ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เวียงจันทน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 123: บรรทัด 123:


== ประวัติศาสตร์ ==
== ประวัติศาสตร์ ==
[[พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]] ทรงสถาปนาเวียงจันทน์ขึ้นเป็นราชธานีของ[[อาณาจักรล้านช้าง]] เมื่อ [[พ.ศ. 2103]] ครั้นเมื่อล้านช้างเสื่อมอำนาจลง ในปี [[พ.ศ. 2250]] เวียงจันทน์กลายเป็นอาณาจักรอิสระ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ จนกระทั่งถึงปี [[พ.ศ. 2321]] [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|เจ้าพระยาจักรี]]ของไทย (ในสมัย[[กรุงธนบุรี]]) ยกทัพมาปราบดินแดนลาวทั้งหมด อาณาจักรเวียงจันทน์ตกเป็นประเทศราชของสยามนับตั้งแต่นั้นมา
[[พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]] ทรงสถาปนาเวียงจันทน์ขึ้นเป็นราชธานีของ[[อาณาจักรล้านช้าง]] เมื่อ [[พ.ศ. 2103]] ครั้นเมื่อล้านช้างเสื่อมอำนาจลง ในปี [[พ.ศ. 2250]] เวียงจันทน์กลายเป็นอาณาจักรอิสระ เรียกว่า [[อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์]] จนกระทั่งถึงปี [[พ.ศ. 2321]] [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|เจ้าพระยาจักรี]]ของไทย (ในสมัย[[กรุงธนบุรี]]) ยกทัพมาปราบดินแดนลาวทั้งหมด อาณาจักรเวียงจันทน์ตกเป็นประเทศราชของสยามนับตั้งแต่นั้นมา


[[พ.ศ. 2369]] [[เจ้าอนุวงศ์]] กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์องค์สุดท้ายพยายามรวบรวมกำลังเพื่อก่อการกบฏและกู้ชาติจากสยาม สยามจึงส่งกองทัพยกขึ้นมาปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ และจับเจ้าอนุวงศ์ไปลงโทษที่[[กรุงเทพ]] ส่วนเมืองเวียงจันทน์นั้นถูกทำลายย่อยยับ เหลือรอดเพียงแต่พระอารามสำคัญไม่กี่แห่ง เช่น [[หอพระแก้ว]] [[วัดสีสะเกด]] เท่านั้น{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
[[พ.ศ. 2369]] [[เจ้าอนุวงศ์]] กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์องค์สุดท้ายพยายามรวบรวมกำลังเพื่อก่อการกบฏและกู้ชาติจากสยาม สยามจึงส่งกองทัพยกขึ้นมาปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ และจับเจ้าอนุวงศ์ไปลงโทษที่[[กรุงเทพ]] ส่วนเมืองเวียงจันทน์นั้นถูกทำลายย่อยยับ เหลือรอดเพียงแต่พระอารามสำคัญไม่กี่แห่ง เช่น [[หอพระแก้ว]] [[วัดสีสะเกด]] เท่านั้น{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:12, 18 กันยายน 2560

565

บทความนี้กล่าวถึงเมืองหลวง สำหรับเขตการปกครอง ดูที่ นครหลวงเวียงจันทน์ และ แขวงเวียงจันทน์ และสำหรับอาณาจักรล้านช้างในอดีต ดูที่ อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์
เวียงจันทน์

ວຽງຈັນ
เมืองหลวง
ภาพถ่ายทางอากาศของเวียงจันทน์
ภาพถ่ายทางอากาศของเวียงจันทน์
เวียงจันทน์ตั้งอยู่ในประเทศลาว
เวียงจันทน์
เวียงจันทน์
พิกัด: 17°58′N 102°36′E / 17.967°N 102.600°E / 17.967; 102.600
ประเทศ ลาว
ก่อตั้งคริสต์ศตวรรษที่ 9
พื้นที่
 • ทั้งหมด3,920 ตร.กม. (1,510 ตร.ไมล์)
ความสูง174 เมตร (570 ฟุต)
ประชากร
 (สำมะโน พ.ศ. 2556)
 • ทั้งหมด783,000 คน
 • ความหนาแน่น200 คน/ตร.กม. (520 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมเวียงจันทน์

เวียงจันทน์ เวียงจัน, เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศลาว อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง ในพิกัด 17°58' เหนือ, 102°36' ตะวันออก (17.9667, 102.6) ประชากรในตัวเมืองมีประมาณ 200,000 คน (ค.ศ. 2005) แต่ประชากรทั้งหมดที่อาศัยในนครหลวงเวียงจันทน์ เชื่อว่ามีอยู่ถึงกว่า 730,000 คน

เวียงจันทน์มีชื่อที่ตั้งในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ว่า กรุงศรีสัตนาคคนหุต วิสุทธิ์รัตนราชธานีบุรีรมย์

ประวัติศาสตร์

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงสถาปนาเวียงจันทน์ขึ้นเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้าง เมื่อ พ.ศ. 2103 ครั้นเมื่อล้านช้างเสื่อมอำนาจลง ในปี พ.ศ. 2250 เวียงจันทน์กลายเป็นอาณาจักรอิสระ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2321 เจ้าพระยาจักรีของไทย (ในสมัยกรุงธนบุรี) ยกทัพมาปราบดินแดนลาวทั้งหมด อาณาจักรเวียงจันทน์ตกเป็นประเทศราชของสยามนับตั้งแต่นั้นมา

พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์องค์สุดท้ายพยายามรวบรวมกำลังเพื่อก่อการกบฏและกู้ชาติจากสยาม สยามจึงส่งกองทัพยกขึ้นมาปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ และจับเจ้าอนุวงศ์ไปลงโทษที่กรุงเทพ ส่วนเมืองเวียงจันทน์นั้นถูกทำลายย่อยยับ เหลือรอดเพียงแต่พระอารามสำคัญไม่กี่แห่ง เช่น หอพระแก้ว วัดสีสะเกด เท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]

พ.ศ. 2436 ดินแดนลาวตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส เวียงจันทน์ถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครองของลาวในอาณัติของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2442 ต่อมาเมื่อประเทศลาวประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส ก็ได้กำหนดให้กรุงเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงของลาวสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

เวียงจันทน์ตั้งอยู่ในและเป็นเมืองเอกของนครหลวงเวียงจันทน์ นอกจากนี้ยังมีแขวงเวียงจันทน์ที่จังหวัดได้รับการแยกออกจากจังหวัดในปี 1989

เวียงจันทน์ประกอบด้วยเมืองต่างๆ ดังนี้:

แผนที่ รหัส ชื่อ ลาว อังกฤษ
01-01 จันทบุรี ຈັນທະບູລີ Chanthabuly
01-02 ศรีโคตรบอง ສີໂຄດຕະບອງ Sikhottabong
01-03 ไชยเชษฐา ໄຊເສດຖາ Xaysetha
01-04 ศรีสัตตนาค ສີສັດຕະນາກ Sisattanak
01-07 หาดทรายฟอง ຫາດຊາຍຟອງ Hadxayfong

ภูมิศาสตร์

เวียงจันทน์อยู่ในช่วงโค้งของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแนวกั้นระหว่างประเทศไทยและลาว (ตรงข้ามกับจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬของไทย)

ภูมิอากาศ

แผนภูมิแสดงสภาพภูมิอากาศของ
เวียงจันทน์ (วิธีอ่าน)
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
 
 
7.5
 
28
16
 
 
13.0
 
30
19
 
 
33.7
 
33
22
 
 
84.9
 
34
24
 
 
245.8
 
33
25
 
 
279.8
 
32
25
 
 
272.3
 
31
25
 
 
334.6
 
31
25
 
 
297.3
 
31
24
 
 
78.0
 
31
23
 
 
11.1
 
30
19
 
 
2.5
 
28
17
อุณหภูมิ วัดเป็นองศาเซลเซียส
ปริมาณหยาดน้ำฟ้า วัดเป็นมิลลิเมตร
ที่มา: WMO[1]
ข้อมูลภูมิอากาศของเวียงจันทน์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 28.4
(83.1)
30.3
(86.5)
33.0
(91.4)
34.3
(93.7)
33.0
(91.4)
31.9
(89.4)
31.3
(88.3)
30.8
(87.4)
30.9
(87.6)
30.8
(87.4)
29.8
(85.6)
28.1
(82.6)
31.1
(88)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 16.4
(61.5)
18.5
(65.3)
21.5
(70.7)
23.8
(74.8)
24.6
(76.3)
24.9
(76.8)
24.7
(76.5)
24.6
(76.3)
24.1
(75.4)
22.9
(73.2)
19.3
(66.7)
16.7
(62.1)
21.8
(71.2)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 7.5
(0.295)
13.0
(0.512)
33.7
(1.327)
84.9
(3.343)
245.8
(9.677)
279.8
(11.016)
272.3
(10.72)
334.6
(13.173)
297.3
(11.705)
78.0
(3.071)
11.1
(0.437)
2.5
(0.098)
1,660.5
(65.374)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 1 2 4 8 15 18 20 21 17 9 2 1 118
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 254.2 217.5 217.0 225.0 207.7 153.0 148.8 136.4 138.0 248.0 234.0 257.3 2,436.9
แหล่งที่มา 1: World Meteorological Organization[2]
แหล่งที่มา 2: Hong Kong Observatory.[3]

การคมนาคม

จากประเทศไทย

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) สร้างข้ามแม่น้ำโขงระยะทาง 18 กิโลเมตร เพื่อข้ามระหว่าง หนองคาย เข้ามายังเมืองเวียงจันทน์ โดยเป็นเส้นทางหลักสำหรับการเดินทางและการขนส่ง หลังจากนั้นก็มี เดิมเรียกสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แต่เนื่องจากมีการสร้างสะพานเชื่อมเพิ่มขึ้น จีงเรียกด้วยหมายเลข 1 และสะพานมิตรภาพ 1 นี้ยังมีการขนส่งด้วยรถไฟขนานอยู่บนสะพาน คาดว่าจะเป็นการขนส่งระหว่างไทยกับลาวที่มีต้นทุนต่ำที่สุด

การเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวก็สะดวกมากขึ้น เนื่องจากมีหลายสายการบินบินตรงจากกรุงเทพฯ ถึงเวียงจันทน์ หรือกรุงเทพฯ ถึงอุดรธานี แล้วมีรถโดยสารบริการส่งข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวต่อไป

จากประเทศจีน

มีโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ในการสร้างรถไฟความเร็วสูงจากเวียงจันทน์ไปยังยูนนาน

ภายในประเทศลาว

การเดินทางภายในประเทศลาว มีรถโดยสารประจำทางกระจายทั่วเมือง และมีการโดยสารโดยเอกสาร ด้วย คือ แท็กซี่มีเตอร์ ตุ๊กตุ๊ก สกายแล็ป (สองชนิดหลังต้องอาศัยการต่อราคาเอง ราคาการเดินทางแต่ละครั้งไม่ตายตัว)

การท่องเที่ยว

เวียงจันทน์ มีชื่อเสียงเรื่องการท่องเที่ยว ที่มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลมามากมายในแต่ละปี เนื่องจากเวียงจันทน์ เป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่ผสมความทันสมัยอย่างลงตัว

วัดพระแก้ว
พระธาตุหลวง
ประตูไซย สัญลักษณ์แห่งชัยชนะจากฝรั่งเศส
ตลาดจีนชั่งเจี่ยง

สถานที่สำคัญ

  • ประตูชัย สัญลักษณ์แห่งชัยชนะของปวงชนลาว พ้นจากการเป็นเมืองขึ้น โดยเลียนแบบ ประตูชัย ปารีส แต่ใช้ศิลปะลาว
  • หอพระแก้ว เดิมเป็นวัด เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ปัจจุบัน (แม้ไม่มีพระแก้วมรกตแล้ว) เป็นพิพิธภัณฑ์และมีร้านขายของที่ระลึก
  • พระธาตุหลวง พระธาตุ (สถูป) ขนาดใหญ่สีทองอร่าม บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นเครื่องหมายในดวงตราสำคัญของประเทศ
  • วัดสีสะเกด อีกวัดหนึ่งที่ไม่ได้ถูกทำลายในช่วงสงคราม มีพระพุทธรูปใหญ่ และเล็กเรียงรายอยู่มากที่สุด
  • ตลาดจีนชั่งเจี่ยง

ร้านอาหาร ภัตตาคาร

อาหารประจำชาติของลาว คือ อาหารแนว ตำ ยำ ปิ้งย่าง และเฝอ (ก๋วยเตี๋ยว) โดยมีอิทธิพลอาหารผสมของแถบอินโดจีนจากจีน เวียตนาม และอิทธิพลจากการเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ในเวียงจันทน์ จึงมีร้านอาหารพื้นเมือง ร้านกาแฟ ร้านขนมปังเลื่องชื่ออยู่มากมาย และหลายร้านก็ขายอาหารลาว ไทย อเมริกัน ยุโรป ปะปนกันก็มี

การศึกษา

มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว

เศรษฐกิจ

สาธารณุสข

เมืองพี่น้อง

ภาพพาโนรามากรุงเวียงจันทน์มุมสูง

อ้างอิง

  1. "World Weather Information Service — Vientiane". World Meteorological Organisation. สืบค้นเมื่อ 2010-10-31.
  2. "World Weather Information Service - Vientiane (1951-2000)". World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ 14-05-2010. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. Climatological Information for Vientiane, Laos, accessed 24 April 2012.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น