ข้ามไปเนื้อหา

ทอร์นาโด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทอร์นาโดที่เกิดขึ้นในอนาดาร์โก รัฐโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1999

ทอร์นาโด[1] หรือ ทอร์เนโด[2] (อังกฤษ: tornado) หรือ ลมงวง (ช้าง) เป็นพายุที่เกิดจากการหมุนของอากาศ สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ โดยลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุดคือลักษณะรูปทรงกรวย โดยส่วนปลายโคนชี้ลงที่พื้น ทอร์นาโดสามารถก่อพลังทำลายได้สูง โดยความเร็วลมสามารถสูงมากถึง 500 กม/ชม (300 ไมล์/ชม) ซึ่งก่อให้เกิดการพังทลายของสิ่งปลูกสร้างได้

ถึงแม้ว่าทอร์นาโดส่วนใหญ่เกิดในสหรัฐอเมริกา ทอร์นาโดยังสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกทวีปและในหลายประเทศ อาทิเช่น ประเทศญี่ปุ่นมีการเกิดประมาณปีละ 20 ครั้ง

ในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เกิดพายุทอร์นาโดที่เมืองอู๋ฮั่นและเมืองซูโจวมีผู้เสียชีวิตรวม 12 ราย[3]

ที่มาของคำ (ศัพทมูลวิทยา)

[แก้]

ยืมคำมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "tornado" ซึ่งน่าจะแผลงมาจากคำว่า tronada จากภาษาสเปน ซึ่งหมายถึง พายุฝนฟ้าคะนอง

รูปแบบการเกิด

[แก้]

ทอร์นาโดเกิดขึ้นจากลมร้อนและลมเย็นมาเจอกันและก่อตัวให้เกิดลมหมุน และเมื่อลมหมุนในระดับที่ไม่คงที่ ทำให้ปลายข้างหนึ่งลงมาสัมผัสที่พื้นก่อให้เกิดทอร์นาโดได้ โดยทอร์นาโดส่วนใหญ่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา บริเวณร่องทอร์นาโดเนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศที่สามารถก่อให้เกิดลมร้อนและไอเย็นปะทะกันบริเวณทุ่งราบ

ทอร์นาโดแบ่งออกเป็นหลายระดับตามกำลังทำลายและความเร็วลม โดยแบ่งเป็น F0 - F5 โดย F0 เป็นทอร์นาโดที่อ่อนกำลังสุด และ F5 เป็นทอร์นาโดที่กำลังแรงสุด

การจำแนกระดับของทอร์นาโด จะยึดตาม Fujita scale (มาตรวัดฟูจิตะ) ซึ่งกำหนดให้พายุในแต่ละระดับมีความแรงดังนี้

  • พายุ F0 ความเร็วลม 64-116 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F1 ความเร็วลม 117-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F2 ความเร็วลม 181-253 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F3 ความเร็วลม 254-332 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F4 ความเร็วลม 333-418 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F5 ความเร็วลม 419-512 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

จากการสำรวจเก็บสถิติ พบว่า ทุกๆ การเกิดพายุทอร์นาโด 1,000 ครั้ง จะเป็นระดับ F0 จำนวนประมาณ 389 ครั้ง , ระดับ F1 จำนวนประมาณ 356 ครั้ง , ระดับ F2 จำนวนประมาณ 194 ครั้ง , ระดับ F3 จำนวนประมาณ 49 ครั้ง , ระดับ F4 จำนวนประมาณ 11 ครั้ง และระดับ F5 จำนวนประมาณ 1 ครั้ง

ความแรงของพายุ ส่งผลกับขนาด และการสลายตัวของพายุด้วย พายุระดับ F0-F1 อาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 100 เมตร และเคลื่อนตัวไปได้ไม่กี่กิโลเมตรก็สลายตัวไป ในขณะที่พายุ F5 อาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่า 1,600 เมตร และเคลื่อนตัวไปได้มากกว่า 100 กิโลเมตรก่อนจะสลายตัว ซึ่งการที่พายุที่ระดับสูงกว่าจะทำให้พายุมีขนาดใหญ่และสลายตัวช้าด้วย

ในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1925 ในสหรัฐอเมริกา เกิดพายุทอร์นาโดขึ้นพร้อมกัน 9 ลูก เป็น F2 จำนวน 2 ลูก, F3 จำนวน 4 ลูก, F4 จำนวน 2 ลูก และ F5 จำนวน 1 ลูก เคลื่อนตัวถล่มรัฐมิสซูรี, อิลลินอยส์, อินดีแอนา, เคนทักกี, เทนเนสซี, แอละแบมา และแคนซัส มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 747 คน ซึ่งในจำนวนนั้น เฉพาะพายุ F5 เพียงลูกเดียวนั้น คร่าชีวิตผู้คนไป 695 คน ส่วนยอดผู้เสียชีวิตจากพายุลูกอื่นๆ อีก 8 ลูก รวมกัน ได้เพียง 50 กว่าคนเท่านั้น ทำให้พายุ F5 ลูกนั้นที่เกิดขึ้นเป็นพายุทอร์นาโดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ความเสียหายทางชีวิตและทรัพย์สินมีมูลค่าเทียบเป็นปัจจุบันได้มากกว่า 1862 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สาเหตุการเกิด

[แก้]

เกิดจากการที่กลุ่มของอากาศที่อุ่นกว่าลอยผ่านเข้าไปใต้กลุ่มของอากาศที่เย็นกว่าจึงทำให้เกิด การถ่ายเทอากาศหมุนเวียนกันขึ้นในเขตจำกัด และใกล้ ๆ จุดศูนย์กลางจะมีกระแสลม หมุนเร็วมากจนทำให้เกิดลำอากาศเป็นเกลียวตั้งสูงขึ้นไปในท้องฟ้า ถัดออกมาทางขอบนอกอัตราเร็วของการหมุนจะค่อยๆ ช้าลง แต่กระนั้นขอบนอกก็ยังมีความแรงพอที่จะพัดบ้านทั้งหลังให้พังได้อย่างง่ายดาย

ทอร์นาโดเกิดขึ้นจากลมร้อนและลมเย็นมาเจอกันและก่อตัวให้เกิดลมหมุน และเมื่อ ลมหมุนในระดับไม่คงที่ ทำให้ปลายข้างหนึ่งลงมาสัมผัสที่พื้นก่อให้เกิดทอร์นาโดได้โดยทอร์นาโดส่วนใหญ่เกิดในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ สามารถก่อให้เกิดลมร้อนและไอเย็นปะทะกัน และมีขนาดใหญ่ขึ้นแล้วเล็กลง

อ้างอิง

[แก้]
  1. สะกดตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
  2. ตามการออกเสียงในภาษาอังกฤษทุกสำเนียง ดูเพิ่มที่ tornado
  3. Tornados hit Chinese cities of Wuhan and Shengze, killing 12 people and injuring hundreds

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Bluestein, Howard B. (1999). Tornado Alley: Monster Storms of the Great Plains. New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-510552-4.
  • Bradford, Marlene (2001). Scanning the Skies: A History of Tornado Forecasting. Norman, OK: University of Oklahoma Press. ISBN 0-8061-3302-3.
  • Grazulis, Thomas P. (January 1997). Significant Tornadoes Update, 1992–1995. St. Johnsbury, VT: Environmental Films. ISBN 1-879362-04-X.
  • Pybus, Nani (Spring 2016). "'Cyclone' Jones: Dr. Herbert L. Jones and the Origins of Tornado Research in Oklahoma". Chronicles of Oklahoma. 94: 4–31. สืบค้นเมื่อ May 5, 2022. Heavily illustrated.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]