นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน
นนทิวรรธน์ จันทะนะผลิน ป.ม., ท.ช., จ.ภ. | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2489 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 21 มกราคม พ.ศ. 2560 (70 ปี) จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | นักจิตรกร นักประติมากรรม |
นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน (เกิด 16 ตุลาคม พ.ศ. 2489 – 21 มกราคม พ.ศ. 2560) ประติมากร อาจารย์และศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (วิจิตรศิลป์) สาขาย่อยประติมากรรม เกิดที่กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษามหาบัณฑิตสาขาประติมากรรมจากมหาวิทยาลัยศิลปากร นนทิวรรธน์ได้รับรางวัลจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 19-22 และ 24 รางวัลการประกวดออกแบบพระพุทธรูปที่วัดทองศาลางาม ฯลฯ
การทำงาน[แก้]
นนทิวรรธน์เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยศิลปากรและได้ทำหน้าที่ทั้งการสอนและการบริหารการศึกษามาโดยตลอด โดยมีลำดับการทำงานดังต่อไปนี้
- พ.ศ. 2514 อาจาร์ยภาควิชาประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2522 เลขานุการภาควิชาประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2527 หัวหน้าภาควิชาประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2531 คณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2533 ผู้อำนวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2546 คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งนายกสมาคมประติมากรแห่งประเทศไทย
ศาสตรเมธีนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งและโรคหัวใจที่อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เมื่อเวลาประมาณ 23:00 นาฬิกาของคืนวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 รวมอายุได้ 71 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2556 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[1]
- พ.ศ. 2538 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[2]
- พ.ศ. 2550 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[3]
- พ.ศ. 2539 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๗๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๕๒, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอน ๒ ข หน้า ๑๒๑, ๗ มกราคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๖๗๙, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ทำเนียบศิลปินแห่งชาติทั้งหมด สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม เก็บถาวร 2007-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2489
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2560
- ประติมากรชาวไทย
- ศิลปินชาวไทย
- ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์
- ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถาน
- บุคคลจากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลจากจังหวัดพระนคร
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์