ยุทธการที่อ้วนเสีย (ค.ศ. 241)
ยุทธการที่อ้วนเสีย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามในยุคสามก๊ก | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
วุยก๊ก | ง่อก๊ก | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
สุมาอี้ เฮาจิด |
จูเหียน จูกัดกิ๋น | ||||||
กำลัง | |||||||
ไม่ทราบ | 100,000+ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ไม่ทราบ | 10,000+ |
ยุทธการที่อ้วนเสีย | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 樊城之戰 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 樊城之战 | ||||||
|
ยุทธการที่อ้วนเสีย (จีน: 樊城之戰) เป็นการรุกทางการทหารในปี ค.ศ. 241 โดยรัฐง่อก๊กต่อรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน การทัพริเริ่มโดยซุนกวนจักรพรรดิผู้ก่อตั้งรัฐง่อก๊กเมื่อ 2 ปีหลังจากการสวรรคตของโจยอยจักรพรรดิลำดับที่สองของวุยก๊ก การทัพสิ้นสุดด้วยความพ่ายแพ้ของทัพง่อก๊ก
โหมโรง
[แก้]ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 241 ซุนกวนเตรียมการเปิดศึกต่อรัฐวุยก๊ก อิน จ๋า (殷札) เจ้าเมืองง่อกุ๋น (吳郡 อู๋จฺวิ้น) แนะนำซุนกวนให้โจมตีวุยก๊กโดยประสานกับจ๊กก๊กที่เป็นรัฐพันธมิตรของง่อก๊ก ตามแผนที่อิน จ๋าเสนอ ทัพของจ๊กก๊กจะโจมตีวุยก๊กจากทางด้านตะวันตกของเตียงฮัน ส่วนทัพง่อก๊กจะโจมตีวุยก๊กสามทิศทาง ได้แก่ จูกัดกิ๋นและจูเหียนโจมตีซงหยง (襄陽 เซียงหยาง) ลกซุนโจมตีฉิวฉุน (壽春 โซ่วชุน; ปัจจุบันคืออำเภอโซ่ว มณฑลอานฮุย) ซุนกวนโจมตีแถบแม่น้ำห้วย (淮河 หฺวายเหอ) และเข้ามณฑลชีจิ๋ว อิน จ๋าอธิบายว่าการทัพที่ประสานงานกันเช่นนี้จะบั่นทอนการป้องกันของวุยก๊กลงเพราะวุยก๊กจะไม่สามารถป้องกันการโจมตีจากสองแนวรบได้ อย่างไรก็ตาม ซุนกวนไม่ได้ปฏิบัติตามแผนของอิน จ๋า[1]
ยุทธการ
[แก้]ในช่วงระหว่างวันที่ 28 เมษายนถึง 27 พฤษภาคม ทัพง่อก๊กโจมตีวุยก๊กจากสี่ทิศทาง จวนจ๋องโจมตีอาณาบริเวณแถบแม่น้ำห้วยและปะทะกับทัพวุยก๊กที่เชฺว่เปย์ (芍陂; ทางใต้ของอำเภอโช่ว มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) จูกัดเก๊กโจมตีลู่อาน (六安) จูเหียนและซุน หลุน (孫倫) โจมตีอ้วนเสีย (樊城 ฝานเฉิง; ปัจจุบันคือเขตฝานเฉิง นครเซียงหยาง มณฑลหูเป่ย์) จูกัดกิ๋นและเปาจิดโจมตีจาจง (柤中; อยู่ในนครเซียงหยาง มณฑลหูเป่ย์ในปัจจุบัน)
เฮาจิด (胡質 หู จื้อ) ตอบสนองต่อการบุกของง่อก๊ก โดยนำกำลังทหารเกราะเบาจากมณฑลเกงจิ๋วไปเสริมกำลังให้กับอ้วนเสีย มีบางคนเตือนเฮาจิดว่าทัพง่อก๊กที่กำลังโจมตีอ้วนเสียมีจำนวนทหารเหนือกว่าและแนะนำให้หลีกเลี่ยงการปะทะ แต่เฮาจิดกล่าวว่า "การป้องกันที่อ้วนเสียนั้นอ่อนแอ เราควรรุดหน้าไปที่นั่นเพื่อเสริมกำลังพวกเขา มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาใหญ่" กล่าวเช่นนั้นแล้วก็นำกองกำลังของตนไปยังอ้วนเสียและฟื้นฟูเสถียรภาพในอ้วนเสีย[2][3]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลสืบเนื่อง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ (春,吳人將伐魏。零陵太守殷札言於吳主曰:「今天棄曹氏,喪誅累見,虎爭之際而幼童涖事。陛下身自御戎,取亂侮亡,宜滌荊、揚之地,舉強羸之數,使強者執戟,羸者轉運。西命益州,軍于隴右,授諸葛瑾、朱然大衆,直指襄陽,陸遜、朱桓別征壽春,大駕入淮陽,歷青、徐。襄陽、壽春,困於受敵,長安以西,務禦蜀軍,許、洛之衆,勢必分離,掎角並進,民必內應。將帥對向,或失便宜,一軍敗績,則三軍離心;便當秣馬脂車,陵蹈城邑,乘勝逐北,以定華夏。若不悉軍動衆,循前輕舉,則不足大用,易於屢退,民疲威消,時往力竭,非上策也。」吳主不能用。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 74.
- ↑ (夏,四月,吳全琮略淮南,決芍陂,諸葛恪攻六安,朱然圍樊,諸葛瑾攻柤中。征東將軍王淩、揚州刺史孫禮與全琮戰於芍陂,琮敗走。荊州刺史胡質以輕兵救樊,或曰:「賊盛,不可迫。」質曰:「樊城卑兵少,故當進軍為之外援,不然,危矣。」遂勒兵臨圍,城中乃安。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 74.
- ↑ (二年夏五月,吳將全琮寇芍陂,朱然、孫倫圍樊城,諸葛瑾、步騭掠柤中, ...) จิ้นชู เล่มที่ 1.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- ฝาน เสฺวียนหลิง (648). พงศาวดารราชวงศ์จิ้น (จิ้นชู).
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.