บังโฮย
บังโฮย (ผาง ฮุ่ย) | |
---|---|
龐會 | |
ขุนพลนายกองร้อยนครหลวง (中尉將軍 จงเว่ย์เจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
ขุนพลสงบโจร (平寇將軍 ผิงโค่วเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจมอ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ |
เสียชีวิต | ไม่ทราบ |
บุพการี |
|
ความสัมพันธ์ | พี่ชายและ/หรือน้องชาย 3 คน |
อาชีพ | ขุนพล |
บรรดาศักดิ์ | เลี่ยโหว (列侯) |
บังโฮย[1] (ราว ค.ศ. 219 – 263) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ผาง ฮุ่ย (จีน: 龐會; พินอิน: Páng Huì) เป็นขุนพลของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นบุตรชายของบังเต๊กขุนพลในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
ประวัติ
[แก้]บังโฮยเป็นอำเภอหฺวานเต้า (狟道縣 หฺวานเต้าเซี่ยน) เมืองลำอั๋นหรือลำหัน (南安郡 หนานอาน) มณฑลเลียงจิ๋ว (涼州 เหลียงโจว) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของอำเภอหล่งซี มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน เป็นบุตรชายคนหนึ่งของบังเต๊กขุนพลในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้รับใช้ขุนศึกโจโฉ บังโฮยยังมีบุคลิกลักษณะเหมือนบังเต๊กผู้บิดา[2]
หลังการเสียชีวิตของบังเต๊กในปี ค.ศ. 219 โจโฉแต่งตั้งให้บุตรชาย 2 คนของบังเต๊ก (ไม่มีการระบุชื่อของบุตรชาย 2 คนนี้) มีบรรดาศักดิ์ระดับเลี่ยโหว (列侯)[3] ต่อมาหลังจากโจผีบุตรชายของโจโฉขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิแห่งรัฐวุยก๊กในปี ค.ศ. 220 โจผีทรงแต่งตั้งให้บังโฮยและบุตรชายของบังเต๊กคนอื่น ๆ อีก 3 คนให้มีบรรดาศักดิ์ระดับกวนไล่เหา (關內侯 กวานเน่ย์โหว) ให้มีศักดินาคนละ 100 ครัวเรือน[4]
ในปี ค.ศ. 257 จูกัดเอี๋ยนขุนพลวุยก๊กก่อกบฏที่อำเภอฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; ปัจจุบันคืออำเภอโช่ว นครลู่อาน มณฑลอานฮุย) เพื่อต่อต้านสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแห่งวุยก๊ก ในเวลานั้นบังโฮยมีตำแหน่งเป็นขุนพลสงบโจร (平寇將軍 ผิงโค่วเจียงจฺวิน) และมีบรรดาศักดิ์หลินเว่ย์ถิงโหว (臨渭亭侯) บังโฮยไม่ต้องการเข้าร่วมกับจูกัดเอี๋ยนในก่อกบฏ จึงร่วมกับลู่ ฝาน (路蕃) ผู้เป็นขุนพลรองแม่ทัพทหารม้า (騎督偏將軍 ฉีตูเพียนเจียงจฺวิน) ในการใช้กำลังเปิดประตูออกจากอำเภอฉิวฉุน บังโฮยจึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเฮาระดับอำเภอ (鄉侯 เซียงโหว)[5]
ฉู่จี้ (蜀記) ที่เขียนโดยหวาง อิ่น (王隱) บันทึกว่าบังโฮยเข้าร่วมในการศึกพิชิตจ๊กก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊กในปี ค.ศ. 263 โดยบังโฮยอยู่ใต้บังคับบัญชาของจงโฮยขุนพลวุยก๊ก ภายหลังการล่มสลายของจ๊กก๊ก บังโฮยได้ฆ่ากวาดล้างตระกูลของกวนอูเพื่อแก้แค้นให้บังเต๊กผู้บิดาที่ถูกกวนอูสั่งประหารชีวิตในยุทธการที่อ้วนเสียเมื่อปี ค.ศ. 219[6] ภายหลังบังโฮยได้เชิญศพของบังเต๊กผู้บิดากลับมาฝังที่อำเภอเงียบกุ๋น (鄴 เย่)[7]
บังโฮยมีตำแหน่งสูงสุดเป็นขุนพลนายกองร้อยนครหลวง (中尉將軍 จงเว่ย์เจียงจฺวิน) และมีบรรดาศักดิ์ระดับเลี่ยโหว (列侯)[8]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ("แล้วบังเต๊กจึงเรียกนางลิซีผู้เปนภรรยามาแล้วจึงสั่งว่า ถ้าเราหาบุญไม่ บังโฮยบุตรชายของเรานี้มีลักษณะอันดี จงอุตส่าห์เลี้ยงไว้จะได้ไปรบกับกวนอูแทนตัวเรา") "สามก๊ก ตอนที่ ๕๙". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ January 7, 2025.
- ↑ (會勇烈有父風) สามก๊กจี่ เล่มที่ 18.
- ↑ (太祖聞而悲之,為之流涕,封其二子為列侯。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 18.
- ↑ (又賜子會等四人爵關內侯,邑各百戶。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 18.
- ↑ (己卯,詔曰:「諸葛誕造構逆亂,迫脅忠義,平寇將軍臨渭亭侯龐會、騎督偏將軍路蕃,各將左右,斬門突出,忠壯勇烈,所宜嘉異。其進會爵鄉侯,蕃封亭侯。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 4.
- ↑ (蜀記曰:龐德子會,隨鍾、鄧伐蜀,蜀破,盡滅關氏家。) อรรถาธิบายจากฉู่จี้ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
- ↑ (王隱《蜀記》曰:鍾會平蜀,前後鼓吹,迎德屍喪還葬鄴,冢中身首如生。) อรรถาธิบายจากฉู่จี้ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 18.
- ↑ (官至中尉將軍,封列侯。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 18.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).