พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2551)
![]() พายุไต้ฝุ่นรามสูรขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | |
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา | |
---|---|
ก่อตัว | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 |
นอกเขตร้อน | 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 |
สลายตัว | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 |
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง | |
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.58 นิ้วปรอท |
พายุไต้ฝุ่น | |
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.58 นิ้วปรอท |
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 | |
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.43 นิ้วปรอท |
ผลกระทบ | |
ผู้เสียชีวิต | 4 ราย |
ความเสียหาย | $9.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี พ.ศ. 2551 USD) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น |
IBTrACS | |
ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2551 |
พายุไต้ฝุ่นรามสูร (อักษรโรมัน: Rammasun)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นบุตโชย (ตากาล็อก: Butchoy)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีขนาดใหญ่ และมีความรุนแรงที่สุดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2551 พายุไต้ฝุ่นรามสูรเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 5, พายุโซนร้อนลูกที่ 2 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 2 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2551 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เนื่องมาจากสภาพอากาศที่กำลังแปรปรวนในเขตร้อนชื้น และในวันรุ่งขึ้นพายุก็เริ่มมีการก่อตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พายุโซนร้อนรามสูรได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ พายุไต้ฝุ่นรามสูรมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 3] และด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งทำให้พายุไต้ฝุ่นรามสูรกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน หลังจากนั้นพายุก็ได้อ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในวันที่ 12 พฤษภาคม ก่อนที่จะเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และจนกระทั่งหลายชั่วโมงต่อมาพายุก็ได้สลายไปทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในโลกผูกกับพายุไต้ฝุ่นชังมีในปี พ.ศ. 2551 อีกด้วย
พายุไต้ฝุ่นรามสูรมีความรุนแรงมากกว่าพายุไซโคลนนาร์กิสนั้นไม่ใช่เรื่องปกติ[1] แม้ว่าพายุจะไม่เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งโดยตรง แต่คลื่นพายุชั้นนอกทำให้มีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 2 ราย ในตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมีการรายงานน้ำท่วม และดินถล่มอีกด้วย พายุยังส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่นด้วยคลื่นลมแรง
หางจากพายุไต้ฝุ่นรามสูรที่พัดถล่มประเทศฟิลิปปินส์ในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวพัดผ่านทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ลมแรงที่เกิดจากพายุได้ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่ออาคารบางแห่ง และต้นไม้จำนวนมากโค่นล้มลง ความเสียหายที่เกิดจากพายุทอร์นาโด แต่ไม่มีคำอธิบายสำหรับความเป็นไปได้นี้ และได้เกิดความเสียหายรวมประมาณ 11 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (214,109 ดอลลาร์สหรัฐ) พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 10 เฮกตาร์ ได้รับความเสียหายในประเทศญี่ปุ่น โดยรวมแล้ว พายุไต้ฝุ่นรามสูรได้คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 4 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกประมาณ 40 ราย และมูลค่าความเสียหายโดยรวมประมาณ 9.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 4] ทั้งในประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศญี่ปุ่น
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
[แก้]
พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม



ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นรามสูร
- วันที่ 4 พฤษภาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นบริเวณทางตอนใต้ของแยป
- วันที่ 5 พฤษภาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 5] ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นคลื่นรบกวนเขตร้อน และประเมินโอกาสในการก่อกวนที่กำลังจะก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่มีนัยสำคัญภายใน 24 ชั่วโมง เนื่องจากศูนย์หมุนเวียนระดับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังพัฒนาเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน
- วันที่ 6 พฤษภาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำภายใน 24 ชั่วโมง ในขณะที่ศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำได้รวมตัวเข้าด้วยกัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังก่อตัวขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้มีการประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในเวลาต่อมาของวันนั้น และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 6] ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในวันรุ่งขึ้นอีกด้วย
- วันที่ 7 พฤษภาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า บุตโชย พายุตั้งอยู่ประมาณ 790 กิโลเมตร (490 ไมล์) ทางตะวันออกของเกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ และต่อมาสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มออกคำแนะนำเต็มรูปแบบเกี่ยวกับพายุตามที่คาดการณ์ไว้ว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อนจะกลายเป็นพายุโซนร้อนภายใน 24 ชั่วโมง ในเช้าของวันนั้น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และกำหนดหมายเลขอย่างเป็นทางการว่า 03W และต่อมาสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน และกำหนดให้ชื่อว่า รามสูร
- วันที่ 8 พฤษภาคม พายุโซนร้อนรามสูรยังคงทวีกำลังแรงขึ้น จึงทําให้สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
- วันที่ 9 พฤษภาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุโซนร้อนกำลังแรงรามสูรได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันนั้น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมรายงานว่าพายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นในช่วง 6 ชั่วโมง และได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ในมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นรายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในเวลาเดียวกัน หลังจากนั้นพายุยังคงทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (100 ไมล์ต่อชั่วโมง) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมรายงานว่าพายุไต้ฝุ่นรามสูรได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 225 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (140 ไมล์ต่อชั่วโมง)
พายุไต้ฝุ่นรามสูรหลังมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - วันที่ 10 พฤษภาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นรามสูรได้มาถึงสถานะความรุนแรงสูงสุดแล้ว สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นรายงานความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมรายงานความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งทำให้พายุไต้ฝุ่นรามสูรกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 และความกดอากาศต่ำของพายุได้ถูกประเมินอย่างเป็นทางการที่ 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วของปรอท)
- วันที่ 11 พฤษภาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นรามสูรได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 ในขณะที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 175 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (110 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในวันนั้น และต่อมาสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นรายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (100 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมรายงานว่าพายุไต้ฝุ่นรามสูรได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 หลังจากนั้นก็ได้รายงานภายในคำแนะนำต่อไปว่าพายุได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นรายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) พายุไต้ฝุ่นรามสูรก็ได้เคลื่อนตัวออกจากพื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ และถูกลดระดับเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมในวันรุ่งขึ้น
- วันที่ 12 พฤษภาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ลดระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และออกคำแนะนำเป็นครั้งสุดท้ายเกี่ยวกับพายุที่อ่อนกำลังลงด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 155 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (95 ไมล์ต่อชั่วโมง)
- วันที่ 13 พฤษภาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพายุโซนร้อนกำลังแรงรามสูรได้เคลื่อนตัวพัดเข้าชายฝั่งประเทศญี่ปุ่นด้วยความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (50 ไมล์ต่อชั่วโมง) โดยมีลมแรง คลื่นสูง และมีฝนตกในระดับปานกลางถึงระดับหนัก
- วันที่ 14 พฤษภาคม ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวออกจากแผ่นดินสู่ทะเล จึงทำให้สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ออกคำเตือนเป็นครั้งสุดท้ายเกี่ยวกับพายุโซนร้อนกำลังแรงรามสูร และลดระดับพายุโซนร้อนกำลังแรงให้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนในระดับต่ำสุด แม้ว่าจะเป็นพายุที่ก่อตัวใกล้ประเทศฟิลิปปินส์ไม่โดนแผ่นดิน แต่ก็เป็นพายุที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้
การเตรียมการ
[แก้]ประเทศฟิลิปปินส์
[แก้]สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ไม่ได้ออกสัญญาณเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องจากพายุอยู่ห่างไกลจากประเทศเกินกว่าที่จะประกาศแจ้งคำแนะนำดังกล่าวได้ และมีการคาดการณ์ว่าสัญญาณเตือนภัยระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนจะเพิ่มลมมรสุมทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จึงทำให้พายุฝนฟ้าคะนองปกคลุมตอนกลาง ทางตอนใต้ของเกาะลูซอน วิซายัส และเกาะมินดาเนา ในอีก 3 วัน ข้างหน้า[4][5] มีการแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่อาศัยในที่ราบลุ่มแม่น้ำใกล้กับเนินเขา เนื่องจากอาจทําให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และดินถล่ม พายุฝนฟ้าคะนองได้กระจายเป็นกลุ่ม ๆ โดยเฉพาะในช่วงบ่าย หรือเย็น และมีเมฆบางส่วนทำให้เกิดฝนตกหนักในเกาะลูซอนเมื่อเวลา 14:00 น. (07:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ของเมื่อวานนี้[6]
ผลกระทบ
[แก้]ประเทศฟิลิปปินส์
[แก้]
เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พายุไต้ฝุ่นรามสูรได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งจังหวัดซารังกานี จึงทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ซึ่งพ่อกับลูกถูกคลื่นซัดจมหายไปในทะเลในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวขึ้นฝั่ง กระทรวงมหาดไทยสหรัฐรายงานว่ามีครอบครัวประมาณ 127 ครอบครัว ได้อพยพออกจากเมืองไมทุม และเคียมบาแล้ว พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 100 เฮกตาร์ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 40 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (778,581 ดอลลาร์สหรัฐ) ไม่รวมสิ่งอำนวยความสะดวก และโครงสร้างของอาคารรัฐบาล[7] เรือลำหนึ่งที่บรรทุกคนประมาณ 17 คน ได้พลิกคว่ำ เนื่องจากคลื่นลมแรงที่เกิดจากพายุฝนฟ้าคะนอง และผู้โดยสารทั้งหมดได้รับการช่วยเหลือในวันรุ่งขึ้นโดยหน่วยยามฝั่งของประเทศฟิลิปปินส์[8] ฝนตกหนักจากแถบนอกของพายุไต้ฝุ่นรามสูรได้ทำให้เกิดน้ำท่วม และโคลนถล่มในประเทศฟิลิปปินส์ ลมแรงได้ทำให้ต้นไม้จำนวนมากโค่นล้มลง และต้นไม้หนึ่งในนั้น ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 เซนติเมตร (2 ฟุต) ได้โค่นล้มทับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า 3 ราย คร่าชีวิตผู้คน 2 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสอีกประมาณ 2 ราย แม่น้ำล้นตลิ่งท่วมท้นในจาโร เมืองอีโลอีโล และมีรายงานจากท้องถิ่นได้รายงานว่าน้ำท่วมในพื้นที่มีระดับลึกถึงเอว เด็กหญิงวัยอายุ 15 ปี ได้จมน้ำเสียชีวิต หลังจากถูกน้ำพัดหายไปในขณะที่กำลังข้ามสะพานแม่น้ำในคาอัวยัน จังหวัดอีซาเบลา น้ำท่วมในเมืองฮิโนบาอันได้ทำให้บ้านเรือนได้รับความเสียหายอย่างหนักประมาณ 6 หลัง และบ้านเรือนได้รับความเสียหายอีกประมาณ 24 หลัง และครอบครัวประมาณ 3,153 ครอบครัว ได้รับผลกระทบจากพายุในประเทศฟิลิปปินส์[9]

หางพายุที่รุนแรงของพายุไต้ฝุ่นรามสูรได้พัดถล่มประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากที่พายุกำลังจะกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน จึงทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่ออาคาร และต้นไม้จำนวนมากโค่นล้มลงในทางตะวันตกของวิซายัส[10] พืชผลทางการเกษตร และโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างได้รับความเสียหายประมาณ 11 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (214,109 ดอลลาร์สหรัฐ) ในทางตะวันตกของเนกรอส และทำให้บารังไก 40 แห่ง ในจังหวัดอีโลอีโลได้ประสบภัยพิบัติในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา พื้นที่เกษตรกรรมได้รับความเสียหายประมาณ 5 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (97,322 ดอลลาร์สหรัฐ) ไร่นาใน 5 แห่ง และไร่ข้าวโพดใน 1 แห่ง ได้รับความเสียหายประมาณ 2.5 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (48,661 ดอลลาร์สหรัฐ) และการประมงในพื้นที่ 3 แห่ง ได้รับความเสียหายรวมประมาณ 2.3 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (44,768 ดอลลาร์สหรัฐ) ในจังหวัดเนโกรสโอกซีเดนตัล กรมโยธาธิการ และทางหลวงในทางตะวันตกของวิซายัสรายงานว่าถนนจากบาโคโลดไปทางตอนใต้ของเนกรอสได้รับความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 6 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (116,787 ดอลลาร์สหรัฐ) ชาวบ้านประมาณ 200 คน ใน 5 เมือง ทางตอนใต้ของจังหวัดเนโกรสโอกซีเดนตัลได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
ผู้คนประมาณ 40,000 คน จากครอบครัวประมาณ 8,000 ครอบครัว ในจังหวัดอีโลอีโลได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยอิงจากตัวเลขของสำนักงานสวัสดิการสังคม และการพัฒนาของบ้านเมือง ความเสียหายที่เกิดจากพายุทอร์นาโดที่อาจเกิดขึ้นได้ แม้ว่าความเป็นไปได้นี้จะไม่ได้รับการยืนยัน มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 40 ราย และความเสียหายรวมประมาณ 61 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[11]
ประเทศญี่ปุ่น
[แก้]เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ออกคำเตือนสำหรับโตเกียว เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าพายุไต้ฝุ่นรามสูรจะเคลื่อนตัวเข้าใกล้กันกับเมือง[12] ขณะที่พายุกำลังกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และพายุได้เคลื่อนตัวพัดเข้าชายฝั่งประเทศญี่ปุ่นด้วยความเร็วลมสูงสุด 85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (50 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม และมีคลื่นสูงเป็นเวลาหลายชั่วโมง[13] พายุอยู่ใกล้ทะเลทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะชิชิจิมะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่อง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (30 ไมล์ต่อชั่วโมง) มีคลื่นสูงประมาณ 5.8 เมตร[14] พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 10 เฮกตาร์ ได้รับความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 770 ล้านเยน (8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในความสูญเสียทางการเกษตร[15]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2551
- รายชื่อของพายุรามสูร
- พายุไต้ฝุ่นที่มีเส้นทางที่คล้ายกัน
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ "รามสูร" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 2 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
- ↑ พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "บุตโชย" (7 ถึง 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
- ↑ ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
- ↑ ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2551 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
- ↑ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[2]
- ↑ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Digital Typhoon: Typhoon 200802 (RAMMASUN)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. 2008-05-12. สืบค้นเมื่อ 12 May 2008.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
- ↑ "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
- ↑ "PAGASA Warning 07-06-2008 03z" (ภาษาอังกฤษ). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. 2008-11-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2008. สืบค้นเมื่อ 7 November 2008.
- ↑ "PAGASA Warning 12-06-2008 03z" (ภาษาอังกฤษ). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. 2008-11-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2008. สืบค้นเมื่อ 7 November 2008.
- ↑ Flores, Ghio Ong,Helen (2008-05-17). "Butchoy intensifies into storm". Philstar.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 May 2008.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Isagani P. Palma (2008-05-13). "'Butchoy' claims one life, another missing". Manila Times (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2012. สืบค้นเมื่อ 17 May 2009.
- ↑ Ahira Sánchez-Lugo (2008-08-20). "Global Hazards and Significant Events May 2008" (ภาษาอังกฤษ). National Climatic Data Center. สืบค้นเมื่อ 17 May 2009.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Bong P. Garcia (2008-05-13). "Typhoon Butchoy kills 2" (ภาษาอังกฤษ). Sun Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-10. สืบค้นเมื่อ 17 May 2009.
- ↑ "Typhoon "tail" leaves trail of destruction in Sarawak". The Star online (ภาษาอังกฤษ). 2008-06-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2008. สืบค้นเมื่อ 22 June 2008.
- ↑ "Typhoon "Butchoy" destroys P11M in agriculture in W. Visayas" (ภาษาอังกฤษ). GMANews.TV. 2008-06-22. สืบค้นเมื่อ 22 June 2008.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Agence France-Presse (2008-05-12). "Strong typhoon heads towards Japan" (ภาษาอังกฤษ). The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 17 May 2009.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Staff Writer (2008-05-13). "Typhoon downgraded as it passes by Japan" (ภาษาอังกฤษ). Agence France-Presse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2008. สืบค้นเมื่อ 13 May 2008.
- ↑ "Typhoon Rammasun". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2008-05-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-27. สืบค้นเมื่อ 16 May 2008.
- ↑ "41st Session Country Report: Japan" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). World Meteorological Organization. 2009-01-09. สืบค้นเมื่อ 9 January 2009.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- พายุหมุนเขตร้อนระบบดิจิทัล (Digital Typhoon) ข้อมูลของพายุไต้ฝุ่นรามสูร (0802)
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นรามสูร (0802)
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไทย (TMD) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นรามสูร (0802)
- ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ข้อมูลเส้นทางของพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นรามสูร (03W)