พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์ (พ.ศ. 2558)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์ที่จุดแรงสุดในวันที่ 4 สิงหาคม
พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์ที่จุดแรงสุดในวันที่ 4 สิงหาคม
พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์ที่จุดแรงสุดในวันที่ 4 สิงหาคม
ก่อตัว 29 กรกฎาคม 2558
สลายตัว 12 สิงหาคม 2558
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 10 นาที:
215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต รวม 59
ความเสียหาย 4.089 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2015)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
หมู่เกาะมาเรียนา, ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, จีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558

พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์ เป็นที่รู้จักในประเทศฟิลิปปินส์ในชื่อ พายุไต้ฝุ่นฮันนา เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงมากเป็นอันดับสามของโลกในขณะนั้น โดยอยู่อันดับหลังจากพายุเฮอริเคนแพทริเซียและพายุไซโคลนแพม พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์มีผลกระทบอย่างมากในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา เกาะไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่ทางทิศตะวันออก มีผู้เสียชีวิต 40 คน ส่วนในประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีใต้และประเทศฟิลิปปินส์จะมีผลกระทบที่น้อยกว่า โดยพายุเซาเดโลร์เป็นพายุที่สิบสามประจำปีฤดูพายุไต้ฝุ่นปีพ.ศ. 2558 พายุเซาเดโลร์เริ่มแรกเป็นเพียงพายุดีเปรสชันเขตร้อนอยู่ใกล้เกาะโปนเป ในวันที่ 29 กรกฎาคม. พายุนั้นค่อยๆทวีความรุนแรงขึ้นอย่างช้าๆ และทวีขึ้นอย่างรวดเร็วในวันที่ 2 สิงหาคมและในวันต่อมาได้ขึ้นฝั่งที่ไซปัน สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก จากการที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยพายุไต้ฝุ่นได้ทวีความรุนแรงขึ้นและถึงจุดสูงสุดด้วยอัตราเร็วลมที่สิบนาทีได้ 215 กม. / ชม. (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และวัดความกดอากาศที่ 900 hPa (mbar; 26.58 inHg) ในวันที่ 3 สิงหาคม ศูนย์เตือนภัยไต้ฝุ่นร่วมประเมินอัตราเร็วลมที่หนึ่งนาทีได้ 285 กม. / ชม. (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) ทำให้ พายุเซาเดโลร์เป็นพายุไต้ฝุ่นซุปเปอร์หมวด 5 หลังจากนั้นพายุก็อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องขณะที่เคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ พายุเซาเดโลร์ได้ขึ้นฝั่งที่ฮฺวาเหลียน ไต้หวันในวันที่ 7 สิงหาคม ไม่นานหลังจากนั้นพายุไต้ฝุ่นได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่จีนตะวันออกและสลายไปเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในวันที่ 9 สิงหาคม

พายุเซาเดโลร์เป็นพายุที่เลวร้ายที่สุดเป็นอันดับสองในด้านการสร้างความเสียหายกับไซปันในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาในรอบเกือบ 30 ปี บ้านหลายร้อยหลังได้รับความเสียหายหรือถูกทำลายและคาดว่าจะใช้เวลากว่าหนึ่งเดือนในการฟื้นฟู มีผู้เสียชีวิตสองคนในกวม ในไต้หวันเกิดฝนตกหนักและลมแรง ทำให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวาง มี 4.85 ล้านครัวเรือนที่ไม่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 คนและบาดเจ็บอีก 420 คน คนที่เก้าเสียชีวิตในเหตุการณ์พายุ ส่วนทางทิศตะวันออกของจีนเกิดฝนตกหนักที่สุดในรอบ 100 ปีส่งผลให้เกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม ไต้ฝุ่นเซาเดโลร์ได้ทำให้คนจำนวน 45 คนในภาคตะวันออกของจีนเสียชีวิต หลังจากส่วนหนึ่งของประเทศถูกฝนตกหนักที่สุดในรอบศตวรรษ ความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งหมดนับเป็น 24.627 พันล้านเยน (3.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[1]

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา[แก้]

  • วันที่ 28 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวบริเวณทางตะวันออกของเส้นแบ่งเขตวันสากล[2]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม และมันยังพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง JMA จึงปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 30 กรกฎาคม JTWC จึงเริ่มประกาศเตือนพายุและใช้รหัสเรียกขาน 13W ในขณะที่ JMA ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ เซาเดโลร์[3] และเซาเดโลร์เริ่มแสดงให้เห็นถึงสัญญาณของความรุนแรงและเมฆครึ้มหนาแน่นที่บดบังศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำ และยังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เช่น ลมเฉือนแนวตั้งในระดับต่ำ, อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่ 31 - 32°ซ และความร้อนในมหาสมุทรระดับสูง[4]
  • วันที่ 1 สิงหาคม JMA จึงปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ขณะที่เซาเดโลร์ยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • วันที่ 2 สิงหาคม สองหน่วยงานได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุไต้ฝุ่น
  • วันที่ 3 สิงหาคม เซาเดโลร์ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ด้วยความเร็วลม 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (โดยการตรวจวัดลมใน 1 นาที) และความเร็วลม 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (โดยการตรวจวัดลมใน 10 นาที) โดย JMA และมีความกดอากาศต่ำสุดที่ศูนย์กลางที่ 900 มิลลิบาร์ ทำให้เซาเดโลร์ เป็นพายุที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นหว่องฟ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2557
  • วันที่ 4 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์คงระดับความรุนแรงในจุดสูงสุดได้เป็นระยะเวลา 18 ชั่วโมง ก่อนจะค่อยๆ อ่อนกำลังลงในเวลา 15:00 UTC (เวลา 22:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย)
  • วันที่ 5 สิงหาคม PAGASA ได้บันทึกว่าพายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์เคลื่อนตัวเข้ามาในเขตพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ และใช้ชื่อ ฮันนา
  • วันที่ 7 สิงหาคม เซาเดโลร์ ทวีกำลังแรงขึ้นใหม่อีกครั้ง เนื่องจากระบบเข้าสู่พื้นที่ที่มีเงื่อนไขที่ดี

ในวันที่ 2 สิงหาคม เซาเดโลร์ได้พัดเข้าถล่มแผ่นดินในไซปัน ที่ความรุนแรงพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง โดยการประมาณการความเสียหายในเบื้องต้นอยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงิน ค.ศ. 2015) หรือประมาณ 7.03 ร้อยล้านบาท

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.typhooncommittee.org/10IWS/Members/2015_Member%20Report_China.pdf
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-30. สืบค้นเมื่อ 2015-07-30.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-30. สืบค้นเมื่อ 2015-07-30.
  4. https://www.webcitation.org/6aSq8u6nL?url=http://gwydir.demon.co.uk/advisories/WDPN31-PGTW_201508011500.htm