ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอบางละมุง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอบางละมุง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Lamung
หาดจอมเทียน
คำขวัญ: 
ชายหาดงามตา เมืองพัทยาขึ้นชื่อ เลื่องลือเกาะล้าน
ตำนานทัพพระยา ล้ำค่าวัดญาณฯ
แผนที่จังหวัดชลบุรี เน้นอำเภอบางละมุง
แผนที่จังหวัดชลบุรี เน้นอำเภอบางละมุง
พิกัด: 12°58′36″N 100°54′48″E / 12.97667°N 100.91333°E / 12.97667; 100.91333
ประเทศ ไทย
จังหวัดชลบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด727 ตร.กม. (281 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด339,754 คน
 • ความหนาแน่น467.34 คน/ตร.กม. (1,210.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 20150
รหัสภูมิศาสตร์2004
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบางละมุง ถนนสุขุมวิท ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางละมุง คืออำเภอหนึ่งในจังหวัดชลบุรี มีพื้นที่รวมประมาณ 727 ตารางกิโลเมตร หรือ 469,021 ไร่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 60 หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จะมีศาสนาอื่นบ้างเป็นกลุ่มย่อย อำเภอบางละมุงจะมีเขตการปกครองพิเศษคือเมืองพัทยา เป็นการปกครองพิเศษลำดับที่สองของประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอบางละมุงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด ห่างจากอำเภอเมืองชลบุรีไปทางใต้ประมาณ 45 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร 142 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

[แก้]

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏชื่อสถานที่ “ตำบลบางละมุง” (ซึ่งคาดว่าคือ ตำบลบางละมุงในจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน) ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จมาวังช้างที่ตำบลบางละมุงเมื่อ พ.ศ. 2097 ได้ช้างพลายพัง 60 ช้าง[1][2]

อำเภอบางละมุงแต่เดิมมีฐานะเป็นเมืองบางละมุง ตั้งอยู่ที่บ้านบางละมุง ตำบลบางละมุง จนถึง พ.ศ. 2444 ได้ยุบเมืองบางละมุงเป็นอำเภอขึ้นต่อจังหวัดชลบุรี โดยมีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บริเวณริมคลองนกยาง ซึ่งขณะนั้นบริเวณดังกล่าวเป็นท่าน้ำที่สำคัญทั้งทางด้านการคมนาคมและเป็นที่ชุมนุมของเรือสินค้าต่าง ๆ ต่อมาคลองนกยางตื้นเขินไม่สะดวกต่อเรือสินค้าต่าง ๆ จะล่องเข้าออก ทั้งสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะขยายชุมชนให้กว้างขวาง นายอำเภอสมัยนั้น คือ นายเจิม (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสัตยานุกูล) จึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ใหม่บริเวณริมทะเลในตำบลนาเกลือ เมื่อ พ.ศ. 2452

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2495 เกิดวาตภัยร้ายแรง ตัวอาคารที่ว่าการอำเภอพังเสียหายจนไม่สามารถใช้การได้ จึงได้ย้ายไปตั้งที่ทำการชั่วคราวที่โรงเรียนบางละมุง ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท ต่อมาใน พ.ศ. 2496 ทางราชการได้อนุมัติเงินงบประมาณให้สร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่บริเวณใกล้ ๆ กับโรงเรียนบางละมุง และได้ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติราชการจนทุกวันนี้

  • วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2446 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอนาเกลือ แขวงเมืองชลบุรี เป็นชื่อ อำเภอบางละมุง[3]
  • วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 แยกพื้นที่ตำบลสัตหีบ และตำบลนาจอมเทียน อำเภอบางละมุง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอสัตหีบ ขึ้นกับอำเภอบางละมุง[4]
  • วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ตั้งตำบลตะเคียนเตี้ย แยกออกจากตำบลบางละมุง[5]
  • วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2496 ยกฐานะกิ่งอำเภอสัตหีบ อำเภอบางละมุง เป็น อำเภอสัตหีบ[6]
  • วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลนาเกลือ ในท้องที่บางส่วนของตำบลนาเกลือ[7]
  • วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลนาเกลือ[8]
  • วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลบางละมุง ในท้องที่ทั้งหมดของตำบลบางละมุง[9]
  • วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2510 จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยใหญ่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลห้วยใหญ่[10]
  • วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ยุบสุขาภิบาลนาเกลือ อำเภอบางละมุง และจัดตั้งเมืองพัทยา[11]
  • วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2534 จัดตั้งเทศบาลตำบลแหลมฉบัง ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง และตำบลทุ่งสุขลาทั้งตำบล บางส่วนของตำบลหนองขาม ตำบลสุรศักดิ์ และตำบลบึง อำเภอศรีราชา[12]
  • วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบางละมุง[13]
  • วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2537 จัดตั้งศาลจังหวัดพัทยา[14]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลบางละมุง และสุขาภิบาลห้วยใหญ่ เป็นเทศบาลตำบลบางละมุง และเทศบาลตำบลห้วยใหญ่ ตามลำดับ
  • วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง เป็นเทศบาลเมืองหนองปรือ[15]
  • วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้น ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บสาหัสหนึ่งราย[16]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอบางละมุงแบ่งการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 72 หมู่บ้าน

ลำดับที่ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด
(พ.ศ. 2560)[17]
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น
(พ.ศ. 2560)[17]
1. บางละมุง Bang Lamung 9 24,342 13,290
11,052
(ทน. แหลมฉบัง)
(ทต. บางละมุง)
2. หนองปรือ Nong Prue 14 146,334 67,076
79,258
(เมืองพัทยา)
(ทม. หนองปรือ)
3. หนองปลาไหล Nong Pla Lai 9 21,603 2,265
734
18,604
(เมืองพัทยา)
(ทต. บางละมุง)
(ทต. หนองปลาไหล)
4. โป่ง Pong 10 9,689 9,689 (ทต. โป่ง)
5. เขาไม้แก้ว Khao Mai Kaeo 5 6,701 6,701 (อบต. เขาไม้แก้ว)
6. ห้วยใหญ่ Huai Yai 13 28,854 165
28,689
(เมืองพัทยา)
(ทต. ห้วยใหญ่)
7. ตะเคียนเตี้ย Takhian Tia 5 21,767 21,671
96
(ทต. ตะเคียนเตี้ย)
(ทต. บางละมุง)
8. นาเกลือ Na Kluea 7 49,005 49,005 (เมืองพัทยา)
รวม 72 308,295 118,511 (เมืองพัทยา)
13,290 (ทน.)
79,258 (ทม.)
97,236 (ทต.)

แก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมโดยสำนักทะเบียนอำเภอบางละมุง

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอบางละมุงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

  • เมืองพัทยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเกลือทั้งตำบล รวมถึงบางส่วนของหมู่ที่ 2,3,9,11 และ 12 ของตำบลหนองปรือ หมู่ที่ 7,8 บางส่วนของหมู่ที่ 6 ตำบลหนองปลาไหล และบางส่วนหมู่ที่ 4 ตำบลห้วยใหญ่
  • เทศบาลนครแหลมฉบัง ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่6-9 และบางส่วนของหมู่ที่ 4 ของตำบลบางละมุง (รวมไปถึงพื้นที่บางส่วนของตำบลสุรศักดิ์ ตำบลทุ่งสุขลาทั้งตำบล บางส่วนของตำบลบึง บางส่วนของตำบลหนองขามของอำเภอศรีราชาด้วย)
  • เทศบาลเมืองหนองปรือ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1, 4-10 รวมถึงบางส่วนของหมู่ที่ 2, 3 , 11 และหมู่ที่ 12 ตำบลหนองปรือ (นอกเขตเมืองพัทยา)
  • เทศบาลตำบลบางละมุง ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1-3 และ 5 รวมถึงบางส่วนของหมู่ที่ 4 ตำบลบางละมุง (นอกเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง) บางส่วนของหมู่ที่ 6 ตำบลหนองปลาไหล (นอกเขตเมืองพัทยาและเทศบาลตำบลหนองปลาไหล) และหมู่ที่ 2 ตำบลตะเคียนเตี้ย
  • เทศบาลตำบลห้วยใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1-3,5-13 และบางส่วนของหมู่ที่ 4 ตำบลห้วยใหญ่ (นอกเขตเมืองพัทยา)[18]
  • เทศบาลตำบลโป่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะเคียนเตี้ย (นอกเขตเทศบาลตำบลบางละมุง)
  • เทศบาลตำบลหนองปลาไหล ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1-5, 7-9 และบางส่วนของหมู่ที่ 6 ตำบลหนองปลาไหล (นอกเขตเมืองพัทยาและเทศบาลตำบลบางละมุง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาไม้แก้วทั้งตำบล

เศรษฐกิจ

[แก้]
  • อาชีพหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การเกษตร การประมง
  • อาชีพเสริม ได้แก่ บริการนักท่องเที่ยวทุกประเภท ค้าขาย
  • จำนวนธนาคาร มี 34 แห่ง
  • จำนวนห้างสรรพสินค้า มี 15 แห่ง

สถานศึกษา

[แก้]
  • โรงเรียนมัธยม ได้แก่ โรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร โรงเรียนบางละมุง โรงเรียนมารีวิทย์พัทยา โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) และโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา
  • วิทยาลัย ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคพัทยา (เดิมชื่อ วิทยาลัยการอาชีพบางละมุง)
  • มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา

ประชากร

[แก้]
  • จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 238,625 คน
  • จำนวนประชากรชาย รวม 112,305 คน
  • จำนวนประชากรหญิง รวม 126,320 คน
  • ความหนาแน่นของประชากร 100 คน/ตร.กม.

ศาสนสถาน

[แก้]
  • วัด
    • พระอารามหลวง 1 แห่ง
    • วัดราษฎร์ 46 แห่ง
  • โบสถ์ 4 แห่ง
  • มัสยิด 8 แห่ง
  • อื่น ๆ 1 แห่ง

การคมนาคม

[แก้]
สถานีรถไฟบางละมุง
  • ทางบก
  • ทางน้ำ
    • ท่าเรือขนส่งโดยสาร: ท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮาย

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศักราช 916 ขาลศก เสด็จไปวังช้าง ตำบลบางละมุง ได้ช้างพลายพัง 60 ช้าง...
  2. การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 111
  3. [1] เก็บถาวร 2012-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนแจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อ อำเภอพันลาน แขวงเมืองนครสวรรค์ เป็นอำเภอเกยไชย อำเภอเกลือ แขวงเมืองชลบุรี เป็นอำเภอบางละมุง อำเภอท่าช้าง แขวงเมืองนครนายก เป็นอำเภอบ้านนา อำเภอห้วยหลวง แขวงเมืองเพชรบุรีเป็นอำเภอเข้าย้อย
  4. [2] เก็บถาวร 2012-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอสัตหีบ
  5. [3] เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
  6. [4] เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอจักราช อำเภอสัตตหีบ อำเภอศรีสงคราม อำเภอชะอวด อำเภอหนองแซง อำเภอภาชี อำเภอเขาไชยสน อำเภอชุมพลบุรี อำเภอวาริชภูมิ อำเภอสบปราบ และอำเภอสุไหงโกลก พ.ศ. ๒๔๙๖
  7. [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
  8. [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
  9. [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
  10. [8]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
  11. [9] เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๒๑
  12. [10]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา และอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๕๓๔
  13. [11] เก็บถาวร 2019-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
  14. [12]พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๕๓๗
  15. [13] เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นเทศบาลเมืองหนองปรือ
  16. ระเบิดสนั่นกลางเมืองพัทยา อาคารทรุด บาดเจ็บสาหัส 1 ราย เจ้าของตึกยันถังก๊าซไม่ได้บึ้ม
  17. 17.0 17.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน พ.ศ. 2560 จังหวัดชลบุรี กรมการปกครอง
  18. [14] เก็บถาวร 2023-04-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน๖ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับเทศบาล สภาตำบลห้วยใหญ่ รวมกับ เทศบาลตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี