สถานีย่อย:วิทยาศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารานุกรมวิทยาศาสตร์

สารานุกรมวิทยาศาสตร์ในวิกิพีเดียไทย เป็นสารานุกรมรวบรวมเรื่องราวในด้านวิทยาศาสตร์ในรูปแบบสถานีย่อย กล่าวคือเป็นหน้าต่างของการเรียนรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ที่ถูกเขียนขึ้นในภาษาไทย ข้อมูลในสารานุกรมวิทยาศาสตร์เป็นข้อมูลเสรี อนุญาตให้แจกจ่าย ทำซ้ำ หรือดัดแปลง ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดได้เสรีตามเงื่อนไขเอกสารเสรีของกนู โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์

วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าวการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดูเพิ่ม...

ภาพคัดเลือก
ภาพขยายของยุง


บทความแนะนำ
ภาพ แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก

ฟิสิกส์ (อังกฤษ: Physics, กรีก: φυσικός [phusikos], "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις [phusis], "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน

ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และ เครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้าน แม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทาง อุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกล และ ยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่อง กลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ที่ใช้ใน ชีววิทยา เป็นต้น

นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาลจึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว

ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ดููเพิ่ม...


หัวข้อที่สำคัญ

คณิตศาสตร์ : ความน่าจะเป็น · แคลคูลัส · จำนวน · ตรรกศาสตร์ · ตรีโกณมิติ · ทฤษฎีกราฟ · พีชคณิต · เรขาคณิต · สถิติศาสตร์

เคมี : เคมีฟิสิกส์ · เคมีวิเคราะห์ · เคมีอนินทรีย์ · เคมีอินทรีย์ · ชีวเคมี · ตารางธาตุ · พันธะเคมี · วัสดุศาสตร์ · อะตอม · อุณหเคมี

ชีววิทยา : จุลชีววิทยา · นิเวศวิทยา · บรรพชีวินวิทยา · ปรสิตวิทยา · พฤกษศาสตร์ · พันธุศาสตร์ · โภชนาการ · สัตววิทยา · อณูชีววิทยา · อนุกรมวิธาน

ฟิสิกส์: กลศาสตร์ · พลศาสตร์ · พลังงาน · ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ · ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า · ทฤษฎีสัมพัทธภาพ · อุณหพลศาสตร์

ดาราศาสตร์: เอกภพ · ดาราจักร · ระบบสุริยะ · ดาวฤกษ์ · ดาวเคราะห์ · ดาวเคราะห์น้อย · สุริยุปราคา · ดวงอาทิตย์ · ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ · การสำรวจอวกาศ

วิทยาศาสตร์โลก: นิเวศวิทยา · ภูมิศาสตร์ · ธรณีวิทยา · ธรณีสัณฐานวิทยา · วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม · ไฟ · น้ำ · ปรากฏการณ์โลกร้อน

วิทยาศาสตร์ประยุกต์ : เกษตรกรรม · นาโนเทคโนโลยี · นิติวิทยาศาสตร์ · วิทยาศาสตร์การกีฬา · วิศวกรรมศาสตร์ · เทคโนโลยี · โทรคมนาคม · สถาปัตยกรรม · สารสนเทศ

วิทยาศาสตร์สุขภาพ : ทันตกรรม · พยาบาล · แพทยศาสตร์ · เภสัชกรรม · สาธารณสุข · สัตวแพทยศาสตร์ · ระบาดวิทยา

คอมพิวเตอร์ : อินเทอร์เน็ต · อีเมล · เครือข่าย · วิทยาการคอมพิวเตอร์ · ซอฟต์แวร์เสรี · ไวรัสคอมพิวเตอร์

รู้ไหมว่า...
คุณช่วยเราได้

นี่คือส่วนหนึ่งที่ คุณทำได้ คุณสามารถมีส่วนร่วมในสารานุกรมวิทยาศาสตร์ได้ อย่าลังเล!

"วิทยาศาสตร์" ในโครงการอื่น
วิกิพจนานุกรม
หาความหมาย
วิกิคำคม
คำคม
วิกิตำรา
หนังสือ
วิกิซอร์ซ
ค้นแหล่งเอกสาร
วิกิข่าว
เนื้อหาข่าว
คอมมอนส์
ภาพและสื่อ


หมวดหมู่

สถานีย่อยอื่น