นภดล เทพพิทักษ์
นภดล เทพพิทักษ์ | |
---|---|
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 6 เมษายน พ.ศ. 2563[1] | |
เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศลาว | |
ดำรงตำแหน่ง 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | พิษณุ จันทร์วิทัน |
ถัดไป | เกียรติคุณ ชาติประเสริฐ |
เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศนิวซีแลนด์ | |
ดำรงตำแหน่ง 8 มีนาคม พ.ศ. 2553 – 26 มกราคม พ.ศ. 2558 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | อุ้ม เมาลานนท์ |
ถัดไป | มาริษ เสงี่ยมพงษ์ |
เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศอียิปต์ | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มีนาคม พ.ศ. 2549 – 8 มีนาคม พ.ศ. 2553 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร สุรยุทธ์ จุลานนท์ สมัคร สุนทรเวช สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | จริย์วัฒน์ สันตะบุตร |
ถัดไป | ชลิต มานิตยกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 ธันวาคม พ.ศ. 2499 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | นิศารัตน์ เทพพิทักษ์ |
อาชีพ | นักการทูต |
นภดล เทพพิทักษ์ (เกิด 3 ธันวาคม พ.ศ. 2499) เป็นนักการทูตชาวไทย เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เคยดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตประจำหลายประเทศ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไทย
ประวัติการศึกษา
[แก้]รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) Master of Arts (International Relations) , Northern Illinois University (Fulbright Scholarship)
ประวัติการทำงาน
[แก้]นายนภดล เทพพิทักษ์ เป็นผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออก กรมเอเชียตะวันออก ระหว่างปี พ.ศ. 2550-2552 ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 เป็นอัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ และในปี พ.ศ. 2546 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก และในปีถัดมา ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา และเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร ในปี พ.ศ. 2549
นายนภดลเป็นเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน ในปี พ.ศ. 2553 และได้แต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2558 ในปีเดียวกันก็ได้รับตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2548 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา.พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ. เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๗๙ ง หน้า ๑. ๖ เม.ย. ๒๕๖๓.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๒๐๐, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙