ม้าต้าย
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ม้าต้าย (หม่า ต้าย) | |
---|---|
馬岱 | |
ภาพวาดม้าต้ายสมัยราชวงศ์ชิง | |
ขุนพลสงบภาคเหนือ (平北將軍 ผิงเป่ย์เจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ |
เสียชีวิต | ไม่ทราบ |
ความสัมพันธ์ | ม้าเท้ง (ลุง) ม้าเฉียว (ลูกพี่ลูกน้อง) |
อาชีพ | ขุนพล |
ตำแหน่ง | เฉินชางโหว (陳倉侯) |
ม้าต้าย (ราว ค.ศ. 222 - 235) เป็นขุนพลแห่งจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของประเทศจีน ม้าต้ายเคยรับใช้ม้าเท้งผู้เป็นลุงซึ่งเป็นขุนศึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก หลังจากการม้าเท้งถูกประหาร ม้าต้ายติดตามม้าเฉียว (ลูกชายคนโตของม้าเท้ง) ไปรับใช้เตียวฬ่อในฮั่นจงเป็นระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากนั้น ม้าเฉียวแปรพักตร์ไปยังฝ่ายเล่าปี่ซึ่งม้าต้ายได้ติดตามไปด้วย
เรื่องราวของม้าต้ายไม่ได้ถูกบันทึกมากนักในประวัติศาสตร์ ในปี 234 ม้าต้ายเข้าร่วมการบุกขึ้นเหนือครั้งที่ 5 ของขงเบ้ง ทั้งนี้ มีการระบุว่าม้าต้ายสังหารอุยเอี๋ยน ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่าจะแปรพักตร์หลังการเสียชีวิตของขงเบ้ง
ชีวิต
[แก้]ม้าต้ายเป็นญาติที่อายุน้อยกว่าของม้าเฉียว ม้าต้ายไม่มีชีวประวัติในจดหมายเหตุสามก๊ก แต่ก็ถูกกล่าวถึงในชีวประวัติของคนอื่นอย่างม้าเฉียวและอุยเอี๋ยน ม้าต้ายถูกกล่าวถึงครั้งแรกในชีวประวัติของม้าเฉียวในจดหมายที่ม้าเฉียวเขียนถึงเล่าปี่ก่อนม้าเฉียวจะเสียชีวิต ม้าเฉียวเขียนว่า "ครอบครัว 200 กว่าคนของข้าถูกโจโฉประหาร ข้ามีเพียงม้าต้ายผู้เป็นญาติเท่านั้นที่ยังเหลืออยู่ เขาจะเป็นคนที่สืบทอดตระกูลของข้า ข้าขอฝากฝังให้ท่านช่วยดูแล ข้าต้องการบอกเพียงเท่านี้" ม้าต้ายรับใช้จ๊กก๊กในฐานะนายพลทหาร ตำแหน่งสูงสุดที่เคยได้คือ "ขุนพลสงบภาคเหนือ" (平北將軍 ผิงเป่ย์เจียงจฺวิน) บรรดาศักดิ์ที่ได้คือ "เฉินชางโหว" (陳倉侯)[1]
ม้าต้ายถูกกล่าวถึงในชีวประวัติของอุยเอี๋ยน ในปี 234 หลังการขงเบ้งเสียชีวิต ความขัดแย้งระหว่างเอียวหงีและอุยเอี๋ยนปะทุขึ้น เอียวหงีสั่งให้ม้าต้ายโจมตีอุยเอี๋ยน ม้าต้ายตามอุยเอี๋ยนทันขณะที่อุยเอี๋ยนกำลังหนีไปฮั่นจง ม้าต้ายตัดศีรษะอุยเอี๋ยนและนำศีรษะไปโยนต่อหน้าเอียวหงี[2]
ม้าเฉียวถูกกล่าวถึงเล็กน้อยในชีวประวัติของสุมาอี้ใน จิ้นชู ในปี 235 ม้าต้ายนำทัพบุกวุยก๊กแต่ถูกงิวขิ้มตีแตกพ่าย ม้าต้ายเสียกำลังพลราว ๆ 1,000 นาย[3]
ในนิยายสามก๊ก
[แก้]ในนิยาย ม้าต้ายติดตามม้าเท้งไปเมืองหลวงหลังถูกโจโฉเรียกตัว ม้าต้ายเอาชีวิตรอดมาได้หลังม้าเท้งและลูกชายถูกลอบสังหาร ม้าต้ายเข้าร่วมกับม้าเฉียวและสู้กับโจโฉในศึกตงก๋วน หลังพ่ายแพ้ ม้าต้ายติดตามม้าเฉียวไปหาเตียวฬ่อ ม้าต้ายติดตามม้าเฉียวไปรับใช้เล่าปี่ในช่วงที่เล่าปี่บุกยึดมณฑลเอ๊กจิ๋ว ม้าต้ายเข้าร่วมการบุกลงใต้และการบุกขึ้นเหนือของขงเบ้ง หลังขงเบ้งเสียชีวิต อุยเอี๋ยนก่อกบฏ โดยม้าต้ายแสร้งทำเป็นสนับสนุนอุยเอี๋ยนก่อนจะลอบฆ่าในภายหลัง
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]บางครั้งม้าต้ายถูกบูชาเป็นเทพเจ้าประตูในวัดจีนและวัดลัทธิเต๋าในมณฑลเหอเป่ย์ โดยปกติจะคู่กับม้าเฉียว
ม้าต้ายปรากฏตัวเป็นตัวละครเล่นได้ครั้งแรกในเกม Dynasty Warriors ภาค 7 ของค่าย Koei
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- ฝาง เสฺวียนหลิง (648). จดหมายเหตุราชวงศ์จิ้น (จิ้นชู).
- ล่อกวนตง (ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซันกั๋วเหยี่ยนอี้).
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.