ข้ามไปเนื้อหา

ปฏิกิริยาต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ต่อไปนี้คือ การตอบสนองต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564

การตอบสนองภาครัฐ การคุกคามและจับกุม

[แก้]
วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก
video icon ตำรวจจับกุมพริษฐ์ ชีวารักษ์ แกนนำนักศึกษา 14 สิงหาคม 2563, วิดีโอยูทูบ
video icon ตำรวจจับไผ่ ดาวดิน 13 ตุลาคม 2563, วิดีโอยูทูบ

บทวิเคราะห์พบว่าการตอบสนองของภาครัฐได้แก่การใช้กำลังและการคุกคาม การกักขังตามอำเภอใจ การจับกุมและตั้งข้อหา การเผยแพร่ความเท็จ การใช้หน่วยสงครามข่าวสาร (IO) การตรวจพิจารณาสื่อ การประวิงเวลา การขัดขวาง การสนับสนุนกลุ่มนิยมรัฐบาล และการเจรจา[1] ทั้งนี้ การมีอยู่ของหน่วยสงครามข่าวสารที่มีการรณรงค์ไซเบอร์ต่อผู้วิจารณ์รัฐบาลได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะในเดือนกุมภาพันธ์ 2563[2] กรมประชาสัมพันธ์เปิดตัวคลิปโฆษณาชวนเชื่อโจมตีผู้ประท้วง[3]

ยุทธวิธีของทางการไทยประกอบด้วยคำสั่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อสั่งให้ขัดขวางการชุมนุมของนักศึกษา และรวบรวมชื่อแกนนำผู้ประท้วง การกล่าวหาว่าข้อเรียกร้องของนักศึกษาจะนำไปสู่ความรุนแรง บ้างมีการพาดพิงถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา และพฤษภาทมิฬ[4] มหาวิทยาลัยที่สั่งห้ามชุมนุมในพื้นที่ของตน เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีข่าวว่าตำรวจบางท้องที่ส่งจดหมายสั่งห้ามจัดการชุมนุมในสถานศึกษา[5] ต่อมาวันที่ 18 สิงหาคม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานออกประกาศอนุญาตให้นักเรียนจัดการชุมนุมในโรงเรียนรัฐได้โดยห้ามคนนอกเข้าร่วม[6] แต่ในปลายเดือนสิงหาคม มีรายงานว่ามีการกีดกันหรือคุกคามการแสดงออกทางการเมืองอย่างน้อย 109 กรณี[7]

ต้นเดือนสิงหาคม กลุ่มทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเปิดเผยว่ามียุทธวิธีคุกคามฝ่ายผู้ประท้วงของทางการ เช่น การติดตามหาข้อมูลถึงบ้าน การถ่ายภาพผู้ประท้วงและป้ายข้อความรายบุคคล การปิดกั้นพื้นที่ ฯลฯ[8] จนถึงเดือนตุลาคม 2563 มีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 167 คน โดยมีการตั้งข้อหาหนักสุดคือปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง รวมทั้งมีการจับกุมเยาวชน 5 คนโดยไม่มีการตั้งข้อหา[8][9] อ้างว่าทราบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนว่าถูกควบคุมตัวไปยังค่าย ตชด. แห่งหนึ่ง[10] ฝ่ายตำรวจอ้างว่าตรวจสอบแล้วไม่พบเหตุดังกล่าว และได้ออกหมายจับนายเวหา หรืออาร์ท แสนชนชนะศึก แอดมินของเพจดังกล่าว ข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ[9] ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกล่าวว่า หากผู้ประท้วงไม่อยากถูกจับ ให้ไปประท้วงที่ทุ่งกุลาร้องไห้[11] ตำรวจยึดหนังสือคำปราศรัยของอานนท์ นำภา[12] มีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 63 คนตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินทั้งที่รัฐบาลอ้างว่าอนุญาตให้มีการชุมนุมภายใต้กฎหมายดังกล่าว [13] ผู้ที่ถูกตำรวจควบคุมตัวบางครั้งพบว่าได้รับบาดเจ็บ[14]

มีรายงานข่าวการคุกคามรูปแบบอื่น เช่น ทหาร​พรานเข้าหาตัวผู้ชุมนุมที่มัสยิดกรือเซะ จังหวัดปัตตานีที่บ้าน[15] เจ้าหน้าที่ตามหาเด็กอายุ 3 ขวบที่ชูสัญลักษณ์ 3 นิ้วต้านรัฐบาล[16] ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (รุ้ง) และพริษฐ์ ชิวารักษ์ (เพนกวิน) แกนนำ สนท. โพสต์ข้อความว่า มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบมาติดตามพวกตนมายังที่พัก คาดว่าเตรียมจับกุมพวกตน[17] นอกจากนี้ พริษฐ์ยังถูกแจ้งความข้อหากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วย[18] ต้นเดือนกันยายน ตำรวจออกหมายเรียกผู้ประท้วงนักเรียนมัธยมในความผิดตามกฎหมายความมั่นคง[19] กลางเดือนกันยายน ตำรวจเข้าตรวจค้นบ้านพักของ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา พบป้ายผ้า 17 ผืน[20] ศ. นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์ไทย แสดงความกังวลว่าหากปล่อยเวลาไปอีก 6 เดือน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อาจจัดตั้งฝ่ายต่อต้านได้สำเร็จเหมือนกับครั้งในปี 2519[21]วันที่ 14 ตุลาคม ชนกนันท์ รวมทรัพย์ จัดประท้วงที่สถานเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้

วันที่ 15 ตุลาคม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร และตั้งกองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยมี พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้อำนวยการ[22] ซึ่งอาจารย์และนักรัฐศาสตร์กว่า 100 คนเขียนจดหมายเปิดผนึกตั้งคำถามถึงความชอบด้วยกฎหมายของการประกาศดังกล่าว เพราะไม่มีภัยคุกคามต่อความมั่นคงเช่นความรุนแรง[23] ต่อมามีการใช้อำนาจสั่งปิดสื่อ 4 สำนัก ประกอบด้วยประชาไท เดอะรีพอร์ตเตอส์ เดอะสแตนดาร์ดและวอยซ์ทีวี[24] รวมทั้งสั่งปิดแอปพลิเคชันเทเลแกรม[25] แต่ต่อมาศาลมีคำสั่งยกเลิกคำร้อง[26] ตำรวจยังยึดหนังสือที่มีเนื้อหาวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน[27] กรุงเทพมหานครอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ชุมนุมนิยมเจ้า[28]

กรุงเทพมหานครให้การสนับสนุนผู้ประท้วงโต้โดยมีการจัดรถส่งคนไปยังที่ชุมนุม[29] และจัดหารถสุขาและรถขยะให้[30]

บทบาทของพระมหากษัตริย์

[แก้]
ป้ายแบนเนอร์ “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” ที่การขุมนุมในวันที่ 29 ตุลาคม

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสำนักพระราชวังไม่มีความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับการประท้วงต่อสาธารณะตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ในเดือนสิงหาคม หนังสือพิมพ์ เอเชียไทมส์ รายงานอ้างข้าราชการคนหนึ่งว่า พระมหากษัตริย์ทรงไม่รู้สึกถูกรบกวนจากการประท้วง และผู้ประท้วงควรสามารถแสดงความคิดเห็นได้[31] อย่างไรก็ดี อัลจาซีรารายงานว่า พระมหากษัตริย์ทรงให้สื่อไทยตรวจพิจารณาข้อเรียกร้อง 10 ข้อ[32]

วันที่ 24 ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสชมสุวิทย์ ทองประเสริฐอดีตพระพุทธะอิสระและผู้ชูพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรกลางกลุ่มผู้ชุมนุม[33] นับเป็นการแสดงความเห็นต่อสาธารณะครั้งแรกต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ทำให้แฮชแท็ก #23ตุลาตาสว่าง ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ของประเทศไทย โดยมีการรีทวีตกว่า 500,000 ครั้ง ผู้ประท้วงคนหนึ่งออกความเห็นว่า พระมหากษัตริย์อยู่ ณ ใจกลางของปัญหาการเมืองไทยมาโดยตลอด[9] แพทริก จอรี อาจารย์มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ระบุว่า พระองค์ทรงมีอุปนิสัยทำนายไม่ได้ ทรง "เต็มพระทัยใช้ความรุนแรง" และอาจกดดันประยุทธ์ให้ปราบปรามผู้ประท้วง[34]

สนับสนุน

[แก้]
ผู้ประท้วงสตรีนิยมแสดงข้อความรณรงค์เกี่ยวกับอวัยวะเพศสตรีและแนวคิดสิทธิเสรีภาพของสตรีในการชุมนุมในกรุงเทพมหานคร

สำหรับข้อกังวลเกี่ยวกับโอกาสการรับเข้าทำงานของเยาวชนที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง ผู้เชี่ยวชาญทรัพยากรมนุษย์ตอบว่า คนที่จะได้รับผลกระทบมีเฉพาะผู้ที่มีฝ่ายทางการเมือง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมืองเท่านั้น[35]

มี ส.ส. สังกัดพรรคก้าวไกล ระบุว่าการพาดพิงถึงพระมหากษัตริย์ในการประท้วง (เช่น การล้อเลียน เสียดสี มีม ฯลฯ) เป็นความจริงที่น่ากระอักกระอ่วน และจำต้องให้ความสนใจ อย่างไรก็ดี หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ และอภิรัชต์ตอบโต้อย่างรุนแรง โดยมองว่าในผู้ประท้วงมีกลุ่มผู้ต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์แอบแฝง หรือไม่นักศึกษาก็ตกเป็นเหยื่อของผู้อยู่เบื้องหลังที่มีเจตนาดังกล่าว[36] ศาสตราจารย์ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขียนว่า "เด็กเขาก็แสดงออกในสิ่งที่เขาคิด... ถามว่าทำไมเราถึงรู้สึกหวั่นไหว ตกอกตกใจ หรือสะดุ้งเวลาเห็นข้อความบางข้อความ เพราะว่าจุดที่เราสะดุ้งนั้น มันไม่ใช่จุดของเด็ก มันเป็นจุดของเราเอง เป็นเพดานของเรา แต่เด็กเขาไม่เห็นเพดาน เขายังไม่มีเพดาน ส่วนพวกเราที่ผ่านชีวิตมาแล้ว เราเห็นเพดาน หรือเราเห็นเส้นที่ห้ามแตะ ห้ามเกิน เป็นเส้นตัด" มีเด็กนักเรียนคนหนึ่งที่ถือป้ายทำนองดังกล่าวให้สัมภาษณ์ว่า "พี่เขาให้มา หนูก็รับ ไม่ได้คิดว่าจะมีปัญหา มันเป็นสิ่งที่ควรพูดได้ และไม่ควรมีใครต้อง 'เป็นบ้า' เพียงเพราะเขียนข้อความอะไรลงแผ่นกระดาษหรือบนเสื้อ"[37] ในวันที่ 28 กรกฎาคม อานนท์ นำภา โพสต์ว่า ทราบมาว่ามีการจัดตั้งกลุ่มคนมาทำร้ายผู้ชุมนุมตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม[38]

นับแต่มีข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ สำหรับพรรคการเมืองมีเพียงพรรคก้าวไกลที่ออกมาสนับสนุนให้เปิดโอกาสแสดงออกแก่นักศึกษา[39] คณาจารย์อย่างน้อย 147 คนลงชื่อสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกของนักศึกษาในวันที่ 10 สิงหาคม และระบุว่าเนื้อหาไม่ได้ขัดต่อกฎหมาย[40][8] และนักวิชาการเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองอย่างน้อย 358 สนับสนุนการประท้วง[8] บุคลากรโรงเรียนบางส่วนสนับสนุนการแสดงออกของนักเรียน[41]

มารีญา พูลเลิศลาภ นางงาม แสดงจุดยืนเข้ากับผู้ประท้วง[42] ต่อมาเธอเล่าว่าตนได้รับผลกระทบจากการสนับสนุนดังกล่าว นักแคสเกมที่มีชื่อเสียงที่ใช้ชื่อว่า ฮาร์ตร็อกเกอร์ ก็แสดงความสนับสนุนเช่นกัน[43] หลังมีข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ในต้นเดือนสิงหาคม ได้แก่ ทรงยศ สุขมากอนันต์, พีรวัส แสงโพธิรัตน์, ศดานนท์ ดุรงคเวโรจน์, ชลิตา ส่วนเสน่ห์, โฟกัส จีระกุล, หนึ่งธิดา โสภณ ประกาศสนับสนุนการประท้วง[44] เช่นเดียวกับสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตห้าคน อาทิ แพรวา สุธรรมพงษ์[45][46]

ศัลยแพทย์หญิง[47]คนหนึ่งถูกไล่ออกเพราะลงนามสนับสนุนผู้ประท้วง[48]ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ นักร้องถูกไล่ออกเช่นเดียวกัน[49]

วันที่ 18 สิงหาคม ยูนิเซฟออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทุกฝ่ายรับรองความปลอดภัยของผู้ชุมนุมเด็กและเยาวชน โรงเรียนและสถานศึกษาเป็นที่แสดงออกและแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างสร้างสรรค์[50]

สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและองค์การนิรโทษกรรมสากลรับรองสภาพสงบของการชุมนุม และประณามการสลายการชุมนุม[51][52] ผู้อำนวยการฮิวแมนไรต์วอชเอเชียกล่าวว่า การทำให้การชุมนุมโดยสงบเป็นความผิดเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองระบอบเผด็จการ ทั้งเรียกร้องให้สหประชาชาติและรัฐบาลนานาประเทศประณามด้วย และให้ปล่อยตัวนักโทษ[8] นักเคลื่อนไหวชาวฮ่องกง โจชัว หว่อง โพสต์ทวิตเตอร์แสดงความเป็นอันหนึ่งเดียวกับผู้ประท้วง และขอให้ทั่วโลกสนใจการประท้วงในประเทศไทย[53]

หนังสือพิมพ์ ข่าวสด และ บางกอกโพสต์ เขียนบทบรรณาธิการเรียกร้องให้ประยุทธ์ลาออกเพื่อลดความขัดแย้ง แต่ทั้งสองไม่ได้กดดันข้อเรียกร้องรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์[54][55]

วันที่ 23 ตุลาคม กลุ่มประชาสังคมในประเทศเกาหลีใต้ เรียกร้องให้รัฐบาลเลิกส่งออกรถติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูงแก่ทางการไทย[56]

คัดค้าน

[แก้]

อดีตรองโฆษกกองทัพบกเรียกผู้ประท้วงว่า "ม็อบมุ้งมิ้ง" ทางเฟซบุ๊ก การประท้วงต่อมาบ้างใช้คำว่า "มุ้งมิ้ง" ในชื่อกิจกรรมของพวกตน[57] พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์เตือนว่าการกระทำของผู้ประท้วงบางคนอาจเข้าข่ายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย และน้ำตาคลอเมื่อเล่าถึงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ของตน[58] ด้านพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย เตือนเขาไม่ให้ยุ่งกับผู้ประท้วง และให้ "รีบเกษียณอายุราชการ"[59] ด้านพลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่ที่เพิ่งรับตำแหน่งในเดือนตุลาคม 2563 รีบตำหนิข้อเสนอปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ทันที พร้อมกับบอกว่าให้ "ปฏิรูปตนเองก่อน"[60]

ด้านอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย แสดงความกังวลถึงโอกาสแพร่กระจายของโรคโควิด-19 แต่วางท่าทีเป็นกลางต่อข้อเรียกร้อง 3 ประการ[61]

นักเรียนเลว Twitter logo, a stylized blue bird
@BadStudent_

นี่สิ่งที่เพื่อน ๆ ของเราหลายคนต้องเจอค่ะ

- ขู่ตัดแม่ตัดลูกถ้ายังไม่หยุดทำ
- ไม่ให้เงินไปโรงเรียนมาเกือบ 2 เดือน
- เก็บค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าที่อยู่กับลูกตัวเอง
- จะไล่ออกจากบ้าน ให้ไปอยู่ที่อื่น
- จะส่งไปอยู่ต่างประเทศ
- จะไม่จ่ายค่าเทอมให้

Sep 16, 2020[62]

ผู้ชุมนุมกลุ่มคณะราษฎรถูกผู้ชุมนุมตอบโต้ในชุดเหลืองทำร้ายร่างกาย, 14 ตุลาคม 2563

การคัดค้านในเวลาต่อมาพยายามอ้างว่ามีรัฐบาลหรือองค์การนอกภาครัฐต่างชาติให้การสนับสนุนการประท้วง วันที่ 10 สิงหาคม สถาบันทิศทางไทย ซึ่งมีอดีตสมาชิกกลุ่ม กปปส. เข้าร่วม[63] เผยแพร่ "แผนผังเครือข่ายปฏิวัติประชาชน" ซึ่งโยงผู้ประท้วงนักศึกษา กับ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ ทักษิณ ชินวัตร ตลอดจนมีการเชื่อมโยงเป็นทฤษฎีสมคบคิดเพื่อทำลายประเทศไทย[64] ภูมิวัฒน์ แรงกสิวิทย์ แกนนำแนวร่วมนวชีวิน ที่มีข่าวว่าเริ่มอดอาหารประท้วงหน้าสัปปายะสภาสถานตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม โดยให้สัมภาษณ์ว่าทำเพื่อเน้นย้ำความยากจนที่เกิดจากโควิด-19[65] แต่ภายหลังออกมาให้สัมภาษณ์ว่าแตกหักกับกลุ่มเยาวชนปลดแอกเนื่องจากไม่พอใจที่ไม่ได้ขึ้นเวที ขณะเดียวกันตัวเขาเองก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นสายตำรวจ[66] บ้างอ้างว่า ที่องค์การการบริจาคทรัพย์เพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Endowment for Democracy) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นองค์การนอกภาครัฐที่ได้รับจัดสรรเงินสนับสนุนผ่านรัฐสภาสหรัฐ สนับสนุนกลุ่มต่าง ๆ ที่สนับสนุนฝ่ายผู้ประท้วงนั้น เป็นหลักฐานเชื่อมโยงดังกล่าว[67]

ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองส่วนใหญ่ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ประยุทธ์แสดงความไม่สบายใจ[68]ผศ.ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ขออภัยกรณีข้อเสนอ 10 ข้อของนักศึกษา โดยระบุว่าเมื่อนักศึกษามาขอใช้พื้นที่ชุมนุมไม่ได้แจ้งเรื่องนี้[69] ด้าน คุณหญิง ดร.สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ให้สัมภาษณ์ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอที่กระทบกระเทือนพระราชอำนาจ[70] ด้านประวิตร โรจนพฤกษ์ตั้งคำถามถึงเงินทุนสนับสนุนและการจัดระเบียบที่มีลักษณะคล้าย นปช. หรือ กปปส.[71] หนังสือพิมพ์แนวหน้า เขียนว่าข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำชั่วร้าย สร้างความแตกแยก อ้างว่าเป็นการประท้วงรัฐบาลหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อบังหน้า แต่เป็นการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ มีเบื้องหลังเป็นพรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่[72] ในช่องทางออนไลน์ กลุ่มองค์กรเก็บขยะแผ่นดิน ซึ่งถูกขนานนามในวารสารวิชาการระดับนานาชาติว่าเป็นองค์การคลั่งเจ้า ลัทธิฟาสซิสต์และได้รับการสนับสนุนจากรัฐ[73][74][75] กล่าวหานักศึกษาว่าเป็นพวกล้มเจ้า กบฏ คนทรยศและขยะ[76][77] นอกจากนี้เกิดเหตุทำร้ายร่างกายผู้ประท้วงโดยมวลชนฝ่ายตรงข้าม[78] วันที่ 16 กันยายน ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยกรณีปราศรัยข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ในวันที่ 10 สิงหาคมในข้อหาล้มล้างการปกครอง[79]

หลังจากการเข้าร่วมการชุมนุมของนักเรียนมัธยม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่ามีกรณีการคุกคามนักเรียนอย่างน้อย 103 กรณี[80] ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ประกาศให้รางวัลครูที่ตบสมาร์ทโฟนของนักเรียน และว่าถ้าตนพบเห็นนักเรียนชูสามนิ้วจะจับตีก้น[81] การดูหมิ่นผู้ประท้วงนักเรียนหญิงบางคนไปไกลถึงขั้นว่าสมควรถูกข่มขืนกระทำชำเรา[82] ต่อมาในเดือนกันยายน ทวิตเตอร์กลุ่มนักเรียนเลวโพสต์ว่าสมาชิกกลุ่มบางส่วนได้รับผลกระทบทั้งในด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและเศรษฐกิจจากการเข้าร่วมการชุมนุม[83]

บางคนและกลุ่มค้านยุทธวิธีของผู้ประท้วง เช่น รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ หรือเพจโปลิศไทยแลนด์ ประณามการสาดสีใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจของผู้ประท้วง โดยกล่าวว่าเป็น "ความรุนแรง"[84][85] บางกลุ่มรับไม่ได้กับภาษาหยาบคายที่แกนนำผู้ชุมนุมใช้[86]

ตำรวจและกลุ่มฝ่ายขวาส่วนหนึ่งรังควาน ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และอดีตสมาชิกพรรคอนาคตใหม่เพราะถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนการประท้วง[87][88] สื่อหลายสำนักพยายามลงข่าวให้เข้าใจว่าฝ่ายผู้ชุมนุมพยายามก่อให้เกิดความรุนแรงก่อน[89][90]

สนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำกลุ่ม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรียกร้องให้กองทัพเข้ารักษาความสงบอีกครั้ง แม้นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารบกประกาศว่าจะไม่รัฐประหาร[91]

ในเดือนมีนาคม 2564 ผู้อำนวยการซูเปอร์โพลเปิดเผยการสำรวจ 1,858 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 9–12 มีนาคม 2564 ระบุว่าผู้ตอบร้อยละ 97.2 ระบุว่าการประท้วงทำให้โควิด-19 แพร่ระบาดมากขึ้น และร้อยละ 97.1 ระบุว่าการประท้วงก่อความเดือดร้อนมากกว่ากฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ร้อยละ 96.2 มุ่งทำร้ายสถาบันหลักอันเป็นหัวใจของคนไทย ร้อยละ 95.2 มองว่าผู้ประท้วงกำลังชักศึกเข้าบ้าน และร้อยละ 94.8 กังวลว่ารัฐบาลต่างชาติอยู่เบื้องหลังผู้ประท้วง ก่อนสรุปว่าคนไทยส่วนใหญ่ "รู้เท่าทันม็อป"[92]

การห้ามใช้พื้นที่ชุมนุม

[แก้]

สถานศึกษาที่ประกาศห้ามชุมนุม เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[93] มหาวิทยาลัยมหิดล[94] โรงเรียนราชินี ส่วนที่โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน มีการพ่นยากันยุงในวันที่นัดชุมนุม[95]

ส่วนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอนุญาตให้นักเรียนจัดกิจกรรมในโรงเรียนได้ เพียงแต่ห้ามบุคคลภายนอกเข้าร่วม[96]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Chotanan, Patawee. "Dancing with dictatorship: how the government is dealing with the Free Youth movement". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-18.
  2. BBC News (26 February 2020). "อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล : ส.ส. จากพรรคที่เพิ่งถูกยุบกล่าวหากองทัพใช้เงินภาษีทำสงครามจิตวิทยากับผู้เห็นต่างทางสื่อสังคมออนไลน์". BBC News.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "แห่ดิสไลค์ คลิปกรมประชาฯ โวยรัฐใช้ภาษีทำคลิปดิสเครดิตม็อบเยาวชน". ไทยรัฐ. 22 August 2020. สืบค้นเมื่อ 22 August 2020.
  4. "Exclusive: Thailand tells universities to stop students' calls for monarchy reform". www.msn.com. สืบค้นเมื่อ 2020-09-14.
  5. "ด่วน! ตร.พัทลุง ทำหนังสือถึงโรงเรียน สั่งห้าม นร.-นศ. ชุมนุมไล่รัฐบาล". Khaosod. 24 July 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2020. สืบค้นเมื่อ 26 July 2020.
  6. "ให้ทุกรร.สังกัดสพฐ.อนุญาตเด็กจัดชุมนุมแต่ห้ามคนนอกร่วม". เนชั่น. 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  7. "เปิดชื่อ 109 รร. คุกคาม นร. "ผูกโบว์ขาว-ชู 3 นิ้ว"". BBC Thai. สืบค้นเมื่อ 24 August 2020.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 ศูนย์ทนายสิทธิฯ เปิด 8 รูปแบบการคุกคามปิดกั้น รอบ 2 อาทิตย์หลังเยาวชนเริ่มปลดแอก
  9. 9.0 9.1 9.2 ไม่รอด! ตร.จับแอดมินกุข่าวอุ้ม 3 แกนนำเยาวชนพิษณุโลกเข้าค่าย ตชด. แฉมีคดีติดตัว
  10. 3 แกนนำเยาวชนยังหายตัวปริศนา ส.ส.พิษณุโลก เผย ตชด.ปฏิเสธ ไม่ได้คุมตัว
  11. "ม็อบสะดุ้ง จักรทิพย์ เล่นมุข อยากชุมนุมไม่โดนจับ ให้ไปทุ่งกุลาร้องไห้". ข่าวสด. 20 August 2020. สืบค้นเมื่อ 25 August 2020.
  12. "สกัดรถยึดหนังสือ กลุ่มนักศึกษาปลดแอก 50,000 เล่ม มวลชนเผาหุ่นฟางนายกฯ". ไทยรัฐ. 19 September 2020. สืบค้นเมื่อ 19 October 2020.
  13. "The politics of decree". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "Police vow to detain 3 protesters further". Bangkok Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2020. สืบค้นเมื่อ 31 October 2020.
  15. 'ทหารพราน' อ้าง 'นายสั่งมา' เยี่ยมบ้าน-สอบข้อมูลส่วนตัวผู้ชุมนุม 'แฟลชม็อบปัตตานี' หลายราย Prachatai. (2020-08-12 22:19) สืบค้นเมื่อวันที่ 13-08-2020
  16. "แห่แชร์!! เจ้าหน้าที่ตามหา 'เด็กอนุบาล 3 ขวบ' ถึงบ้าน หลัง ชู 3 นิ้วต้านเผด็จการ". มติชนออนไลน์. 22 August 2020. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
  17. รุ้ง-เพนกวิน' 2 แกนนำ สนท. โพสต์มีเจ้าหน้าที่ตามถึงหอพัก หวั่นถูกจับกุมกลางดึก Prachatai. (2020-08-12) สืบค้นเมื่อวันที่13สิงหาคม2563
  18. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ทรงให้ความเห็นเรื่องการคุกคามประชาชน ด้าน "เพนกวิน พริษฐ์" โดนแจ้งความ ม. 112
  19. "High school student summoned for Ratchaburi protest". Prachatai. 10 September 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. "ด่วน! เจ้าหน้าที่บุกค้นบ้าน 'ไผ่ ดาวดิน' ที่ขอนแก่น ขอยึดป้ายกิจกรรมเป็นหลักฐาน". มติชน. 17 September 2020. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  21. "นิธิ เอียวศรีวงศ์ หวั่น 6 ตุลา รอบใหม่". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 12 August 2020.
  22. "ประกาศแต่งตั้ง หัวหน้าผู้รับผิดชอบ กอร.ฉ. แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง". ไทยรัฐ. 15 October 2020. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
  23. English, Khaosod (2020-10-16). "Editorial: Prayut Has Lost All Legitimacy. He Must Go". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-10-17.
  24. "Police move to silence news, Facebook platforms". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2020-10-19.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  25. "โลกออนไลน์ เผยแพร่เอกสาร สั่งปิด 'เทเลแกรม'". มติชนออนไลน์. 19 October 2020. สืบค้นเมื่อ 19 October 2020.
  26. "ด่วน! ศาลอาญายกเลิกคำร้องปิดวอยซ์ทีวี รวมทั้ง 'เยาวชนปลดแอก' ด้วย". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 21 October 2020.
  27. "ตำรวจบุก "ฟ้าเดียวกัน" ตรวจยึดหนังสือวิจารณ์สถาบันกษัตริย์". ูผู้จัดการออนไลน์. 19 October 2020. สืบค้นเมื่อ 19 October 2020.
  28. "'อัศวิน'จัดรถขยะ-รถสุขา ให้ม็อบป้องสถาบันฯหน้ารัฐสภา". เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
  29. "Anti-Gov't Protest Plans Complicated by Royal Itinerary". Khaosod English. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2020. สืบค้นเมื่อ 14 October 2020 – โดยทาง Reuters.
  30. "'อัศวิน'จัดรถขยะ-รถสุขา ให้ม็อบป้องสถาบันฯหน้ารัฐสภา". Daily News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2020. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
  31. Crispin, Shawn W. (18 August 2020). "New generation of daring resistance in Thailand". Asia Times. สืบค้นเมื่อ 20 August 2020.
  32. "Thai PM says protesters' call for monarchy reform 'went too far'". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 2020-08-20.
  33. ""ในหลวง" ตรัส "กล้ามาก เก่งมาก ขอบใจ" ชายชูพระบรมฉายาลักษณ์ ร.๙ กลางผู้ประท้วง (ชมคลิป)". ผู้จัดการออนไลน์. 24 October 2020. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020.
  34. "Can Thai monarchy emerge unscathed as it faces its greatest challenge?". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 31 October 2020. สืบค้นเมื่อ 1 November 2020.
  35. "โควิด-19 : นายจ้างหาอะไรใน CV เด็กจบใหม่ ในยุคเศรษฐกิจทรุด". BBC Thai. 5 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  36. ยอมรับแล้ว! “ปิยบุตร” ยืมปาก “พิธา” เฉลย “ล้มเจ้า” ในม็อบ “สาธิต” นักธุรกิจอินเดียรักในหลวงขอถก “บิ๊กแดง”
  37. แฟลชม็อบ : การต่อสู้ระหว่างกลุ่ม "ฟันน้ำนม" กับ "ฟันปลอม"
  38. ทนายอานนท์เผยได้ข่าวมีการจัดตั้งกลุ่มคนมาทำร้ายผู้ชุมนุมตั้งแต่พรุ่งนี้
  39. @MFPThailand (11 August 2020). "นอกจาก 3 ข้อเรียกร้องทางการเมืองไทยแล้ว" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ 11 August 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  40. "คณาจารย์ ลงชื่อหนุนกลุ่ม นศ. "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน"". ไทยรัฐ. 12 August 2020. สืบค้นเมื่อ 12 August 2020.
  41. ครูร่วมปลดแอก ชูสามนิ้วในห้องพักครู ขออยู่เคียงข้างนักเรียน matichon.co.th เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563
  42. 'มารีญา' โพสต์ประกาศจุดยืนขออยู่ข้าง 'เยาวชนปลดแอก'
  43. เอก HRK และ โบ๊ะบ๊ะแฟมมิลี่ ออกมาแสดงจุดยืนทางการเมือง ถึงกลุ่ม เยาวชนปลดแอก
  44. "Time to call out. Thai stars show solidarity with protest leader". workpointTODAY. 13 August 2020. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
  45. AmirinTV. "คอมเมนต์สนั่น! ปรากฏการณ์โซเชียลมูฟเมนต์ จากไอดอลสาว BNK 48". Amarin.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  46. Prachachat (14 August 2020). "ดารา-คนบันเทิง แห่โพสต์สนับสนุนเสรีภาพ ต้านการคุกคามประชาชน". Prachachat.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  47. “หมอจรสดาว” โพสต์อำลาคนไข้ ระบุจากนี้ต้องหาทางเดินของตัวเอง หลังโดน “หมอเหรียญทอง” ไล่ออก
  48. "Doctor sacked for opposing govt's dispersal of protesters". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 18 October 2020.
  49. 'แอมมี่'ขึ้นเวทีมธ. ครวญโดนเลิกจ้างงานทั้งปี ขู่'บิ๊กตู่'ถ้าคุกคามพร้อมสู้ทุกรูปแบบ
  50. "ยูนิเซฟ เรียกร้องเคารพสิทธิ-ปกป้องความรุนแรงเด็กและเยาวชน". ประชาชาติธุรกิจ. 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  51. "Thailand: Bangkok shuts public transport as protests persist | DW | 17.10.2020". Deutshe Welle. สืบค้นเมื่อ 17 October 2020.
  52. "Thailand: Police disperse pro-democracy protesters outside PM's office". Euro News (ภาษาอังกฤษ). 15 October 2020. สืบค้นเมื่อ 15 October 2020.
  53. "โจชัว หว่อง ฝากถึงชาวโลก ให้ช่วยยืนเคียงข้างชาวไทยหัวใจประชาธิปไตย". Khaosod. 16 October 2020. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
  54. English, Khaosod (2020-10-16). "7 Arrested for Fresh Protest, Cops Threaten to Charge Everyone". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-10-17.
  55. "Listen to the young". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2020-10-19.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  56. "เกาหลีใต้ จี้ รบ.เลิกส่งออกรถฉีดน้ำสลายม็อบ". VoiceTV. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020.
  57. "#MGRTOP7 : "บอส อยู่วิทยา" คุกไทยมีไว้ขังคนจน? — "ม็อบมุ้งมิ้ง" เฝ้ามองไม่คุกคาม — "สุริยะ+นิติตะวัน" พ่าย "จันทร์โอชา"". MGR Online. 25 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
  58. ""บิ๊กแดง" น้ำตาคลอ! เปิดใจถึงม็อบ นศ. เตือนอย่าใช้วาจาจาบจ้วง". Channel 8. 24 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
  59. ""เสรีพิศุทธ์" เตือน ผบ.ทบ. "อย่ายุ่งม็อบ นศ." ไล่ รีบ ๆ เกษียณอายุราชการไปเสีย". Post Today. 25 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
  60. "ผบ.ทบ. ลั่นโอกาสรัฐประหาร "เป็นศูนย์"". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 6 October 2020.
  61. "จับตา! #ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้ง ทวง 3 ข้อรัฐบาล". ThaiPBS. 25 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
  62. นักเรียนเลว [@BadStudent_] (Sep 16, 2020). "นี่สิ่งที่เพื่อน ๆ ของเราหลายคนต้องเจอค่ะ - ขู่ตัดแม่ตัดลูกถ้ายังไม่หยุดทำ
    - ไม่ให้เงินไปโรงเรียนมาเกือบ 2 เดือน
    - เก็บค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าที่อยู่กับลูกตัวเอง
    - จะไล่ออกจากบ้าน ให้ไปอยู่ที่อื่น
    - จะส่งไปอยู่ต่างประเทศ
    - จะไม่จ่ายค่าเทอมให้"
    (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  63. "เปิดตัว 'สถาบันทิศทางไทย' ขับเคลื่อนไทยไร้ขัดแย้ง". bangkokbiznews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
  64. "สถาบันทิศทางไทย เปิดผังเครือข่ายปฏิวัติประชาชน (เพ้อฝัน)". nationtv.tv. 10 August 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-14. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
  65. "อดข้าวประท้วง : เพราะรัฐบาลไม่เคยเห็นความอดอยากผู้คน นศ.เผยเหตุผลที่อดอาหารร้องรัฐบาลแก้ปัญหาปากท้อง". The Bangkok Insight. 23 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
  66. ""ภูมิวัฒน์" ยุติบทบาทแนวร่วมม็อบปลดแอก แฉถูกปิดปากห้ามขึ้นเวที มีอีแอบรับเงินสถานทูต-NGO ต่างชาติ". Manager Online. 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  67. "A global conspiracy against the Thai Kingdom". thisrupt.co. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-01. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  68. "นายกฯ ไม่สบายใจม็อบธรรมศาสตร์ชุมนุม บอกติดตามดูอยู่". ไทยรัฐ. 11 August 2020. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  69. "อ.ปริญญา ขอน้อมรับผิด โพสต์ชี้แจงกรณี ชุมนุม "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน"". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  70. "'สุดารัตน์'ติงไม่ควรก้าวล่วงสถาบัน วอนยึด3ข้อเรียกร้อง". เดลินิวส์. 11 August 2020. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  71. "นักข่าวเทวดาออกโรงถามลั่น 'ม็อบธรรมศาสตร์จะไม่ทน' เอาเงินมาจากไหน!". Thai Post. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  72. "หยุดจาบจ้วงพระมหากษัตริย์". แนวหน้า. สืบค้นเมื่อ 17 August 2020.
  73. Sombatpoonsiri, Janjira; Carnegie Endowment for International Peace (2018). "Conservative Civil Society in Thailand". ใน Youngs, Richard (บ.ก.). The mobilization of conservative civil society (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Washington, D.C.: Carnegie Endowment for International Peace. pp. 27–32. OCLC 1059452133.
  74. Correspondent, Our. "Thailand Blocks Overseas Opposition Voice". www.asiasentinel.com. สืบค้นเมื่อ 29 August 2020.
  75. "New Social Media and Politics in Thailand: The Emergence of Fascist Vigilante Groups on Facebook". ASEAS - Austrian Journal of South-East Asian Studies (ภาษาเยอรมัน). 9 (2): 215–234. 2016. ISSN 1999-2521. OCLC 7179244833.
  76. English, Khaosod (28 July 2020). "Royalist Campaign Tells Companies Not to Hire Protesters". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.
  77. "Thai royalist seeks to shame, sack young protesters - UCA News". ucanews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.
  78. "Thai protests: Thousands gather in Bangkok as king returns to country". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-10-14. สืบค้นเมื่อ 2020-10-14.
  79. "ศาลรธน.รับวินิจฉัยปมปราศรัยล้มล้างการปกครอง". เดลินิวส์. 16 September 2020. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
  80. "11th grader summoned by teacher, asked not to give protest speeches". Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
  81. "'ปารีณา' ประกาศให้รางวัลครูตบมือถือเด็ก ลั่นเจอนร.ชูสามนิ้ว จะตีก้นให้ลาย". ข่าวสด. 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 19 August 2020.
  82. ""Whores" & "Sluts": why "good people" love these insults". thisrupt.co. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-11. สืบค้นเมื่อ 2020-09-14.
  83. "นักเรียนเลว โอดเคลื่อนไหวทางการเมือง โดนครอบครัวขู่-ไล่ออกจากบ้าน". ข่าวสด. 16 September 2020. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
  84. "'อ.เจษฎา' ชี้ม็อบสาดสีใส่ตร. 'รุนแรง-คุกคาม' ยกตัวอย่างสากลประท้วงสันติวิธีด้วยภาพวาด". Thai Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
  85. "เพจโปลิศไทยแลนด์ ตำหนิม็อบสาดสีใส่ตำรวจไม่เกิดผลดีเลย แสดงออกถึงตัวตนเป็นเช่นไร". Thai Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
  86. "หมอสุกิจ อัดม็อบหยาบคายใส่ 'ชวน' ยันเป็นกลาง ไล่ไปด่า ส.ส.-สว.ตัวเอง". ข่าวสด. 25 September 2020. สืบค้นเมื่อ 14 October 2020.
  87. "ตำรวจ บุกไทยซัมมิท กลางวงแถลงข่าวคณะก้าวหน้า". Bangkokbiznews. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
  88. "บุก 'ไทยซัมมิท' หนสอง ศ.ป.ป.ส.ไล่ 'ธนาธร' พ้นแผ่นดิน จี้ถือธงนำหน้า อย่าแอบหลังขบวนการ น.ศ." Matichon. 12 October 2020. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
  89. "มือมืดปาสี ใส่กลุ่มไทยภักดี ขณะชุมนุมปกป้องสถาบันที่ศาลหลักเมืองขอนแก่น". สยามรัฐ. 23 October 2020. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020.
  90. "ชูป้ายผิดชีวิตเปลี่ยน หวิดถูก'กลุ่มผู้ชุมนุม'ประชาทัณฑ์". เดลินิวส์. 23 October 2020. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020.
  91. "นิวยอร์กไทมส์ ระบุข่าวลือรัฐประหารในไทยผุดขึ้นหลังการประท้วงของเยาวชน". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 3 November 2020.
  92. "ยึดแนวสะพานชมัยมรุเชฐ สร้างหมู่บ้าน-เขียนรธน.ใหม่ ม็อบเดินทะลุฟ้ามาตามนัด". แนวหน้า. สืบค้นเมื่อ 22 March 2021.
  93. ""ม็อบนิสิตจุฬา" ส่อเค้าล่ม สำนักบริหารกิจการนิสิต ไม่อนุญาตใช้พื้นที่". www.thairath.co.th. 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  94. "ไม่สนคำสั่งห้าม! นักศึกษา ม.มหิดล ลุยจัดแฟลชม็อบ #ศาลายาแสกหน้าเผด็จการ". ข่าวสด. 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  95. "นักเรียน รร.ดังขอนแก่น ประกาศชุมนุม รร.จัดฉีดยุงด่วนไล่เด็กกลับบ้าน". ข่าวสด. 13 August 2020. สืบค้นเมื่อ 24 August 2020.
  96. "ให้ทุกรร.สังกัดสพฐ.อนุญาตเด็กจัดชุมนุมแต่ห้ามคนนอกร่วม". เนชั่น. 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.