พายุไต้ฝุ่นขนุน (พ.ศ. 2548)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไต้ฝุ่นขนุน
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นกีโก
พายุไต้ฝุ่นขนุนขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่
10 กันยายน พ.ศ. 2548
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว5 กันยายน พ.ศ. 2548
พายุหมุนนอกเขตร้อน12 กันยายน พ.ศ. 2548
สลายตัว13 กันยายน พ.ศ. 2548
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA)
ความเร็วลมสูงสุด195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 27.17 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่น
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 27.17 นิ้วปรอท
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC)
ความเร็วลมสูงสุด260 กม./ชม. (160 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด910 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.87 นิ้วปรอท
ผลกระทบ
ผู้เสียชีวิต16 ราย
ความเสียหาย$1.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงินปี พ.ศ. 2548 USD)
พื้นที่ได้รับผลกระทบประเทศไต้หวัน, ประเทศจีน,
ประเทศญี่ปุ่น
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2548

พายุไต้ฝุ่นขนุน (อักษรโรมัน: Khanun)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นกีโก (ตากาล็อก: Kiko)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดที่เข้าชายฝั่งมณฑลเจ้อเจียงนับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นแวนดาในปี พ.ศ. 2499 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2548 ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อตัวขึ้นจากพื้นที่ที่มีการพาความร้อนในทางตะวันออกเฉียงใต้ของแยป และพายุก็เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นไม่นานพายุดีเปรสชันเขตร้อนก็ได้กลายเป็นพายุโซนร้อน และทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันรุ่งขึ้น พายุไต้ฝุ่นขนุนมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (120 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 3] และความกดอากาศที่ 920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.17 นิ้วของปรอท) หลังจากนั้นพายุก็อ่อนกำลังลงเล็กน้อย และเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งมณฑลเจ้อเจียงในวันรุ่งขึ้น พายุไต้ฝุ่นขนุนอ่อนกำลังลงอีกครั้งเมื่อขึ้นฝั่งมณฑลเจ้อเจียง และกลายเป็นพายุโซนร้อน หลังจากนั้นพายุก็เคลื่อนตัวสู่ทะเลเหลืองเมื่อวันที่ 12 กันยายน พายุโซนร้อนขนุนได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และเศษซากของพายุลูกนี้ได้สลายไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือก่อนที่จะถูกบันทึกไว้เมื่อวันที่ 16 กันยายน[1]

เมื่อพายุไต้ฝุ่นขนุนกำลังเคลื่อนตัวเข้าประเทศจีน จึงทำให้ลมมรสุมที่พัดออกมาจากพายุพัดเอาอากาศเสียที่อยู่ข้างหน้าออกไปในขณะที่หมอกควันปกคลุมเหนืออิทธิพลของพายุ พายุไต้ฝุ่นขนุนเป็นพายุลูกที่ 15 ที่เข้าพัดถล่มประเทศจีนในปี พ.ศ. 2548 ส่วนใหญ่ดินถล่มเกิดมาจากฝนตกหนักที่พายุกำลังเคลื่อนตัวพัดเข้ามา และพื้นที่ที่เกิดดินถล่มมาจากพายุฝนฟ้าคะนองของพายุลูกอื่น ๆ จึงทำให้ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ดินโคลนถล่มนั้นสูงผิดปกติ ผู้คนประมาณ 1 ล้านคน ได้ถูกอพยพออกจากพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่พายุไต้ฝุ่นขนุนกำลังเคลื่อนตัวใกล้เข้ามา[2]

อพยพผู้คนประมาณกว่า 800,000 คน ออกจากบ้านเรือนเมื่อพายุไต้ฝุ่นขนุนกำลังเคลื่อนตัวใกล้เข้ามา ผู้คนจำนวนมากที่อพยพออกจากกองทัพถูกนำตัวไปยังโรงเรียน สถานีรถไฟ โรงแรม และอาคารอื่น ๆ ที่มีโครงสร้างแข็งแรง เพื่อใช้เป็นที่กำบังจากพายุที่กำลังเคลื่อนตัวใกล้เข้ามาไทโจว มณฑลเจ้อเจียงต้องเผชิญกับพายุที่รุนแรงในระยะแรก เนื่องจากใกล้กับที่เกิดพายุห่างจากเซี่ยงไฮ้ไปทางตอนใต้ 220 กิโลเมตร (135 ไมล์) เมืองที่ใกล้ชายฝั่งที่อื่น ๆ เตรียมพร้อมที่จะรับมือพายุไต้ฝุ่นขนุนในขณะที่กำลังเคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ หมู่เกาะซากิชิมะทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นได้ประสบกับลมแรง คลื่นสูง และฝนตกหนัก ขณะที่พายุเคลื่อนตัวผ่านพ้นไป หน่วยเลือกตั้งบางแห่งมีการเปลี่ยนแปลงเวลาทำการเพื่อให้แน่ใจว่าประชาชนยังคงสามารถลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งของประเทศญี่ปุ่นได้ หรือไม่ แม้ว่าจะมีสภาพอากาศแปรปรวนก็ตาม มีผู้เสียชีวิตประมาณ 16 ราย ในมณฑลเจ้อเจียง และความเสียหายโดยรวม 1.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 4]

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา[แก้]

แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นขนุน

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นขนุน

  • วันที่ 5 กันยายน หย่อมความกดอากาศต่ำเกิดจากพื้นที่การหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งศูนย์กลางของพายุตั้งอยู่ประมาณ 280 กิโลเมตร (175 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของแยป และต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 5] ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนเมื่อเวลา 07:00 น. (00:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 6 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนอยู่ห่างจากแยปไปทางตะวันออกประมาณ 95 กิโลเมตร (60 ไมล์) และพายุก็ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อนในวันนั้น พายุลูกนี้จัดอยู่ในประเภทพายุโซนร้อนโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 6]
  • วันที่ 7 กันยายน พายุกำลังพัฒนารูปแบบลม และรวมตัวกันอยู่ใกล้ศูนย์กลาง หลังจากนั้นพายุก็ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อนในทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์เมื่อเวลา 07:00 น. (00:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ในขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตั้งชื่อพายุ และไม่ได้ยกระดับพายุลูกนี้ให้เป็นพายุโซนร้อน พายุกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ และปากาซาได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า กีโก พายุเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่องจนพัฒนาจากพายุโซนร้อนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงเมื่อเวลา 18:00 น. (11:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ด้วยเหตุนี้กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จึงกำหนดให้ชื่อว่า ขนุน
  • วันที่ 8 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุนได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นเมื่อเวลา 18:00 น. (11:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 10 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นขนุนได้มาถึงระดับความรุนแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 10 นาทีที่ 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (120 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.17 นิ้วของปรอท) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้นพายุก็เคลื่อนตัวไปทางตอนเหนือของหมู่เกาะรีวกีว และเคลื่อนตัวผ่านใกล้มิยาโกะจิมะ
    พายุไต้ฝุ่นขนุนกำลังเคลื่อนตัวเข้ามณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2548
  • วันที่ 11 กันยายน พายุไต้ฝุ่นขนุนเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือเล็กน้อย และขึ้นฝั่งทางตะวันออกของมณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน เมื่อเวลา 13:00 น. (06:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 12 กันยายน พายุไต้ฝุ่นขนุนยังคงมีความเร็วลมต่อเนื่อง 10 นาทีที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (85 ไมล์ต่อชั่วโมง) หลังจากนั้นพายุก็ได้อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อน และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสู่ทะเลเหลืองเมื่อเวลา 15:00 น. (08:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ส่วนเศษซากของพายุก็ได้สลายไปทางจังหวัดชุงช็องใต้ ประเทศเกาหลีใต้
  • วันที่ 13 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพายุโซนร้อนขนุนเริ่มสลายตัวกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และหลังจากนั้นไม่นานกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ไม่ได้ตรวจสอบว่าพายุลูกนี้เป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนที่เหนียวแน่นอีกต่อไป กระแสน้ำวนที่เป็นผลลัพธ์ทำให้พายุสลายไปอย่างรวดเร็วไปทั่วทะเลญี่ปุ่นก่อนเคลื่อนตัวกลับเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ

การเตรียมการ[แก้]

ประเทศจีน[แก้]

ผู้คนจำนวนมากที่อพยพออกจากกองทัพถูกนำตัวไปยังโรงเรียน สถานีรถไฟ โรงแรม และอาคารอื่น ๆ ที่มีโครงสร้างแข็งแรง รัฐบาลมณฑลเจ้อเจียงได้ออกประกาศเตือนภัยให้ประชาชน และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับน้ำท่วม และดินถล่ม พายุไต้ฝุ่นขนุนกำลังเคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปยังประเทศไต้หวันในวันเสาร์นี้ หลังจากที่นักพยากรณ์คาดการณ์ว่าพายุลูกนี้จะเคลื่อนตัวเข้าชายฝั่งโดยตรง ผู้คนประมาณ 1.05 ล้านคน ได้ถูกย้ายไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัยในมณฑลเจ้อเจียง และผู้คนประมาณ 160,000 คน ในเซี่ยงไฮ้ ก็ได้ถูกย้ายอย่างเร่งด่วนเช่นกัน เที่ยวบินประมาณ 380 เที่ยวบิน ที่ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว และท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตงก็ได้ถูกยกเลิกไป[5]

ผลกระทบ[แก้]

ประเทศจีน[แก้]

พายุไต้ฝุ่นขนุนกำลังเคลื่อนตัวเข้ามณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2548

หลังจากพายุไต้ฝุ่นขนุนเคลื่อนตัวผ่านทางตะวันออกของประเทศจีนทำให้ประชาชนประมาณ 5.5 ล้านคน และพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 2.2 ล้านเฮกตาร์ ได้รับผลกระทบในเมือง เช่น มณฑลเจ้อเจียง มณฑลฝูเจี้ยน มณฑลอานฮุย และทางตะวันออกของเซี่ยงไฮ้ เป็นต้น น้ำท่วมที่เกิดจากพายุฝนฟ้าคะนองได้คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 7 ราย ในไทโจว และสูญหายอีกประมาณ 8 ราย ในท่าเรือหนิงปัว ต้นไม้ริมถนนบางต้นโค่นล้มลง บางพื้นที่ของเมืองถูกน้ำท่วม และบ้านเรือนหลายหลังได้รับความเสียหายอย่างหนักในมณฑลเจ้อเจียง[6] จังหวัดได้อพยพประชาชนประมาณ 814,267 คน ไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยกว่า แหล่งข่าวของสำนักงานควบคุมอุทกภัย และสำนักงานบรรเทาทุกข์จังหวัดรายงานว่าเรือประมาณ 35,409 ลำ ได้นำกลับสู่ท่าเรือแล้ว เมืองที่จะได้รับผลกระทบจากฝนตกหนัก เช่น เวินโจว ไทโจว โจวชาน เช่าซิง และหนิงปัว เป็นต้น มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 14 ราย และมีผู้สูญหายประมาณ 9 ราย ในหางโจว[7]

พายุฝนฟ้าคะนองถล่มพื้นที่ขนาดใหญ่ของเกษตร พืชผล สิ่งอำนวยความสะดวกด้านอุตสาหกรรม และโครงสร้างของอาคาร สถานีตรวจอากาศ 3 แห่ง ในจังหวัดได้มีการบันทึกปริมาณน้ำฝนสะสมรวมประมาณ 400 มิลลิเมตร (15.7 นิ้ว) จากสถิติล่าสุด พายุไต้ฝุ่นขนุนส่งผลกระทบต่อประชาชนประมาณ 7.05 ล้านคน ใน 56 มณฑล บ้านเรือนประมาณ 19,332 หลัง ได้รับความเสียหาย และมีมูลค่าความเสียหายโดยตรงต่อมณฑลเจ้อเจียงอยู่ที่ประมาณ 7.95 พันล้านหยวนจีน (993.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) พายุไต้ฝุ่นขนุนเป็นพายุลูกที่ 4 ที่ส่งผลกระทบต่อมณฑลเจ้อเจียงในฤดูร้อนนี้ ต่อจากพายุไต้ฝุ่นตาลิม ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 14 ราย และก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจในจังหวัดอยู่ที่ประมาณ 3.42 พันล้านหยวนจีน (421.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ประชาชนในมณฑลเจ้อเจียงอีกหลายคนฟื้นตัวจากความโกลาหลที่เกิดจากพายุ ประชาชนประมาณ 5.11 ล้านคน ในมณฑลเจ้อเจียงที่อพยพก็เริ่มทยอยกันกลับบ้านเพื่อซ่อมแซมความเสียหายของบ้าน และประชาชนอีกประมาณ 68,300 คน ในไทโจวติดอยู่ในบ้านเพียงแห่งเดียว[8] บ้านเรือนได้รับความเสียหายประมาณ 7,468 หลัง พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 224,600 เฮกตาร์ ได้รับผลกระทบ และได้รับความเสียหายอย่างหนักไปประมาณ 48,000 เฮกตาร์ เจ้าหน้าที่โรงเรียนในซูโจวได้ทำการหยุดการเรียนการสอนชั่วคราว และมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 6.89 พันล้านหยวนจีน (849 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[9]

ประเทศญี่ปุ่น[แก้]

เมื่อพายุไต้ฝุ่นขนุนเคลื่อนตัวเข้าใกล้หมู่เกาะรีวกีวส่งผลให้เจแปนแอร์ไลน์ และออล นิปปอน แอร์เวย์ ได้ยกเลิกเที่ยวบินประมาณ 70 เที่ยวบิน ที่เชื่อมระหว่างเกาะ และเมืองอื่น ๆ ในประเทศญี่ปุ่น มีการบังคับการเปลี่ยนแปลงกำหนดการในกระบวนการเลือกตั้งที่กำลังดำเนินการอยู่บนเกาะอิชิกากิในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวผ่านเกาะต่าง ๆ และมีการบันทึกว่ามีฝนตกในระดับปานกลาง ปริมาณน้ำฝนสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 149 มิลลิเมตร (5.9 นิ้ว) ในเมืองนากาซูจิ จังหวัดโอกินาวะ สถานีแห่งหนึ่งได้บันทึกปริมาณน้ำฝนสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 36 มิลลิเมตร (1.4 นิ้ว) ในชั่วโมงเดียว[10] พายุฝนฟ้าคะนองทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย สายไฟของเสาไฟฟ้าขาดประมาณ 173 เส้น และเสาไฟฟ้าโค่นล้มลงส่งผลให้หลายพื้นที่ประสบปัญหาไฟฟ้าดับ พื้นที่เกษตรกรรมได้รับความเสียหายราวประมาณ 150 ล้านเยน (1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในจังหวัดโอกินาวะ[11] ผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นขนุนส่งผลให้มีการยกเลิกเที่ยวบินนอกเหนือจากเส้นทางเดินเรือระหว่างจังหวัดโอกินาวะ หมู่เกาะซากิชิมะ และเที่ยวบินในจังหวัดอาโอโมริก็ถูกระงับเช่นกัน[12] ฝนตกหนักทำให้เกิดดินถล่ม และน้ำท่วมถึง 31 ครั้ง บ้านเรือนประมาณ 11 หลัง ได้ถูกน้ำท่วม และบ้านเรือนอีกประมาณ 1,000 หลัง ได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับอันเนื่องมาจากความเสียหายจากแรงลมพายุ[13]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. "ขนุน" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 5 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  2. พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "กีโก" (7 ถึง 10 กันยายน พ.ศ. 2548) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
  3. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  4. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2548 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  5. กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[3]
  6. ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Tropical Cyclones in 2005" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Kowloon, Hong Kong: Hong Kong Observatory. 2005-09-13. สืบค้นเมื่อ 13 September 2005.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "Typhoon Khanun". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2005-09-13. สืบค้นเมื่อ 13 September 2005.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  4. "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  5. "Typhoon lashes east China coast" (ภาษาอังกฤษ). BBC NEWS. 2005-09-12. สืบค้นเมื่อ 9 September 2005.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "Typhoon Khanun hits East China, killing 14". www.chinadaily.com.cn (ภาษาอังกฤษ). China Daily. สืบค้นเมื่อ 22 April 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "Typhoon Khanun Slams into E. China City". www.china.org.cn (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 September 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "Death toll from typhoon Khanun rises to 14 in E. China province - China | ReliefWeb". reliefweb.int (ภาษาอังกฤษ). 2005-09-12. สืบค้นเมื่อ 12 September 2005.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "Typhoon Khanun hits East China, killing 14". www.chinadaily.com.cn (ภาษาอังกฤษ). China Daily. 2005-09-13. สืบค้นเมื่อ 13 September 2005.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "Digital Typhoon: Typhoon 200515 (KHANUN) - Disaster Information". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. 2005-09-12. สืบค้นเมื่อ 12 September 2005.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "Digital Typhoon: Weather Disaster Report (2005-927-05)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. 2005-09-12. สืบค้นเมื่อ 12 September 2005.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "Digital Typhoon: Weather Disaster Report (2005-936-14)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. 2005-09-12. สืบค้นเมื่อ 12 September 2005.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "Digital Typhoon: Weather Disaster Report (2005-575-10)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. 2005-09-12. สืบค้นเมื่อ 12 September 2005.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]