การพิชิตจ๊กก๊กโดยวุยก๊ก
การพิชิตจ๊กก๊กโดยวุยก๊ก | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามในยุคสามก๊ก | |||||||
การพิชิตจ๊กก๊กโดยวุยก๊ก | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
วุยก๊ก | จ๊กก๊ก | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
สุมาเจียว จงโฮย เตงงาย จูกัดสู |
เล่าเสี้ยน เกียงอุย เลียวฮัว จูกัดเจี๋ยม † | ||||||
กำลัง | |||||||
160,000–180,000[c] | 90,000–102,000[d] |
การพิชิตจ๊กก๊กโดยวุยก๊ก | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 魏滅蜀之戰 魏滅漢之戰 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 魏灭蜀之战 魏灭汉之战 | ||||||
|
การพิชิตจ๊กก๊กโดยวุยก๊ก (จีน: 魏滅蜀之戰) เป็นการทัพที่เริ่มต้นด้วยรัฐวุยก๊กกระทำต่อรัฐจ๊กก๊กในช่วงปลายปี ค.ศ. 263 ในยุคสามก๊กของจีน การทัพนี้สิ้นสุดลงด้วยการล่มสลายของจ๊กก๊ก และเป็นการสิ้นสุดของการคงสมดุลไตรภาคีในจีนที่กินเวลามากกว่า 40 ปีนับตั้งแต่การสิ้นสุดของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในปี ค.ศ. 220 การพิชิตครั้งนี้เป็นการวางรากฐานสำหรับการรวมจีนเป็นหนึ่งเดียวในที่สุดภายใต้การปกครองของราชวงศ์จิ้นตะวันตกในปี ค.ศ. 280
ภูมิหลัง
[แก้]หลังการการสิ้นสุดของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในปี ค.ศ. 220[7] รัฐที่ขัดแย้งกัน 3 รัฐได้ก่อตั้งขึ้นในจีนและรบกันเพื่อควบคุมดินแดนของอดีตจักรวรรดิฮั่น ในบรรดา 3 รัฐนี้ วุยก๊กเป็นรัฐที่มีอำนาจมากที่สุดในแง่ของความแข็งแกร่งทางกำลังทหาร ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ กำลังคน และขนาดทางภูมิศาสตร์ อีก 2 รัฐคือจ๊กก๊กและง่อก๊กได้ก่อตั้งความเป็นพันธมิตรขึ้นใหม่เพื่อต่อต้านวุยก๊กในปี ค.ศ. 223[8]
ระหว่างปี ค.ศ. 228 และ ค.ศ. 234 จูกัดเหลียงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งจ๊กก๊กซึ่งสนับสนุนนโยบายแข็งกร้าวต่อวุยก๊ก ได้ยกทัพ 5 ครั้ง (เป็นที่รู้จักในคำเรียกว่า "การบุกขึ้นเหนือ") เพื่อโจมตีอาณาเขตของวุยก๊กในมณฑลยงจิ๋วและเลียงจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของมณฑลกานซู่และมณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน) เป้าหมายสูงสุดของการทัพคือการเปิดทางให้ทัพจ๊กก๊กเข้ายึดลกเอี๋ยง (洛陽 ลั่วหยาง) นครหลวงของวุยก๊ก และฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น การบุกทุกครั้งล้วนประสบความล้มเหลว[9] หลังจูกัดเหลียงเสียชีวิตในปี ค.ศ. 234 ผู้สืบทอดอำนาจคือเจียวอ้วนและบิฮุยมีท่าทีในเชิงป้องกันต่อวุยก๊กมากขึ้น และมุ่งเน้นไปที่นโยบายส่งเสริมการพัฒนาภายในและความมั่นคงภายในจ๊กก๊ก แต่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 240 ถึง ค.ศ. 262 เกียงอุยขุนพลจ๊กก๊กสานต่อเจตนารมณ์ของจูกัดเหลียงด้วยการยกทัพบุกวุยก๊กอีก 11 ครั้ง แต่การบุกแต่ละครั้งถูกยกเลิกไปในที่สุดเนื่องจากเสบียงอาหารไม่เพียงพอ, การสูญเสียอย่างหนักในสนามรบ และเหตุผลอื่น ๆ การทัพเหล่านี้ไม่เพียงทำให้ทรัพยากรที่มีจำกัดอยู่แล้วในจ๊กก๊กให้ร่อยหรอลงเป็นอย่างมาก แต่ยังส่งผลกระทบอย่างหนักต่อประชากรของจ๊กก๊ก และยังส่งผลทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากในหมู่ราษฎรที่มีต่อเกียงอุยอีกด้วย[10]
ในช่วงเวลานั้น สุมาอี้ขุนพลวุยก๊กขึ้นมามีอำนาจหลังก่อรัฐประหารได้สำเร็จในปี ค.ศ. 249 หลังสุมาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 251 สุมาสูบุตรชายคนโตขึ้นสืบทอดอำนาจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผูกขาดอำนาจและควบคุมราชสำนักวุยก๊ก[11] ในปี ค.ศ. 254 สุมาสูปลดโจฮองจักรพรรดิวุยก๊กที่พยายามจะชิงอำนาจคืนจากสุมาสู แล้วสุมาสูก็ตั้งโจมอขึ้นครองราชย์แทน หลังสุมาสูเสียชีวิตในปี ค.ศ. 255 สุมาเจียวน้องชายของสุมาสูขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คนใหม่และยังคงผูกขาดอำนาจในวุยก๊กต่อไป[12] ในปี ค.ศ. 260 โจมอทรงพยายามจะก่อรัฐประหารเพื่อโค่นอำนาจสุมาเจียวแต่ไม่สำเร็จ ตัวพระองค์เองก็ถูกปลงพระชนม์ โจฮวนที่ขึ้นสืบราชบัลลังก์ถัดจากโจมอในฐานะจักรพรรดิแห่งวุยก๊กก็ยังคงเป็นผู้ปกครองหุ่นเชิดภายใต้อิทธิพลและการควบคุมของสุมาเจียว[13]
การวางกลยุทธ์ของวุยก๊ก
[แก้]ลำดับเหตุการณ์การพิชิตจ๊กก๊กโดยวุยก๊ก[14] | ||
---|---|---|
ช่วงเวลาโดยประมาณ | สถานที่ | เหตุการณ์ |
ฤดูหนาว ค.ศ. 262 | นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน | สุมาเจียวประกาศแผนการพิชิตจ๊กก๊กแก่ราชสำนักวุยก๊ก สุมาเจียวมอบหมายให้จงโฮยรับผิดชอบราชการทหารในภูมิภาคกวนต๋ง วุยก๊กระดมกำลังทหารประมาณ 180,000 นายจากหลายมณฑลเพื่อเตรียมการบุกจ๊กก๊ก |
ต้นปี ค.ศ. 263 | อำเภอโจวชฺวี มณฑลกานซู่ | เกึยงอุยส่งคำแจ้งเตือนไปถึงนครหลวงเซงโต๋ว่าวุยก๊กดูเหมือนกำลังเตรียมการจะบุกจ๊กก๊ก ฮุยโฮทูลแนะนำเล่าเสี้ยนให้ทรงเพิกเฉยต่อคำแจ้งเตือน |
ฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 263 | นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน | ราชสำนักวุยก๊กออกพระราชโองการกำหนดแนวทางในการบุกแบบสามทิศทาง โดยจงโฮย เตงงาย และจูกัดสูต่างนำกำลังพลของตนเข้าโจมตีจ๊กก๊กจากปีกตะวันออก ปีกตะวันตก และปีกกลางตามลำดับ |
20 กันยายน – 19 ตุลาคม ค.ศ. 263 | นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน | ทัพวุยก๊กยกออกจากลกเอี๋ยง |
มณฑลฉ่านซี | จงโฮยสั่งประหารชีวิตเคาหงีจากความล้มเหลวในภารกิจกำกับดูแลการก่อสร้างถนนที่นำเข้าสู่จ๊กก๊ก | |
อำเภอเฉิงกู้และอำเภอเหมี่ยน มณฑลฉ่านซี | จงโฮยสั่งให้ลิจูและซุนไคเข้าโจมตีอำเภอก๊กเสียและฮั่นเสียตามลำดับ เวลานั้นอองหำและเจียวปินขุนพลจ๊กก๊กตั้งมั่นรักษาอำเภอก๊กเสียและฮั่นเสียตามลำดับ | |
อำเภอหนิงเฉียง มณฑลฉ่านซี | จงโฮยส่งเฮาเหลกเข้าโจมตีด่านเองเปงก๋วน เจียวสียอมจำนนต่อเฮาเหลกและช่วยเฮาเหลกในการพิชิตด่านเองเปงก๋วน ปอเฉียมถูกสังหารในที่รบระหว่างป้องกันด่าน | |
20 ตุลาคม – 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 263 | นครเทียนฉุ่ย, อำเภอหล่งซี และอำเภอยฺหวีจง มณฑลการซู่ และนครอานคาง มณฑลฉ่านซี | อองกิ๋น, คันห่อง, เอียวหัว และหลิว ชินนำกำลังพลจากเมืองของตนเข้าร่วมการบุกจ๊กก๊ก |
นครหล่งหนานและอำเภอเหวิน มณฑลกานซู่ | เล่าเสี้ยนส่งเลียวฮัวและเตียวเอ๊กกับตังควดให้นำกำลังเสริมไปยังท่าจงและด่านเองเปงก๋วนตามลำดับ กำลังเสริมของจ๊กก๊กหยุดอยู่ที่อิมเป๋งเมื่อทั้งหมดทราบว่าทัพของจูกัดสูกำลังโจมตีเจี้ยนเวย์ | |
อำเภอโจวชฺวี มณฑลกานซู่ | เตงงายเอาชนะเกียงอุยที่ท่าจง | |
จุดตัดของแม่น้ำไป๋หลงกับแม่น้ำเจียหลิง | เกียงอุยพยายามล่าถอยไปยังไป๋ฉุ่ย แต่เอียวหัวสกัดไว้ที่เฉียงชฺวานโข่วและเอาชนะเกียงอุยได้ | |
อำเภอเหวิน มณฑลกานซู่ | เกียงอุยมุ่งหน้าไปยังหุบเขาข่งหานเพื่อเลี่ยงการปะทะกับจูกัดสูซึ่งกำลังปิดกั้นสะพานอู๋เจียใกล้กับอิมเป๋ง เมื่อจูกัดสูยกเลิกการปิดกั้น เกียงอุยก็ยกหันกลับมาทันที ข้ามสะพานและเคลื่อนไปยังเกียมโก๊ะ จูกัดสูพยายามจะมาหยุดเกียงอุยแต่ไม่ทันกาล | |
อำเภอเจี้ยนเก๋อ มณฑลเสฉวน | เกียงอุย, เลียวฮัว, เตียวเอ๊ก และตังควดล่าถอยมายังเกียมโก๊ะ จงโฮยโจมตีเกียมโก๊ะหลายครั้ง แต่ไม่สามารถฝ่าแนวป้องกันของจ๊กก๊กได้ | |
อำเภอเหวิน มณฑลกานซู่ และอำเภอเจี้ยนเก๋อ มณฑลเสฉวน | เตงงายเสนอความคิดที่จะใช้ทางลัดจากอิมเป๋งไปยังกิมก๊กเพื่อเลี่ยงแนวป้องกันของเกียมโก๊ะ และมุ่งตรงไปยังเซงโต๋ เตงงายขอให้จูกัดสูร่วมแผนกับตนแต่จูกัดสูปฏิเสธ จงโฮยใส่ร้ายจูกัดสูว่าขี้ขลาดและยึดอำนาจบัญชาการทหารของจูกัดสู | |
18 พฤศจิกายน – 17 ธันวาคม ค.ศ. 263 | อำเภอเหวิน มณฑลกานซู่ | เตงงายนำกำลังทหารฝีมือดีผ่านทางลัดที่เลี่ยงเกียมโก๊ะและนำทางจากอิมเป๋งสู่เซงโต๋ |
นครเจียงโหยว มณฑลเสฉวน | ม้าเชียวเจ้าเมืองอิวกั๋งของจ๊กก๊กยอมจำนนต่อเตงงาย | |
นครเหมียนจู๋ มณฑลเสฉวน | เตงงายเอาชนะจูกัดเจี๋ยมที่กิมก๊ก จูกัดเจี๋ยม, จูกัดสง, หฺวาง ฉง, หลี่ ฉิว และเตียวจุ๋นถูกสังหารในที่รบ | |
นครเหมียนหยาง มณฑลเสฉวน | เกียงอุยทิ้งเกียมโก๊ะและมุ่งไปยังเมืองปากุ๋น จงโฮยยกไปยังอำเภอโปยเสียและสั่งให้เฮาเหลก, เตนซก และบังโฮยไล่ตามตีเกียงอุย | |
นครเฉิงตูและนครกว่างฮั่น มณฑลเสฉวน | เล่าเสี้ยนทรงส่งเตียวเซีย, เจาจิ๋ว และเตงเลียงให้นำเอกสารยอมจำนนและตราพระราชลัญจกรไปส่งให้เตงงายที่อำเภอลกเสีย เล่าเสี้ยนยังทรงมีรับสั่งให้จาง จฺวิ้นและเจียวเอี๋ยนให้นำรับสั่งไปถึงคนที่เหลือในจ๊กก๊กให้ยอมจำนนต่อวุยก๊ก พระองค์ทรงส่งลิเฮาไปแจ้งเกียงอุยให้ยอมจำนนต่อจงโฮยที่อำเภอโปยเสีย | |
นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน | เตงงายนำทัพเข้ายึดเซงโต๋ | |
นครเหมียนหยาง มณฑลเสฉวน | เกียงอุยยอมจำนนต่อจงโฮยที่อำเภอโปยเสีย |
วุยก๊กตัดสินใจโจมตีจ๊กก๊ก
[แก้]ในปี ค.ศ. 262[e] สุมาเจียวเห็นว่าจ๊กก๊กอ่อนแอลงและขาดแคลนทรัพยากรหลังการทำศึกกับวุยก๊กอย่างต่อเนื่อง สุมาเจียวจึงต้องการเปิดฉากการบุกจ๊กก๊กครั้งใหญ่เพื่อกำจัดภัยคุกคามจากจ๊กก๊ก ในบรรดาผู้ที่สุมาเจียวปรึกษา มีเพียงจงโฮยที่เห็นด้วยว่าวุยก๊กมีความสามารถจะพิชิตจ๊กก๊กได้ จงโฮยจึงได้ช่วยสุมาเจียวในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อการพิชิตจ๊กก๊ก[15]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การบุกจ๊กก๊กแบบสามทางของวุยก๊ก
[แก้]ในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 262 สุมาเจียวแต่งตั้งให้จงโฮยเป็นขุนพลพิทักษ์ภาคตะวันตก (鎮西將軍 เจิ้นซีเจียงจฺวิน) และมอบอาญาสิทธิ์ในการกำกับดูแลราชการทหารในภูมิภาคกวนต๋ง (關中 กวานจง) ราชสำนักวุยก๊กยังได้ระดมกำลังทหารประมาณ 180,000 นายจากมณฑลต่าง ๆ ทั่ววุยก๊กเพื่อเตรียมการบุกจ๊กก๊ก ในเวลาเดียวกัน ราชสำนักวุยก๊กยังมอบหมายให้ต๋องจูรับผิดชอบกำกับดูแลการสร้างเรือรบเพื่อเตรียมสำหรับการบุกง่อก๊กที่เป็นอีกรัฐอริของวุยก๊กในอนาคต[16][17]
ในฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 263 ราชสำนักวุยก๊กออกพระราชโองการกำหนดการบุกจ๊กก๊กแบบสามทาง:
- เตงงายจะนำกำลังพล 30,000 นายผ่านกานซง (甘松; ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอเตี๋ยปู้ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) เพื่อโจมตีที่มั่นของเกียงอุยที่ท่าจง (沓中; ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอโจวชฺวี มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน)
- จูกัดสูจะนำกำลังพล 30,000 นายไปยังสะพานอู่เจีย (武街橋 อู่เจียเฉียว; ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเหวิน มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) เพื่อสกัดทางถอยของเกียงอุย
- จงโฮยจะนำกำลังพลมากกว่า 100,000 นายเข้าโจมตีจ๊กก๊กผ่านหุบเขาเสียดก๊ก (斜谷 เสียกู่; ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเหมย์ มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน)
- ผู้ใต้บังคับบัญชาของจงโฮยคือลิจู (李輔 หลี ฝู่) และเฮาเหลก (胡烈 หู เลี่ย) จะนำกองกำลังแยกผ่านหุบเขาล่อก๊ก (駱谷 ลั่วกู่; ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอโจวจื้อ มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน)[3][17]
- ราชสำนักวุยก๊กมอบหมายให้อุยก๋วนให้กำกับดูแลปฏิบัติการทางทหารของจงโฮยและเตงงาย อุยก๋วนยังดำรงตำแหน่งเป็นรักษาการตุลาการทัพในสังกัดของจงโฮย และบัญชากำลังพล 1,000 นาย[18]
การวางกลยุทธ์ของจ๊กก๊ก
[แก้]การเปลี่ยนแปลงแนวป้องกันของจ๊กก๊กที่ฮันต๋ง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คำเตือนล่วงหน้าของเกียงอุย
[แก้]ในช่วงต้นปี ค.ศ. 263 เกียงอุยเขียนฎีกาถึงเล่าเสี้ยนจักรพรรดิจ๊กก๊กมีความดังนี้:
"ข้าพระพุทธเจ้าได้ยินว่าจงโฮยกำลังระดมทหารในกวนต๋ง และดูท่าจะเตรียมการเพื่อจะเปิดการบุก เพื่อเป็นการป้องกัน ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่าเราควรส่งเตียวเอ๊กและเลียวฮัวให้นำทัพไปป้องกันด่านเองเปงก๋วนและสะพานที่อิมเป๋ง"[19]
ฮุยโฮขันทีคนสนิทคนหนึ่งของเล่าเสี้ยนเป็นผู้เชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ เชื่อคำทำนายของหมอดูว่าวุยก๊กจะไม่บุกจ๊กก๊ก จึงทูลแนะนำจักรพรรดิเล่าเสี้ยนให้เพิกเฉยต่อฎีกาของเกียงอุย และไม่นำความไปหารือในราชสำนัก[20]
โหมโรง
[แก้]ในระหว่างวันที่ 20 กันยายนถึง 19 ตุลาคม ค.ศ. 263[a] กำลังทหารวุยก๊กที่ระดมพลเพื่อทำศึกได้มารวมตัวกันที่ลกเอี๋ยงนครหลวงของวุยก๊ก และพร้อมที่จะยกพล ก่อนที่จะยกไป ราชสำนักวุยก๊กได้เลื่อนขั้นและมอบรางวัล และจัดการซ้อมรบเพื่อเพิ่มขวัญกำลังใจ ในช่วงเวลานี้ เติ้ง ตุน (鄧敦) ขุนนางวุยก๊กกล่าวว่าจ๊กก๊กไม่สามารถพิชิตได้ สุมาเจียวจึงสั่งให้ประหารชีวิตเติ้ง ตุนเป็นการเตือนคนอื่น ๆ ไม่ให้พูดจาเกี่ยวกับการทัพในทางไม่ดี[21]
จงโฮยได้สั่งให้เคาหงี (許儀 สฺวี่ อี๋) บุตรชายของเคาทูขุนพลผ่านศึกของวุยก๊ก ให้กำกับดูแลการก่อสร้างถนนที่นำไปสู่จ๊กก๊ก แต่ถนนสายนั้นสร้างได้ไม่ดี จงโฮยก็ไม่สนใจภูมิหลังของเคาหงีและสั่งให้ประหารชีวิตเคาหงีฐานที่ทำภารกิจล้มเหลว เหล่าทหารวุยก๊กต่างตกตะลึงที่จงโฮยกล้ากระทำเช่นนี้[22]
การเสริมกำลังของวุยก๊ก
[แก้]ในระหว่างวันที่ 20 ตุลาคมถึง 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 263[f] สุมาเจียวสั่งให้เจ้าเมืองของสามเมืองนำกำลังทหารประจำการของตนเข้าร่วมในการศึก ได้แก่ อองกิ๋น (王頎 หวาง ฉี) นำกำลังพลจากเมืองเทียนซุย (天水郡 เทียนฉุ่ยจฺวิ้น) ไปโจมตีค่ายของเกียงอุย คันห่อง (牽弘 เชียน หง) นำกำลังพลจากเมืองหลงเส (隴西郡 หล่งซีจฺวิ้น) และเปิดฉากโจมตีด้านหน้าที่มั่นของเกียงอุย และเอียวหัว (楊欣 หยาง ซิน) นำกำลังพลจากเมืองกิมเสีย (金城郡 จินเฉิงจฺวิ้น; อยู่บริเวณอำเภอยฺหวีจง มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ไปโจมตีกานซง[23]
หลิว ชิน (劉欽) ก็นำกำลังพลจากเมืองเว่ย์ซิง (魏興郡 เว่ย์ซิงจฺวิ้น; อยู่บริเวณนครอานคาง มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน) เพื่อโจมตีเมืองฮันต๋งผ่านหุบเขาจูงอก๊ก (子午谷 จื๋ออู๋กู่; ทางตะวันออกของอำเภอหยาง มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน)[24]
การตอบสนองต่อการรุกรานของวุยก๊กโดยจ๊กก๊ก
[แก้]หลังได้รับข่าวการบุกของวยก๊ก ราชสำนักจ๊กก๊กจึงสั่งให้เลียวฮัวนำกำลังเสริมไปหนุนช่วยเกียงอุยที่ท่าจง ในเวลาเดียวกันก็ส่งเตียวเอ๊ก ตังควด และคนอื่น ๆ นำกำลังพลไปยังด่านเองเปงก๋วน (陽平關 หยางผิงกวาน) หรือหยางอานกวาน (陽安關; อยู่ในอำเภอหนิงเฉียง มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน) และช่วยเหลือทัพจ๊กก๊กในการป้องกันปริมณฑลภายนอก[25]
เมื่อกำลังเสริมของจ๊กก๊กยกมาถึงอิมเป๋ง (陰平 อินผิง; ปัจจุบันคืออำเภอเหวิน มณฑลกานซู่) ก็ได้ยินว่าทัพวุยก๊กที่นำโดยจูกัดสูเข้าโจมตีเจี้ยนเวย์ (建威; ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเขตอู่ตู นครหล่งหนาน มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) จึงหยุดการเดินทัพที่อิมเป๋ง[26]
ปีกด้านตะวันออก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ปีกด้านตะวันตก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เส้นทางเบี่ยงของเตงงาย
[แก้]ระหว่างที่เตงงายอยู่ที่อิมเป๋ง เตงงายได้เสนอความคิดที่จะใช้ทางลัดผ่านหมู่บ้านเต๊กหยง (德陽 เต๋อหยาง) ไปยังอำเภอโปยเสีย ซึ่งจะนำไปยังพื้นที่ที่ห่างไปประมาณ 100 ลี้ ทางตะวันตกของเกียมโก๊ะ และประมาณ 300 ลี้ จากเซงโต๋นครหลวงของจ๊กก๊ก ความคิดของเตงงายคือการลวงให้เกียงอุยส่งกำลังเสริมจากเกียมโก๊ะไปยังอำเภอโปยเสียและทำให้การป้องกันของเกียมโก๊ะอ่อนกำลังลง หากเกียงอุยไม่ส่งกำลังเสริมไป โปยเสียก็จะโดดเดี่ยวและพิชิตได้โดยง่าย[27]
จงโฮยเห็นด้วยกับความคิดของเตงงายและสั่งให้เถียน จาง (田章) ผู้ใต้บังคับบัญชาของคนให้เข้าร่วมกับเตงงายในการเดินทัพ ในช่วงระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายนและ 17 ธันวาคม ค.ศ. 263[g] เตงงายนำกองกำลังโจมตีจากอิมเป๋งผ่านทางลัด โดยเลี่ยงไปทางตะวันตกของเกียมโก๊ะและมุ่งหน้าตรงไปยังอิวกั๋ง (江油 เจียงโหยว) ทางลัดครอบคลุมระยะทางมากกว่า 700 ลี้ และตัดข้ามภูมิประเทศที่เป็นภูเขา เตงงายและทหารต้องสร้างสะพานหลายแห่งตลอดทาง ภูเขาสูงและหุบเขาลึกทำให้การเดินทัพมีความอันตรายอย่างมาก หลังจากนั้นไม่นาน เตงงายและทหารก็ทิ้งห่างจากกองลำเลียงเสบียง เตงงงายใช้สักหลาดผืนใหญ่ห่อร่างกายตนเองแล้วกลิ้งลงจากภูเขา ทหารของเตงงายปีนต้นไม้และไต่หน้าผาลงมาเป็นแถว[28] ระหว่างทางเตงงายและทหารปะทะกับกองกำลังซุ่ม 3 กองของจ๊กก๊ก เตงงายเข้าโจมตีกองซุ่มจนแตกพ่ายและเข้าทำลายค่ายของกองซุ่มเหล่านี้ เตงงายให้เถียน จางนำกองหน้าไปแผ้วถางเส้นทาง[29] เตงงายและกองหน้าไปปรากฏที่อิวกั๋ง ม้าเชียว (馬邈 หมา เหมี่ยว) เจ้าเมืองอิวกั๋งที่จ๊กก๊กแต่งตั้งยอมจำนนต่อเตงงาย[30]
ยุทธการที่กิมก๊ก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การล่มสลายของจ๊กก๊ก
[แก้]เมื่อเกียงอุยทราบว่ากิมก๊กถูกตีแตกแล้ว จึงนำทัพของตนไปทางตะวันออกไปยังเมืองปากุ๋น (巴郡 ปาจฺวิ้น; นครฉงชิ่งในปัจจุบัน) จงโฮยนำทัพของตนไปที่อำเภอโปยเสียและสั่งให้เฮาเหลก เตนซก บังโฮย และคนอื่น ๆ ให้นำกำลังทหารไล่ตามตีเกียงอุย[31]
การยอมจำนนของเล่าเสี้ยน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การยอมจำนนของเกียงอุย
[แก้]ในขณะเดียวกัน ทัพจ๊กก๊กที่นำโดยเกียงอุยได้รับข้อมูลที่สับสนปนเปเกี่ยวกับสถานการณ์ในนครเซงโต๋ บ้างก็ว่าเล่าเสี้ยนทรงต้องการอยู่ในเซงโต๋และป้องกันเมือง บ้างก็อ้างว่าเล่าเสี้ยนทรงกำลังจะทิ้งเซงโต๋หนีลงใต้ไปยังเมืองเกียมเหลง (建寧郡 เจี้ยนหนิงจฺวิ้น; ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลยูนนานและมณฑลกุ้ยโจวในปัจจุบัน) เกียงอุยจึงเตรียมนำกำลังไปไปยังอำเภอชี (郪縣 ชีเซี่ยน; ปัจจุบันคืออำเภอซานไถ มณฑลเสฉวน) ซึ่งอยู่ใกล้กับเซงโต๋มากกว่าเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง[32] ไม่นานหลังจากนั้น เกียงอุยและทหารก็ได้รับคำสั่งจากนครเซงโต๋ให้วางอาวุธและยอมจำนนต่อจงโฮยที่อำเภอโปยเสีย ทหารจ๊กก๊กหลายนายรู้สึกตกใจและโกรธมากที่รู้ว่าจักรพรรดิเล่าเสี้ยนยอมจำนน จึงชักกระบี่ฟันกับหินเพื่อระบายความคับข้องใจ[33][34]
ในที่สุดเมื่อจงโฮยพบกับเกียงอุย จงโฮยถามว่า "เหตุใดท่านถึงมาช้า" เกียงอุยตอบด้วยสีหน้าจริงจังแต่มีน้ำตาไหลอาบแก้มว่า "การพบกันของเราวันนี้ต่างหากที่มาเร็วเกินไป" จงโฮยประทับใจกับคำตอบของเกียงอุยอย่างมาก[35]
กำลังเสริมของง่อก๊ก
[แก้]ในระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายนถึง 17 ธันวาคม ค.ศ. 263[h] ราชสำนักจ๊กก๊กร้องขอการสนับสนุนอย่างเร่งด่วนจากง่อก๊กที่เป็นรัฐพันธมิตรทางตะวันออก จากนั้นในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 264[h] ซุนฮิวจักรพรรดิง่อก๊กมีรับสั่งให้นายทหารห้านายนำกองกำลังสามกองแยกกันเข้าไปโจมตีอาณาเขตของวุยก๊ก โดยหวังจะเบี่ยงเบนความสนใจของวุยก๊กออกจากจ๊กก๊ก เตงฮองเข้าโจมตีฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; ปัจจุบันคืออำเภอโช่ว มณฑลอานฮุย)[37] หลิว ผิง (留平) และชือ จี (施績) เข้าโจมตีลำกุ๋น (南郡 หนานจฺวิ้น; อยู่บริเวณนครจิงโจว มณฑลหูเป่ย์ในปัจจุบัน) ติง เฟิง (丁封) และซุนฮี (孫異 ซุน อี้) เข้าโจมตีอาณาเขตของวุยก๊กตลอดตอนกลางของแม่น้ำไกซุย (沔水 เหมียนฉุ่ย) ทัพง่อก๊กถอนทัพกลับหลังได้รับข่าวการล่มสลายของจ๊กก๊ก[36]
ผลสืบเนื่อง
[แก้]การจับกุมและความล่มจมของเตงงาย
[แก้]เตงงายรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จของตน จึงกลายเป็นคนเย่อหยิ่งและยกตนอย่างมากหลังได้ควบคุมและดูแลอาณาเขตของจ๊กก๊กหลังเสร็จศึก ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 264 เตงงายเขียนจดหมายถึงสุมาเจียวเพื่อเสนอแนวคิดในการพิชิตง่อก๊กที่เป็นอีกหนึ่งรัฐอริของวุยก๊ก สุมาเจียวบอกเตงงายว่าข้อเสนอของเตงงายจะต้องนำไปหารือในราชสำนักก่อนที่จะอนุมัติ เตงงายรู้สึกไม่พอใจจึงพูดเปรยว่าตนมีเหตุผลที่จะปฏิเสธระเบียบวิธีมาตรฐานและใช้วิธีแบบเผด็จการตราบที่ตนกระทำเพื่อประโยชน์ของวุยก๊ก[38] จงโฮยผู้แอบต้องการก่อกบฏต่อวุยก๊ก ฉวยโอกาสนี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์และจัดการความเย่อหยิ่งของเตงงายให้เกิดผลดีต่อตัวจงโฮยอย่างมาก จงโฮยยับยั้งรายงานจากเตงงายที่ส่งไปถึงราชสำนักวุยก๊ก เลียนลายมือเตงงายและแก้ไขรายงานให้มีสำนวนภาษาที่ดูหยาบคายและเรียกร้องมากเกินไป จงโฮยยังทำลายจดหมายจากสุมาเจียวถึงเตงงายอีกด้วย[39]
ในช่วงปลายกุมภาพันธ์ ค.ศ. 264 ราชสำนักวุยก๊กมีคำสั่งให้จงโฮยและอุยก๋วนไปจับกุมเตงงาย ปลดอำนาจบังคับบัญชาทหาร และส่งตัวกลับไปลกเอี๋ยงด้วยรถนักโทษ[40] ในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 264 หลังจากนั้น อุยก๋วนส่งเตนซกให้นำทหารไปสกัดและสังหารเตงงาย, เตงต๋งบุตรชายของเตงงาย และสุเมาผู้ใต้บังคับบัญชาของเตงงายที่ทางตะวันตกของกิมก๊ก[41][42]
กบฏจงโฮย
[แก้]หลังเตงงายถูกจับกุมและถูกนำตัวไป จงโฮยจึงถือครองอำนาจบัญชาการทัพวุยก๊กที่กำลังยึดครองอาณาเขตของอดีตจ๊กก๊ก ด้วยการยุยงของเกียงอุย[43] จงโฮยจึงตัดสินใจก่อการกบฏต่อสุมาเจียว และวางกลยุทธ์โจมตีลกเอี๋ยงโดยมีเกียงอุยช่วยเหลือ[44]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บุคคลในยุทธการ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในวัฒนธรรมประชานิยม
[แก้]เมี่ยฉู่จี้ (滅蜀記; แปลว่า เรื่องราวการล่มสลายของจ๊กก๊ก; ISBN 9789867480972) เป็นนวนิยายใน ค.ศ. 2008 โดยหลี่ ปั๋ว (李柏) ที่เล่าถึงเหตุการณ์ที่นำไปสู่การล่มสลายของจ๊กก๊ก โดยมีเกียงอุย เตงงาย และจงโฮยเป็นตัวละครหลัก[45]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 จือจื้อทงเจี้ยนบันทึกว่าราชสำนักวุยก๊กออกพระราชโองการให้เตงงาย, จูกัดสู และจงโฮยนำทัพวุยก๊กเข้าโจมตีจ๊กก๊กจากสามทิศทาง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือน 5 ถึงเดือน 7 ของศักราชจิ่ง-ยฺเหวียน (景元) ปีที่ 4 ศักราช ในรัชสมัยของโจฮวน ทัพวุยก๊กเคลื่อนออกจากนครหลวงลกเอี๋ยงในเดือน 8[1] เดือน 8 ของศักราชจิ่ง-ยฺเหวียนปีที่ 4 เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 20 กันยายนถึง 19 ตุลาคม ค.ศ. 263 ในปฏิทินกริกอเรียน
- ↑ บทพระราชประวัติสุมาเจียวในจิ้นชูบันทึกว่า รายงานชัยชนะของขุนพลวุยก๊กมาถึงลกเอี๋ยงในเดือน 10 ของศักราชจิ่ง-ยฺเหวียนปีที่ 4 ในรัชสมัยของโจฮวน[2] เดือนนี้เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน ถึง 17 ธันวาคม ค.ศ. 263 ในปฏิทินกริกอเรียน
- ↑ บทชีวประวัติของจงโฮยในสามก๊กจี่บันทึกว่าเตงงายกับจูกัดสูนำกำลังพลคนละ 30,000 นาย ส่วนจงโฮยนำกำลังพลมากกว่า 100,000 นายในการทัพครั้งนี้[3] ส่วนบทพระราชประวัติสุมาเจียวในจิ้นชูบันทึกว่าทัพวุยก๊กในการทัพครั้งนี้มีทั้งหมด 180,000 นาย[4]
- ↑ สุมาเจียวประมาณการก่อนการรบว่าจ๊กก๊กมีกำลังพลรวม 90,000 นาย (50,000 นายที่แนวหน้า และอีก 40,000 นายอยู่รักษาเซงโต๋และดินแดนภายใน)[5] แต่ฉู่จี้บันทึกว่าจ๊กก๊กมีกำลังพล 102,000 นายในช่วงเวลาที่เล่าเสี้ยนยอมจำนนต่อเตงงาย[6]
- ↑ จือจื้อทงเจี้ยนบันทึกว่าสุมาเจียวทำประกาศนี้ในศักราชจิ่ง-ยฺเหวียน (景元) ปีที่ 3 ในรัชสมัยของโจฮวน ปีนี้เทียบได้กับปี ค.ศ. 262 ในปฏิทินกริโกเรียน[1] แต่ในบทพระราชประวัติสุมาเจียวในจิ้นชูบันทึกว่าสุมาเจียวทำประกาศนี้ในฤดูร้อนของศักราชจิ่ง-ยฺเหวียนปีที่ 4 ซึ่งเทียบได้กับฤดูร้อนของปี ค.ศ. 263[5] บทความนี้อิงตามที่ระบุในจือจื้อทงเจี้ยน
- ↑ บทพระราชประวัติสุมาเจียวในจิ้นชูบันทึกว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเดือน 9 ปีที่ 4 ของศักราชจิ่ง-ยฺเหวียน (景元) ในรัชสมัยของโจฮวน[23] เดือนนี้เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 20 ตุลาคมถึง 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 263 ในปฏิทินกริกอเรียน
- ↑ บทชีวประวัติเตงงายในสามก๊กจี่บันทึกว่าเตงงายใช้ทางลัดในเดือน 10 ของศักราชจิ่ง-ยฺเหวียน (景元) ปีที่ 4 ในรัชสมัยของโจฮวน[28] เดือนนี้เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายนและ 17 ธันวาคม ค.ศ. 263 ในปฏิทินกริกอเรียน
- ↑ 8.0 8.1 บทประวัติซุนฮิวในสามก๊กจี่บันทึกว่าจ๊กก๊กขอการหนุนช่วยจากง่อก๊กในเดือน 10 ของศักราชหย่งอาน (永安) ปีที่ 6 ในรัชสมัยของซุนฮิว[36] เดือนนี้เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายนถึง 17 ธันวาคม ค.ศ. 263 ในปฏิทินกริกอเรียน บทประวัติซุนฮิวยังบันทึกอีกว่าซุนฮิวทรงมีรับสั่งให้เตงฮอง, หลิว ผิง, ติง เฟิง และซุนฮีนำทัพง่อก๊กไปโจมตีอาณาเขตของวุยก๊กในวันเจี่ยเชิน (甲申) หลังเดือน 10 ของศักราชหย่งอานปีที่ 6[36] วัน เจี่ยเชินหลังเดือน 10 ที่ใกล้ที่สุดคือวันที่ 22 ของเดือน 11 ซึ่งเทียบได้กับวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 264 ในปฏิทินกริกอเรียน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Sima (1084), vol. 78.
- ↑ ([景元四年]冬十月,天子以諸侯獻捷交至, ...) จิ้นชู เล่มที่ 2.
- ↑ 3.0 3.1 ([景元]四年秋,乃下詔使鄧艾、諸葛緒各統諸軍三萬餘人,艾趣甘松、沓中連綴維,緒趣武街、橋頭絕維歸路。會統十餘萬衆,分從斜谷、駱谷入。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (於是征四方之兵十八萬, ...) จิ้นชู เล่มที่ 2.
- ↑ 5.0 5.1 (景元[四年]夏,帝將伐蜀,乃謀眾曰:「自定壽春已來,息役六年,治兵繕甲,以擬二虜。略計取吳,作戰船,通水道,當用千餘萬功,此十萬人百數十日事也。又南土下濕,必生疾疫。今宜先取蜀,三年之後,在巴蜀順流之勢,水陸並進,此滅虞定虢,吞韓並魏之勢也。計蜀戰士九萬,居守成都及備他郡不下四萬,然則餘眾不過五萬。今絆姜維於遝中,使不得東顧,直指駱穀,出其空虛之地,以襲漢中。彼若嬰城守險,兵勢必散,首尾離絕。舉大眾以屠城,散銳卒以略野,劍閣不暇守險,關頭不能自存。以劉禪之暗,而邊城外破,士女內震,其亡可知也。」) จิ้นชู เล่มที่ 2.
- ↑ (又遣尚書郎李虎送士民簿, ... 帶甲將士十萬二千, ...) อรรถาธิบายจากฉู่จี้ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 33.
- ↑ Sima (1084), vol. 69.
- ↑ Sima (1084), vol. 70.
- ↑ Sima (1084), vols. 71-72.
- ↑ Sima (1084), vols. 74-78.
- ↑ Sima (1084), vol. 75.
- ↑ Sima (1084), vol. 76.
- ↑ Sima (1084), vol. 77.
- ↑ สามก๊กจี่ เล่มที่ 28, 33 และ 44, จิ้นชู เล่มที่ 2 และจือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 78.
- ↑ (文王以蜀大將姜維屢擾邊陲,料蜀國小民疲,資力單竭,欲大舉圖蜀。惟會亦以為蜀可取,豫共籌度地形,考論事勢。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (景元三年冬,以會為鎮西將軍、假節都督關中諸軍事。文王勑青、徐、兖、豫、荊、揚諸州,並使作船,又令唐咨作浮海大船,外為將伐吳者。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ 17.0 17.1 (於是征四方之兵十八萬,使鄧艾自狄道攻姜維於遝中,雍州刺史諸葛緒自祁山軍於武街,絕維歸路,鎮西將軍鐘會帥前將軍李輔、征蜀護軍胡烈等自駱穀襲漢中。) จิ้นชู เล่มที่ 2.
- ↑ (鄧艾、鐘會之伐蜀也,瓘以本官持節監艾、會軍事,行鎮西軍司,給兵千人。) จิ้นชู เล่มที่ 36.
- ↑ ([景耀]六年,維表後主:「聞鍾會治兵關中,欲規進取,宜並遣張翼、廖化督諸軍分護陽安關口、陰平橋頭以防未然。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 44.
- ↑ (皓徵信鬼巫,謂敵終不自致,啟後主寢其事,而羣臣不知。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 44.
- ↑ ([景元四年]秋八月,軍發洛陽,大賚將士,陳師誓眾。將軍鄧敦謂蜀未可討,帝斬以徇。) จิ้นชู เล่มที่ 2.
- ↑ (先命牙門將許儀在前治道,會在後行,而橋穿,馬足陷,於是斬儀。儀者,許褚之子,有功王室,猶不原貸。諸軍聞之,莫不震竦。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ 23.0 23.1 ([景元四年]九月,又使天水太守王頎攻維營,隴西太守牽弘邀其前,金城太守楊頎趣甘松。) จิ้นชู เล่มที่ 2.
- ↑ (魏興太守劉欽趣子午谷,諸軍數道平行,至漢中。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (及鍾會將向駱谷,鄧艾將入沓中,然後乃遣右車騎廖化詣沓中為維援,左車騎張翼、輔國大將軍董厥等詣陽安關口以為諸圍外助。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 44.
- ↑ (比至陰平,聞魏將諸葛緒向建威,故住待之。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 44.
- ↑ (艾上言:「今賊摧折,宜遂乘之,從陰平由邪徑經漢德陽亭趣涪,出劒閣西百里,去成都三百餘里,奇兵衝其腹心。劒閣之守必還赴涪,則會方軌而進;劒閣之軍不還,則應涪之兵寡矣。軍志有之曰:『攻其不備,出其不意。』今掩其空虛,破之必矣。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ 28.0 28.1 ([景元四年]冬十月,艾自陰平道行無人之地七百餘里,鑿山通道,造作橋閣。山高谷深,至為艱險,又糧運將匱,頻於危殆。艾以氊自裹,推轉而下。將士皆攀木緣崖,魚貫而進。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (鄧艾追姜維到陰平,簡選精銳,欲從漢德陽入江由、左儋道詣緜竹,趣成都,與諸葛緒共行。緒以本受節度邀姜維,西行非本詔,遂進軍前向白水,與會合。會遣將軍田章等從劒閣西,徑出江由。未至百里,章先破蜀伏兵三校,艾使章先登。遂長駈而前。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (先登至江由,蜀守將馬邈降。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (艾遂至緜竹,大戰,斬諸葛瞻。維等聞瞻已破,率其衆東入于巴。會乃進軍至涪,遣胡烈、田續、龐會等追維。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (維等初聞瞻破,或聞後主欲固守成都,或聞欲南入建寧,於是引軍由廣漢、郪道以審虛實。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 44.
- ↑ (尋被後主敕令,乃投戈放甲,詣會於涪軍前,將士咸怒,拔刀斫石。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 44.
- ↑ (維至廣漢郪縣,令兵悉放器仗,送節傳於胡烈,便從東道詣會降。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (干寶晉紀云:會謂維曰;「來何遲也?」維正色流涕曰:「今日見此為速矣!」會甚奇之。) อรรถาธิบายจากจิ้นจี้ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 44.
- ↑ 36.0 36.1 36.2 ([永安六年]冬十月,蜀以魏見伐來告。 ... [十一月]甲申,使大將軍丁奉督諸軍向魏壽春,將軍留平別詣施績於南郡,議兵所向,將軍丁封、孫異如沔中,皆救蜀。蜀主劉禪降魏問至,然後罷。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 48.
- ↑ ([永安]六年,魏伐蜀,奉率諸軍向壽春,為救蜀之勢。蜀亡,軍還。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 55.
- ↑ (艾言司馬文王曰:「兵有先聲而後實者, ... 望風而從矣。」文王使監軍衞瓘喻艾:「事當須報,不宜輙行。」艾重言曰:「銜命征行, ... 終不自嫌以損于國也。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (世語曰:會善效人書,於劒閣要艾章表白事,皆易其言,令辭指悖傲,多自矜伐。又毀文王報書,手作以疑之也。) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (會內有異志,因鄧艾承制專事,密白艾有反狀,於是詔書檻車徵艾。司馬文王懼艾或不從命,勑會並進軍成都,監軍衞瓘在會前行,以文王手筆令宣喻艾軍,艾軍皆釋仗,遂收艾入檻車。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (艾父子旣囚,鍾會至成都,先送艾,然後作亂。會已死,艾本營將士追出艾檻車,迎還。瓘遣田續等討艾, ...) Sanguozhi vol. 28.
- ↑ (世語曰:師纂亦與艾俱死。纂性急少恩,死之日體無完皮。) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (... 乃詭說會曰:「聞君自淮南已來, ... 而從赤松游乎?」會曰:「君言遠矣,我不能行,且為今之道,或未盡於此也。」維曰:「其佗則君智力之所能,無煩於老夫矣。」由是情好歡甚。) อรรถาธิบายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในสามก๊กจี่ เล่มที่ 44.
- ↑ (會所憚惟艾,艾旣禽而會尋至,獨統大衆,威震西土。自謂功名蓋世,不可復為人下,加猛將銳卒皆在己手,遂謀反。欲使姜維等皆將蜀兵出斜谷,會自將大衆隨其後。旣至長安,令騎士從陸道,步兵從水道順流浮渭入河,以為五日可到孟津,與騎會洛陽,一旦天下可定也。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ "滅蜀記 [Mie Shu Ji]". www.books.com.tw (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 8 June 2018.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซันกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ฝาง เสฺวียนหลิง (648). จิ้นชู.
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
- ล่อกวนตง (คริสต์ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซันกั๋วเหยี่ยนอี้).
- Killigrew, John H. (2001), "A Case Study of Chinese Civil Warfare: The Cao-Wei Conquest of Shu-Han in AD 263", Civil Wars, 4 (4): 95–114, doi:10.1080/13698240108402489, S2CID 144705304
- Selected Examples of Battles in Ancient China (1st ed.). Beijing: Chinese Publishing House. 1984.
- Yuan, Tingdong (1988). War in Ancient China (1st ed.). Chengdu: Sichuan Academy of Social Science Publishing House. ISBN 7-80524-058-2.
- Zhang, Xiaosheng (1988). General View of War of Ancient China (1st ed.). Beijing: Long March Publishing House. ISBN 7-80015-031-3.