ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีรถไฟ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.GentleCN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mr.GentleCN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีลิงก์ข้ามภาษา
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
[[ไฟล์:Grand Central Station Main Concourse Jan 2006.jpg|thumb|right|300px|[[สถานีรถไฟแกรนด์เซ็นทรัล]] [[นครนิวยอร์ก]] [[สหรัฐอเมริกา]] ]]
[[ไฟล์:Grand Central Station Main Concourse Jan 2006.jpg|thumb|right|300px|[[สถานีรถไฟแกรนด์เซ็นทรัล]] [[นครนิวยอร์ก]] [[สหรัฐอเมริกา]] ]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:32, 4 กันยายน 2556

สถานีรถไฟแกรนด์เซ็นทรัล นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

สถานีรถไฟ คืออาคารหรือกลุ่มอาคาร ที่ใช้เป็นจุดจอด แวะพัก เปลี่ยนขบวน สำหรับการเดินรถไฟ มีการรับส่งผู้โดยสารเป็นภารกิจหลัก และรับส่งสินค้าบ้างเป็นครั้งคราว

ประเภทของสถานี

ประเภทของสถานีรถไฟได้แก่

สถานีทั่วไป และ สถานีชุมทาง

สถานีรถไฟกรุงเทพ
สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ
ไฟล์:Rail Chachoengsao 1.jpg
สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา

สถานีทั่วไป เป็นสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเปิดรับส่งผู้โดยสาร และ/หรือสินค้า และเป็นสถานที่ซึ่งมีนายสถานีประจำอยู่และอนุญาตให้รถไฟเดินไปมาตามระเบียบการเดินรถ เช่น สถานีรถไฟคลองมะพลับ สถานีรถไฟแม่ตานน้อย ในเส้นทางสายเหนือ สถานีรถไฟแผ่นดินทอง สถานีบ้านแสลงพัน ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีรถไฟบ้านดงบัง สถานีรถไฟองครักษ์ ในเส้นทางสายตะวันออก และสถานีรถไฟบูกิ๊ต สถานีรถไฟแสงแดด ในเส้นทางสายใต้

สถานีชุมทาง เป็นสถานีที่ทางรถไฟสายหลัก และสายแยก แยกออกจากกัน ทั้งนี้ สถานีชุมทางก็มีคุณสมบัติเหมือนกันกับสถานีทั่วไปเช่นกัน กล่าวคือ เป็นสถานที่รับส่งผู้โดยสาร และ/หรือสินค้า และเป็นสถานที่ซึ่งมีนายสถานีประจำอยู่และอนุญาตให้รถไฟเดินไปมาตามระเบียบการเดินรถ ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย มีสถานีชุมทางทั้งหมด 16 สถานี คือ

อนึ่งทั้งสถานีทั่วไปและสถานีชุมทางนั้น จัดให้อยู่ในประเภทเดียวกันคือ ประเภท สถานีรถไฟ โดยแบ่งชั้นสถานีเป็น 5 ระดับ ตามปริมาณรายได้จากการโดยสาร จำนวนประชากรในชุมชน และความสำคัญในการเดินรถไฟ (เช่น เป็นที่ตั้งของแขวงเดินรถ เป็นต้น) ดังนี้

ป้ายหยุดรถไฟ

ที่หยุดรถไฟหนองไข่น้ำ

เป็นสถานที่ที่ซึ่งขบวนรถหยุดเพื่อรับส่งผู้โดยสาร แต่ไม่มีการขนส่งสินค้าขึ้นลง รวมไปถึงป้ายหยุดรถไฟจะไม่มีนายสถานีอยู่ประจำ ป้ายบอกชื่อทำด้วยเหล็ก เป็นตั้งแต่ก่อสร้าง ตัวอย่างเช่น ป้ายหยุดรถไฟอุรุพงษ์ ป้ายหยุดรถไฟพญาไท ในเส้นทางสายตะวันออก ป้ายหยุดรถไฟนิคมรถไฟ กม.11 ป้ายหยุดรถไฟนวนคร ในเส้นทางสายเหนือ ป้ายหยุดรถไฟบ้านหนองกันงาในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ และป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ ป้ายหยุดรถไฟสะพานจุฬาลงกรณ์ ในเส้นทางสายใต้

ที่หยุดรถไฟ

เป็นสถานีที่ซึ่งขบวนรถหยุดเพื่อรับส่งผู้โดยสาร และขนส่งสินค้าขึ้นลง แต่ไม่มีนายสถานีอยู่ประจำ ป้ายทำด้วยปูน อาจเป็นที่หยุดรถตั้งแต่ก่อสร้างหรือสถานีที่ ถูกลดระดับ เช่น ที่หยุดรถไฟบ้านแต้ ที่หยุดรถไฟบ้านไร่ ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ที่หยุดรถไฟปากแพรก ที่หยุดรถไฟเขาหลุง ในเส้นทางสายใต้ ที่หยุดรถไฟผาคอ ที่หยุดรถไฟแม่พวก ในทางรถไฟสายเหนือ และ ที่หยุดรถไฟไทย ชายแดนไทย-กัมพูชา ในทางรถไฟสายตะวันออก เป็นต้น

สถานีรถไฟเฉพาะกิจ

สถานีรถไฟเฉพาะกิจ คือสถานีที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น เป็นสถานีขนส่งสินค้าอย่างเดียวไม่รับผู้โดยสาร (บางแห่งรับผู้โดยสารร่วมด้วย) นอกจากนี้ อาจจะเป็นสถานีสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น สถานีรถไฟหลวงสวนจิตรลดา

รายชื่อสถานีรถไฟในประเทศไทย

รายชื่อสถานีรถไฟ ที่ทำการเดินรถระหว่างสถานีโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย

รายชื่อสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เส้นทางปัจจุบัน (ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล)

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 คำสั่งฝ่ายการเดินรถ เรื่องการปรับปรุงยกระดับสถานี, คำสั่งฝ่ายการเดินรถ เรื่องการปรับปรุงยกระดับสถานีรถไฟ 30 ธันวาคม 2554.
  2. โผบัญชีสถานีรถไฟปี 2553 หลังเลิกสถานีชั้น 4 แล้ว, โผบัญชีสถานีรถไฟปี 2553 หลังเลิกสถานีชั้น 4 แล้ว.