การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย
ส่วนหนึ่งของ สงครามในยุคสามก๊ก
วันที่ค.ศ. 240–262
สถานที่
ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน (ส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลกานซู่และมณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน)
ผล วุยก๊กชนะ จ๊กก๊กล่าถอย
คู่สงคราม
จ๊กก๊ก
เผ่าตีและเกี๋ยง
วุยก๊ก
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เกียงอุย
เตียวเอ๊ก
อองเป๋ง
เลียวฮัว
ม้าตง
เตียวหงี 
แฮหัวป๋า (หลัง ค.ศ. 249)
เอาเจ้
กุยห้วย
แฮหัวป๋า (ก่อน ค.ศ. 249)
ต้านท่าย
ชิจิด 
หลี เจี่ยน Surrendered
เตงงาย
อองเก๋ง โทษประหารชีวิต
สุมาหู
สุมาปอง
การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย
อักษรจีนตัวเต็ม姜維北伐
อักษรจีนตัวย่อ姜维北伐
การทัพบุกทุ่งราบกลางเก้าครั้ง
อักษรจีนตัวเต็ม九伐中原
อักษรจีนตัวย่อ九伐中原

การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย (จีน: 姜維北伐) หมายถึงชุดการทัพ 11 ครั้งที่เป็นการบุกโดยรัฐจ๊กก๊กกระทำต่อรัฐอริวุยก๊กระหว่าง ค.ศ. 240 ถึง ค.ศ. 262 ในยุคสามก๊กของจีน การทัพนำโดยเกียงอุยขุนพลที่มีชื่อเสียงของจ๊กก๊ก ชุดการบุกขึ้นเหนือนี้แตกต่างจากการบุกขึ้นเหนือครั้งก่อน ๆ หน้าที่นำโดยจูกัดเหลียงซึ่งสามารถยึดเมืองปูเต๋าและอิมเป๋งเข้ามาในอาณาเขตของจ๊กก๊กได้ ในขณะที่การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุยไม่เป็นที่ชื่นชอบในทั้งหมู่ทหารและหมู่พลเรือนในจ๊กก๊ก และยังแตกต่างจาการบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียงซึ่งมักมีกำลังทหารจ๊กก๊ก 60,000 นายหรือบางครั้งถึง 100,000 นาย ในรขณะที่ของเกียงอุยมีมีกจำนวนน้อยกว่าไม่เกิน 30,000 นาย แม้ภายหลังการเสียชีวิตของบิฮุยซึ่งเกียงอุยได้เข้าควบคุมการบัญชาการทหาร ก่อนหน้านี้การบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียงประสบปัญหาด้านการขนส่งเสบียงสำหรับทัพขนาดใหญ่ เจียวอ้วนที่เป็นผู้สืบทอดอำนาจของจูกัดเหลียงเชื่อว่าภูมิประเทศที่เป็นแถบเทือกเขาของฮันต๋งเองที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้การทัพล้มเหลว จึงพยายามจะเปลี่ยนเส้นทางเดินทัพเป็นทางแม่น้ำฮั่นซุย บิฮุยซึ่งสิืบทอดอำนาจต่อจากเจียวอ้วนก็เห็นด้วยและไม่เคยยอมให้เปิดศึกใหญ่ที่ยกไปจากทางฮันต๋ง แต่เกียงอุยไม่สนใจข้อกังวลเหล่านี้และยังฮันต๋งเป็นฐานทัพหลักเช่นเดียวกับที่จูกัดเหลียงเคยทำ

ท้ายที่สุดในการทัพแต่ละครั้งก็ถูกยกเลิกไปเนื่องจากเสบียงอาหารไม่เพียงพอ ความสูญเสียอย่างหนักในสนามรบ หรือเหตุผลอื่น ๆ การทัพเหล่านี้เป็นการผลาญทรัพยากรที่มีจำกัดอยู่แล้วในจ๊กก๊ก และนำไปสู่การล่มสลายของจ๊กก๊กในปี ค.ศ. 263

ในวัฒนธรรมประชานิยมและในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กในศตวรรษที่ 14 การทัพเหล่านี้ถกเรียกถึงอย่างไม่ถูกต้องว่า "การทัพบุกทุ่งราบกลางเก้าครั้ง" (九伐中原 จิ่วฝาจง-ยฺเหวียน) การเรียกนี้ไม่ถูกต้องเพราะแท้จริงแล้วมีการทัพ 11 ครั้งแทนที่จะเป็น 9 ครั้ง และยุทธการเหล่านี้เกิดขึ้นในสถานที่ที่ห่างไกลจากทุ่งราบกลาง

โหมโรง[แก้]

ในปี ค.ศ. 227 แผ่นดินจีนถูกแบ่งเป็น 3 รัฐที่สู้รบกัน ได้แก่ รัฐวุยก๊ก จ๊กก๊ก และง่อก๊ก แต่ละรัฐมีความมุ่งหมายจะรวบรวมดินแดนของราชวงศ์ฮั่นที่ล่มสลายไปให้กลับรวมเป็นหนึ่งภายใต้การปกครองของตน ระหว่างปี ค.ศ. 228 และ ค.ศ. 234 จูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของจ๊กก๊กได้นำการทัพ 5 ครั้งเข้าโจมตีวุยก๊ก แต่ท้ายที่สุดของการทัพแต่ละครั้งจบด้วยความไม่สำเร็จ และผลโดยภาพรวมก็อยู่ในภาวะคุมเชิงกัน จูกัดเหลียงป่วยเสียชีวิตระหว่างการทัพครั้งที่ 5 ในปี ค.ศ. 234 หลังการเสียชีวิตจองจูกัดเหลียง เจียวอ้วนและบิฮุยซึ่งสืบทอดอำนาจต่อจากจูกัดเหลียงในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของจ๊กก๊ก ได้ยุตินโยบายแข็งกร้าวต่อวุยก๊กแล้วหันไปมุ่งเน้นนโยบายภายในและการพัฒนาภายในมากขึ้น มีช่วงเวลาแห่งความสงบระหส่างจ๊กก๊กและวุยก๊กยาว 6 ปีจนถึงปี ค.ศ. 240 เมื่อเกียงอุยขุนพลจ๊กก๊กตัดสินใจสานต่อปณิธานของจูกัดเหลียงและโจมตีวุยก๊กต่อไป

การบุกครั้งแรก (ค.ศ. 240)[แก้]

ลำดับเหตุการณ์การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย[1]
ช่วงเวลาโดยประมาณ สถานที่ เหตุการณ์
240 นครติ้งซี มณฑลกานซู่ การบุกขึ้นเหนือครั้งแรก:
247 มณฑลกานซู่และมณฑลชิงไห่ การบุกขึ้นเหนือครั้งที่สอง:
  • ชนเผ่าเกี๋ยงก่อกบฏต่อต้านการปกครองของวุยก๊กในเมืองหลงเส, ลำอั๋น, กิมเสีย และเสเป๋ง
  • เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กไปสนับสนุนกบฏชนเผ่าเกี๋ยง
  • กุยห้วยและแฮหัวป๋าตีทัพเกียงอุยแตกพ่ายกลับไปและปราบปรามกบฏชนเผ่าเกี๋ยง
248 มณฑลกานซู่, มณฑลชิงไห่ และมองโกเลียใน
  • กุยห้วยปราบกบฏชนเผ่าเกี๋ยงภายใต้การนำของเอ๋อเจอซายและจื้ออู่ต้ายในอำเภอเหอกวาน, ไป๋ถู่ และหลงอี๋
  • การบุกขึ้นเหนือครั้งที่ 3: เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กมาสนับสนุนจื้ออู่ต้าย โดยให้เลียวฮัวอยู่รักษาเขาเฉิงจ้ง เมื่อกุยห้วยเข้าโจมตีเลียวฮัว เกียงอุยจึงต้องถอยกลับมาช่วยเลียวฮัวและล้มเหลวในการสมทบกับจื้ออู่ต้าย
6 ก.พ. – 1 มี.ค. 249 แฮหัวป๋าแปรพักตร์ไปเข้าด้วยจ๊กก๊กหลังอุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลงเมื่อวันที่ 5 ก.พ.
ป. ก.ย. – พ.ย. 249 มณฑลกานซู่, มณฑลฉ่านซี และมณฑลเสฉวน การบุกขึ้นเหนือครั้งที่สี่:
  • เกียงอุยโจมตีมณฑลยงจิ๋วและสร้างป้อมปราการ 2 แห่งที่เขาก๊กสัน
  • ต้านท่าย, ชิจิด และเตงงายยึดป้อมปราการ 2 แห่งที่ก๊กสัน
  • เกียงอุยแสร้งถอยทัพและส่งเลียวฮัวไปโจมตีเตงงายที่ไป๋ฉุ่ยและเบี่ยงเบนความสนใจ เตงงายรู้ว่าแท้จริงแล้วเกียงอุยมีเป้าหมายจะตีเถาเฉิงจึงส่งกำลังไปเสริมที่เถาเฉิง เกียงอุยไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากถอยทัพ
250 มณฑลชิงไห่ การบุกขึ้นเหนือครั้งที่ห้า: เกียงอุยโจมตีเมืองเสป๋งและล่าถอยหลังยึดไม่สำเร็จ
16 ก.พ. – 17 มี.ค. 253 นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน บิฮุยถูกลอบสังหารโดยกัว ซิวที่เป็นผู้แปรพักตร์จากวุยก๊ก
14 มิ.ย. – 9 ก.ย. 253 นครเหอเฝย์ มณฑลอานฮุย ยุทธการที่หับป๋า: เตียวเต๊กป้องกันหับป๋าจากการโจมตีของจูกัดเก๊กได้สำเร็จ
ตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกานซู่ การบุกขึ้นเหนือครั้งที่หก:
2 – 31 ก.ค. 254 ตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกานซู่ การบุกขึ้นเหนือครั้งที่เจ็ด:
  • เกียงอุยโจมตีเมืองหลงเส
  • หลี เจี่ยนแปรพักตร์และยอมยกเต๊กโตเสียให้จ๊กก๊ก
  • ยุทธการที่อำเภอเซียงอู่: เตียวหงีและชิจิดถูกสังหารในที่รบ
  • ทัพจ๊กก๊กยึดเต๊กโตเสีย, เหอกวาน และหลิมเอีย แล้วกวาดต้อนราษฎรไปยังอาณาเขตของจ๊กก๊ก
18 ก.ย. – 11 พ.ย. 255 ตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกานซู่ การบุกขึ้นเหนือครั้งที่แปด: ยุทธการที่เต๊กโตเสีย
8 ส.ค. – 6 ก.ย. 256 ตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกานซู่ การบุกขึ้นเหนือครั้งที่เก้า: เตงงายขับไล่การรุกรานที่นำโดยเกียงอุย
ป. มิ.ย. 257 – มี.ค./เม.ย. 258 อำเภอโช่ว มณฑลอานฮุย กบฏจูกัดเอี๋ยน: จูกัดเอี๋ยนเริ่มก่อกบฏต่อวุยก๊กในฉิวฉุนโดยได้รับการสนับสนุนจากง่อก๊ก แต่ในที่สุดกบฏก็ถูกทัพวุยก๊กปราบปราม
มณฑลกานซู่และมณฑลฉ่านซี การบุกขึ้นเหนือครั้งที่สิบ: เกียงอุยโจมตีกองทหารรักษาการณ์ของวุยก๊กใกล้เตียงเสียหรือกำแพงเมืองจีน สุมาปองและเตงงายนำทหารเข้าล้อมเกียงอุยแต่ไม่ยกเข้ารบ เกียงอุยล่าถอยไปหลังทราบข่าวว่ากบฏจูกัดเอี๋ยนล้มเหลว
30 ต.ค. – 28 พ.ย. 262 ตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกานซู่ การบุกขึ้นเหนือครั้งที่สิบเอ็ด: เตงงายรบชนะเกียงอุยที่อำเภอโหวเหอ เกียงอุยล่าถอยไปยังท่าจง

ในปี ค.ศ. 240 เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กเข้าโจมตีเมืองหลงเส (隴西郡 หล่งซี-จฺวิ้น) ซึ่งอยู่ในอาณาเขตของวุยก๊ก กุยห้วยขุนพลวุยก๊กจึงนำทัพเข้าโจมตีข้าศึกและขับไล่ไปถึงอาณาเขตของชนเผ่าเกี๋ยง (羌 เชียง) เกียงอุยนำกำลังล่าถอยกลับจ๊กก๊ก ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น กุยห้วยเข้าโจมตีชนเผ่าเกี๋ยงที่นำโดยปีต๋อง (迷當 หมีตาง) และเอาชนะได้ ตระกูลชนเผ่าตี มากกว่า 3,000 ตระกูลยอมสวามิภักดิ์ต่อกุยห้วย กุยห้วยให้ย้ายทั้งหมดไปอยู่ภูมิภาคกวนต๋ง (關中 กวานจง; ปัจจุบันคือตอนกลางของมณฑลฉ่านซี)[ซานกั๋วจื้อ 1]

การบุกครั้งที่สอง (ค.ศ. 247)[แก้]

ในปี ค.ศ. 247 ชนเผ่าเกี๋ยงนำโดยโงโห (餓何 เอ้อเหอ), เสียวกั้ว (燒戈 เชาเกอ)[a] ฝาถง (伐同), เอ๋อเจอซาย (蛾遮塞) และคนอื่น ๆ เริ่มก่อกบฏต่อวุยก๊กในสี่เมืองคือหลงเส (隴西 หล่งซี; ปัจจุบันอยู่บริเวณนครติ้งซี มณฑลกานซู่), ลำอั๋น (南安 หนานอาน; ปัจจุบันอยู่บริเวณอำเภออู่ชาน มณฑลกานซู่), กิมเสีย (金城 จินเฉิง; ปัจจุบันอยู่บริเวณนครหลานโจว มณฑลกานซู่) และเสเป๋ง (西平 ซีผิง; ปัจจุบันอยู่บริเวณนครซีนิง มณฑลชิงไห่) เข้าโจมตีหลายเมืองและหลายอำเภอในพื้นที่ และเรียกร้องให้ทัพจ๊กก๊กมาช่วยสนับสนุน[ซานกั๋วจื้อ 2]

ไป๋หู่เหวิน (白虎文) และจื้ออู๋ต้าย (治無戴) ประมุขชนเผ่าที่มีอิทธิพล 2 คนในมณฑลเลียงจิ๋วตอบรับร่วมการก่อกบฏต่อวุยก๊ก เมื่อเกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กไปยังมณฑลเลียงจิ๋วเพื่อสนับสนุนกบฏชาวเกี๋ยง ไป๋หู่เหวินและจื้ออู๋ต้ายก็เข้าด้วยกับเกียงอุย[จือจื้อทงเจี้ยน 1]

ราชสำนักวุยก๊กมีคำสั่งให้แฮหัวป๋านำกองกำลังไปรักษาการณ์ที่ด้านข้าง เมื่อกุยห้วยนำกองทัพมายังเต๊กโตเสีย (狄道 ตี๋เต้า; อยู่บริเวณอำเภอหลินเถา มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ที่ปรึกษาของกุยห้วยแนะนำว่าควรเข้าโจมตีอำเภอ ฝูห่าน (枹罕縣 ฝูห่านเซี่ยน; ปัจจุบันอยู่ในอำเภอหลินเซี่ย มณฑลกานซู่) และสยบเผ่าเกี๋ยงก่อนที่จะจัดการกับทัพจ๊กก๊กที่รุกเข้ามา กุยห้วยคาดการณ์ว่าเกียงอุยจะโจมตีที่ตั้งของแฮหัวป๋า จึงมุ่งลงใต้ไปเสริมกำลังให้แฮหัวป๋า เกียงอุยเข้าโจมตีแฮหัวป๋าที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าซุย (洮水 เถาฉุ่ย) ตามที่กุยห้วยคาดไว้ แต่เกียงอุยก็ต้องล่าถอยเมื่อกุยห้วยนำกำลังเสริมมาถึง จากนั้นกุยห้วยจึงยกเข้าโจมตีกบฏเผ่าเกี๋ยง สังหารโงโหและเสียวกั้ว และบีบให้ทัพตระกูลชนเผ่าเกี๋ยงหลายพันนายยอมจำนน[ซานกั๋วจื้อ 3][ซานกั๋วจื้อ 4]

การบุกครั้งที่สาม (ค.ศ. 248)[แก้]

ในปี ค.ศ. 248 เอ๋อเจอซาย (蛾遮塞) และกบฏชนเผ่าเกี๋ยงก่อกบฏยึดป้อมปราการในอำเภอเหอกวาน (河關; ในบริเวณใกล้เคียงกับนครติ้งซี มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และอำเภอไป๋ถู่ (白土; ในอำเภอหมินเหอ มณฑลชิงไห่ในปัจจุบัน) และใช้ในการป้องกันทัพวุยก๊กที่ยกข้ามแม่น้ำเจ้าซุย (洮水 เถาฉุ่ย) กุยห้วยแสร้งทำเป็นว่ากำลังจะเข้าโจมตีจากต้นน้ำ แต่แท้จริงแล้วลอบสั่งกองกำลังให้ข้ามแม่น้ำที่ปลายน้ำเพื่อเข้าโจมตีไป๋ถู่ การโจมตีสำเร็จและฝ่ายกบฏถูกตีแตกพ่าย จื้ออู่ต้าย (治無戴) นำทัพชนเผ่าของตนเข้าโจมตีเมืองอู่เวย์ (武威郡 อู่เวย์จฺวิ้น) โดยให้ครอบครัวยังอยู่ที่เมืองซีไห่ (西海郡 ซีไห่จฺวิ้น; ใกล้กับแอ่งทะเลสาบจฺวีเหยียน มองโกเลียใน) เมื่อกุยห้วยทราบเรื่องนี้จึงนำกองกำลังเข้าโจมตีเมืองซีไห่ แต่ก็พบเข้ากับทัพของจื้ออู่ต้ายซึ่งกำลังยกกลับจากเมืองอู่เวย์ สองทัพปะทะบนทางเหนือของอำเภอหลงอี๋ (龍夷縣 หลงอี๋เซี่ยน; ทางตะวันตกของอำเภอหฺวาง-ยฺเหวียน มณฑลชิงไห่ในปัจจุบัน) ทัพวุยก๊กได้รับชนะและทัพของจื้ออู่ต้านล่าถอย[ซานกั๋วจื้อ 5]

เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กจากฉืออิ๋ง (石營; อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอซีเหอ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ไปยังเฉียงชฺวาน (彊川; ทางตะวันตกของอำเภอหลินถาน มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) เพื่อจะสมทบกับทัพจื้ออู่ต้ายที่กำลังล่าถอย โดยเกียงอุยให้เลียวฮัวอยู่รักษาเขาเฉิงจ้ง (成重山 เฉิงจ้งชาน; อยู่ทางตะวันตกของอำเภอหลินเถา มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) เพื่อสร้างป้อมปราการ รวบรวมกำลังชาวเกี๋ยงที่เหลืออยู่ และคุมตัวไว้เป็นตัวประกันในป้อม เมื่อกุยห้วยทราบเรื่องที่เกียงอุยนำทัพมา กุยห้วยต้องการจะแบ่งทัพของตนออกเป็น 2 กองเพื่อโจมตีข้าศึก แต่เหล่านายทหารของกุยห้วยมีความเห็นที่แตกต่างออกไป โดยคาดว่าเกียงอุยจะมุ่งหน้าไปทางตะวันตกเพื่อสมทบกับจื้ออู่ต้ายและรวมกำลังเข้าด้วยกัน ในขณะที่เลียวฮัวยังคงอยู่ป้องกันฐานที่มั่นของจ๊กก๊กที่เขาเฉิงจ้ง หากแบ่งทัพออกเป็น 2 ส่วน พลังโจมตีจะลดลงอย่างมากและอาจจบลงด้วยสถานการณ์ที่ไม่อาจต้านเกียงอุยหรือยึดฐานที่มั่นของเลียวฮัวได้ เหล่านายทหารจึงโน้มน้าวกุยห้วยให้มุ่งเน้นไปทีการบุกไปทางตะวันตกเพื่อโจมตีเกียงอุยและจื้ออู่ต้ายแยกกันก่อนที่ทั้งคู่จะเข้าสมทบกันได้[ซานกั๋วจื้อ 6]

กุยห้วยยืนกรานจะใช้แผนแรกโดยกล่าวว่า "หากเราโจมตีเลียวฮัว จะทำให้ข้าศึกที่ไม่ทันตั้งตัวได้ เกียงอุยจะต้องหันกลับมาช่วยเลียวฮัวอย่างแน่นอน เมื่อถึงเวลาที่เกียงอุยกลับมาถึง เราก็เอาชนะเลียวฮัวได้แล้ว ทำเช่นนี้แล้วจะทำให้เกียงอุยและทหารเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไป ๆ มา ๆ หากเกียงอุยไม่พบกับพวกอนารยชนแล้ว พวกอนารยชนก็จะล่าถอยไปเอง นี่เป็นแนวทางที่ดีที่สุด" กุยห้วยจึงมอบหมายให้แฮหัวป๋านำกองกำลังแยกไล่ตามเกียงอุยไปถึงท่าจง (沓中; ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอโจวชฺวี มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ขณะที่ตัวกุยห้วยนำอีกกองกำลังเข้าโจมตีเลียวฮัว เกียงอุยหันกลับมาช่วยเหลือเลียวฮัวจริง ๆ ตามที่กุยห้วยคาดการณ์ไว้ และล้มเหลวในการสมทบกับจื้ออู่ต้าย[ซานกั๋วจื้อ 7]

การบุกครั้งที่สี่ (ค.ศ. 249)[แก้]

ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 249 โจซองผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของวุยก๊กถูกปลดและถูกประหารชีวิตในเหตุการณ์รัฐประหารที่ก่อขึ้นโดยสุมาอี้ที่เป็นผู้สำเร็จราชการร่วมและเข้ากุมอำนาจของราชสำนักวุยก๊กอย่างสมบูรณ์ ในเวลานั้นแฮหัวป๋าเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของแฮเฮาเหียนผู้ดำรงตำแหน่งขุนพลโจมตีภาคตะวันตก (征西將軍 เจิงซีเจียงจฺวิน) แฮเฮาเหียนเป็นญาติของทั้งแฮหัวป๋าและโจซอง หลังการเสียชีวิตของโจซอง สุมาอี้เรียกตัวแฮเฮาเหียนกลับมายังนครหลวงลกเอี๋ยง แล้วให้กุยห้วยมาดำรงตำแหน่งแทน กุยห้วยจึงกลายเป็นผู้บังคับบัญชาคนใหม่ของแฮหัวป๋า แฮหัวป๋าไม่ถูกกันกับกุยห้วยมาโดยตลอดจึงกลัวว่าตนจะมีชะตากรรมเหมือนโจซอง แฮหัวป๋าจึงหนีและแปรพักตร์ไปเข้าด้วยจ๊กก๊ก[ซานกั๋วจื้อ 8][จือจื้อทงเจี้ยน 2]

ในฤดูใบไม้ร่วง เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กโจมตีมณฑลยงจิ๋วในอาณาเขตของวุยก๊ก ให้สร้างป้อมปราการสองแห่งที่เขาก๊กสัน (麴山 ชฺวีชาน; ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอหมิน มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และสั่งให้นายทหารกุอั๋น (句安 โกว อาน) และลิหิม (李歆 หลี่ ซิน) อยู่รักษาทั้งสองป้อม เกียงอุยยังให้ติดต่อกับชนเผ่าเกี๋ยงและขอให้ช่วยคุกคามเมืองต่าง ๆ ในมณฑลยงจิ๋ว กุยห้วยปรึกษากับต้านท่ายข้าหลวงมณฑลยงจิ๋วถึงวิธีการรับมือการบุกของจ๊กก๊ก ต้านท่ายกล่าวว่า "ป้อมปราการที่ก๊กสันคงมีการป้องกันเป็นอย่างดี แต่เส้นทางที่นำไปสู่จ๊กนั้นยากแก่การสัญจร ดังนั้นพวกเขาจึงต้องการเสบียงที่มีปริมาณเพียงพอ เผ่าเกี๋ยงก็กังวลเรื่องจุดอ่อนนี้ของทัพจ๊ก พวกเขาจึงอาจไม่เต็มใจช่วยจ๊ก หากเราล้อมป้อมปราการและเข้าโจมตี เราจะสามารถเข้ายึดได้โดยง่าย แม้ว่าเมื่อกำลังเสริมของจ๊กมาถึง ภูมิประเทศเทือกเขาอันอันตรายก็จะทำให้พวกเขาหมดแรง"[จือจื้อทงเจี้ยน 3][ซานกั๋วจื้อ 9]

กุยห้วยจึงสั่งให้ต้านท่าย ชิจิด และเตงงายนำทัพวุยก๊กเข้าโจมตีป้อมปราการที่ก๊กสันและตัดทางเสบียงและน้ำ กุอั๋นและลิหิมนำทหารของตนไปยั่วยุเตงงายให้เข้าโจมตีพวกตน แต่เตงงายเพิกเฉย เมื่อเวลาผ่านไป เสบียงของทั้งสองป้อมปราการก็ค่อย ๆ หมด เกียงอุยนำกองกำลังของตนจากเขางิวเทาสัน (牛頭山 หนิวโถวชาน; อยู่ทางตะวันตกของเขตเจาฮฺว่า นครกว่าง-ยฺเหวียน มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) เพื่อไปเสริมกำลังให้ป้อมปราการ ระหว่างก็พบเข้ากับกองกำลังของต้านท่าย ต้านท่ายกล่าวว่า "พิชัยสงครามซุนจื่อกล่าวว่าวิธีการที่ดีที่สุดในการชนะศึกคือการชนะโดยไม่ต้องรบ หากเรายึดเขางิวเทาสันได้ ทางถอยของเกียงอุยก็จะถูกปิดผนึก เราก็จะจับตัวได้โดยง่าย" ต้านท่ายจึงสั่งกองกำลังของตนให้สร้างป้อมปราการต้านทัพของเกียงอุยแต่ไม่ออกโจมตีข้าศึก เวลาเดียวกันต้านท่ายยังเขียนหนังสือไปถึงกุยห้วย ขอให้ช่วยโจมตีเขางิวเทาสัน กุยห้วยทำตามนั้นและนำกองกำลังข้ามแม่น้ำเจ้าซุยเตรียมเข้าตีเขางิวเทาสัน[ซานกั๋วจื้อ 10][จือจื้อทงเจี้ยน 4]

หลังจากเกียงล่าถอย กุอั๋นและลิหิมก็ถูกทอดทิ้งโดดเดี่ยวที่ป้อมปราการที่ก๊กสัน ทั้งคู่ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากยอมจำนนต่อข้าศึก[ซานกั๋วจื้อ 11] จากนั้นกุยห้วยจึงนำกองกำลังไปทางตะวันตกเพื่อโจมตีชนเผ่าเกี๋ยงที่กำลังสับสน และบีบในชนเผ่าเกี๋ยงยอมจำนน[จือจื้อทงเจี้ยน 5] เตงงายเตือนกุยห้วยว่า "ข้าศึกไม่ได้ล่าถอยไปไกล พวกเขาอาจจะหันกลับมาโจมตีเราอีก เราควรแบ่งทัพของเราเผื่อพวกเขาโจมตีเราอีกครั้ง"[ซานกั๋วจื้อ 12]

เตงงายยังคงรักษาการณ์อยู่ทางเหนือของไป๋ฉุ่ย (白水; ปัจจุบันคืออำเภอชิงชฺวาน มณฑลเสฉวน) สามวันต่อมา เกียงอุยส่งเลียวฮัวนำทัพเข้าใกล้ค่ายของเตงงายจากทางใต้ของไป๋ฉุ่ย เตงงานบอกกับเหล่านายทหารว่า "เกียงอุยหันกลับมาโจมตีเรา เรามีกำลังน้อย ตามหลักแล้วเราควรข้ามแม่น้ำและไม่สร้างสะพาน ข้าเห็นว่าเกียงอุยจะต้องส่งเลียวฮัวมาขัดขวางเราเพื่อบีบให้เรายังอยู่ที่นี่ ในขณะที่เกียงอุยเข้าโจมตีเถาเฉิง (洮城; อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอหมิน มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) จากทางตะวันออก" เถาเฉิงตั้งอยู่ทางเหนือของแม่น้ำและห่างจากที่ตั้งของเตงงายราว 60 หลี่ เตงงายแบ่งกองกำลังให้เดินทัพตลอดคืนไปยังเถาเฉิงเพื่อป้องกันป้อมปราการ เกียงอุยข้ามแม่น้ำมาโจมตีเถาเฉิงตามที่เตงงายคาดการณ์ไว้ แต่ยึดป้อมปราการไม่สำเร็จเพราะเตงงายได้เสริมกำลังป้องกันไว้แล้ว เกียงอุยเห็นว่าไม่มีทางเลือกอื่นจึงถอยทัพกลับจ๊กก๊ก[ซานกั๋วจื้อ 13]

การบุกครั้งที่ห้า (ค.ศ. 250)[แก้]

ในปี ค.ศ. 250 เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กโจมตีเมืองเสเป๋ง (西平郡 ซีผิงจฺวิ้น; ปัจจุบันอยู่บริเวณนครซีหนิง มณฑลชิงไห่) เกียงอุยถอยทัพหลังจากยึดเมืองเสเป๋งไม่สำเร็จ[ซานกั๋วจื้อ 14][จือจื้อทงเจี้ยน 6]

การบุกครั้งที่หก (ค.ศ. 253)[แก้]

การบุกครั้งที่เจ็ด (ค.ศ. 254)[แก้]

การบุกครั้งที่แปด (ค.ศ. 255)[แก้]

การบุกครั้งที่เก้า (ค.ศ. 256)[แก้]

การบุกครั้งที่สิบ (ค.ศ. 257-258)[แก้]

การบุกครั้งที่สิบเอ็ด (ค.ศ. 262)[แก้]

ผลสืบเนื่อง[แก้]

ในนิยายสามก๊ก[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) ในศตวรรษที่ 14 โงโหและเสียวกั้วถูกรวมเข้าเป็นตัวละครเดียวกันคือโงโหเสียวกั้ว ซึ่งมีบทบาทในตอนที่ 109 แต่ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 80 เรียกแยกเป็น "โงโห" และ "เสียวกั้ว" สองคนเหมือนกับในจดหมายเหตุสามก๊ก

อ้างอิง[แก้]

อ้างอิงจากจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ)
  1. (正始元年,蜀將羌維出隴西。淮遂進軍,追至彊中,維退,遂討羌迷當等,案撫柔氐三千餘落,拔徙以實關中。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
  2. (八年,隴西、南安、金城、西平諸羌餓何、燒戈、伐同、蛾遮塞等相結叛亂,攻圍城邑,南招蜀兵,涼州名胡治無戴復叛應之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
  3. (討蜀護軍夏侯霸督諸軍屯為翅。淮軍始到狄道,議者僉謂宜先討定枹罕,內平惡羌,外折賊謀。淮策維必來攻霸,遂入渢中,轉南迎霸。維果攻為翅,會淮軍適至,維遁退。進討叛羌,斬餓何、燒戈,降服者萬餘落。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
  4. (十年, ... 又出隴西、南安、金城界,與魏大將軍郭淮、夏侯霸等戰於洮西。胡王治無戴等舉部落降,維將還安處之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
  5. (九年,遮塞等屯河關、白土故城,據河拒軍。淮見形上流,密於下渡兵據白土城,擊,大破之。治無戴圍武威,家屬留在西海。淮進軍趨西海,欲掩取其累重,會無戴折還,與戰於龍夷之北,破走之。令居惡虜在石頭山之西,當大道止,斷絕王使。淮還過討,大破之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
  6. (姜維出石營,從彊川,乃西迎治無戴,留陰平太守廖化於成重山築城,斂破羌保質。淮欲分兵取之。諸將以維衆西接彊胡,化以據險,分軍兩持,兵勢轉弱,進不制維,退不拔化,非計也,不如合而俱西,及胡、蜀未接,絕其內外,此伐交之兵也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
  7. (淮曰:「今往取化,出賊不意,維必狼顧。比維自致,足以定化,且使維疲於奔命。兵不遠西,而胡交自離,此一舉而兩全之策也。」乃別遣夏侯霸等追維於沓中,淮自率諸軍就攻化等。維果馳還救化,皆如淮計。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
  8. (十二年春正月,魏誅大將軍曹爽等,右將軍夏侯霸來降。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 33.
  9. (... 泰曰:「麴城雖固,去蜀險遠,當須運糧。羌夷患維勞役,必未肯附。今圍而取之,可不血刃而拔其城;雖其有救,山道阻險,非行兵之地也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
  10. (淮從泰計,使泰率討蜀護軍徐質、南安太守鄧艾等進兵圍之,斷其運道及城外流水。安等挑戰,不許,將士困窘,分糧聚雪以稽日月。維果來救,出自牛頭山,與泰相對。泰曰:「兵法貴在不戰而屈人。今絕牛頭,維無反道,則我之禽也。」勑諸軍各堅壘勿與戰,遣使白淮,欲自南渡白水,循水而東,使淮趣牛頭,截其還路,可并取維,不惟安等而已。淮善其策,進率諸軍軍洮水。維懼,遁走,安等孤縣,遂皆降。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
  11. (秋,衞將軍姜維出攻雍州,不克而還。將軍句安、李韶降魏。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 33.
  12. (嘉平元年,與征西將軍郭淮拒蜀偏將軍姜維。維退,淮因西擊羌。艾曰:「賊去未遠,或能復還,宜分諸軍以備不虞。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
  13. (於是留艾屯白水北。三日,維遣廖化自白水南向艾結營。艾謂諸將曰:「維今卒還,吾軍人少,法當來渡而不作橋。此維使化持吾,令不得還。維必自東襲取洮城。」洮城在水北,去艾屯六十里。艾即夜潛軍徑到,維果來渡,而艾先至據城,得以不敗。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
  14. (十三年,姜維復出西平,不克而還。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 33.
อ้างอิงจากอรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้)
อ้างอิงจากจือจื้อทงเจี้ยน
  1. (是歲,雍、涼羌胡叛降漢,漢姜維將兵出隴右以應之,與雍州刺史郭淮、討蜀護軍夏侯霸戰于洮西。胡王白虎文、治無戴等率部落降維,維徙之入蜀。淮進擊羌胡餘黨,皆平之。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75.
  2. (初,右將軍夏侯霸為曹爽所厚,以其父淵死於蜀,常切齒有報仇之志,為討蜀護軍,屯於隴西,統屬征西。征西將軍夏侯玄,霸之從子,爽之外弟也。爽旣誅,司馬懿召玄詣京師,以雍州刺史郭淮代之。霸素與淮不叶,以為禍必相及,大懼,遂奔漢。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75.
  3. (秋,漢衞將軍姜維寇雍州,依麴山築二城,使牙門將句安、李歆等守之,聚羌胡質任,侵偪諸郡;征西將軍郭淮與雍州刺史陳泰禦之。泰曰:「麴城雖固,去蜀險遠,當須運糧;羌夷患維勞役,必未肯附。今圍而取之,可不血刃而拔其城;雖其有救,山道阻險,非行兵之地也。」) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75.
  4. (淮乃使泰率討蜀護軍徐質、南安太守鄧艾進兵圍麴城,斷其運道及城外流水。安等挑戰,不許,將士困窘,分糧聚雪以引日月。維引兵救之,出自牛頭山,與泰相對。泰曰:「兵法貴在不戰而屈人。今絕牛頭,維無反道,則我之禽也。」敕諸軍各堅壘勿與戰,遣使白淮,使淮趣牛頭截其還路。淮從之,進軍洮水。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75.
  5. (維懼,遁走,安等孤絕,遂降。淮因西擊諸羌。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75.
  6. (漢姜維復寇西平,不克。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75.
อ้างอิงอื่น ๆ
  1. จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26, 33 และ 44 และจือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75–78.

บรรณานุกรม[แก้]