปุ่น). Okinawa Times. 2023-08-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2023. สืบค้นเมื่อ 6 August 2023.
- ↑ "台風6号 農林水産業への被害額は20億円あまり". 沖縄テレビ放送 (ภาษาญี่ปุ่น). 2023-08-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-19. สืบค้นเมื่อ 18 August 2023 – โดยทาง Yahoo! News.
- ↑ "那覇 緊急給水、助け求め40組" [Naha Emergency water supply, 40 groups seeking help]. Ryūkyū Shimpō (ภาษาญี่ปุ่น). 2023-08-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2023. สืบค้นเมื่อ 6 August 2023 – โดยทาง Yahoo! News.
- ↑ Setoguchi, Kazuhide (2023-08-10). "Sanyo bullet train resumes after Typhoon No. 6 disruption". The Asahi Shimbun (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 13 August 2023.
- ↑ "Heilongjiang evacuates residents as second typhoon approaches". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
- ↑ "China's Heilongjiang issues red alerts for rain as Typhoon Khanun hits-Xinhua". english.news.cn (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
- ↑ 郭凯 (2023-08-11). "Northeast Chinese city suspends production, businesses in face of typhoon impact". www.chinadaily.com.cn (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Storm Khanun brings deadly mudslides to China as Russia evacuates thousands". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2023. สืบค้นเมื่อ 13 August 2023.
- ↑ "President urges vigilance as Typhoon Khanun nears Taiwan - Focus Taiwan". Focus Taiwan - CNA English News (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2023. สืบค้นเมื่อ 8 August 2023.
- ↑ "120+ flights canceled Thursday due to typhoon, disruption to continue Friday - Focus Taiwan". Focus Taiwan - CNA English News (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2023. สืบค้นเมื่อ 8 August 2023.
- ↑ "Typhoon Khanun causes transport disruption across Taiwan - Focus Taiwan". Focus Taiwan - CNA English News (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2023. สืบค้นเมื่อ 8 August 2023.
- ↑ "Kaohsiung residents evacuated due to torrential rain - Focus Taiwan". Focus Taiwan - CNA English News (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2023. สืบค้นเมื่อ 8 August 2023.
- ↑ "Some 1,300 households in Taiwan without power due to typhoon - Focus Taiwan". Focus Taiwan - CNA English News (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2023. สืบค้นเมื่อ 8 August 2023.
- ↑ Shan, Shelley (2023-08-04). "Typhoon kills four in Taiwan" (ภาษาอังกฤษ). Taipei Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2023. สืบค้นเมื่อ 8 August 2023.
- ↑ "Hundreds stranded in central, southern Taiwan in wake of Typhoon Khanun - Focus Taiwan". Focus Taiwan - CNA English News (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2023. สืบค้นเมื่อ 8 August 2023.
- ↑ "颱風卡努農損近2.3億元 受損作物新增檸檬" (ภาษาจีน). NOWnews. 2023-08-12. สืบค้นเมื่อ 12 August 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Na-young, Kim (2023-08-10). "(5th LD) Typhoon Khanun leaves 1 dead, 1 missing while heading north slowly". Yonhap News Agency (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
- ↑ "Typhoon Khanun makes landfall in South Korea". The Seattle Times (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
- ↑ Yoon, John (2023-08-10). "Typhoon Khanun Turns Deadly in South Korea". The New York Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
- ↑ Cheong-mo, Yoo (2023-08-10). "(4th LD) Typhoon Khanun leaves 1 dead, 1 missing while heading north slowly". Yonhap News Agency (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
- ↑ "Missing man found dead in reservoir after Typhoon Khanun". koreatimes (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2023. สืบค้นเมื่อ 13 August 2023.
- ↑ Cheong-mo, Yoo (2023-08-11). "Typhoon causes over 360 cases of facility, flooding damage". Yonhap News Agency (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
- ↑ Jun-hee, Park (2023-08-11). "Typhoon Khanun weaker than expected". The Korea Herald (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
- ↑ "Typhoon Khanun leaves over 360 facilities damaged, flooded in Korea". koreajoongangdaily.joins.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2023. สืบค้นเมื่อ 12 August 2023.
- ↑ Haye-ah, Lee (2023-08-11). "Yoon orders swift, sufficient support for people who suffered damage in typhoon". Yonhap News Agency (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
- ↑ 홍한표 (2023-08-14). "태풍 카눈 영동지역 4개 시·군 83억 원 피해". Yonhap News Agency (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 14 August 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "WOSM Statements from the 25th World Scout Jamboree". scout.org (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2023. สืบค้นเมื่อ 7 August 2023.
- ↑ Rashid, Raphael (2023-08-05). "US and UK scouts pull out of world jamboree campsite due to extreme heat". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2023. สืบค้นเมื่อ 7 August 2023.
- ↑ "Korea braces for powerful Typhoon Khanun". koreatimes (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2023. สืบค้นเมื่อ 9 August 2023.
- ↑ "Khanun begins blowing into South Korea with strong winds after dumping rain on Japan for a week". AP News (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2023. สืบค้นเมื่อ 9 August 2023.
- ↑ Yonhap (2023-08-08). "N. Korea urges all-out efforts to minimize damage from Typhoon Khanun". The Korea Herald (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2023. สืบค้นเมื่อ 10 August 2023.
- ↑ "North Korea Braces Along With Seoul as Typhoon Khanun Nears". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2023. สืบค้นเมื่อ 10 August 2023.
- ↑ Hwang, Seok-Joo (2023-08-11). "Typhoon Khanun hits N. Korea". Yonhap News Agency (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
- ↑ Shin, Hyonhee (2023-08-11). "North Korea warns of flood damage after tropical storm drenches South". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
- ↑ "N. Korea put on alert against Typhoon Khanun; minor damage reported". koreatimes (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
- ↑ "KCNA | Article | Home News | Efforts for Protecting Crops from Typhoon". kcna.kp (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
- ↑ McCurry, Justin (2023-08-11). "North Koreans ordered to protect portraits of Kim Jong-un as tropical storm Khanun looms". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
- ↑ "North Koreans told to 'focus' on protecting Kim Jong-un portraits as storm looms". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
- ↑ alannahhill (2023-08-11). "North Korean TV pulls all-nighter covering Typhoon Khanun, warns of flooding | NK News". NK News - North Korea News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
- ↑ "North Korean leader slams "irresponsible" officials as typhoon Khanun hits North Korea" (ภาษาอังกฤษ). 2023-10-14. สืบค้นเมื่อ 14 August 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "North Korea's Kim pulls up officials for typhoon-inflicted damage". EFE Noticias (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-14. สืบค้นเมื่อ 15 August 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Kim Jong Un berates North Korean officials over storm damage". CNA (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-15. สืบค้นเมื่อ 15 August 2023.
- ↑ Times, The Moscow (2023-08-11). "Tropical Storm Brings Flooding to Russia's Far East". The Moscow Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
- ↑ "Russia cleans up after Typhoon Khanun floods thousands of homes". INQUIRER.net (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2023. สืบค้นเมื่อ 13 August 2023.
- ↑ "Typhoon Khanun causes emergencies in Russia's Far East-Xinhua". english.news.cn (ภาษาอังกฤษ). 2023-08-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2023. สืบค้นเมื่อ 13 August 2023.
- ↑ Siberia.Realities, RFE/RL's (2023-08-13). "Typhoon Khanun Kills At Least Three In Russia's Far East". RadioFreeEurope/RadioLiberty (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2023. สืบค้นเมื่อ 13 August 2023.
- ↑ Злобин, Андрей (2023-08-26). "В Приморье ввели режим ЧС федерального характера из-за ливней". Forbes (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 12 August 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- พายุหมุนเขตร้อนระบบดิจิทัล (Digital Typhoon) ข้อมูลของพายุไต้ฝุ่นขนุน (2306)
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นขนุน (2306)
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไทย (TMD) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นขนุน (2306)
- ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ข้อมูลเส้นทางของพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นขนุน (06W)
- พายุหมุนเขตร้อนระดับ 5
- พายุหมุนเขตร้อน
- พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น
- พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
- พายุไต้ฝุ่น
- ภัยธรรมชาติในปี พ.ศ. 2566
- ประเทศฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2566
- ประเทศไต้หวันในปี พ.ศ. 2566
- ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2566
- ประเทศเกาหลีใต้ในปี พ.ศ. 2566
- ประเทศเกาหลีเหนือในปี พ.ศ. 2566
- ประเทศจีนในปี พ.ศ. 2566
- ประเทศรัสเซียในปี พ.ศ. 2566
- บทความพายุหมุนเขตร้อน
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศฟิลิปปินส์
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศไต้หวัน
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศญี่ปุ่น
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศเกาหลีใต้
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศเกาหลีเหนือ
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศจีน
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศรัสเซีย
- ภัยพิบัติในประเทศฟิลิปปินส์
- ภัยพิบัติในประเทศไต้หวัน
- ภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น
- ภัยพิบัติในประเทศเกาหลีใต้
- ภัยพิบัติในประเทศเกาหลีเหนือ
- ภัยพิบัติในประเทศจีน
- ภัยพิบัติในประเทศรัสเซีย