ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยสหวิทยาการ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
College of Interdisciplinary Studies,
Thammasat University
ตราประจำมหาวิทยาลัย
สถาปนา5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 (21 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.สายฝน สุเอียนทรเมธี
ที่อยู่
วารสารวารสารสหวิทยาการ
สี  สีเทามิลเลนเนียม
  สีแดงเลือดหมู
มาสคอต
นกฮูก
เว็บไซต์[1]

วิทยาลัยสหวิทยาการ เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะ สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนระดับปริญญาตรี โท และเอก ในหลายสาขา อาทิเช่น หลักสูตรปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล (DSI) และ หลักสูตรปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (PPE)

ประวัติ

[แก้]

วิทยาลัยสหวิทยาการก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 โดยขณะนั้นมีการเรียนการสอนเฉพาะระดับปริญญาตรี ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ต่อมาเมื่อสภามหาวิทยาลัยได้มีมติให้ยุบบัณฑิตวิทยาลัยใน พ.ศ. 2549 ทำให้โครงการปริญญาเอกสหวิทยาการและโครงการปริญญาโทสตรีศึกษาซึ่งจัดการเรียนการสอน ณ ศูนย์ท่าพระจันทร์ ไม่มีสังกัด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้ปรับโครงสร้างของวิทยาลัยสหวิทยาการใหม่ โดยให้โอนการเรียนการสอนของทั้งสองโครงการมาอยู่ภายใต้การบริหารงานของวิทยาลัยสหวิทยาการ ปัจจุบันมีการเรียนการสอนรวม 5 หลักสูตร ได้แก่

  • ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เปิดสอน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ เปิดสอน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และศูนย์ลำปาง
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ เปิดสอน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • วิทยาศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) สาขาวิทยาศาสตร์เเละนวัตกรรมข้อมูล เปิดสอน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) สาขาวิชาสหวิทยาการ เปิดสอน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสตรี เพศสถานะ และเพศวิถีศึกษา เปิดสอน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เปิดสอน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

รายนามคณบดีวิทยาลัยสหวิทยาการ

[แก้]
วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รายนามคณบดี (ตำแหน่งทางวิชาการขณะดำรงตำแหน่ง) วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ เล็ก สมบัติ พ.ศ. 2547พ.ศ. 2550
2. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทนา รณเกียรติ พ.ศ. 2550พ.ศ. 2553
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฬาพร เอื้อรักสกุล พ.ศ. 2553พ.ศ. 2556
4. ศาสตราจารย์ วันทนีย์ วาสิกะสิน พ.ศ. 2556พ.ศ. 2559
5. รองศาสตราจารย์ ดร.เดชา สังขวรรณ พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2562
6. รองศาสตราจารย์ ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ (รักษาการ) พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2563
7. ศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์หญิง ศิริวรรณ สืบนุการณ์ (รักษาการ) 29 เมษายน พ.ศ. 2563 – 25 ตุลาคม 2563
8. รองศาสตราจารย์ ดร.สายฝน สุเอียนทรเมธี พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน

อาจารย์และศิษย์เก่าวิทยาลัยสหวิทยาการที่สร้างชื่อเสียง

[แก้]
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สินิทธ์ สิทธิรักษ์ อดีตอาจารย์ประจำ ผู้บุกเบิกการเรียนการสอนด้านสตรีศึกษาในระดับปริญญาโท ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีมาก ประจำปี พ.ศ. 2560
  • รองศาสตราจารย์ ดร.เกศินี จุฑาวิจิตร อาจารย์คณะวิทยาการการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาเอก ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ชมเชย สาขาปรัชญา ประจำปี พ.ศ. 2549 จากวิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เรื่อง "ผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์กับโลกทัศน์นักเขียนไทย : ภาพสะท้อนสังคมและ การเมืองจากวรรณกรรม ประเภทเรื่องสั้นระหว่างปี พ.ศ. 2540–2544"
  • ศาสตราจารย์ ดร.สิทธิพล เครือรัฐติกาล ศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาเอก ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการและที่ปรึกษาผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2554 จากวิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เรื่อง "ภาพลักษณ์ของเจิ้งเหอในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีน" และรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัยระดับดีมาก สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2558 จากผลงานวิจัยเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือหลังสิ้นสุดสงครามเย็น (ค.ศ. 1989 - 2011)"
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน ของสภาผู้แทนราษฎร อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเฉพาะทางสหวิทยาการด้านรัฐสวัสดิการและความเป็นธรรมศึกษา ผู้รณรงค์ประเด็นรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าและสังคมนิยมประชาธิปไตย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ชวัล โภคาพานิชวงษ์ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาเอก ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี สาขาสังคมวิทยา ประจำปี พ.ศ. 2558 จากวิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เรื่อง "การเชื่อม (ข้าม) ถิ่นที่ : ปฏิสัมพันธ์ของผู้คนบนเมืองชายแดนกับการต่อรอง ความหมายผ่านพื้นที่/ชุมชนทางศาสนาของผู้อพยพข้ามพรมแดนชาวพม่าในจังหวัดระนอง"

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงชัย ทองปาน ศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาเอก ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี สาขาสังคมวิทยา ประจำปี พ.ศ. 2558 จากวิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เรื่อง "เศรษฐีใหม่สวนยาง : การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีพของครัวเรือน ชาวนาในลุ่มน้ำห้วยคอง"
  • รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณลักษณ์ เมียนเกิด ศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาเอก ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับชมเชยด้านครอบครัวประจำปี พ.ศ. 2559 ของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว จากวิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เรื่อง "การปฏิบัติดูแลและคุณค่าทางจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลตำบลบางสีทอง จังหวัดนนทบุรี"
  • รองศาสตราจารย์ ดร.จุฬาพร เอื้อรักสกุล อดีตคณบดี กรรมการศูนย์อาเซียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พลอยชมพู ศุภทรัพย์ ศิษย์เก่าวิทยาลัยสหวิทยาการ รุ่นที่ 16 นักแสดง สังกัด จีเอ็มเอ็มทีวี
  • กัญญาวีร์ สองเมือง ศิษย์เก่าวิทยาลัยสหวิทยาการ รุ่นที่ 18 นักแสดง สังกัด จีดีเอช

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]