นุรักษ์ มาประณีต
นุรักษ์ มาประณีต | |
---|---|
องคมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 (11 ปี 307 วัน) | |
ก่อนหน้า | จรูญ อินทจาร |
ถัดไป | จิรนิติ หะวานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 เมษายน พ.ศ. 2492 |
คู่สมรส | ผศ.ศรีสัมพันธ์ มาประณีต |
นุรักษ์ มาประณีต เป็นองคมนตรี[1] อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานคณะกรรมการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาอบรมของวิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญ[2] ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2492 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ประวัติ
[แก้]นายนุรักษ์ มาประณีต เคยรับราชการโดยเป็น อัยการผู้ช่วย, ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดไชยา, ศาลจังหวัดภูเก็ต, รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 6, ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 8, ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์ภาค 7[3]
หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นายนุรักษ์ให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญคณะที่ทำการตัดสินคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 อันสืบเนื่องมาจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549[4] ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นายนุรักษ์ ได้รับเลือกในที่ประชุมศาลรัฐธรรมนูญให้ดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญคนต่อไป ต่อจากจรูญ อินทจารที่ลาออก[5]
สำหรับคำวินิจฉัยของนุรักษ์ในขณะดำรงตำแหน่งศาลรัฐธรรมนูญได้แก่ การวินิจฉัยยุบพรรคการเมือง 29 พรรค[6] [7]อาทิ พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคไทยรักษาชาติ พรรคพลังธรรม พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคคนขอปลดหนี้ และ พรรคอนาคตใหม่ แต่ยกร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ วินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรี 2 คนพ้นจากตำแหน่ง ได้แก่ สมัคร สุนทรเวช และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร วินิจฉัยให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เรื่องที่มา สมาชิกวุฒิสภา ตกไป วินิจฉัยให้ ร่าง พระราชบัญญัติ ให้ฯ กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท ตกไป วินิจฉัยว่าการเลือกตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบ และวินิจฉัยให้ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ พ้นจากสมาชิกภาพ ส.ส. [8] [9] [10] [11] [12] [13][14] [15] [16]
ในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นองคมนตรี[17]และกรรมการโครงการกองทุนการศึกษา [18]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[19]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[20]
- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[21]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[22]
- พ.ศ. 2545 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[23]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ ประธานคณะกรรมการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาอบรมของวิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญ
- ↑ ประวัติย่อ นายนุรักษ์ มาประณีต สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- ↑ พลิกประวัติ-ผลงาน ‘9 ตุลาการรัฐธรรมนูญ’ ผู้ตัดสินคดีประวัติศาสตร์เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ "มติ ศาล รธน.เลือก นุรักษ์ มาประณีต นั่งประธานศาลฯ คนใหม่". เอ็มไทย.คอม. 21 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-28. สืบค้นเมื่อ 21 May 2014.
- ↑ เปิด 5 เรื่องเด่น นุรักษ์ มาประณีต อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ องคมนตรีคนล่าสุด
- ↑ 'ไอลอว์' เปิด 5 เรื่องเด่น 'นุรักษ์' อยู่ในตำแหน่งตุลาการศาลรธน.มา 13 ปี รับเงินเดือนประมาณ 20 ล้านบาท - ยุบมาแล้ว 29 พรรค
- ↑ ยกคำร้องปชป.รอดมติ4ต่อ2คดีขาดอายุความ จากเดลินิวส์
- ↑ 'ปิยบุตร' แขวะ 'นุรักษ์ มาประณีต' วินิจฉัยยุบอนาคตใหม่-ตัดสิทธิกก.บห. 10 ปี ผลงานสุดท้ายก่อนได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นองคมนตรี
- ↑ เปิด 5 เรื่องเด่น นุรักษ์ มาประณีต อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ องคมนตรีคนล่าสุด
- ↑ เปิดเส้นทาง!13ปี"นุรักษ์ มาประณีต"จากตุลาการสู่องคมนตรี
- ↑ ปิยบุตร เปิดผลงาน นุรักษ์ มาประณีต ก่อนถูกแต่งตั้งเป็นองคมนตรี
- ↑ เปิดตัวเต็งผู้นำศาลรัฐธรรมคนใหม่
- ↑ "เอกสารคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-07. สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
- ↑ “องคมนตรี” ตำแหน่งนี้ มิใช่ใครก็เป็นได้
- ↑ ร.10 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "นายนุรักษ์ มาประณีต" เป็นองคมนตรี
- ↑ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นองคมนตรี
- ↑ นายนุรักษ์ มาประณีต - ส่วนราชการในพระองค์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๗๘ ข หน้า ๒, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๐, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๗, ๗ มกราคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๙๖, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 10
- ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ข้าราชการฝ่ายอัยการชาวไทย
- ผู้พิพากษาไทย
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย