ยุทธการที่เนินพอร์กช็อป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่เนินพอร์กช็อป
ส่วนหนึ่งของ สงครามเกาหลี

ภาพวาดของกองพลทหารราบที่ 45 ที่เนินพอร์กช็อปใน ค.ศ. 1952
วันที่16–18 เมษายน / 6–11 กรกฎาคม ค.ศ. 1953
สถานที่
ทางตอนเหนือของย็อนช็อน ประเทศเกาหลี
38°14′29″N 127°1′10″E / 38.24139°N 127.01944°E / 38.24139; 127.01944
ผล สหประชาชาติชนะอย่างเด็ดขาดในยุทธการเดือนเมษายน
จีนชนะอย่างเด็ดขาดในยุทธการเดือนกรกฎาคม
คู่สงคราม

 สหประชาชาติ

 จีน
 เกาหลีเหนือ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เจมส์ แวน ฟลีต
อาร์เธอร์ จี. ทรูโด
เผิง เต๋อหวย
จง กั๋วฉู่
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
กองพลทหารราบที่ 7
เคบูร์ ซาบักนา
กรมทหารราบที่ 21[1]
กองพลที่ 67 (ในยุทธการเดือนกรกฎาคม)
กำลัง
19,000 นาย 20,000 นาย (ประมาณการของสหประชาชาติ)
6,800 นาย (ในยุทธการเดือนกรกฎาคม)
ความสูญเสีย
สหรัฐ:
เสียชีวิต 347 นาย
ได้รับบาดเจ็บ 1,036 นาย
ถูกจับ 9 นาย
ประมาณการของสหประชาชาติ
เสียชีวิต 1,500 นาย
ได้รับบาดเจ็บ 4,000 นาย
แหล่งที่มาของจีน:
เสียชีวิต 533 นาย
ได้รับบาดเจ็บ 1,242 นาย
ยุทธการที่เนินพอร์กช็อปตั้งอยู่ในเกาหลีเหนือ
ยุทธการที่เนินพอร์กช็อป
ที่ตั้งในเกาหลีเหนือ

ยุทธการที่เนินพอร์กช็อป (อังกฤษ: Battle of Pork Chop Hill; เกาหลี: 폭찹고지 전투; จีน: 石峴洞北山戰鬥) ประกอบด้วยคู่ยุทธการทหารราบที่เกี่ยวข้องกับสงครามเกาหลีในช่วงเดือนเมษายนและกรกฎาคม ค.ศ. 1953 อันเป็นการต่อสู้ในขณะที่กองบัญชาการสหประชาชาติ (UN) และจีนกับเกาหลีเหนือได้เจรจาความตกลงการสงบศึกเกาหลี ในสหรัฐ พวกเขาถกเถียงกันเพราะทหารหลายคนถูกฆ่าตายสำหรับภูมิประเทศที่ไม่มีความคุ้มค่าเชิงกลยุทธ์หรือยุทธวิธี แม้ว่าชาวจีนจะเป็นฝ่ายแพ้ในแง่จำนวนต่อทหารสหรัฐที่ถูกสังหารและบาดเจ็บไปหลายต่อหลายครั้ง ยุทธการครั้งแรกยังได้รับการพรรณาในนิยายอิงประวัติศาสตร์สถานที่ตั้ง พอร์กช็อปฮิลล์: ดิอเมริกันไฟติงแมนอินแอกชัน, โคเรีย, สปริง 1953 โดยเอส.แอล.เอ. มาร์แชล ซึ่งได้ทำเป็นภาพยนตร์พอร์กช็อปฮิลล์ ที่มีการเสมอกัน โดยสหประชาชาติเป็นฝ่ายชนะยุทธการครั้งแรก แต่จีนเป็นฝ่ายชนะยุทธการครั้งที่สอง

สหประชาชาติได้รับการสนับสนุนหลักจากสหรัฐ โดยชนะยุทธการครั้งแรกเมื่อชาวจีนขาดการติดต่อและถอนตัวหลังจากการสู้รบสองวัน ส่วนยุทธการครั้งที่สองเกี่ยวข้องกับกองทหารที่มากขึ้นทั้งสองฝ่าย และต่อสู้อย่างเป็นเวลาห้าวันก่อนที่กองกำลังสหประชาชาติจะยอมให้เนินเขาแก่กองกำลังจีนโดยถอนตัวออกจากแนวรบหลัก

ภูมิหลัง[แก้]

เนินเขาสูงที่มีความสูง 300 เมตร (980 ฟุต) ซึ่งได้รับการตั้งชื่อเพราะรูปร่างภูมิประเทศคล้ายพอร์กช็อป (เนื้อหมูสันนอกติดกระดูก)[2] ได้ถูกยึดครั้งแรกโดยกรมทหารม้าที่ 8 ของสหรัฐในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1951[3] ซึ่งถูกยึดอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1952 โดยกองร้อยไอจากกรมทหารราบที่ 180 ของสหรัฐ ส่วนกองพันที่ 1 ของกรมทหารราบที่ 21 ของไทย ซึ่งประจำอยู่ที่กองพลทหารราบที่ 2 ของสหรัฐได้ป้องกันตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1952 และตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1952 มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันตอนของแนวรบของกองพลทหารราบที่ 7 ของสหรัฐ เนินพอร์กช็อปเป็นหนึ่งในด่านหน้าที่มีเนินเขาหลายแห่งตามแนวต้านหลัก (MLR) ของสหประชาชาติ ที่ได้รับการป้องกันโดยกองร้อยหรือหมวดทหารเดี่ยว ซึ่งอยู่ในบังเกอร์กระสอบทรายที่เชื่อมต่อกับสนามเพลาะ[4]

ฝ่ายตรงข้ามกองพลทหารราบที่ 7 นั้นเป็นสองกองพลของกองทัพอาสาประชาชนจีน (PVA) ได้แก่ กองพลที่ 141 ของกองทัพที่ 47 และกองพลที่ 67 ของกองทัพที่ 23 กองพลเหล่านี้เป็นทหารผ่านศึก ซึ่งเป็นหน่วยที่ได้รับการฝึกมาอย่างดี มีประสบการณ์ในการจู่โจมตอนกลางคืน, การลาดตระเวน, ซุ่มโจมตี และการสงครามภูเขา กองทัพทั้งสอง (หน่วยเทียบเท่าเหล่า) เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพสนามที่ 13 ที่ได้รับคำสั่งจากพลเอก เติ้ง หัว ซึ่งเป็นรองผู้บัญชาการกองกำลังกองทัพอาสาประชาชนในเกาหลี[4]

กองกำลังฝ่ายตรงข้ามในภาคนี้มีขนาดพอ ๆ กัน โดยมีกองพลที่ 7 (พลตรี อาร์เธอร์ ทรูโด เป็นผู้บังคับบัญชา) รวมกับกองพันทหารราบ 11 กองพัน (รวมถึงกองพันที่ติดมาจากโคลอมเบียและเอธิโอเปีย), หนึ่งกองพันยานเกราะ และ 6 กองพันทหารปืนใหญ่ ในขณะที่กองกำลังกองทัพอาสาประชาชนมี 12 กองพันทหารราบ, 10 กองพันทหารปืนใหญ่ และเทียบเท่ากับกองพันรถถังหนึ่งกองพัน[4]

ทั้งกองบัญชาการสหประชาชาติและกองกำลังกองทัพอาสาประชาชนได้ใช้ปฏิบัติการทางทหารเพื่อใช้ประโยชน์หรือแถลงทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาสงบศึกตั้งแต่ต้น ค.ศ. 1952 ยุทธการครั้งแรกที่เนินพอร์กช็อปเกิดขึ้นใกล้กับปฏิบัติการลิตเติลสวิตช์ โดยการแลกเปลี่ยนเชลยศึกที่ป่วยและบาดเจ็บซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 20 เมษายน ซึ่งกองกำลังกองทัพอาสาประชาชนได้มีคำสั่งอนุญาตให้การโจมตีเดือนเมษายน เพื่อแสดงให้เห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวในการเจรจาซึ่งเป็นที่ถกเถียงกัน ไม่เท่ากับการฝืนที่จะสู้ต่อไปหากจำเป็น[4][5]

ยุทธการครั้งแรก 16–18 เมษายน[แก้]

การสูญเสียด่านหน้า[แก้]

ในคืนการจู่โจมแบบไม่ให้ตั้งตัวเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1953 กองพันของกรมกองกำลังกองทัพอาสาประชาชนที่ 423 กองพลที่ 141 ได้เข้ายึดโอลด์บอลดี (เนิน 266) ซึ่งเป็นด่านหน้าใกล้กะบเนินพอร์กช็อป และเข้าถล่มกองร้อยบี กองพันโคลอมเบียของกรมทหารราบที่ 31 ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งบังคับบัญชาโดยพันโท อัลเบร์โต รุยซ์ โนโบอา ระหว่างการสับเปลี่ยนกำลังในยุทธการครั้งที่ห้าเพื่อโอลด์บอลดี ผู้บัญชากรมทหารคือพันเอก วิลเลียม บี. เคิร์น ได้สั่งให้กองร้อยซีของกองพันโคลอมเบียสับเปลี่ยนกำลังกองร้อยบีแม้จะมีการคัดค้านของผู้บัญชาการโคลอมเบีย โดยการจู่โจมทั้งสองกองร้อยได้เกิดขึ้นท่ามกลางการสับเปลี่ยน สองวันแห่งการต่อต้านอย่างแข็งกร้าวโดยกองร้อยบีและซีที่บาดเจ็บสาหัสและสะบักสะบอมได้ล้มเหลวในการยึดเนินเขาคืน เนื่องจากความล้มเหลวของหน่วยบัญชาการกรมทหารที่ 31 ในการส่งกำลังเสริม ทำให้ทางสหประชาชาติสั่งให้จากไป การต่อสู้เบื้องต้นนี้ทำให้เนินพอร์กช็อปถูกโจมตีสามด้าน และในอีกสามสัปดาห์ข้างหน้า หน่วยลาดตระเวนของกองกำลังกองทัพอาสาประชาชนจะทำการหยั่งดูท่าทีทุกคืน[4]

ในคืนวันที่ 16 เมษายน กองร้อยอี ทหารราบที่ 31 (ร้อยโท ทอมัส ยู. แฮร์โรลด์) ได้วางกำลังที่เนินพอร์กช็อป ไม่นานก่อนเที่ยงคืน การระดมยิงคุ้มกันด้วยปืนใหญ่กองทหารปืนใหญ่ได้ส่อให้เห็นการโจมตีของทหารราบอย่างกะทันหันโดยกองพันของกรมทหารที่ 201 กองกำลังกองทัพอาสาประชาชน เนินพอร์กช็อปถูกบุกรุกอย่างรวดเร็วแม้ว่าโพรงของทหารสหรัฐจะปกป้องบังเกอร์ที่แยกต่างหาก ส่วนที่อื่นในเขตป้องกันนี้ ตำแหน่งอื่นได้ถูกโจมตี โดยการกดดันกองพลที่ 7 ทั้งหมด[4][6]

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง
  1. Ministry of Patriots and Veterans Affairs 2010, p. 72.
  2. "Battlefield Review: Pork Chop Hill". BattlefieldReview.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 17, 2013. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 16, 2013.
  3. Bill McWilliams (2004). On Hallowed Ground: The Last Battle For Pork Chop Hill. Naval Institute Press. p. 2. ISBN 1-59114-480-9.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Rodriguez, Ruben J. (2010). The Conflict Korea 1953, Last Stand for Pork Chop Hill. Dorrance Publishing. ISBN 1434953599.
  5. "Battle on Pork Chop Hill". Military History. Historynet.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (online journal)เมื่อ 9 November 2006. สืบค้นเมื่อ 29 December 2006.
  6. S.L.A. Marshall (1956). Pork Chop Hill: The American Fighting Man in Action, Korea, Spring 1953. Berkley. ISBN 0-425-17505-7. Marshall extensively covers the attacks on Dale, Eerie and Arsenal Outposts also
บรรณานุกรม
  • Medical Department of General Logistics of Chinese People's Liberation Army (1989).抗美援朝战争卫生工作总结 卫生勤务. People's Military Medical Press.
  • McWilliams, Bill (2004). On Hallowed Ground: The Last Battle For Pork Chop Hill. Naval Institute Press. ISBN 1-59114-480-9.
  • Marshall, S.L.A. (1956). Pork Chop Hill: The American Fighting Man in Action, Korea, Spring 1953. Morrow, New York. ISBN 0-425-17505-7.
  • Hermes, Walter G (1966). "Truce Tent and Fighting Front". The United States Army in the Korean War. Vol. 2. Center of Military History.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]