ชลูด นิ่มเสมอ
ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ | |
---|---|
เกิด | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 |
เสียชีวิต | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558 (86 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร |
อาชีพ | ศิลปิน, ศาสตราจารย์ |
ศิลปินแห่งชาติ | สาขาทัศนศิลป์ - ประติมากรรม พ.ศ. 2541 |
ศาสตราจารย์ ชลูด นิ่มเสมอ เกิดเมื่อ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ที่จังหวัดธนบุรี เป็นศิลปินผู้มีความเชี่ยวชาญในการสร้างงานหลายประเภท จบการศึกษาจาก วิทยาลัยเพาะช่าง, มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ประกาศนียบัตร Diploma of Fine Arts จากสถาบันศิลปะ Accademia di Belle Arti แห่งกรุงโรม อิตาลี โดยในสมัยเรียนที่ศิลปากรนับได้ว่าเป็นศิษย์รุ่นแรกๆของ ศ.ศิลป์ พีระศรี ผลงานที่โดดเด่นได้แก่ ประติมากรรม "โลกุตระ" ด้านหน้าทางเข้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ประติมากรรม "เงินพดด้วง" ที่จัดแสดงหน้าอาคารธนาคารกสิกรไทย สำนักพหลโยธิน และประติมากรรม "พระบรมโพธิสมภาร" ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ศาสตราจารย์ชลูดได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ประจำปี พ.ศ. 2541
ศาสตราจารย์ ชลูด นิ่มเสมอ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ณ โรงพยาบาลศิริราช
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- หออัครศิลปิน Archived 2020-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ฐานข้อมูลภาพงานศิลปะ Archived 2004-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2472
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2558
- ศิลปินแห่งชาติ
- จิตรกรชาวไทย
- ศิลปินชาวไทย
- บุคคลจากวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
- บุคคลจากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา