ทวีปแอฟริกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอฟริกา
Africa
พื้นที่30,370,000 ตร.กม. (อันดับที่ 2)
ประชากร1,225,080,510 คนใน พ.ศ. 2560[1]
(อันดับที่ 2)
ความหนาแน่น36.4 คน/ตร.กม.
เดมะนิมชาวแอฟริกา
ประเทศ54 ประเทศ -1ประเทศ
ดินแดน
ภาษา1250-3000 ภาษา
เขตเวลาUTC-1 ถึง UTC+4
เมืองใหญ่
แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา
ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก

แอฟริกา (อังกฤษ: Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมด[2] ประชากรกว่า 1,100 ล้านคน (พ.ศ. 2556) ในดินแดน 61 ดินแดน นับเป็นร้อยละ 14.72 ของประชากรโลก

ทวีปแอฟริกาถูกล้อมรอบด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือ คลองสุเอซ และทะเลแดง บริเวณคาบสมุทรไซนายทางตะวันออกเฉียงเหนือ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก ประกอบด้วย 54 รัฐ

ที่สุดในทวีปแอฟริกา

จุดที่สุดในทวีปแอฟริกา สถานที่ รัฐ/ประเทศ
จุดเหนือสุด แหลมบองก์ บิเซิร์ท/ตูนิเซีย
จุดใต้สุด แหลมอะกัลลัสหรือแหลมอะกุลกัส เวสเทิร์นแคป/แอฟริกาใต้
จุดตะวันออกสุด แหลมแฮฟูน พุนต์แลนด์/โซมาเลีย
จุดตะวันตกสุด แหลมเวอร์ด ซานโตอัลเตาวน์/กาบูเวร์ดี
ยอดเขาที่สูงที่สุด ยอดเขาคีโบ บนภูเขาคีลิมันจาโร คิลิมันจาโร/แทนซาเนีย
เกาะที่ใหญ่ที่สุด เกาะมาดากัสการ์ มาดากัสการ์
แม่น้ำที่ยาวที่สุด แม่น้ำไนล์
อียิปต์
ทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุด ทะเลทรายสะฮารา
-

ลักษณะภูมิประเทศ

ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก มีทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นพรมแดนระหว่างทวีปยุโรปทางตอนเหนือ และมีคลองสุเอซเป็นพรมแดนระหว่างทวีปเอเชียทางตะวันออกเฉียงเหนือ จุดเด่นของทวีปแอฟริกาคือ มีที่ราบสูงถึง 2 ใน 3 ของทวีป โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกของทวีป เป็นที่ราบสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 1,500 - 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีแนวภูเขาไฟที่ดับแล้ว มีแนวทะเลสาบขนาดใหญ่ แล้วจะลาดต่ำไปทางตะวันตก มีเกาะมาดากัสการ์

  1. เทือกเขา แบ่งออกเป็น 2 เขตคือ
    1. เขตภูเขาทางภาคเหนือ เป็นเขตเทือกเขาเกิดใหม่อายุราวพอ ๆ กับเทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป เรียกว่า เทือกเขาแอตลาส ขนานไปกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเขตพื้นที่ประเทศโมร็อกโก แอลจีเรีย และตูนิเซีย
    2. เขตภูเขาทางภาคใต้ ได้แก่ เทือกเขาดราเคนสเบิร์ก ในประเทศแอฟริกาใต้และเลโซโท
  2. ทะเลทราย แบ่งเป็น 2 เขตคือ
    1. เขตทะเลทรายตอนเหนือ ได้แก่ ทะเลทรายสะฮารา (ซึ่งเป็นทะเลทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก) และทะเลทรายลิเบีย บริเวณนี้จะเกิดลมร้อนในทะเลทรายสะฮารา เรียกว่า ซิร็อกโก
    2. เขตทะเลทรายตอนใต้ ได้แก่ ทะเลทรายนามิบ และทะเลทรายคาลาฮารี
  3. แม่น้ำ
    1. แม่น้ำไนล์ เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในโลก ต้นน้ำคือทะเลสาบวิกตอเรีย ไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
    2. แม่น้ำคองโก เป็นแม่น้ำเขตศูนย์สูตร ไหลลงมหาสมุทรแอตแลนติก
    3. แม่น้ำไนเจอร์ อยู่ในส่วนแอฟริกาตะวันตก ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศเซียร์ราเลโอน ไหลลงสู่อ่าวกินี
    4. แม่น้ำแซมเบซี อยู่ทางด้านตะวันออกของทวีปมีแอ่งน้ำตก น้ำค่อนข้างไหลเชี่ยว ไหลลงมหาสมุทรอินเดีย ที่ประเทศโมซัมบิก

กระแสน้ำในมหาสมุทร

  1. กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกา ทำให้อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้น
  2. กระแสน้ำเย็นคะแนรี ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา ทำให้อากาศเย็นและแห้งแล้ง
  3. กระแสน้ำอุ่นกินี ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา ทำให้มีอากาศอบอุ่นและชุ่มชื้น
  4. กระแสน้ำเย็นเบงเกวลา ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา ทำให้มีอากาศเย็นและแห้งแล้ง

ภูมิอากาศ

ส่วนใหญ่จะมีทะเลทราย อากาศแห้งแล้ง ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรในทวีป ส่วนมากจะอยู่ทางตอนเหนือสุดและใต้สุดของทวีป ซึ่งมีอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนาอยู่บริเวณตอนเหนือ และใต้แนวศูนย์

  • ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น ( Tropical Rain-forest Climate ) ได้แก่ พื้นที่ตอนกลางของที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก ชายฝั่งตอนใต้ของที่ราบสูงตะวันตก และด้านตะวันตกของเกาะมาดากัสการ์
  • ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน(Tropical Desert Climate)พบได้ตามแนวเส้นทรอปิกออฟแครนเซอร์ นับตั้งแต่ประเทศมอริเตเนีย มาลี แอลจีเรีย ไนเจอร์ ลิเบีย อียิปต์ ซูดาน และตามแนวเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น บริเวณประเทศแองโกลา นามีเบีย และบอตสวานา ทางภาคเหนือของแอฟริกามีทะเลทรายกว้างใหญ่ ได้แก่ ทะเลทรายสะฮารา ทะเลทรายลิเบีย และทะเลทรายนูเบียส่วนทางภาคใต้มีทะเลทรายคาลาฮารี และทะเลทรายนูเบีย

การสำรวจ

ยุโรปชาติแรกที่สำรวจแอฟริกา คือโปรตุเกส และหลังจากนั้นก็ถูกสำรวจโดย อังกฤษ ฝรั่งเศส และ ดัตช์ เป็นต้น นักสำรวจที่ยิ่งใหญ่ของแอฟริกามีหลายท่านด้วยกัน นักสำรวจที่รู้จักกันดีคือ ดร. เดวิด ลิฟวิงสโตน

เศรษฐกิจ

แผนที่กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแอฟริกา
  CEN-SAD
  COMESA
  EAC
  ECCAS
  ECOWAS
  IGAD
  SADC
  UMA

แม้ว่าจะมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย แต่แอฟริกากลับเป็นทวีปที่ยากจนและด้อยพัฒนา ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ เช่นการระบาดของโรคร้ายแรง (ได้แก่เชื้อ็H.I.V โรคเอดส์ และมาลาเรีย) รัฐบาล

คอร์รัปชันและละเมิดสิทธิมนุษยชน การที่รัฐบาลขาดการวางแผน ระดับการรู้หนังสือที่ต่ำ การขาดแคลนเงินทุนต่างชาติ และความขัดแย้งระหว่างชนชาติที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในรูปของกองโจรไปจนถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[3] จากรายงานการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติในปี ค.ศ. 2004 ประเทศที่อยู่อันดับต่ำสุด 26 ประเทศ (อันดับ 151 ถึง 175) ล้วนเป็นประเทศในทวีปแอฟริกา[4]

ข้อมูลเศรษฐกิจ

  • ตารางแสดงประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจหรือจีดีพีมากที่สุดในทวีปแอฟริกา 10 อันดับแรก 1
อันดับ ประเทศ จีดีพี (ล้าน$) ปี 2014
1  ไนจีเรีย 573,999
2  แอฟริกาใต้ 350,082
3  อียิปต์ 286,538
4  แอลจีเรีย 214,063
5  แองโกลา 131,401
6  โมร็อกโก 110,009
7  ซูดาน 74,766
8  เคนยา 60,937
9  เอธิโอเปีย 54,809
10  แทนซาเนีย 49,115
  • 1 ข้อมูลโดย IMF
  • แสดงตารางประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีจีดีพีต่อหัวมากที่สุด 10 อันดับแรก 2
อันดับ (แอฟริกา) ประเทศ ค่าจีดีพีต่อหัว ($) ปี 2009 อันดับ (โลก)
1
อิเควทอเรียลกินี อิเควทอเรียลกินี
9,580
52
2
ลิเบีย ลิเบีย
9,529
53
3
เซเชลส์ หมู่เกาะเซเชลส์
8,973
56
4
กาบอง กาบอง
7,468
64
5
มอริเชียส มอริเชียส
6,838
68
6
บอตสวานา บอตสวานา
6,407
69
7
คอสตาริกา คอสตาริกา
6,345
70
8
แอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้
5,824
73
9
นามิเบีย นามิเบีย
4,543
83
10
แอลจีเรีย แอลจีเรีย
4,027
91

bgcolor=orange

ข้อมูลโดย IMF

การคมนาคมขนส่ง

ทวีปแอฟริกายังมีปัญหาทางด้านการคมนาคมขนส่งมากกว่าทวีปอื่นๆ เนื่องจากหลายประเทศขาดเงินทุนที่จะนำมาพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งให้ทันสมัย ประกอบกับทวีปแอฟริกามีลักษะภูมิประเทศและมีลักษณะภูมิสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมขนส่ง เช่น มีเขตทะเลทรายที่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีพื้นที่ลุ่มและป่าดิบที่กว้างใหญ่ และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูงและภูเขา การคมนาคมขนส่งของทวีปแอฟริกาจึงใช้วิธีการดั้งเดิมกันทั่วไป

ทางบก

ทวีปแอฟริกายังมีปัญหาทางด้านการคมนาคมขนส่งมากกว่าทวีปอื่นๆ เนื่องจากหลายประเทศขาดเงินทุนที่จะนำมาพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งให้ทันสมัย ประกอบกับทวีปแอฟริกามีลักษะภูมิประเทศและมีลักษณะภูมิสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมขนส่ง เช่น มีเขตทะเลทรายที่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีพื้นที่ลุ่มและป่าดิบที่กว้างใหญ่ และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูงและภูเขา การคมนาคมขนส่งของทวีปแอฟริกาจึงใช้วิธีการดั้งเดิมกันทั่วไป

ทางน้ำ

ทางอากาศ

ทวีปแอฟริกามีสายการบินที่ใช้ติดต่อกันทั้งระหว่างประเทศภายในทวีป และระหว่างทวีป ประเทศที่มีระบบการคมนาคมขนส่งทางอากาศที่ดีในทวีปแอฟริกา ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ อียิปต์ เอธิโอเปีย เคนยา ไนจีเรีย และกานา ศูนย์กลางการคมนาคมทางอากาศในทวีปแอฟริกา ได้แก่ ไคโร ประเทศอียิปต์, เลกอส ประเทศไนจีเรีย, โจฮันเนสเบิร์ก และเคปทาวน์ประเทศแอฟริกาใต้

ประชากร

จำนวนประชากร

ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละประเทศของทวีปแอฟริกา

ทวีปแอฟริกามีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดคือประเทศไนจีเรีย รองลงมาคือ ประเทศอียิปต์ ซึ่งมีอัตราการเพิ่มของประชากรสูง ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 30.5 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร(2552)

เชื้อสายของประชากร

  1. นิกรอยด์ หรือเรียกว่า แอฟริกันนิโกร เป็นชนกลุ่มใหญ่สุดของทวีป โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ
  2. คอเคซอยด์ มาจากคาบสมุทรอาหรับ อยู่ในแถบอียิปต์และซูดาน จากชาวยุโรปบริเวณแหลมกู๊ดโฮป และตอนเหนือของทวีป

ภาษา

ทวีปแอฟริกามีภาษาพูดมากกว่า 1000 ภาษา เนื่องจากทวีปแอฟริกามีประชากรอยู่หลายเผ่าพันธุ์ และแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ 4 กลุ่ม

  • กลุ่มภาษาเซมิติก ได้แก่ ภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาของคนส่วนใหญ่ในแอฟริกาเหนือและบางส่วนในแอฟริกาตะวันออก
  • กลุ่มภาษาซูดาน เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตทุ่งหญ้าสะวันนาทางตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา ตั้งแต่ภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกไปทางตะวันออกถึงประเทศแทนซาเนีย
  • กลุ่มภาษาบันตู เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ของทวีปแอฟริกา กลุ่มภาษาบันตูมีหลายภาษา เช่น ภาษาซูลู สวาฮิลี
  • กลุ่มภาษาเฮาซา เป็นกลุ่มภาษาทางการค้าของประชากรทางภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา กลุ่มภาษาเฮาซามีหลายภาษา เช่น ภาษาฟูลานี แมนดา คะวา

ขนาดพื้นที่

ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณ 30,400,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็น3เท่าของทวีปยุโรป และใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ประเทศที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุด คือ แอลจีเรีย (2,381,740 ตารางกิโลเมตร) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกหรือซาอีร์เดิม (2,345,410 ตารางกิโลเมตร) ซูดาน (1,760,000 ตารางกิโลเมตร) ตามลำดับ

ในแง่ภูมิภาค ภูมิภาคที่มีขนาดพื้นที่มากที่สุด คือ แอฟริกาเหนือ (8,533,021 ตารางกิโลเมตร) ส่วนภูมิภาคที่มีขนาดพื้นที่น้อยที่สุด คือ แอฟริกาใต้ (3,083,998 ตารางกิโลเมตร)

ประวัติศาสตร์

การแบ่งภูมิภาค

ทวีปแอฟริกาสามารถแบ่งได้ 5 ภูมิภาคใหญ่ ๆ ดังนี้

การแบ่งภูมิภาคของทวีปแอฟริกา
ลักษณะภูมิประเทศของทวีปแอฟริกา
แผนที่ทวีปแอฟริกา
ภูมิภาค ลำดับ ประเทศ พื้นที่ (ตร.กม ประชากร (2552) ความหนาแน่น
ที่ตั้งของแอฟริกาเหนือ

แอฟริกาเหนือ
ประเทศ
1
ซูดาน ซูดาน 2,505,810 41,087,825 16.4
2
ซูดานใต้ เซาท์ซูดาน 619,745 8,260,490 57.0
3
ตูนิเซีย ตูนิเซีย 163,610 10,486,339 64.1
4
โมร็อกโก โมร็อกโก 446,550 34,859,364 78.0
5
ลิเบีย ลิเบีย 1,759,540 6,310,434 3.6
6
อียิปต์ อียิปต์ 1,001,450 83,082,869 82.9
7
แอลจีเรีย แอลจีเรีย 2,381,740 34,178,188 14.3
ดินแดน
1
แคว้นกานาเรียส หมู่เกาะคะแนรี ( สเปน) 7,492 1,694,477 (2544) 226.2
2
ธงของ Ceuta เซวตา ( สเปน) 20 71,505 (2544) 3,575.2
3
ธงของมาเดรา มาเดรา ( โปรตุเกส) 797 245,000 (2544) 307.4
4
ธงของ Melilla เมลียา ( สเปน) 12 66,411 (2544) 5,534.2
5
โมร็อกโก เวสเทิร์นสะฮารา 266,000 405,210 1.5
สถิติ
8,533,021 212,487,622 24.9
ที่ตั้งของภูมิภาคแอฟริกากลาง

แอฟริกากลาง
1
กาบอง กาบอง 267,667 1,514,993 5.6
2
แคเมอรูน แคเมอรูน 475,440 18,879,301 39.7
3
ชาด ชาด 1,284,000 10,329,208 8.0
4
เซาตูแมอีปริงซีป เซาตูเมและปรินซิปี 1,001 212,679 212.4
5
สาธารณรัฐคองโก สาธารณรัฐคองโก 342,000 4,012,809 11.7
6
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ( ซาอีร์) 2,345,410 68,692,542 29.2
7
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ประเทศแอฟริกากลาง 622,984 4,511,488 7.2
8
อิเควทอเรียลกินี อิเควทอเรียลกินี 28,051 633,441 22.6
9
แองโกลา แองโกลา 1,246,700 12,799,293 10.3
สถิติ
6,613,253 121,585,754 18.39
ที่ตั้งของภูมิภาคแอฟริกาใต้

แอฟริกาใต้
1
นามิเบีย นามิเบีย 825,418 2,108,665 2.6
2
บอตสวานา บอตสวานา 600,370 1,990,876 3.3
3
เลโซโท เลโซโท 30,355 2,130,819 70.2
4
เอสวาตินี สวาซิแลนด์ 17,363 1,123,913 64.7
5
แอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ 1,219,912 49,052,489 40.2
6
ซิมบับเว ซิมบับเว 390,580 11,392,629 29.1
สถิติ
3,083,998 67,799,391 21.98
ที่ตั้งแอฟริกาตะวันออก

แอฟริกาตะวันออก
ประเทศ
1
บุรุนดี บุรุนดี 27,830 8,988,091 322.9
2
คอโมโรส คอโมโรส 2,170 752,438 346.7
3
จิบูตี จิบูตี 23,000 516,055 22.4
4
เอริเทรีย เอริเทรีย 121,320 5,647,168 46.5
5
เอธิโอเปีย เอธิโอเปีย 1,127,127 85,237,338 75.6
6
เคนยา เคนยา 582,650 39,002,772 66.0
7
มาดากัสการ์ มาดากัสการ์ 587,040 20,653,556 35.1
8
มาลาวี มาลาวี 118,480 14,268,711 120.4
9
มอริเชียส มอริเชียส 2,040 1,284,264 629.5
10
โมซัมบิก โมซัมบิก 801,590 21,669,278 27.0
11
รวันดา รวันดา 26,338 10,473,282 397.6
12
เซเชลส์ เซเชลส์ 455 87,476 192.2
13
โซมาเลีย โซมาเลีย 637,657 9,832,017 15.4
14
แทนซาเนีย แทนซาเนีย 945,087 41,048,532 43.3
15
ยูกันดา ยูกันดา 236,040 32,369,558 137.1
16
แซมเบีย แซมเบีย 752,614 11,862,740 15.7
ดินแดน
1
ฝรั่งเศส มายอต ( ฝรั่งเศส) 374 223,765 489.7
2
ฝรั่งเศส เรอูว์นียง ( ฝรั่งเศส) 2,512 743,981(2545) 296.2
สถิติ
5,994,324 311,357,022 51.9
ที่ตั้งของแอฟริกาตะวันตก

แอฟริกาตะวันตก
ประเทศ
1
เบนิน เบนิน 112,620 8,791,832 78.0
2
บูร์กินาฟาโซ บูร์กินาฟาโซ 274,200 15,746,232 57.4
3
กาบูเวร์ดี กาบูเวร์ดี 4,033 429,474 107.3
4
โกตดิวัวร์ โกตดิวัวร์ 322,460 20,617,068 63.9
5
ประเทศแกมเบีย แกมเบีย 11,300 1,782,893 175.7
6
กานา กานา 239,460 23,832,495 99.5
7
กินี กินี 245,857 10,057,975 40.9
8
กินี-บิสเซา กินี-บิสเซา 36,120 1,533,964 42.5
9
ไลบีเรีย ไลบีเรีย 111,370 3,441,790 30.9
10
มาลี มาลี 1,240,000 12,666,987 10.2
11
มอริเตเนีย มอริเตเนีย 1,030,700 3,129,486 3.0
12
ไนเจอร์ ไนเจอร์ 1,267,000 15,306,252 12.1
13
ไนจีเรีย ไนจีเรีย 923,768 149,229,090 161.5
14
เซเนกัล เซเนกัล 196,190 13,711,597 69.9
15
เซียร์ราลีโอน เซียร์ราลีโอน 71,740 6,440,053 89.9
16
โตโก โตโก 56,785 6,019,877 106
ดินแดน
1
สหราชอาณาจักร เซนต์เฮเลนา ( บริเตนใหญ่) 410 7,637 14.4
สถิติ
6,144,013 296,186,492 48.2
รวมสถิติสูงสุด
30,368,609 1,001,320,281 33.0

อ้างอิง

  1. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  2. Sayre, April Pulley. (1999) Africa, Twenty-First Century Books. ISBN 0-7613-1367-2.
  3. Richard Sandbrook, The Politics of Africa's Economic Stagnation, Cambridge University Press, Cambridge, 1985 passim
  4. Human Development Index, สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลทวีปแอฟริกา