พญาพล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พญาพล

พญาพล
กษัตริย์แห่งนครรัฐแพร่
ครองราชย์พ.ศ. 1371 - พ.ศ. 1387
รัชกาลถัดไปท้าวพหุสิงห์
พระราชบุตรท้าวพหุสิงห์
ราชวงศ์ขุนหลวงพล
พระราชบิดาไม่ปรากฏ
พระราชมารดาแม่เฒ่าจันทร์คำวงค์

พญาพล หรือ พ่อขุนหลวงพล ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งนครรัฐแพร่ และทรงเป็นราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้า[1]

พระประวัติ[แก้]

พญาพล หรือ พ่อขุนหลวงพล ทรงเป็นราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้า[2] นามพระบิดานั้นไม่ปรากฏหลักฐาน ส่วนพระมารดานามว่า “แม่เฒ่าจันทร์คำวงค์” ได้อพยพคนไทย (ซึ่งส่วนใหญ่คือไทยลื้อ ไทยเขิน) ส่วนหนึ่งมาจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำ ลงมาสร้างบ้านแปงเมืองบนที่ราบสองฟากฝั่งแม่น้ำยม เมื่อปี พ.ศ. 1371 (ค.ศ. 828) และขนานนามเมืองว่า "เมืองพลนคร" ( เมืองแพร่ปัจจุบัน) พ่อขุนหลวงพล มีพระชายานามใดนั้นสืบหาหลักฐานไม่พบ แต่จากประวัติการสร้างวัดหลวงสมเด็จ (วัดหลวงปัจจุบัน) ซึ่งเป็นวัดแห่งแรกของเมืองนครแพร่ และประวัติวัดหัวข่วงได้ปรากฏหลักฐานว่าพ่อขุนหลวงพลมีโอรสองค์หนึ่งนามว่า ท้าวพหุสิงห์ ซึ่งพ่อขุนหลวงพลได้มอบให้ครองเมืองพลนครสืบต่อจากตน เมื่อปี พ.ศ. 1387

พระกรณียกิจ[แก้]

  • ด้านการปกครอง

พญาพล ได้สร้างเมืองพลนคร หรือ เมืองแพร่ เมื่อปี พ.ศ. 1371 โดยการขุดคูเมือง ก่อกำแพงเมืองรอบเมืองเก่า (ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแพร่)

  • ด้านศาสนา

พญาพล ได้สร้างวัดหลวงสมเด็จขึ้นเป็นวัดแห่งแรกของเมืองนครแพร่ อยู่ห่างจากสะดือเมืองไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 200 เมตร เพื่อให้วัดเป็นศูนย์รวมศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในการประพฤติปฏิบัติตนในทาง ที่ถูกต้องดีงามตามหลักคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับได้ว่าพ่อขุนหลวงพลได้ ยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้คนพลเมือง อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ซึ่งจะเป็นกำลังอันสำคัญในการทนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความมั่นคงเป็น ปึกแผ่น และเป็นบ้านเป็นเมืองมาตราบเท่าทุกวันนี้

อนุสาวรีย์พญาพล[แก้]

อนุสาวรีย์ปู่พญาพล ตั้งอยู่ถนนยันตรกิจโกศล สายแพร่-เชียงราย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2542 สร้างร่วมกับพญามังไชย เพื่อรำลึกถึงสองมหาวีรบุรุษผู้ทำคุณประโยชน์กับจังหวัดแพร่ปู่พญาพล (มหาวีรบุรุษผู้สถาปนาเมืองแพร่) เป็นผู้นำในการสร้างเมืองพล เมื่อปี พ.ศ. 1371 ด้านพญามังไชย (พระยาศรีสุริยวงศ์ (มังไชย)) เจ้าผู้ครองนครแพร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2309-2358 ได้ชื่อว่า “แม่ทัพเอก 3 แผ่นดิน” [3]

อ้างอิง[แก้]

  1. เจ้าเมืองแพร่ ยุคปู่พญาพล.หมู่บ้าน วัง ฟ่อน
  2. ประวัติจังหวัดแพร่.ของดีเมืงแพร่
  3. อนุสาวรีย์ปู่พญาพล-พระยาเมืองไชย. แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดแพร่