องค์กรเก็บขยะแผ่นดิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์กรเก็บขยะแผ่นดิน
ตราสัญลักษณ์
คําขวัญจงรักภักดี
ก่อตั้งพ.ศ. 2556 (อายุ 11 ปี)
ผู้ก่อตั้งพลตรี เหรียญทอง แน่นหนา
ประเภทขบวนการทางการเมือง
สถานะตามกฎหมายไม่มีสถานะทางกฎหมาย
วัตถุประสงค์เร่งรัดคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย และเป็นศาลเตี้ย
สมาชิก
200,000 คน[1]: 226 
เว็บไซต์องค์กรเก็บขยะแผ่นดิน ที่เฟซบุ๊ก

องค์กรเก็บขยะแผ่นดิน เป็นกลุ่มศาลเตี้ยออนไลน์กษัตริย์นิยมสุดโต่งที่ได้การสนับสนุนจากรัฐไทย[2][3][4] ซึ่งมีลักษณะเป็นลัทธิฟาสซิสต์[4] ก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายปี 2556 ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 โดยมีนายทหารเกษียณอายุราชการและนายแพทย์ พลตรี เหรียญทอง แน่นหนา เป็นหัวหน้า เป็นองค์การที่มีรูปแบบจัดกิจกรรมแบบฝูงชนและแบบกองทัพอาชีพ และเป็นกลุ่มศาลเตี้ย[1]: 225  มุ่งกำจัด "ขยะสังคม" และผู้กระทำผิดข้อหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย คอยรายงานตำรวจ และมีการ "ล่าแม่มด" คือเปิดเผยที่อยู่และตามก่อกวน ณ ที่พักของผู้นั้น[5] นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวียนนาจัดว่าองค์กรเก็บขยะแผ่นดินเป็นกลุ่มฟาสซิสต์[4]

ในการประชุมครั้งแรกมีอดีตนายทหารยศสูง 30 นายเข้าร่วมประชุมด้วย[1]: 226  เขาอ้างว่าตั้งกองทัพประชาชนเพื่อพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ และอ้างว่าได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษจากกองทัพ แต่ผู้นำกองทัพรีบปฏิเสธ[1]: 226 

สำหรับการเคลื่อนไหวออฟไลน์ มีฝูงชนกดดันให้ผู้ถูกกล่าวหาคนหนึ่งออกจากงาน มีการเปิดเผยที่อยู่ของฉัตรวดี อมรภัตรในกรุงลอนดอน และพบว่ามีคนไปพ่นสเปรย์ใส่ประตูบ้านและกล่องจดหมาย[1]: 227–8  บิดามารดาของเธอยังถูกบีบให้ฟ้องคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ต่อฉัตรวดีด้วย[1]: 228 

กิจกรรมออนไลน์มีการแสดงออกซึ่งความโกรธ ตามด้วยการใช้คำพูดที่สร้างความเกลียดชัง (hate speech) และจดบันทึกการกระทำของตน มีการเรียกร้องและจดการเรียกระดมสมาชิกให้แสดงออกซึ่งความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการโฆษณากิจกรรมมวลชนที่รัฐเป็นผู้จัด ตัวอย่างเช่น "ไบก์ฟอร์มัม" และ "ไบก์ฟอร์แด็ด"[1]: 229  อีกกรณีหนึ่งกลุ่มได้กดดันสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ สาขาประเทศไทย จากการช่วยให้ตั้ง อาชีวะลี้ภัยในประเทศนิวซีแลนด์ มีการคุกคามว่าจะไปทำลายบูธรับบริจาคและตบหน้าเจ้าหน้าที่ สุดท้ายเพจของสำนักงานฯ ต้องปิดไปชั่วคราว[1]: 228  นอกจากนี้มีการโพสต์ภาพเปลือยหรือภาพที่คุกคามต่อผู้เสียหาย ยุทธวิธีการคุกคามอย่างอื่น เช่น โพสต์ภาพในเหตุการณ์ 6 ตุลา[3]

ในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 กลุ่มได้รณรงค์ต่อต้านผู้ประท้วงหลังข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์[6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Schaffar, W. (2016). New social media and politics in Thailand: The emergence of fascist vigilante groups on Facebook. ASEAS – Austrian Journal of South-East Asian Studies, 9(2).
  2. Sombatpoonsiri, Janjira; Carnegie Endowment for International Peace (2018). "Conservative Civil Society in Thailand". ใน Youngs, Richard (บ.ก.). The mobilization of conservative civil society (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Washington, D.C.: Carnegie Endowment for International Peace. pp. 27–32. OCLC 1059452133.
  3. 3.0 3.1 Our Correspondent (2014-12-25). "Thailand Blocks Overseas Opposition Voice". Asia Sentinel. สืบค้นเมื่อ 2020-08-29. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":1" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  4. 4.0 4.1 4.2 Schaffar, Wolfram (2016). "New Social Media and Politics in Thailand: The Emergence of Fascist Vigilante Groups on Facebook". Austrian Journal of South-East Asian Studies (ภาษาอังกฤษ). 9 (2): 215–234. doi:10.14764/10.ASEAS-2016.2-3. ISSN 1999-2521. OCLC 7179244833. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":2" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  5. Janjira Sombatpoonsiri. Conservative Civil Society in Thailand
  6. English, Khaosod (28 July 2020). "Royalist Campaign Tells Companies Not to Hire Protesters". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.
  7. "Thai royalist seeks to shame, sack young protesters - UCA News". ucanews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]