พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (พ.ศ. 2562)
พายุไต้ฝุ่นบัวลอยขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562 | |
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา | |
---|---|
ก่อตัว | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562 |
นอกเขตร้อน | 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562 |
สลายตัว | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562 |
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง | |
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.72 นิ้วปรอท |
พายุไต้ฝุ่น | |
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.72 นิ้วปรอท |
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 | |
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.58 นิ้วปรอท |
ผลกระทบ | |
ผู้เสียชีวิต | 13 ราย |
ความเสียหาย | $200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี พ.ศ. 2562 USD) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา, กวม, ญี่ปุ่น |
IBTrACS | |
ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 |
พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (อักษรโรมัน: Bualoi)[nb 1] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดเป็นอันดับสามรองจากพายุไต้ฝุ่นฮากีบิส และพายุไต้ฝุ่นหะลอง และเป็นพายุลูกที่ยี่สิบเอ็ดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2562 พายุไต้ฝุ่นบัวลอยเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 39, พายุโซนร้อนลูกที่ 21 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 11 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562 อยู่ทางตะวันออกของสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ พายุก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาพอากาศที่มีความแปรปรวนด้วยอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อบอุ่นมาก และแรงลมต่ำ จึงทำให้พายุมีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พายุโซนร้อนบัวลอยได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และในเวลาต่อมาพายุก็ได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่น พายุไต้ฝุ่นบัวลอยถึงสถานะความรุนแรงสูงสุดในวันที่ 22 ตุลาคม ด้วยความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 2] และด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) เทียบเท่ากับความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน และพายุเริ่มอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วในวันรุ่งขึ้น[1]
หลังจากพายุไต้ฝุ่นฮากีบิสเคลื่อนตัวผ่านพ้นไป ประเทศญี่ปุ่นต้องเตรียมรับมือพายุ 2 ลูก อีกครั้ง เช่น พายุไต้ฝุ่นนอกูรี และพายุไต้ฝุ่นบัวลอย เป็นต้น[2] มีความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง แผ่นดินถล่ม และน้ำท่วมในพื้นที่ราบต่ำ หรือพื้นที่ริมแม่น้ำทางชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นนอกูรีกำลังเคลื่อนตัวไปยังภูมิภาคดังกล่าว และในขณะเดียวกันพายุไต้ฝุ่นบัวลอยกำลังเคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปยังชายฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นเดียวกัน[3]
ภายใต้อิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดฝนตกหนักในทางตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น[4] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดชิบะ และจังหวัดฟูกูชิมะ มีปริมาณน้ำฝนรวมไว้ประมาณ 200 มิลลิเมตร (8 นิ้ว) ซึ่งเป็นปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักเป็นประวัติการณ์ในเวลาไม่ถึงครึ่งวัน และเกินปริมาณน้ำฝนเป็นเวลาหนึ่งเดือนในเดือนตุลาคมของปี[5][6] ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 11 ราย ในจังหวัดชิบะ[7] และ 2 ราย ในจังหวัดฟูกูชิมะ บริการขนส่งได้หยุดให้บริการในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุ บ้านเรือนได้รับความเสียหายประมาณ 4,998 หลัง และเกิดความเสียหายประมาณ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 3]
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
[แก้]ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นบัวลอย
- วันที่ 17 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 4] ได้ติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำที่กำลังก่อตัวอยู่ทางตะวันออกของสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ประมาณ 480 กิโลเมตร (300 ไมล์) และห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพเรือสหรัฐได้กำหนดหมายเลขหย่อมความกดอากาศต่ำเป็น 97W
- วันที่ 18 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และได้ประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนเมื่อเวลา 14:00 น. (07:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และในวันเดียวกันสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 5] ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนเช่นกัน
- วันที่ 19 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศสัญญาณเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนรุนแรงเมื่อเวลา 10:00 น. (03:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนเมื่อเวลา 12:00 น. (05:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อนในเวลาต่อมา และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้กำหนดให้ใช้ชื่อว่า บัวลอย
- วันที่ 20 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับให้เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงเมื่อเวลา 16:00 น. (9:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุโซนร้อนบัวลอยเข้าสู่ช่วงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และต่อมาพายุโซนร้อนบัวลอยกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในเวลาต่อมา
- วันที่ 21 ตุลาคม นักพยากรณ์มีภาพพายุไต้ฝุ่นบัวลอยจากดาวเทียมเผยให้เห็นตาพายุที่ชัดเจน ซึ่งล้อมรอบด้วยลมฝนฟ้าคะนองอันทรงพลัง พายุไต้ฝุ่นบัวลอยอยู่ห่างจากไซปันไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 105 กิโลเมตร (65 ไมล์) และอยู่ห่างจากกวมไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 315 กิโลเมตร (195 ไมล์) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ตั้งข้อสังเกตว่าพายุไต้ฝุ่นบัวลอยได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีความเร็วลมต่อเนื่อง 1 นาทีที่ 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (120 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และในวันเดียวกันสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานความเร็วลมต่อเนื่อง 10 นาทีที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (85 ไมล์ต่อชั่วโมง)
- วันที่ 22 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นบัวลอยกำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ และทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 เมื่อเวลา 16:00 น. (09:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นบัวลอยมีลมแรงสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วของปรอท) พายุไต้ฝุ่นบัวลอยอยู่ห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของกวมประมาณ 645 กิโลเมตร (440 ไมล์) ดาวเทียมของจีพีเอ็มได้เคลื่อนตัวผ่านพายุพบว่าช่วงรอบตาพายุนั้นมีฝนตกที่หนักที่สุด โดยน้ำฝนตกลงมาในอัตรามากกว่า 50 มิลลิเมตร (2 นิ้ว) ต่อชั่วโมง ทำให้นักพยากรณ์ที่ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติได้รวบรวมข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่ได้บันทึกไว้ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมประเมินว่าตาพายุของพายุไต้ฝุ่นบัวลอยมีความกว้างประมาณ 15 กิโลเมตร (10 ไมล์)
- วันที่ 23 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นบัวลอยอยู่ห่างจากหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 650 กิโลเมตร (405 ไมล์) ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมต่อเนื่อง 1 นาทีที่ 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (120 ไมล์ต่อชั่วโมง) และค่อย ๆ เคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางเหนือในเวลา 04:00 น. (21:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) จากนั้นมุ่งหน้าไปยังแปซิฟิกเหนือทางตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น
- วันที่ 24 ตุลาคม ดาวเทียมของโนอา และดาวเทียมของนาซาได้เคลื่อนตัวผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ และดาวเทียมทั้งคู่ใช้แสงอินฟราเรดเพื่อรับข้อมูลอุณหภูมิ และข้อมูลรูปร่างของพายุไต้ฝุ่นบัวลอย รูปร่างของพายุไต้ฝุ่นบัวลอยเป็นพายุอสมมาตร ซึ่งบ่งชี้ว่ากำลังอ่อนกำลังลง ข้อมูลอินฟราเรดให้ข้อมูลอุณหภูมิ และพายุฝนฟ้าคะนองที่รุนแรงที่สุดที่ลอยสู่ชั้นบรรยากาศจะมีอุณหภูมิสูงสุดของเมฆที่เย็นที่สุด ข้อมูลนี้มีประโยชน์ต่อนักพยากรณ์เนื่องจากลมพายุไม่สม่ำเสมอ และช่วยระบุตำแหน่งของพายุที่รุนแรงที่สุดเมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุไต้ฝุ่นบัวลอยอยู่ห่างจากทางตอนใต้ของเมืองมิซาวะ ประเทศญี่ปุ่นไปประมาณ 1,080 กิโลเมตร (670 ไมล์) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นบัวลอยกำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือโดยมีความเร็วลมต่อเนื่อง 1 นาทีที่ 165 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (105 ไมล์ต่อชั่วโมง) และอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานความเร็วลมต่อเนื่อง 10 นาทีที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (85 ไมล์ต่อชั่วโมง)
- วันที่ 25 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกคำเตือนครั้งสุดท้ายเมื่อเวลา 05:00 น. (22:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุไต้ฝุ่นบัวลอยอยู่ทางตะวันออกของโยโกซูกะ ประเทศญี่ปุ่น และพายุก็เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (75 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในขณะเดียวกันสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) กล่าวว่าพายุไต้ฝุ่นบัวลอยกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และอ่อนกำลังลงได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนสลายไปในสิ้นวันนี้
การเตรียมการ
[แก้]กวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
[แก้]เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม บริการสภาพอากาศแห่งชาติในกวมระบุว่าคำเตือนพายุหมุนเขตร้อนยังคงมีผลบังคับใช้สำหรับติเนียน และไซปัน[10] คาดว่าจะมีลมแรงอยู่ที่ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (40 ไมล์ต่อชั่วโมง) หรือมากกว่าตลอดเช้านี้ และคำเตือนพายุหมุนเขตร้อนยังคงมีผลบังคับใช้สำหรับอะกริฮัน ปากัน และอะลามากัน ในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาตั้งแต่วันนี้จนถึงวันรุ่งขึ้น[11]
ประเทศญี่ปุ่น
[แก้]สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ประกาศแจ้งเตือนประชาชนในทางตะวันออก และทางตะวันออกเฉียงเหนือ ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ดินถล่ม และน้ำท่วมฉับพลัน จากอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำพายุไต้ฝุ่นบัวลอย หลังจากเพิ่งประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่นฮากีบิสอย่างหนักเมื่อช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ถึงแม้พายุไต้ฝุ่นบัวลอยไม่เคลื่อนตัวพัดผ่านขึ้นฝั่งประเทศญี่ปุ่นโดยตรง แต่อิทธิพลของพายุจะทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนัก บริเวณทางตะวันตกของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม ขณะที่ตอนกลางของประเทศญี่ปุ่นกำลังจะเผชิญกับพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนักในช่วงเย็นของวันเดียวกัน ส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือจะเกิดฝนตกหนักในช่วงบ่ายไปจนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 26 ตุลาคม และจะเกิดฝนตกหนักที่สุดในช่วง 24 ชั่วโมง จนถึงเวลา 06:00 น. (23:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ของวันที่ 26 ตุลาคม บริเวณคันโตทางตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น และโทโฮกุทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนโทไก และโกชิน รวมทั้งเกาะอิซึ ทางตอนใต้ของโตเกียวจะเกิดฝนตกหนัก และวัดปริมาณน้ำฝนได้ราวประมาณ 150 มิลลิเมตร (6 นิ้ว)[12]
ผลกระทบ
[แก้]ประเทศญี่ปุ่น
[แก้]พายุไต้ฝุ่นบัวลอยทำให้เกิดน้ำท่วม และโคลนถล่ม โดยเฉพาะที่จังหวัดชิบะมีบ้านเรือนอย่างน้อย 3 หลัง ถูกโคลนถล่มทับ นอกจากนี้ ยังมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 1 ราย และสูญหายอีก 3 ราย[13] โดยหลายพื้นที่ของจังหวัดชิบะวัดปริมาณน้ำฝนได้มากกว่า 200 มิลลิเมตร (8 นิ้ว) ในช่วง 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่าปริมาณโดยเฉลี่ยของเดือนตุลาคมทั้งเดือน เจ้าหน้าที่ของจังหวัดชิบะระบุว่าได้ระงับแผนการปล่อยน้ำจากเขื่อนทาคาทากิ และเขื่อนคาเมยามะ ในช่วงบ่ายที่ผ่านมา เพื่อป้องกันไม่ให้เขื่อนแตก เนื่องจากเห็นว่าระดับน้ำยังคงที่อยู่ แต่เรียกร้องให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสภาพอากาศ[14] และระดับน้ำในเขื่อนอย่างต่อเนื่องด้วย เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะมีการปล่อยน้ำแบบฉุกเฉิน หากระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากฝนที่กระหน่ำลงมา[15][16] ในระยะเวลา 12 ชั่วโมง มีปริมาณในตกลงมามากถึง 280 มิลลิเมตร (11 นิ้ว) ในบางพื้นที่ของจังหวัดชิบะ และจังหวัดอิบารากิ ซึ่งมากกว่าปริมาณเฉลี่ยของฝนที่ตกลงในตลอดทั้งเดือนตุลาคม ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างหนัก[17][18]
มีรายงานว่าเหตุดินถล่มในจังหวัดชิบะส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย[19][20] โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยกำลังเร่งผู้สูญหายอีก 1 ราย นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่พบชายอีก 1 ราย หมดสติอยู่ภายในรถที่ถูกน้ำท่วม ซึ่งเสียชีวิตในเวลาต่อมา ในขณะเดียวกัน มีเที่ยวบินอย่างน้อย 20 เที่ยวบิน ต้องเปลี่ยนเส้นทางการบินจากท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะไปลงจอดยังสนามบินอื่น ๆ ส่วนบริการรถไฟส่วนใหญ่ในจังหวัดชิบะหยุดให้บริการชั่วคราวส่งผลให้มีผู้โดยสารติดค้างอยู่ตามสถานีรถไฟเป็นจำนวนมาก[21] ทั้งนี้ คาดว่าหย่อมความกดอากาศต่ำจะส่งผลให้มีฝนตกหนักต่อเนื่องไป[22] พื้นที่หมู่เกาะโองาซาวาระ ทางภาคใต้ของประเทศญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง พัดต้นไม้และเสาไฟฟ้าหักโค่น พัดชิ้นส่วนของสิ่งปลูกสร้างลอยปลิวไปในอากาศ ส่วนในทะเลเกิดคลื่นลมแรงซัดชายฝั่ง เรือถูกห้ามออกเดินทางจากท่า[23][24]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562
- รายชื่อของพายุบัวลอย
- พายุไต้ฝุ่นที่มีเส้นทางที่คล้ายกัน
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ "บัวลอย" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 2 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
- ↑ ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
- ↑ ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2562 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
- ↑ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[8]
- ↑ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Typhoon Bualoi". blogs.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2019-10-25. สืบค้นเมื่อ 25 October 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Korosec, Marko (2019-10-22). "Super typhoon BUALOI remains a powerful Category 4 and is on its way towards Iwo Jima island tomorrow". Severe Weather Europe (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 October 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ญี่ปุ่นเตรียมรับศึกใหม่ ไต้ฝุ่น 2 ลูก จ่อถล่มซ้ำ หลังฮากิบิสเพิ่งผ่านพ้น". kapook.com. 2019-10-21. สืบค้นเมื่อ 21 October 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "強颱風「博羅依」靠近日本 四國至關東嚴防大雨". www.bastillepost.com (ภาษาจีน). 2019-10-24. สืบค้นเมื่อ 24 October 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "大雨、千葉と福島で死者10人に 1カ月分超の雨量襲う:朝日新聞デジタル". 朝日新聞デジタル (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ 26 October 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "令和元年台風21号(2019年10月25日) | 災害カレンダー". Yahoo!天気・災害 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 25 October 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "25日の千葉・福島の大雨被害 13人死亡 | NHKニュース". web.archive.org (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-10-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-31. สืบค้นเมื่อ 31 October 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
- ↑ "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
- ↑ Staff, Daily Post (2019-10-20). "WEATHER UPDATE: Tinian, Saipan now under typhoon warning; Guam remains in tropical storm watch". The Guam Daily Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2022. สืบค้นเมื่อ 3 March 2021.
- ↑ ECHO (2019-10-29). "Japan, Northern Mariana Islands - Tropical Cyclone NEOGURI and BUALOI (GDACS, JTWC, JMA, NOAA, media) (Echo Daily Flash of 21 October 2019)". ReliefWeb (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2019. สืบค้นเมื่อ 3 March 2021.
- ↑ "ไต้ฝุ่นบัวลอย มาแล้ว อุตุฯญี่ปุ่นเตือนทั่วประเทศ ฝนตกหนัก ระวังดินถล่ม". www.thairath.co.th. 2019-10-25. สืบค้นเมื่อ 25 October 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Spate of typhoon deaths during travel in cars underscores need for early evacuations". The Japan Times (ภาษาอังกฤษ). 2019-10-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2022. สืบค้นเมื่อ 19 November 2022.
- ↑ "記録的豪雨、死者10人不明1人 27河川浸水、土砂災害も" (ภาษาญี่ปุ่น). The Sankei News. 2019-10-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2019. สืบค้นเมื่อ 5 August 2023.
- ↑ "ญี่ปุ่นช้ำ "ไต้ฝุ่นบัวลอย" ซ้ำเติมฮากิบิส ทางการเตือนภัยระดับ 4". 2019-10-25. สืบค้นเมื่อ 25 October 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "大雨、千葉と福島で死者10人に 1カ月分超の雨量襲う" (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-10-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2023. สืบค้นเมื่อ 5 August 2023.
- ↑ 10月25日からの大雨による被害状況(別紙2) (PDF) (Report) (ภาษาญี่ปุ่น). Fire and Disaster Management Agency. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2023. สืบค้นเมื่อ 5 August 2023.
- ↑ Weather, Climate & Catastrophe Insight: 2019 Annual Report (PDF). AON Benfield (Report). AON Benfield. 2020-01-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 January 2020. สืบค้นเมื่อ 19 January 2023.
- ↑ "相馬・松川浦湾内で不明38歳男性の遺体発見 大雨で車流される" (ภาษาญี่ปุ่น). Minyu-Net. 2019-11-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2019. สืบค้นเมื่อ 5 August 2023.
- ↑ "千葉県内で約2万3400戸が停電(午後5時半時点)" (ภาษาญี่ปุ่น). NHK. 2019-10-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2019. สืบค้นเมื่อ 5 August 2023.
- ↑ "25日の大雨 10人死亡 不明の1人の捜索続く" (ภาษาญี่ปุ่น). NHK. 2019-10-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 5 August 2023.
- ↑ "ไต้ฝุ่น 'บัวลอย' ถล่มญี่ปุุ่นดับ 4 ราย". bangkokbiznews. 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ 26 October 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "浸水想定区域外で被害 避難所や市役所、死者も" (ภาษาญี่ปุ่น). CHUNICHI Web. 2019-10-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2019. สืบค้นเมื่อ 5 August 2023.
- ↑ 令和元年台風第19号等による被害状況等について(第31報) (PDF) (Report) (ภาษาญี่ปุ่น). Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2023. สืบค้นเมื่อ 5 August 2023.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- พายุหมุนเขตร้อนระบบดิจิทัล (Digital Typhoon) ข้อมูลของพายุไต้ฝุ่นบัวลอย (1921)
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นบัวลอย (1921)
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไทย (TMD) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นบัวลอย (1921)
- ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ข้อมูลเส้นทางของพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นบัวลอย (22W)
- พายุหมุนเขตร้อนระดับ 5
- พายุหมุนเขตร้อน
- พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น
- พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
- พายุไต้ฝุ่น
- ภัยธรรมชาติในปี พ.ศ. 2562
- หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาในปี พ.ศ. 2562
- ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2562
- บทความพายุหมุนเขตร้อน
- พายุไต้ฝุ่นในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศญี่ปุ่น
- ภัยพิบัติในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
- ภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น