อุดมศักดิ์ นิติมนตรี
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
อุดมศักดิ์ นิติมนตรี | |
---|---|
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 3 สิงหาคม พ.ศ. 2549 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 |
นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี (เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2491) ประธานกรรมการสรรหา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ [1] ตุลาการศาลปกครองสูงสุด (เคยย้ายไปดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่แต่งตั้งจากตุลาการศาลปกครองสูงสุด เมื่อ 3 สิงหาคม 2549[2]) และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองสูงสุดอีกครั้ง เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2550 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ 28 พฤษภาคม 2551 จนกระทั่งลาออกและพ้นจากตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563[3]
การศึกษา
[แก้]- นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิตไทย
การทำงาน
[แก้]- ผู้พิพากษาศาลฎีกา
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
- รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง
- ตุลาการศาลปกครองสูงสุด (3 มีนาคม พ.ศ. 2549[4] - 12 พฤษภาคม 2549[5])
- ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (3 สิงหาคม พ.ศ. 2549[6] - 19 กันยายน 2549[7])
- ตุลาการศาลปกครองสูงสุด (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550[8]- 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551[9])
- ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551[10] - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563[11])
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประธานกรรมการสรรหา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๙๑ ง, ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๑๙๖ ง, ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองสูงสุด, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๓๔ ง, ๒๘ มีนาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีเรื่อง ให้ตุลาการศาลปกครองพ้นจากตําแหน่ง, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๖๒ ง, ๒๙ มิถนายน ุ ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๙๑ ง, ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๙๕ ก, ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองสูงสุด, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๔ ง, ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ตุลาการศาลปกครองพ้นจากตําแหน่ง, เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๙๒ ง, ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๑๙๖ ง, ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๘๘, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓