ข้ามไปเนื้อหา

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2557

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2557
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว10 มกราคม พ.ศ. 2557
ระบบสุดท้ายสลายตัว1 มกราคม พ.ศ. 2558
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อหว่องฟ้ง
 • ลมแรงสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด900 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด32 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด23 ลูก
พายุไต้ฝุ่น11 ลูก
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น8 ลูก (ไม่เป็นทางการ)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด576 คน
ความเสียหายทั้งหมด8.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2014)
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก
2555, 2556, 2557, 2558, 2559

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2557 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2557 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม เป็นฤดูกาลที่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย มีพายุโซนร้อนทั้งหมด 23 ลูก ในจำนวนนี้พัฒนาเป็นพายุไต้ฝุ่น 11 ลูก และมี 8 ลูกที่เป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น ช่วงสูงสุดของฤดูกาลคือเดือนสิงหาคมและกันยายน มีกิจกรรมขนาดเล็กเกิดขึ้นเนื่องจากการมีกำลังแรงอย่างผิดปกติ และระยะการลดลงอย่างติดต่อกันของความผิดปกติแมดเดน–จูเลียน (MJO) พายุที่ได้รับชื่อเป็นชื่อแรกของฤดูกาลนี้คือ พายุโซนร้อนเหล่งเหล่ง ก่อตัวเมื่อวัน 18 มกราคม ส่วนพายุลูกสุดท้ายที่ได้รับชื่อคือ พายุโซนร้อนชังมี สลายตัวในวันที่ 1 มกราคมของปีถัดไป

ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุ จำนวนผู้เสียชีวิต และความเสียหายน้อยกว่าฤดูกาลที่แล้ว แต่ก็มีพายุไต้ฝุ่นทรงพลังที่เป็นที่มีความโดดเด่นเกิดขึ้น โดยเป็นฤดูที่พบพายุหลายลูกที่ทวีกำลังแรงจนถึงระดับ 5 ตามมาตราแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน (ได้แก่ รามสูร, หะลอง, เจนิวีฟ, หว่องฟ้ง, นูรี และ ฮากูปิต รวม 6 ลูก) นับตั้งแต่ พ.ศ. 2540 พายุไต้ฝุ่นรามสูรเป็นพายุหนึ่งในสามลูก ที่สามารถเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 5 ได้ภายในทะเลจีนใต้ โดยอีกสองลูกคือ พายุไต้ฝุ่นแพเมลาในปี พ.ศ. 2497 และพายุไต้ฝุ่นเมอรันตีในปี พ.ศ. 2559 โดยพายุไต้ฝุ่นรามสูรทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 คน และสร้างความเสียหายมากกว่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในประเทศจีนและประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนพายุเจนิวีฟ เป็นระบบพายุที่มีช่วงชีวิตยาวนานที่สุดระบบหนึ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542[1]

ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าติดตามโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ของสหรัฐยังได้รับการกำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย

การพยากรณ์ฤดูกาล

[แก้]
วันที่พยากรณ์โดย
TSR
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
จำนวน
พายุรุนแรง
ดัชนีเอซีอี อ้างอิง
เฉลี่ย (2508–2556) 26 16 8 295 [1]
6 พฤษภาคม 2557 27 17 11 375 [1]
3 กรกฎาคม 2557 26 16 9 335 [1]
5 สิงหาคม 2557 26 16 9 328 [1]
วันที่พยากรณ์ ศูนย์
พยากรณ์
ช่วงเวลา ระบบพายุ อ้างอิง
10 มกราคม 2557 PAGASA มกราคม — มีนาคม 1–2 ลูก [2]
10 มกราคม 2557 PAGASA เมษายน — มิถุนายน 3–6 ลูก [2]
30 มิถุนายน 2557 CWB 1 มกราคม — 31 ธันวาคม 29–32 ลูก [3]
7 กรกฎาคม 2557 PAGASA กรกฎาคม — กันยายน 8–10 ลูก [4]
7 กรกฎาคม 2557 PAGASA ตุลาคม — ธันวาคม 5–7 ลูก [4]
ฤดูกาล 2557 ศูนย์พยากรณ์ พายุหมุนเขตร้อน พายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่น อ้างอิง
เกิดขึ้นจริง: JMA 32 23 11 [5]
เกิดขึ้นจริง: JTWC 24 22 13 [6]
เกิดขึ้นจริง: PAGASA 19 16 9

ในระหว่างฤดูกาล หลายหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศจะมีการณ์คาดการณ์ของพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น ที่จะก่อตัวในช่วงฤดู และ/หรือ จะมีพายุกี่ลูกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้น[7] หลายหน่วยงานนี้ได้รวมไปถึงองค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย[7][8][9] ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 VNCHMF คาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวและพัฒนา ที่อาจจะส่งผลกระทบกับประเทศเวียดนาม 1 ถึง 2 ลูก ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึง เมษายน พ.ศ. 2557[10] ภายในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน แนวโน้มสภาพอากาศตามฤดูกาลของ PAGASA ทำนายว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนหนึ่งถึงสองลูกที่จะก่อตัวหรือพัฒนาขึ้น และ/หรือ เคลื่อนตัวเข้าสู่เขตพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ในขณะที่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน จะมีทั้งหมดสามถึงหกลูก[2] ขณะที่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน จะมีทั้งหมดแปดถึงสิบลูก และขณะที่เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม จะมีทั้งหมดห้าถึงเจ็ดลูก[2][11] วันที่ 28 กรกฎาคม 2557 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าในฤดูกาล 2557 นี้จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยจำนวน 2 ลูก โดยลูกแรกมีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน และลูกที่สองจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนล่างในช่วงเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม[12]

ภาพรวมฤดูกาล

[แก้]

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (คณะกรรมการไต้ฝุ่น)
  พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (118–156 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (157–193 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (≥194 กม./ชม.)

พายุ

[แก้]

พายุโซนร้อนเหล่งเหล่ง

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 10 – 21 มกราคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: อากาโตน
  • วันที่ 10 มกราคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพบพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปาเลา[13][14]
  • วันที่ 12 มกราคม JMA ได้ลดระดับความรุนแรงลงไปที่หย่อมความกดอากาศต่ำ ขณะที่มันกำลังส่งผลกระทบกับฟิลิปปินส์[15][16]
  • วันที่ 14 มกราคม JMA ได้เพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนอีกครั้ง[17]
  • วันที่ 17 มกราคม สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้ใช้ชื่อระบบว่า อากาตอน (Agaton) และได้ใช้การเตือนภัยระดับ 1 ในเลย์เตใต้, ตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของมินดาเนา
  • วันที่ 18 มกราคม ระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อน โดย JMA ได้ประกาศใช้ชื่อ "เหล่งเหล่ง" ส่วนศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้ประกาศเพิ่มความรุนแรงของพายุเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนและพายุโซนร้อนตามลำดับ และใช้รหัสเรียกขาน 01W[18]
  • วันที่ 19 มกราคม JTWC ออกประกาศคำเตือนเป็นครั้งสุดท้ายในช่วงท้ายของวัน[19][20]
  • วันที่ 20 มกราคม ในช่วงต้นวัน เหล่งเหล่ง ได้อ่อนกำลังลงอย่างเป็นขั้นตอนอย่างรวดเร็ว
  • วันที่ 23 มกราคม เศษของพายุที่เหลืออยู่ได้ถูกกลืนไปโดยแนวปะทะอากาศเย็น[21][22]

น้ำท่วมและดินถล่มส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 70 คนในฟิลิปปินส์[23]

พายุโซนร้อนคาจิกิ

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: บาชัง
  • วันที่ 23 มกราคม กลุ่มพายุฝนฟ้าคะนองก่อตัวขึ้นในช่วงปลายของวัน
  • วันที่ 29 มกราคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวทางตะวันออกของเกาะแยป[24][25]
  • วันที่ 30 มกราคม ทั้ง JMA และ PAGASA ได้เริ่มติดตามและประกาศทวีความรุนแรงพายุเป็นพายุโซนร้อน โดย JMA ใช้ชื่อสากลว่า "คาจิกิ" และ PAGASA ใช้ชื่อภาษาฟิลิปปินส์ว่า "บาชัง (Basyang)"[26][27]
  • วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เนื่องจากสภาวะที่ไม่เอื้ออำนวยในทะเลจีนใต้ คาจิกิ จึงได้สลายตัวไป[28][29]

พายุไต้ฝุ่นฟ้าใส

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 27 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 16 กุมภาพันธ์ หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นบริเวณใกล้กับชุก ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรและได้รับรหัสเรียกขานว่า Invest 93W และเคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ ตามลมเฉือนแนวตั้ง ดังนั้น มันจึงยังไม่สามารถจัดระเบียบการหมุนเวียนได้อย่างถูกต้อง จนเมื่อมันเคลื่อนไปในพื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่าลมเฉือนแนวตั้ง ตัวพายุจึงสามารถที่จะจัดระเบียบการหมุนเวียนลมได้
  • วันที่ 26 กุมภาพันธ์ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ได้ประกาศทวีความรุนแรงองหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น ได้ประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน
  • วันที่ 27 กุมภาพันธ์ JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนและใช้รหัสเรียกขานว่า 03W หลายชั่วโมงต่อมา JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของพายุดีเปรสชันเขตร้อน เป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ "ฟ้าใส"
  • วันที่ 3 มีนาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของฟ้าใส เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 5 มีนาคม ฟ้าใส ได้ทวีกำลังเป็นพายุไต้ฝุ่นในช่วงเวลาสั้น ๆ
  • วันที่ 6 มีนาคม ฟ้าใส กลายเป็นพายุกึ่งเขตร้อนอย่างเต็มรูปแบบ
  • วันที่ 8 มีนาคม ฟ้าใส ได้สลายตัวลง เป็นระยะทางหลายกิโลเมตรทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น

พายุโซนร้อนเผ่ย์ผ่า

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 2 – 15 เมษายน
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โดเมง
  • วันที่ 30 มีนาคม กลุ่มของเมฆพายุฝนฟ้าคะนองได้ก่อตัวขึ้นใกล้กับเส้นศูนย์สูตรและปาปัวนิวกินี โดยกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ ๆ ถูกแบ่งเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำและหย่อมความกดอากาศต่ำ 23P
  • วันที่ 2 เมษายน หย่อมดังกล่าวทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[30][31]
  • วันที่ 3 เมษายน JTWC ได้ใช้รหัส 05W กับพายุ[32]

พายุโซนร้อนกำลังแรงตาปะฮ์

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 27 เมษายน – 2 พฤษภาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 27 เมษายน JMA รายงานว่าพบการก่อตัวของพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน ห่างจากฮากัตญา, กวม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นระยะ 515 กิโลเมตร[33][34] หลังจากนั้น JTWC ได้ประกาศเพิ่มความรุนแรงของพายุเป็น พายุดีเปรสชันเขตร้อน 06W ในขณะที่มันเคลื่อนตัวไปทางเหนือ[35]
  • วันที่ 28 เมษายน เนื่องจากน้ำมีอุณหภูมิอุ่น ทำให้ระบบสามารถพัฒนาเป็นพายุโซนร้อนได้อย่างรวดเร็ว และ JMA ได้ใช้ชื่อ "ตาปะฮ์" หลังจากนั้นระบบก็พัฒนาขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[36]
  • วันที่ 29 เมษายน JMA ได้ประกาศเพิ่มความรุนแรงของตาปะฮ์ เป็นพายุไต้ฝุ่น[37]
  • วันที่ 30 เมษายน ตาปะฮ์ได้ลดความรุนแรงลงกลายเป็นพายุโซนร้อน[38]
  • วันที่ 2 พฤษภาคม JMA ได้ประกาศเพิ่มความรุนแรงของพายุโซนร้อนตาปะฮ์เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และตัวพายุได้สลายไปจนหมดในเวลาต่อมา[39]

พายุโซนร้อนมิแทก

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 9 – 12 มิถุนายน
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เอสเตร์
  • วันที่ 6 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำได้ก่อตัวขึ้นใกล้กับเกาะ ในเขตกวนตง, จีน และได้อยู่กับร่องมรสุม
  • วันที่ 7 มิถุนายน ระบบค่อย ๆ เคลื่อนไปทางทิศตะวันออก
  • วันที่ 9 มิถุนายน JMA รายงานว่าระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ซึ่งพัฒนาขึ้นห่างจากเหิงช่วน, ไต้หวัน เป็นระยะ 115 กิโลเมตร[40]
  • วันที่ 10 มิถุนายน PAGASA ได้ใช้ชื่อ "เอสเตอร์" (Ester) ซึ่งมีบางส่วนของระบบพายุทำให้เกิดน้ำท่วมในประเทศฟิลิปปินส์[41]
  • วันที่ 10 มิถุนายน JMA ได้เพิ่มความรุนแรงพายุดีเปรสชันเขตร้อน เป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ "มิแทก"[42] ในขณะเดียวกัน JTWC ได้จัดระดับพายุนี้อยู่ในสถานะ กึ่งเขตร้อน[43]
  • วันที่ 12 มิถุนายน JMA ได้ออกคำแนะนำสำหรับ มิแทก เป็นครั้งสุดท้าย เนื่องจากระบบถูกดูดโดยไซโคลนกึ่งเขตร้อนที่อยู่ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น

เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรงขึ้นจากพายุโซนร้อนมิแทก นำฝนไปตกที่ประเทศฟิลิปปินส์ PAGASA จึงรายงานว่าฤดูฝนเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 มิถุนายน[44][45]

พายุโซนร้อนฮากีบิส

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 18 มิถุนายน
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 8 มิถุนายน คล้ายกับการก่อตัวขึ้นของ มิแทก มีการไหลเวียนของลมขนาดเล็กพัฒนาขึ้นในทะเลจีนใต้
  • วันที่ 11 มิถุนายน ระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ
  • วันที่ 13 มิถุนายน JMA ได้จัดระดับของพายุเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และระบบก็เริ่มเลคื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ
  • วันที่ 14 มิถุนายน JTWC ได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน เพื่อเตือนถึงพายุดีเปรสชันเขตร้อน หลังจากนั้น JTWC ก็ได้เพิ่มระดับความรุนแรงของพายุเป็นพายุดีเปรสชัน 07W และ JMA ได้เพิ่มระดับความรุนแรงพายุดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ "ฮากีบิส"
  • วันที่ 15 มิถุนายน ฮากีบิส ได้พัดเข้าฝั่งแผ่นดินทางภาคใต้ของจีน[46]
  • วันที่ 16 มิถุนายน ทั้งสองหน่วยงานได้หยุดออกคำเตือนเกี่ยวกับพายุ เนื่องจากหลังจากที่ระบบขึ้นฝั่งแล้ว ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ส่วนเศษของพายุที่เหลือได้เคลื่อนตัวต่อไปทางทิศเหนือ
  • วันที่ 17 มิถุนายน เศษที่เหลือของ ฮากีบิส ได้เคลื่อนตัวโค้งไปทางทิศตะวันออก ทำให้ระบบสามารถกลับมาเป็นพายุโซนร้อนได้อีกครั้ง เป็นผลให้ JMA ออกคำแนะนำเกี่ยวกับ ฮากีบิส อีกครั้ง
  • วันที่ 18 มิถุนายน ฮากีบิส เปลี่ยนแปลงสถานะเป็นพายุหมุนกึ่งเขตร้อน
  • วันที่ 21 มิถุนายน เศษที่เหลือของระบบได้ถูกดูดซึมไป จากการพัฒนาของพายุหมุนกึ่งเขตร้อนทางทิศเหนือ

ประมาณ 13,000 คน ได้รับผลกระทบจากพายุ[47] ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจาก ฮากิบิส ประมาณ 577 ล้านหยวน สองวันต่อมามียอดเพิ่มขึ้นเป็น 675 ล้านหยวน[48]และรวมไปถึงอีก 131 ล้านดอลลาร์ในวันที่ 20 มิถุนายน[49] ในวันที่ 19 มิถุนายนรัฐบาลออกรายงานว่าพบผู้เสียชีวิต 11 คนในภูมิภาคที่ได้รับผลทบจากฮากีบิส[50]

พายุไต้ฝุ่นนอกูรี

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 2 – 11 กรกฎาคม
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
930 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.46 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โฟลรีตา
  • วันที่ 30 มิถุนายน เกิดการแปรปรวนของลมในเขตร้อนใกล้กับกวม[51]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม ต่อไประบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่อุ่นและการพัดพาความร้อน
  • วันที่ 2 กรกฎาคม ระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 3 กรกฎาคม ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้จัดระดับระบบอยู่ในพายุดีเปรสชันเขตร้อนและใช้รหัส 08W[52]
  • วันที่ 4 กรกฎาคม สองหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อน พร้อมด้วยใช้ชื่อ "นอกูรี"[53]
  • วันที่ 5 กรกฎาคม นอกูรี ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็วเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับต่ำ ต่อมามันได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วอีก กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (ตามสเกลเฮอร์ริเคนของแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน) โดยการจัดระดับของ JTWC และยังมีการพัฒนาของตาพายุอย่างเห็นได้ชัดเจน ในเวลาเดียวกันนั้นพายุได้เคลื่อนตัวเข้าไปในเขตพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ (PAR) โดยสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้ใช้ชื่อ "โฟลรีตา (Florita)"
  • วันที่ 6 กรกฎาคม นอกูรี ได้เข้าเขตอุณหภูมิน้ำทะเลอุ่นจัด ทำให้มันทวีกำลังแรงขึ้นเป็นซูเปอร์พายุไต้ฝุ่น โดยการจัดระดับของ JTWC
  • วันที่ 7 กรกฎาคม นอกูรีมีกำลังแรงที่สุด[54] และ JTWC ได้ปฏิเสธที่จะใช้ระดับ 5 กับพายุ
  • วันที่ 8 กรกฎาคม นอกูรี อ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3[55]
  • วันที่ 9 กรกฎาคม PAGASA ได้ระบุว่าพายุเดินทางออกจากพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ไปแล้ว[56]

พายุไต้ฝุ่นรามสูร

[แก้]
1409 (JMA)・09W (JTWC)・เกลนดา (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 9 กรกฎาคม – 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นรามสูร
  • วันที่ 9 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้เริ่มติดตามการรบกวนของเขตร้อน ซึ่งได้พัฒนาไปทางตะวันออกของชุก ประเทศไมโครนีเชีย ในเวลานี้ บริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำมีศูนย์กลางการหมุนเวียนที่กว้าง และไม่ชัดเจน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนของบรรยากาศวูบวาบ
  • วันที่ 10 กรกฎาคม บริเวณที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำค่อย ๆ รวมเข้าไปในพื้นที่ของเงื่อนไขที่ดี การหมุนเวียนรอบพายุปิดบังศูนย์หมุนเวียนระดับต่ำ ในเวลาต่อมา สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพบพายุดีเปรสชันเขตร้อน ก่อตัวขึ้นบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา และมีการกำหนดรหัส 09W ให้กับพายุในคืนของวันนี้ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ยกระดับความรุนแรงของ 09W ให้เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวผ่านกวม
  • วันที่ 11 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อน หลังจากประเมินความรุนแรงที่สูงกว่าที่เทคนิคดีโวรักประมาณการจากหน่วยงานต่าง ๆ เล็กน้อยนั้นในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้กวม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมรายงานว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อนไม่ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และปรับลดระดับเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน นี่เป็นเพราะขาดการสนับสนุนการประมาณการเทคนิคดีโวรักจากหน่วยงานต่าง ๆ และการสังเกตต่าง ๆ จากกวม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพายุนี้เป็นศูนย์การหมุนเวียนระดับต่ำที่กำหนดไว้ไม่ดีพร้อมการพาความร้อนลึกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของศูนย์กลาง
  • วันที่ 12 กรกฎาคม วิธีการวิเคราะห์แบบเทคนิคดีโวรักไม่สนับสนุนความรุนแรงของพายุโซนร้อนรามสูร และศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำก็ไม่ชัดเจน และการพาความร้อนลึกถูกตัดออกทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพายุโดยแนวดิ่งที่รุนแรงลมเฉือน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อนได้กลายเป็นพายุโซนร้อน และได้ถูกตั้งชื่อว่า รามสูร เนื่องจากพายุได้ไปทางเหนือของกวม ต่อมาในวันนั้น ขณะที่พายุโซนร้อนรามสูรเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกภายใต้อิทธิพลของสันเขากึ่งเขตร้อนที่มีความกดอากาศสูง ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุโซนร้อนรามสูรฟื้นคืนสถานะหลังจากเทคนิคดีโวรักประมาณการจากหน่วยงานต่าง ๆ สนับสนุน และโครงสร้างลมเฉือนแนวตั้งต่ำได้ดีขึ้น
  • วันที่ 13 กรกฎาคม พายุโซนร้อนรามสูรเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบฟิลิปปินส์ และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า เกลนดา พายุโซนร้อนรามสูรยังคงรักษาระดับความรุนแรงไว้ในขณะที่การระเบิดของการพาความร้อนจากส่วนกลางลึกพัฒนา และได้กำหนดไว้ชัดเจนขึ้นเล็กน้อยในอีกสองสามชั่วโมงข้างหน้า แรงลมเฉือนแนวตั้งค่อย ๆ ลดลง พายุโซนร้อนรามสูรเคลื่อนตัวไปในทางทิศตะวันตกตามแนวสันเขากึ่งเขตร้อนที่บังคับเลี้ยวการไหลออกดีขึ้นตามทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และพายุโซนร้อนรามสูรได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่น รวมตัวเข้าด้วยกันในขณะที่แถบการพาความร้อนถูกกำหนดไว้อย่างดี
  • วันที่ 14 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่นรามสูรเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ได้รับประโยชน์จากความร้อนแฝงจำนวนมากของน้ำทะเล และลมเฉือนแนวตั้ง ซึ่งเริ่มอ่อนตัวลงแล้ว พายุไต้ฝุ่นรามสูรเริ่มทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีนัยสำคัญ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ยกระดับจากพายุโซนร้อนให้เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงเมื่อเวลา 08:45 น. (01:45 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับเป็นพายุไต้ฝุ่นครั้งแรกเมื่อเวลา 17:00 น. (10:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ยกระดับให้เป็นพายุไต้ฝุ่นเวลาประมาณ 21:00 น. (14:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) เทคนิคดีโวรักประมาณการจากหน่วยงานต่าง ๆ เสนอแนะความเร็วลมขั้นต่ำที่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (75 ไมล์ต่อชั่วโมง) ทำให้การพาความร้อนมีความเข้มข้น และคงสภาพไว้
  • วันที่ 15 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่นรามสูรได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศฟิลิปปินส์ พายุได้พัฒนาตาพายุให้กว้าง 20 กิโลเมตร (10 ไมล์) มีกระแสน้ำไหลออกทางเส้นศูนย์สูตร และไปทางทิศตะวันตกอย่างแรงในขณะนั้น พายุไต้ฝุ่นรามสูรมีความเร็วลมต่อเนื่อง 1 นาทีที่ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) ความเร็วลมต่อเนื่อง 10 นาทีที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) แม้ว่าในขั้นต้นคาดว่าจะรักษาระดับความรุนแรง และทำให้แผ่นดินถล่มก่อนที่จะอ่อนกำลังลงในฐานะพายุโซนร้อนอีกครั้ง เนื่องจากการปฏิสัมพันธ์ของแผ่นดิน พายุไต้ฝุ่นรามสูรทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง หกชั่วโมงต่อมา ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ตรวจพบตาพายุ 40 กิโลเมตร (20 ไมล์) กว้างเป็นสองเท่าของรายงานก่อนหน้านี้ ลมพัดต่อเนื่อง 1 นาทีกำหนดไว้ที่ 190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (120 ไมล์ต่อชั่วโมง) เทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 3 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน พายุไต้ฝุ่นรามสูรยังคงเสริมกำลังต่อไป ความเร็วลมของพายุยังคงเพิ่มขึ้น เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมรายงานลมที่ความเร็วลมต่อเนื่อง 1 นาทีที่ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) ก่อนแก้ไขใหม่ที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในเส้นทางที่ดีที่สุด ทำให้เป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 และความกดอากาศที่ 920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.17 นิ้วของปรอท)
  • วันที่ 16 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่นรามสูรเคลื่อนตัวไปเส้นทางทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยรักษาความเร็ว 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (15 ไมล์ต่อชั่วโมง) ข้ามตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์ และเคลื่อนตัวเข้าสู่ทะเลจีนใต้เวลา 12:00 น. (05:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุไต้ฝุ่นรามสูรได้รับผลกระทบจากแรงเสียดทานของภูมิประเทศ และอ่อนแอกำลังลงเล็กน้อย เนื่องจากเส้นทางเคลื่อนตัวของพายุอยู่ใกล้กับภูเขาสูงของประเทศฟิลิปปินส์การหมุนเวียนบางอย่างไม่สามารถข้ามได้ ทำให้ผนังตาด้านเหนือของพายุพังทลาย และการพาความร้อนลึกเกือบจะกระจายเมื่อออกสู่ทะเล แต่มีการไหลเวียนในระดับต่ำ ศูนย์กลางของพายุยังคงล้อมรอบด้วยการพาความร้อนอย่างแน่นหนา
  • วันที่ 17 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่นรามสูรได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และทวีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของสันเขากึ่งเขตร้อน รักษาการเคลื่อนไหวทางตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วคงที่ และข้ามทางตอนเหนือของทะเลจีนใต้ หลังจากที่พายุเข้าสู่ทะเลจีนใต้ โดยได้รับประโยชน์จากสภาพแวดล้อมในบรรยากาศที่เอื้ออำนวย และอุณหภูมิของน้ำที่สูง การกลับคืนสู่สภาพเดิมก็แข็งแกร่งขึ้น และแรงดันอากาศก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง พายุไต้ฝุ่นรามสูรเสริมกำลังอีกครั้ง และใช้เส้นทางตะวันตกเฉียงเหนือมากขึ้นหลังจากมืด ตาพายุของพายุไต้ฝุ่นรามสูรปรากฏขึ้นอีกครั้งหลังเวลา 20:00 น. (13:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และได้กวาดจุดบรรจบทางใต้ไปทางทิศเหนือได้สำเร็จ และสร้างกำแพงตาที่แข็งแรงขึ้นใหม่
  • วันที่ 18 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่นรามสูรได้รับความร้อนแฝงที่ดีของน้ำทะเล และแรงลมเฉือนในแนวดิ่งที่อ่อนในทะเลจีนใต้ พายุไต้ฝุ่นรามสูรทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีตาพายุอีกครั้ง การพาความร้อนได้รับการจัดโครงสร้างใหม่พัฒนาได้ดี ในเวลานี้ ภายใต้อิทธิพลกระแสลมนำทางที่ขอบตะวันตกเฉียงใต้ของสันเขากึ่งเขตร้อนชื้น พายุเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ และความเร็วในการเคลื่อนตัวยังคงที่ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (10 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 02:00 น. (19:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับความรุนแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 อย่างมีนัยสำคัญอีกครั้งเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 4 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน และในระหว่างวัน พายุไต้ฝุ่นรามสูรได้ยกระดับในฐานะพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 เมื่อเวลา 05:00 น. (22:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) กระแสความแรงของพายุไต้ฝุ่นรามสูรไม่ได้หยุดนิ่งเพราะเข้าใกล้แผ่นดิน แต่ยิ่งเฉียบคมขึ้นเรื่อย ๆ อุณหภูมิในตาพายุก็พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ถึงระดับเข้มจนผ่านทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของมณฑลไหหลำในตอนบ่าย พายุไต้ฝุ่นรามสูรได้พัดขึ้นฝั่งมณฑลไหหลำด้วยความรุนแรงสูงสุดทำให้เป็นหนึ่งในสองพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ที่จะทำให้เกิดแผ่นดิน เทียบเท่าระดับความรุนแรงในประเทศจีน สถานีแห่งหนึ่งบนเกาะฉีโจวบันทึกความกดอากาศระดับน้ำทะเลที่ 895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.43 นิ้วของปรอท) ซึ่งเป็นระดับน้ำทะเลต่ำสุดที่บันทึกไว้ในประเทศจีน และเป็นหนึ่งในความกดอากาศระดับน้ำทะเลต่ำที่สุดในโลก และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (125 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • วันที่ 19 กรกฎาคม จุดศูนย์กลางของพายุไต้ฝุ่นรามสูรอยู่เหนือแผ่นดินมณฑลไหหลำ และยังคงเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ หรือตะวันตกเฉียงเหนือผ่านอ่าวตังเกี๋ยเมื่อเวลา 02:00 น. (19:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ลดระดับความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นรามสูรเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ต่อมาพายุได้อ่อนกำลังลงจนอยู่ที่พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 และออกคำเตือนครั้งสุดท้ายเมื่อเวลา 11:45 น. (04:45 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ปรับลดระดับเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงเมื่อเวลา 20:00 น. (13:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และต่อมาก็ได้ปรับลดระดับเป็นพายุโซนร้อนเมื่อเวลา 21:30 น. (14:30 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ขณะที่เคลื่อนตัวไปยังเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง และเป็นการขึ้นแผ่นดินเป็นครั้งที่สาม
  • วันที่ 20 กรกฎาคม พายุโซนร้อนรามสูรเคลื่อนตัวไปทางเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ตอนเหนือของประเทศเวียดนาม และมณฑลยูนนาน เนื่องจากไอน้ำของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ถูกตัดขาดจากภูเขาของประเทศเวียดนาม การอ่อนตัวลงของพายุโซนร้อนรามสูร จึงรุนแรงขึ้นอีกครั้ง สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ปรับลดระดับเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนเวลา 08:00 น. (01:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ก่อนที่จะมีการบันทึกครั้งสุดท้ายในวันนั้นในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน และต่อมาได้ปรับลดเป็นพื้นที่หย่อมความกดอากาศต่ำในวันรุ่งขึ้น พายุกระจายตัวไปทางทิศตะวันตกลึกเข้าไปในแผ่นดิน และในที่สุดก็สลายไปในวันต่อมา
ภายหลังการปิดท่าเรือทางทะเล มีรายงานว่าผู้โดยสารมากกว่าประมาณ 100 คน ติดอยู่ที่ท่าเรือนานาชาติบาตังกัสพร้อมกับสินค้าอีกประมาณ 39 ลำ ในขณะเดียวกัน ผู้โดยสารอย่างน้อยประมาณ 841 คน ติดอยู่ที่ท่าเรือ 5 แห่ง ในเขตบีโคล ได้แก่ มัตนอก ทาบาโก บุหลัน คาตางัน และปิลาร์ เป็นต้น[57] เที่ยวบินประมาณ 50 เที่ยวบิน ได้ถูกยกเลิก และครอบครัวประมาณ 100,000 ครัวเรือน ได้ถูกอพยพเมื่อพายุไต้ฝุ่นรามสูรเคลื่อนตัวใกล้แผ่นดิน[58][59] กรมอนามัยฟิลิปปินส์กล่าวว่าได้เตรียมโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งเพื่อช่วยเหลือกระบวนการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์[60] เมืองในจังหวัดอัลไบได้ประกาศภาวะภัยพิบัติ[61] ส่วนต่าง ๆ ของเขตเมืองหลวงแห่งชาติรายงานว่าไฟฟ้าดับระหว่างเกิดพายุไต้ฝุ่นรามสูร[62] และประชาชนอย่างน้อยประมาณ 6,000 คน ติดอยู่ที่ท่าเรือต่าง ๆ ทั่วประเทศเนื่องจากพายุ[63] ความเสียหายโดยรวมประมาณ 8.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

พายุไต้ฝุ่นแมตโม

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 25 กรกฎาคม
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เฮนรี
  • วันที่ 13 กรกฎาคม ร่องความกดอากาศต่ำเกิดความแปรปรวนของลมในเขตร้อน[64] แต่เนื่องจากบริเวณใกล้ๆกันนั้นมีพายุไต้ฝุ่นรามสูร ทำให้ระบบเริ่มอ่อนกำลังลง
  • วันที่ 14 กรกฎาคม สภาวะแวดล้อมรวมถึงน้ำทะเลที่อุ่นส่งผลดีต่อระบบมากขึ้น
  • วันที่ 16 กรกฎาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) เพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนระดับอ่อน ขณะที่มะนเริ่มจะแสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มทวีกำลังแรงขึ้น ใน้วลาเดียวกัน ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) ได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนกับระบบ[65][66]
  • วันที่ 17 กรกฎาคม JTWC ออกประกาศเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบ เป็นพายุโซนร้อน 10W ขณะที่ JMA ใช้ชื่อ "แมตโม" และเพิ่มระดับความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 18 กรกฎาคม แมตโมเคลื่อนตัวเข้าเขตพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ PAGASA จึงใช้ชื่อ "เฮนรี (Henry)"[67]
  • วันที่ 19 กรกฎาคม JMA ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 20 กรกฎาคม พายุค่อยๆกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น แต่ JTWC ยังคงจัดระดับอยู่ในระดับพายุโซนร้อนดังเดิม
  • วันที่ 21 กรกฎาคม JTWC เพิ่มระดับความรุนแรงของพายุเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 ในเวลาเดียวกันนั้น พายุแมตโมเริ่มมีทิศทางโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ[68]
  • วันที่ 22 กรกฎาคม JMA ได้ลดความรุนแรงของแมตโมเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงอีกครั้ง
  • วันที่ 23 กรกฎาคม JTWC ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของแมตโมเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 พร้อมกับการพัฒนาของพายุเล็กๆบริเวณศูนย์กลางพายุแมตโม[69]

มีรายงานว่า มีผู้เสียชีวิต 1 คนจากผลกระทบของพายุ[70] และมีอีกอย่างน้อย 48 รายที่เสียชีวิตจากเหตุการเครื่องบินสายการบินทรานส์เอเชีย เที่ยวบิน 222 ประสบอุบัติเหตุในไต้หวัน ซึ่งอาจเกิดจากพายุไต้ฝุ่น[71] วันที่ 24 กรกฎาคมหน่วยงานบริหารมณฑลอี้หลาน รายงานว่าพื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบเป็นเป็นมูลค่าประมาณ 44 ล้านดอลลาร์NT[72]

พายุไต้ฝุ่นหะลอง

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 27 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.17 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โฮเซ

พายุโซนร้อนกำลังแรงนากรี

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 28 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: อินได

พายุไต้ฝุ่นเจนิวีฟ

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 7 (เข้ามาในแอ่ง) – 14 สิงหาคม
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.02 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 7 สิงหาคม เฮอร์ริเคนเจเนวิว เคลื่อนตัวเข้าสู่แอ่งแปซิฟิกตะวันตกด้วย ความรุนแรงระดับพายุไต้ฝุ่น

พายุโซนร้อนกำลังแรงเฟิงเฉิน

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 5 – 10 กันยายน
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นคัลแมกี

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 17 กันยายน
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ลุยส์

พายุโซนร้อนฟงวอง

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 24 กันยายน
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: มารีโย

พายุโซนร้อนกำลังแรงคัมมูริ

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 23 – 30 กันยายน
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นฟานทอง

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 28 กันยายน – 6 ตุลาคม
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
935 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.61 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เนเนง

พายุไต้ฝุ่นหว่องฟ้ง

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 2 – 14 ตุลาคม
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โอมโปง

พายุไต้ฝุ่นนูรี

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 30 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
910 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.87 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ปาเอง

พายุโซนร้อนซินลากู

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 26 – 30 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: กวีนี

พายุไต้ฝุ่นฮากูปิต

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 30 พฤศจิกายน – 12 ธันวาคม
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: รูบี

พายุโซนร้อนชังมี

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 28 ธันวาคม 2557 – 1 มกราคม 2558
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เซเนียง

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

[แก้]

รายการพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน โดยอาจเป็นพายุที่มีรหัสเรียกตามหลังด้วยตัวอักษร W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม หรืออาจได้รับชื่อท้องถิ่นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) แต่ไม่ถูกตั้งชื่อตามเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวระบุเพียงแต่คำว่า TD (Tropical Depression) หรือพายุดีเปรสชันเท่านั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 4

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 11 – 12 มีนาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)

ช่วงวันที่ 11 มีนาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ได้รายงานว่าพบพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นในระยะ 195 กม. (121 ไมล์) ทางตะวันออกของมาติ, ฟิลิปปินส์[73]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 04W

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 24 มีนาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: กาโลย
  • วันที่ 12 มีนาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นใกล้กับทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะกวม[74]
  • วันที่ 18 มีนาคม JMA ได้รายงานว่าพบพายุดีเปรสชันก่อตัวทางตะวันออกเฉียงเหนือเยื้องตะวันออกของคอรอร์, ปาเลา[75]
  • วันที่ 21 มีนาคม ระบบได้จะระเบียบการหมุนเวียนลมและ PAGASA ได้ประกาศใช้ชื่อ "กาโลย (Caloy)"
  • วันที่ 22 มีนาคม JTWC ได้ประกาศใช้รหัสเรียกขาน 04W กับระบบ
  • วันที่ 24 มีนาคม ระหว่างที่ระบบกำลังเดินทางผ่านไปบนแผ่นดิน ทำให้ระบบได้อ่อนกำลังลงกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ และสลายตัวในเวลาไม่กี่วันต่อจากนั้น
  • วันที่ 27 มีนาคม ส่วนที่เหลือได้เคลื่อนตัวไปทางตะวันตก ลงสู่ทะเลจีนใต้ และสลายตัวไปจนหมดสิ้นทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเวียดนาม

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 7

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 19 – 21 เมษายน
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 17

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 19 – 20 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 18

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 27 – 29 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 19

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 4 – 6 กันยายน
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 14W

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 5 – 8 กันยายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: การ์ดิง

พายุอื่น ๆ

[แก้]

วันที่ 10 มกราคม JMA รายงานว่าพบพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวทางตะวันตกเฉียงใต้ของปาเลา[76][77] ต่อมาในวันที่ 12 มกราคม JMA ได้ประกาศลดระดับความรุนแรงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ผลของระบบทำให้เกิดแผ่นดินถล่มในมินดาเนา[78][79]

รายชื่อพายุ

[แก้]

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างทำหน้าที่กำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนอาจมีสองชื่อ[80] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาจะประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน หากมีความเร็วลมถึง 65 km/h (40 mph) พายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวจะได้รับชื่อ[81] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าหรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ มีขอบเขตอยู่ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 135°ดะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างเส้นขนานที่ 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[80] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนโดยทั้ง PAGASA และ คณะกรรมการไต้ฝุ่น[81] ในระหว่างฤดูกาล หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ที่เตรียมไว้ถูกใช้จนหมด PAGASA จะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นไว้ในแต่ละฤดูกาลมาใช้กับพายุหมุนเขตร้อนแทนชื่อที่หมดไป

ชื่อสากล

[แก้]

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 km/h (40 mph)[82] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิกและดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[83] โดยรายชื่อด้านล่างจะเป็นรายชื่อ พร้อมเลขรหัสพายุ ชื่อที่ใช้เป็นชื่อแรกของฤดูกาล 2557 คือ เหล่งเหล่ง จากชุดที่ 2 และชื่อที่ใช้เป็นชื่อสุดท้ายคือ ชังมี จากชุดที่ 3 รวมมีชื่อจากชุดรายชื่อถูกใช้ 22 ชื่อ

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนสากลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในฤดูกาล 2557
ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ
ชุดที่ 2 1401 เหล่งเหล่ง
(Lingling)
ชุดที่ 2 1407 ฮากีบิส
(Hagibis)
ชุดที่ 3 1414 เฟิงเฉิน
(Fengshen)
ชุดที่ 3 1420 นูรี
(Nuri)
1402 คาจิกิ
(Kajiki)
1408 นอกูรี
(Neoguri)
1415 คัลแมกี
(Kalmaegi)
1421 ซินลากู
(Sinlaku)
1403 ฟ้าใส
(Faxai)
1409 รามสูร
(Rammasun)
1416 ฟงวอง
(Fung-wong)
1422 ฮากูปิต
(Hagupit)
1404 เผ่ย์ผ่า
(Peipah)
1410 แมตโม
(Matmo)
1417 คัมมูริ
(Kammuri)
1423 ชังมี
(Jangmi)
1405 ตาปะฮ์
(Tapah)
1411 หะลอง
(Halong)
1418 ฟานทอง
(Phanfone)
1406 มิแทก
(Mitag)
ชุดที่ 3 1412 นากรี
(Nakri)
1419 หว่องฟ้ง
(Vongfong)

หมายเหตุ: รหัสพายุสากลที่ 1413 ถูกใช้กับพายุเฮอร์ริเคนเจนิวีฟ (Genevieve) โดยพายุดังกล่าวเข้ามาในแอ่ง กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นเจนิวีฟ

ฟิลิปปินส์

[แก้]

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[84] โดยชื่อที่ใช้ถูกนำมาจากรายชื่อ เป็นรายชื่อเดียวกับที่ถูกใช้ไปในฤดูกาล ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) และมีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) ด้วย[84] ซึ่งรายชื่อทั้งหมดเหมือนเดิมกับครั้งก่อน เว้น โฮเซ (Jose) และ การ์ดิง (Karding) ที่ถูกนำมาแทน ฮวน (Juan) และ กาตริง (Katring) ที่ถูกถอนไปตามลำดับ[84] ส่วนชื่อที่ไม่ถูกใช้จะทำเป็น อักษรสีเทา

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนท้องถิ่นฟิลิปปินส์ในฤดูกาล 2557
อากาโตน (Agaton) (1401) โฟลรีตา (Florita) (1408) การ์ดิง (Karding) ปาเอง (Paeng) (1420) อุสมัน (Usman) (ไม่ถูกใช้)
บาชัง (Basyang) (1402) เกลนดา (Glenda) (1409) ลุยส์ (Luis) (1415) กวีนี (Queenie) (1421) เบนุส (Venus) (ไม่ถูกใช้)
กาโลย (Caloy) เฮนรี (Henry) (1410) มารีโอ (Mario) (1416) รูบี (Ruby) (1422) วัลโด (Waldo) (ไม่ถูกใช้)
โดเมง (Domeng) (1404) อินได (Inday) (1412) เนเนง (Neneng) (1418) เซเนียง (Seniang) (1423) ยายัง (Yayang) (ไม่ถูกใช้)
เอสเตร์ (Ester) (1406) โฮเซ (Jose) (1411) โอมโปง (Ompong) (1419) โตมัส (Tomas) (ไม่ถูกใช้) เซนี (Zeny) (ไม่ถูกใช้)
รายชื่อเพิ่มเติม
อากีลา (Agila) (ไม่ถูกใช้) ซีโต (Chito) (ไม่ถูกใช้) เอเลนา (Elena) (ไม่ถูกใช้) กุนดิง (Gunding) (ไม่ถูกใช้) อินดัง (Indang) (ไม่ถูกใช้)
บากวิส (Bagwis) (ไม่ถูกใช้) ดีเยโก (Diego) (ไม่ถูกใช้) เฟลีโน (Felino) (ไม่ถูกใช้) แฮร์เรียต (Harriet) (ไม่ถูกใช้) เจสซา (Jessa) (ไม่ถูกใช้)

การถอนชื่อ

[แก้]

ภายหลังจากฤดูกาลนี้ คณะกรรมการไต้ฝุ่นได้ถอนชื่อ รามสูร ออกจากชุดรายชื่อ และต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ได้มีการคัดเลือกชื่อ บัวลอย มาทดแทนชื่อดังกล่าวที่ถูกถอนไป[85]

ส่วนชื่อท้องถิ่นฟิลิปปินส์ แต่เดิมเมื่อเริ่มต้นฤดูกาล 2557 นั้น ชื่อ กาโนร์ (Kanor) ถูกกำหนดขึ้นเพื่อทดแทนชื่อ กาตริง (Katring) ที่ถูกถอนไปก่อนหน้านี้ แม้กระนั้น ในเดือนกันยายน PAGASA ได้แทนที่ชื่อ กาโนร์ (Kanor) ด้วย การ์ดิง (Karding) หลังจากที่ได้รับผลตอบรับเชิงลบจากสาธารณชน[86][87] ต่อมาเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลแล้ว PAGASA ได้ถอนชื่อ เกลนดา (Glenda), โฮเซ (Jose), มารีโอ (Mario), รูบี (Ruby) และ เซเนียง (Seniang) ออกจากชุดรายชื่อ เนื่องจากสร้างความเสียหายรวมมากกว่า 1 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ โดยเลือกชื่อ การ์โด (Gardo), โจซี (Josie), ไมไม (Maymay), โรซีตา (Rosita) และ ซามูเวล (Samuel) ขึ้นมาแทนที่ชื่อที่ถูกถอนไปตามลำดับ[88][89]

ผลกระทบ

[แก้]

ตารางนี้รวมเอาทั้งหมดของระบบพายุที่ก่อตัวภายใน หรือ เคลื่อนตัวเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากล ภายในปี พ.ศ. 2557 ประกอบด้วยชื่อพายุ ความรุนแรง บริเวณที่มีผลกระทบ จำนวนผู้เสียชีวิต และความเสียหาย ความเสียหายทั้งหมดเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) ความเสียหายและผู้เสียชีวิตจากพายุนั้นรวมไปถึงตั้งแต่ครั้งเมื่อพายุยังเป็นเพียงหย่อมความกดอากาศต่ำ หรือเปลี่ยนผ่านไปเป็นความกดอากาศต่ำนอกเขตร้อนแล้ว

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
เหล่งเหล่ง
(อากาโตน)
10 – 20 มกราคม พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ &000000001250000000000012.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 70 [90]
คาจิกิ
(บาชัง)
29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ 1.95 แสนดอลลาร์สหรัฐ 6 [90][91]
ฟ้าใส 27 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม พายุไต้ฝุ่น 120 กม./ชม. 975 hPa (28.79 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, หมู่เกาะมาเรียนา &0000000000000000000000 เล็กน้อย 1 [92]
TD 11 – 12 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) เกาะซูลาเวซี ไม่มี ไม่มี
04W
(กาโลย)
17 – 24 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ไม่มี ไม่มี [90]
เผ่ย์ผ่า
(โดเมง)
2 – 15 เมษายน พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์ ไม่มี ไม่มี
TD 19 – 21 เมษายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, ฟิลิปปินส์ ไม่มี ไม่มี
ตาปะฮ์ 27 เมษายน – 2 พฤษภาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
มิแทก
(เอสเตร์)
9 – 12 มิถุนายน พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 994 hPa (29.35 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น ไม่มี ไม่มี
ฮากีบิส 13 – 17 มิถุนายน พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, จีน, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น &0000000200000000000000200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่มี [93]
นอกูรี
(โฟลรีตา)
2 – 11 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 185 กม./ชม. 930 hPa (27.46 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, กวม, ญี่ปุ่น &0000000156000000000000156 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 3 [94]
รามสูร
(เกลนดา)
9 – 20 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 165 กม./ชม. 935 hPa (27.61 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, กวม, ฟิลิปปินส์,
จีน, เวียดนาม
&00000080770000000000008.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 222 [95][96][93]
แมตโม
(เฮนรี)
16 – 25 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 130 กม./ชม. 965 hPa (28.50 นิ้วปรอท) ปาเลา, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, จีน, เกาหลี &0000000421000000000000421 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 65 [71][97][98][93]
TD 19 – 22 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, หมู่เกาะมาเรียนา ไม่มี ไม่มี
หะลอง
(โฮเซ)
27 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 195 กม./ชม. 920 hPa (27.17 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, หมู่เกาะมาเรียนา,
ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น, ไซบีเรีย
&000000005350000000000053.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 12 [99][100]
นากรี
(อินได)
28 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 100 กม./ชม. 980 hPa (28.94 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น, เกาหลี 1.16 แสนดอลลาร์สหรัฐ 15 [101][102][103]
เจนิวีฟ 7 – 14 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 205 กม./ชม. 915 hPa (27.02 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
TD 19 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไต้หวัน, จีน ไม่มี ไม่มี
TD 24 – 26 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
TD 27 – 29 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) จีน, เวียดนาม, ลาว ไม่มี ไม่มี
TD 4 – 5 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
เฟิงเฉิน 5 – 10 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. 975 hPa (28.79 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ไม่มี ไม่มี
14W
(การ์ดิง)
5 – 8 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, จีน, เวียดนาม ไม่มี ไม่มี
คัลแมกี
(ลุยส์)
11 – 18 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 140 กม./ชม. 960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, ฟิลิปปินส์, จีน,
คาบสมุทรอินโดจีน, อินเดีย
&00000028992440000000002.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 48 [104][105][106][93]
ฟงวอง
(มารีโอ)
17 – 24 กันยายน พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, จีน, เกาหลีใต้ &0000000228726000000000229 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 21 [107][108][109]
คัมมูริ 23 – 30 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา, ญี่ปุ่น ไม่มี ไม่มี
ฟานทอง
(เนเนง)
28 กันยายน – 6 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 175 กม./ชม. 935 hPa (27.61 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, หมู่เกาะมาเรียนา, ญี่ปุ่น &0000000100000000000000100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 11 [110]
หว่องฟ้ง
(โอมโปง)
2 – 14 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 215 กม./ชม. 900 hPa (26.58 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, หมู่เกาะมาเรียนา,
ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้
&000000005800000000000058 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 9 [111][112][113][114][115]
นูรี
(ปาเอง)
30 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่น 205 กม./ชม. 910 hPa (26.87 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น เล็กน้อย ไม่มี
ซินลากู
(กวีนี)
26 – 30 พฤศจิกายน พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ปาเลา, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา &00000000043000000000004.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 5 [116][117]
ฮากูปิต
(รูบี)
30 พฤศจิกายน – 12 ธันวาคม พายุไต้ฝุ่น 215 กม./ชม. 905 hPa (26.72 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, ปาเลา, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม &0000000113600000000000114 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 22 [118]
ชังมี
(เซเนียง)
28 ธันวาคม 2557 –
1 มกราคม 2558
พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, เกาะบอร์เนียว &000000002830000000000028.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 66 [119]
สรุปฤดูกาล
32 ลูก 10 มกราคม 2557 –
1 มกราคม 2558
  215 กม./ชม. 900 hPa (26.58 นิ้วปรอท)   1.24 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ 576


ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Saunders, Mark; Lea, Adam (มกราคม 27, 2015). Summary of 2014 NW Pacific Typhoon Season and Verification of Author's Seasonal Forecasts (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 6, 2015. สืบค้นเมื่อ April 7, 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Malano, Vicente B (มกราคม 10, 2014). January — June 2014 (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 7, 2014. สืบค้นเมื่อ May 7, 2014.
  3. Three to Five Typhoons Tend to Impinge upon Taiwan during 2014 (Report). Taiwan Central Weather Bureau. June 27, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Doc)เมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ July 7, 2014.
  4. 4.0 4.1 Malano, Vicente B (July 7, 2015). July – December 2014 (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2015. สืบค้นเมื่อ April 18, 2015.
  5. Annual Report on the Activities of the RSMC Tokyo - Typhoon Center 2014 (PDF) (Report). Japan Meteorological Agency. October 28, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 27, 2017. สืบค้นเมื่อ July 27, 2017.
  6. Annual Tropical Cyclone Report 2014 (PDF) (Report). United States Joint Typhoon Warning Center. October 9, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 27, 2017. สืบค้นเมื่อ July 27, 2017.
  7. 7.0 7.1 Saunders, Mark; Lea, Adam (May 7, 2013). Extended Range Forecast for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2013 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-08. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  8. Ming-Dean Cheng (June 27, 2013). Two to Four Typhoons Tend to Impinge upon Taiwan during 2013. Weather Forecast Center (Report). Taiwan: Central Weather Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (.doc)เมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  9. Servando, Nathaniel T (August 13, 2012). January — June 2013 (PDF) (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-05. สืบค้นเมื่อ March 1, 2013.
  10. "Winter — Spring Season Outlook (From November 2013 to April 2014)". Vietnamese National Center for Hydro Meteorological forecasts. October 4, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-14. สืบค้นเมื่อ October 14, 2013.
  11. Malano, Vicente (7 July 2014). "SEASONAL CLIMATE OUTLOOK July – December 2014". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-07. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014.
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-08-11.
  13. "Warning and Summary – January 10, 2014 1200 UTC". Japan Meteorological Agency. 10 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-10. สืบค้นเมื่อ 10 January 2014.
  14. "Tropical Cyclone Advisory – January 10, 2014 1200 UTC". Japan Meteorological Agency. 10 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-10. สืบค้นเมื่อ 10 January 2014.
  15. "Warning and Summary – January 12, 2014 1200 UTC". Japan Meteorological Agency. 12 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-12. สืบค้นเมื่อ 12 January 2014.
  16. "Warning and Summary – January 12, 2014 1800 UTC". Japan Meteorological Agency. 12 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-12. สืบค้นเมื่อ 12 January 2014.
  17. "Warning and Summary – January 14, 2014 0600 UTC". Japan Meteorological Agency. 14 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-14. สืบค้นเมื่อ 14 January 2014.
  18. "Tropical storm Lingling is forecast to strike the Philippines at about 18:00 GMT on 18 January". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-02. สืบค้นเมื่อ January 18, 2014.
  19. "Tropical Cyclone Advisory – January 18, 2014 0900 UTC". Japan Meteorological Agency. 18 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-02. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
  20. "Tropical Depression 01W (Lingling) Warning Number 008". Joint Typhoon Warning Center. 19 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-02. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
  21. "Tropical Cyclone Advisory – January 20, 2014 0000 UTC". Japan Meteorological Agency. 20 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-02. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
  22. "Warning and Summary – January 21, 2014 0000 UTC". Japan Meteorological Agency. 21 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-21. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
  23. "SitRep No. 32 – Effects of Tropical Depression Agaton" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. 30 January 2014. สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
  24. "Warning and Summary – January 29, 2014 0000 UTC". Japan Meteorological Agency. 29 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-29. สืบค้นเมื่อ 29 January 2014.
  25. "Tropical Cyclone Advisory – January 29, 2014 0000 UTC". Japan Meteorological Agency. 29 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-29. สืบค้นเมื่อ 29 January 2014.
  26. {{cite web|title=LPA approaching Phl now a tropical cyclone |url=http://www.philstar.com/nation/2014/01/30/1284732/pagasa-lpa-approaching-phl-now-tropical-cyclone%7Cpublisher=Louis Bacani|accessdate=January 30, 2014
  27. "Tropical Storm Kajiki ( Bagyo Basyang ) Intensifies Prior to Landfall". robspeta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-31. สืบค้นเมื่อ January 31, 2014.
  28. "Tropical Cyclone Advisory – February 1, 2014 1200 UTC". Japan Meteorological Agency. 1 February 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
  29. "Tropical Depression 02W (Kajiki) Warning Number 009". Joint Typhoon Warning Center. 1 February 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
  30. "Warning and Summary – April 2, 2014 1800 UTC". Japan Meteorological Agency. 2 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 3 April 2014.
  31. "Tropical Cyclone Advisory – April 3, 2014 0000 UTC". Japan Meteorological Agency. 3 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 3 April 2014.
  32. "Tropical Depression 05W (Five) Warning Number 001". Joint Typhoon Warning Center. 3 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-10. สืบค้นเมื่อ 3 April 2014.
  33. "Warning and Summary – April 27, 2014 0000 UTC". Japan Meteorological Agency. April 27, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-27. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
  34. "Tropical Cyclone Advisory – April 27, 2014 0600 UTC". Japan Meteorological Agency. April 27, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-27. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
  35. "Tropical Depression 06W (Six) Warning Number 001". Joint Typhoon Warning Center. April 27, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-27. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
  36. "Tropical Cyclone Advisory – April 28, 2014 0000 UTC". Japan Meteorological Agency. April 28, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-29. สืบค้นเมื่อ April 28, 2014.
  37. "Typhoon 06W (Tapah) Warning Number 007". Joint Typhoon Warning Center. April 29, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-29. สืบค้นเมื่อ April 29, 2014.
  38. "Tropical Cyclone Advisory – April 30, 2014 1800 UTC". Japan Meteorological Agency. April 30, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-02. สืบค้นเมื่อ May 1, 2014.
  39. "Tropical Cyclone Advisory – May 1, 2014 0600 UTC". Japan Meteorological Agency. May 1, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-01. สืบค้นเมื่อ May 1, 2014.
  40. "Warning and Summary – June 9, 2014 0600 UTC". Japan Meteorological Agency. 9 June 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-09. สืบค้นเมื่อ 9 June 2014.
  41. "LPA intensifies into "Tropical Depression Ester"". ANC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ June 10, 2014.
  42. "Tropical Storm Mitag Forms South of Okinawa". Robert Speta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ June 11, 2014.
  43. "Significant Tropical Weather Outlook for the Western and South Pacific Ocean June 11, 2014 0615z". Joint Typhoon Warning Center. June 11, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-12. สืบค้นเมื่อ June 12, 2014.
  44. "It's official: Wet season is here". Jeannette Andrade. สืบค้นเมื่อ June 10, 2014.
  45. "Rainy season is here; Signal No. 1 in 3 areas". ABS-CBNnews, Dharel Placido. สืบค้นเมื่อ June 10, 2014.
  46. "Tropical storm Hagibis hits Guandong - China". สืบค้นเมื่อ June 15, 2014.
  47. "Typhoon Hagibis affects 13,000 in China". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-20. สืบค้นเมื่อ June 16, 2014.
  48. "Tropical storm " Hagibis " hit 675 million in direct economic losses in Fujian". สืบค้นเมื่อ June 17, 2014.
  49. "Twin Tornadoes, EF-4s, Oh My!: The Week in Severe Weather". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ June 20, 2014.
  50. "Asia Pacific Region: Weekly Regional Humanitarian Snapshot 17 - 23 June 2014". สืบค้นเมื่อ June 23, 2014.
  51. "Long Range Tropical Threat Outlook This Week". Robert Speta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ June 30, 2014.
  52. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 08W (Eight) Warning Nr 04". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-04. สืบค้นเมื่อ 5 July 2014.
  53. "Tropical Storm Neoguri Threatens Southern and Western Japan 台風 八晩". Robert Speta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ July 4, 2014.
  54. "Prognostic Reasoning for Typhoon 08W (Neoguri) Warning Nr 16". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2014. สืบค้นเมื่อ 6 July 2014.
  55. Morgan, Leigh. "Typhoon Neoguri tracking toward Japan is powerful -- but no longer super typhoon". Al.com. Birmingham News. สืบค้นเมื่อ 8 July 2014.
  56. "Typhoon Florita exits Philippines". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-19. สืบค้นเมื่อ July 8, 2014.
  57. "GLENDA UPDATE | Typhoon Glenda intensifies; More areas under storm signal". web.archive.org (ภาษาอังกฤษ). 2014-07-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  58. "Typhoon Rammasun Nears the Philippines; Late-Week Threat to Southern China" (ภาษาอังกฤษ). Weather.com. 2014-07-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014.
  59. Calleja, Niña P. (2014-07-15). "More than 50 flights cancelled due to 'Glenda'". INQUIRER.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  60. Geronimo, Jee (2014-07-15). "Gov't hospitals 'doubly prepared' for #GlendaPH". RAPPLER (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  61. Cupin, Bea (2014-07-15). "Tabaco City under state of calamity". RAPPLER (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  62. Mangosing, Frances (2014-07-16). "Power outage hits parts of Metro Manila". INQUIRER.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 July 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  63. "NDRRMC SitRep 8 on Glenda" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). NDRRMC Philippines. 2014-07-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 July 2014. สืบค้นเมื่อ 16 July 2014.
  64. "Significant Tropical Weather Advisory For The Western and South Pacific Oceans". Joint Typhoon Warning Center. Archived on Webcitation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-09. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  65. "WWJP25 RJTD 160600 WARNING AND SUMMARY 160600". Archived on Webcitation. Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-25. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  66. "Tropical Cyclone Formation Alert". Joint Typhoon Warning Center. Archived on Webcitation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-25. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  67. "Tropical storm enters PAR, codenamed Henry". Joel Locsin, LBG GMA News. สืบค้นเมื่อ July 18, 2014.
  68. "Tropical Depression Two forms ; Matmo nearing Taiwan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-22. สืบค้นเมื่อ July 22, 2014.
  69. "Typhoon Matmo (Henry) targets Taiwan and China, rainfall a key risk". สืบค้นเมื่อ July 22, 2014.
  70. "Typhoon Matmo slams into Taiwan, one killed". สืบค้นเมื่อ July 23, 2014.
  71. 71.0 71.1 "Taiwan: 48 dead in TransAsia Airways plane crash". Taipei, Taiwan: The Guardian. July 24, 2014. สืบค้นเมื่อ July 24, 2014.
  72. "Typhoon Matmo leaves 13 injuries, no fatalities". Joy Lee. สืบค้นเมื่อ July 24, 2014.
  73. "Warning and Summary – March 11, 2014 0000 UTC". Japan Meteorological Agency. 11 March 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-11. สืบค้นเมื่อ 11 March 2014.
  74. "Possible Tropical Next Week, A Westpacwx In Depth Outlook". Robert Speta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-24. สืบค้นเมื่อ March 13, 2014.
  75. "Warning and Summary – March 18, 2014 0600 UTC". Japan Meteorological Agency. 18 March 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-18. สืบค้นเมื่อ 18 March 2014.
  76. "Warning and Summary – January 10, 2014 1200 UTC". Japan Meteorological Agency. 10 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-10. สืบค้นเมื่อ 10 January 2014.
  77. "Tropical Cyclone Advisory – January 10, 2014 1200 UTC". Japan Meteorological Agency. 10 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-10. สืบค้นเมื่อ 10 January 2014.
  78. "Warning and Summary – January 12, 2014 1200 UTC". Japan Meteorological Agency. 12 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-12. สืบค้นเมื่อ 12 January 2014.
  79. "Warning and Summary – January 12, 2014 1800 UTC". Japan Meteorological Agency. 12 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-12. สืบค้นเมื่อ 12 January 2014.
  80. 80.0 80.1 Padgett, Gary. "Monthly Tropical Cyclone Summary December 1999". Australian Severe Weather. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-28. สืบค้นเมื่อ 2013-10-01.
  81. 81.0 81.1 The Typhoon Committee (2013-02-21). "Typhoon Committee Operational Manual 2013" (PDF). World Meteorological Organization. pp. 37–38. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-28. สืบค้นเมื่อ 2013-10-01.
  82. http://www.typhooncommittee.org/48th/docs/item%204%20technical%20presentations/4.1.Review2015TyphoonSeason.pdf
  83. Zhou, Xiao; Lei, Xiaotu (2012). "Summary of retired typhoons within the Western North Pacific Ocean". Tropical Cyclone Research and Review. The Economic and Social Commission for Asia and the Pacific/World Meteorological Organization's Typhoon Committee. 1 (1): 23–32. doi:10.6057/2012TCRR01.03. ISSN 2225-6032. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-12. สืบค้นเมื่อ 2014-12-21.
  84. 84.0 84.1 84.2 "Philippine Tropical Cyclone Names". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2016. สืบค้นเมื่อ January 20, 2016.
  85. "Replacement Name of Rammasun in the Tropical Cyclone Naming List" (PDF). ESCAP/WMO Typhoon Committee. สืบค้นเมื่อ February 17, 2016.
  86. Flores, Helen (กันยายน 4, 2014). "Kanor to Karding: Pagasa censors name of cyclone". The Philippine Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 24, 2015. สืบค้นเมื่อ January 26, 2013.
  87. Speta, Robert (September 2, 2014). "What is a Typhoon Name? PAGASA Censors "Kanor"". Western Pacific Weather. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2015. สืบค้นเมื่อ January 24, 2015.
  88. "PAGASA replaces names of 2014 destructive typhoons" (Press release). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. กุมภาพันธ์ 5, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2015. สืบค้นเมื่อ March 30, 2015.
  89. "PAGASA kills names of killer typhoons". Philippine Daily Inquirer. กุมภาพันธ์ 8, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 9, 2015. สืบค้นเมื่อ February 9, 2015.
  90. 90.0 90.1 90.2 PAGASA, Philippines (PDF). ESCAP/WMO Typhoon Committee 9th Integrated Workshop October 20 – 23, 2014 (Member Report). January 4, 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2015. สืบค้นเมื่อ April 5, 2015.
  91. "Final Report: Re: Effects of Tropical Storm Basyang (IN: Kajiki)" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. February 6, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ August 1, 2016. สืบค้นเมื่อ August 1, 2016.
  92. "Event Details: Rip Current: Guam" (Storm Events Database). National Oceanic and Atmospheric Administration's National Climatic Data Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 30, 2014. สืบค้นเมื่อ November 30, 2014.
  93. 93.0 93.1 93.2 93.3 "Member Report: China" (PDF). CMA. China Meterelogical Agency. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
  94. 台風第8号及び梅雨前線の影響に伴う7月6日からの大雨等による被害状況等について(第15報) (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Fire and Disaster Management Agency. July 16, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-08-08. สืบค้นเมื่อ July 30, 2014.
  95. "Effects of Tropical Storm Glenda" (PDF) (Final Report). National Disaster Risk Reduction and Management Council. ตุลาคม 23, 2014. pp. 12, 13, 43, 44, 45. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 6, 2015. สืบค้นเมื่อ April 6, 2015.
  96. Typhoon Rammasun kills 27 in Vietnam
  97. "Typhoon Matmo slams into Taiwan, one killed, some damage reported". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-27. สืบค้นเมื่อ July 23, 2014.
  98. "Agricultural losses from Typhoon Matmo reach nearly US$20 million". Taiwan News. July 28, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-08. สืบค้นเมื่อ July 28, 2014.
  99. "Typhoon Halong leaves up to 10 dead after battering Japan: reports". สืบค้นเมื่อ August 12, 2014.
  100. "Typhoon Halong loss could be similar to Roke's estimated $1.1 billion". สืบค้นเมื่อ August 13, 2014.
  101. Mario C. Manlupig Jr. (August 1, 2014). "LPA leaves over P5-M damages in MisOr". Sun Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-07. สืบค้นเมื่อ August 4, 2014.
  102. "10 killed as typhoon Nakri lashes South Korea". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-10. สืบค้นเมื่อ August 4, 2014.
  103. Sean Breslin (August 6, 2014). "Japan Landslide in Anan, Tokushima Prefecture, Leaves Cars Dangling, 1 Dead". The Weather Channel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-09. สืบค้นเมื่อ August 6, 2014.
  104. "Final Report re Effects of Typhoon "LUIS" (KALMAEGI)" (PDF). NDRRMC. สืบค้นเมื่อ September 19, 2014.[ลิงก์เสีย]
  105. "13 dead, 15 injured by Typhoon Kalmaegi". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-21. สืบค้นเมื่อ September 19, 2014.
  106. "Landslides, flash floods in Meghalaya kill 7". สืบค้นเมื่อ September 22, 2014.
  107. "SitRep No. 17 re Effects of Tropical Storm "MARIO" (FUNG-WONG)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 6, 2014. สืบค้นเมื่อ September 30, 2014.
  108. "Three deaths reported as tropical storm Fung-Wong lashes Taiwan". September 21, 2014. สืบค้นเมื่อ September 22, 2014.
  109. "台风"凤凰"致浙江百余万人受灾". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2017. สืบค้นเมื่อ September 24, 2014.
  110. "Typhoon Vongfong heads towards Japan's main islands as death toll rises to 23". October 12, 2014. สืบค้นเมื่อ October 12, 2014.
  111. "2 dead, 43 rescued after research ship sinks off Penghu". Focus Taiwan. Central News Agency. October 10, 2014. สืบค้นเมื่อ October 14, 2014.
  112. "Typhoon Vongfong leaves two dead, nearly 100 injured in Japan". Reuters. October 14, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-15. สืบค้นเมื่อ October 14, 2014.
  113. "Effects of Intertropical Convergence Zone (ITCZ) in Visayas and Mindanao" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-26. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
  114. "Agricultural damage from typhoon Vongfong reaches 865 million yen". สืบค้นเมื่อ October 15, 2014.
  115. "No federal disaster aid for NMI". Mark Rabago. สืบค้นเมื่อ October 24, 2014.
  116. "SitRep No. 13 re Effects of Tropical Storm "QUEENIE"" (PDF). NDRRMC. December 5, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-12-13. สืบค้นเมื่อ December 11, 2014.
  117. "Bão số 4 gây thiệt hại gần 90 tỷ đồng (The damage caused by the storm 4th of nearly VND90 billion)" (ภาษาเวียดนาม). Vietnam Government's Newspaper. December 2, 2014. สืบค้นเมื่อ December 12, 2014.
  118. "SitRep No. 27 re Effects of Typhoon "Ruby" (Hagupit)" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. December 19, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-01-01. สืบค้นเมื่อ April 6, 2015.
  119. "SitRep No. 22 re Effects of Tropical Storm Seniang" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. January 10, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-01-10. สืบค้นเมื่อ April 6, 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]