ฟุตบอลทีมชาติเอกวาดอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอกวาดอร์
Shirt badge/Association crest
ฉายาLa Tri (The Tri)
La Tricolor (The Tricolors)
ทีมแร้ง (ฉายาในภาษาไทย)
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลเอกวาดอร์ (FEF)
สมาพันธ์คอนเมบอล (อเมริกาใต้)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนกุสตาโบ อัลฟาโร
กัปตันเอ็นเนร์ บาเล็นซีอา
ติดทีมชาติสูงสุดอีบัน อูร์ตาโด (168)
ทำประตูสูงสุดเอ็นเนร์ บาเล็นซีอา (35)
สนามเหย้าEstadio Rodrigo Paz Delgado
รหัสฟีฟ่าECU
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 31 เพิ่มขึ้น 1 (15 กุมภาพันธ์ 2024)[1]
อันดับสูงสุด10 (มิถุนายน ค.ศ. 2013)
อันดับต่ำสุด71 (พฤศจิกายน ค.ศ. 2017)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติโบลิเวีย โบลิเวีย 1–1 เอกวาดอร์ ธงชาติเอกวาดอร์
(โบโกตา ประเทศโคลอมเบีย; 8 สิงหาคม ค.ศ. 1938)
ชนะสูงสุด
ธงชาติเอกวาดอร์ เอกวาดอร์ 6–0 เปรู ธงชาติเปรู
(กีโต ประเทศเอกวาดอร์; 22 มิถุนายน ค.ศ. 1975)
แพ้สูงสุด
ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 12–0 เอกวาดอร์ ธงชาติเอกวาดอร์
(มอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัย; 22 มกราคม ค.ศ. 1942)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม4 (ครั้งแรกใน 2002)
ผลงานดีที่สุดรอบ 16 ทีม (2006)
โกปาอาเมริกา
เข้าร่วม29 (ครั้งแรกใน 1939)
ผลงานดีที่สุดอันดับที่ 4 1959, 1993)
คอนคาแคฟโกลด์คัพ
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2002)
ผลงานดีที่สุดรอบแบ่งกลุ่ม (2002)

ฟุตบอลทีมชาติเอกวาดอร์ (สเปน: Selección de fútbol de Ecuador) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากประเทศเอกวาดอร์ อยู่ภายใต้การควบคุมของสหพันธ์ฟุตบอลเอกวาดอร์ โดยเข้าร่วมกับฟีฟ่าใน ค.ศ. 1926 และในคอนเมบอลในปีถัดมา

หลังจากที่ปฏิเสธการเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกที่อุรุกวัย เอกวาดอร์ก็ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเลยจนกระทั่งในปี 2002 โดยผ่านรอบคัดเลือกด้วยการจบอันดับเหนือกว่าบราซิลและอุรุกวัย การแข่งขันรอบคัดเลือกครั้งนั้นทำให้ผู้เล่นทีมชาติหลายคนมีชื่อเสียงขึ้นมา อาทิ Agustín Delgado, Álex Aguinaga, Iván Hurtado, Ulises de la Cruz และ Iván Kaviedes ซึ่งผู้เล่นเหล่านี้มีส่วนช่วยให้ทีมชาติประสบความสำเร็จในช่วงทศวรรษนั้น[2] โดยพวกเขาเคยเข้าถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลก 2006[3] และถูกตั้งความคาดหวังที่จะประสบความสำเร็จในโกปาอาเมริกา 2007 แต่พวกเขาตกรอบแบ่งกลุ่มของรายการ[4] เอกวาดอร์เป็นหนึ่งในสองชาติของอเมริกาใต้ร่วมกับเวเนซุเอลาที่ยังไม่เคยชนะเลิศโกปาอาเมริกา ผลงานที่ดีที่สุดของทีมชาติในการแข่งขันระดับทวีปนี้คืออันดับที่สี่ในปี 1959 และ 1993 ซึ่งทั้งสองครั้งจัดขึ้นในเอกวาดอร์

เอกวาดอร์เคยลงเล่นเกมเหย้าที่ Estadio Olímpico Atahualpa ในกรุงกีโต สนามแห่งนี้มีแผนทุบทำลายเพื่อสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ที่ทันสมัยกว่า[5]

สถิติการแข่งขัน[แก้]

ฟุตบอลโลก[แก้]

สถิติในฟุตบอลโลก สถิติในรอบคัดเลือก
ปี รอบ อันดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ผู้เล่น แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
อุรุกวัย 1930 ไม่ได้เข้าร่วม ปฏิเสธการเข้าร่วม
อิตาลี 1934
ฝรั่งเศส 1938
บราซิล 1950 ถอนตัว ถอนตัว
สวิตเซอร์แลนด์ 1954 ไม่ได้เข้าร่วม ปฏิเสธการเข้าร่วม
สวีเดน 1958
ชิลี 1962 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 2 0 0 2 3 11
อังกฤษ 1966 5 2 1 2 7 7
เม็กซิโก 1970 4 0 1 3 2 8
เยอรมนีตะวันตก 1974 4 0 2 2 3 8
อาร์เจนตินา 1978 4 0 1 3 1 9
สเปน 1982 4 1 1 2 2 5
เม็กซิโก 1986 4 0 1 3 2 8
อิตาลี 1990 4 1 1 2 4 5
สหรัฐ 1994 8 1 3 4 7 7
ฝรั่งเศส 1998 16 6 3 7 22 21
เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น 2002 รอบแบ่งกลุ่ม อันดับที่ 24 3 1 0 2 2 4 ผู้เล่น 18 9 4 5 23 20
เยอรมนี 2006 รอบ 16 ทีมสุดท้าย อันดับที่ 12 4 2 0 2 5 4 ผู้เล่น 18 8 4 6 23 19
แอฟริกาใต้ 2010 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 18 6 5 7 22 26
บราซิล 2014 รอบแบ่งกลุ่ม อันดับที่ 17 3 1 1 1 3 3 ผู้เล่น 16 7 4 5 20 16
รัสเซีย 2018 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 18 6 2 10 26 29
ประเทศกาตาร์ 2022 รอบแบ่งกลุ่ม อันดับที่ 18 3 1 1 1 4 3 ผู้เล่น 18 7 5 6 27 19
แคนาดา เม็กซิโก สหรัฐ 2026 รอแข่งขัน รอแข่งขัน
รวมทั้งหมด รอบ 16 ทีมสุดท้าย 4/22 13 5 2 6 14 14 161 54 38 69 194 218

อ้างอิง[แก้]

  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 15 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2024.
  2. El Universo (7 November 2019). "Hace 18 años Ecuador clasificó a su primer mundial de fútbol" (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
  3. The New York Times (15 June 2006). "Ecuador Breathes the Thick Air of Victory". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
  4. Raúl Chávez (6 July 2007). "Falta de puntería silencia a seleccionados ecuatorianos". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2007. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
  5. "El estadio Olímpico Atahualpa será demolido a finales del 2020 y se levantará otro estadio con mayor capacidad" (ภาษาสเปน). 13 January 2020. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]