พันธุ์ทิพย์พลาซ่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Pantip)
พันธุ์ทิพย์พลาซ่า
Pantip Plaza
พันธุ์ทิพย์พลาซ่า สาขาแรกบนถนนเพชรบุรี ภาพถ่ายจากตึกใบหยก 2
แผนที่
ที่ตั้งราชเทวี, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
พิกัด13°45′0″N 100°32′15″E / 13.75000°N 100.53750°E / 13.75000; 100.53750พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′0″N 100°32′15″E / 13.75000°N 100.53750°E / 13.75000; 100.53750
ที่อยู่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
เปิดให้บริการ22 กันยายน พ.ศ. 2527 (พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ประตูนํ้า)
ปิดให้บริการพ.ศ. 2563 (พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ประตูนํ้า)
ชื่อเดิมเอ็กซ์เซล
จำนวนผู้เช่า2
จำนวนชั้น5, รวมชั้นลอย
ขนส่งมวลชน ประตูน้ำ
เว็บไซต์www.pantipplaza.com
ทางเข้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ประตูน้ำ
พันธุ์ทิพย์พลาซ่า ประตูน้ำในอดีต
พันธุ์ทิพย์พลาซ่า เชียงใหม่

พันธุ์ทิพย์พลาซ่า (อังกฤษ: Pantip Plaza) เป็นศูนย์การค้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคมแห่งแรกและขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีสาขาแรกสุด ตั้งอยู่บนถนนเพชรบุรี แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร บริหารงานโดย บริษัท แอสเสท เวิร์ด รีเทล จำกัด ในเครือบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน)

ประวัติ[แก้]

พันธุ์ทิพย์พลาซ่า เปิดดำเนินการเมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2527 เดิมใช้ชื่อว่า "เอ็กซ์เซล"[1] โดยนำลิฟท์แก้วมาติดตั้งเป็นแห่งที่สองของประเทศไทย และใช้ระบบการอ่านรหัสแท่ง (Bar Code) เพื่อตรวจสอบราคาจากตัวสินค้า เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งภายในมี โรงภาพยนตร์พันธุ์ทิพย์ และ พันธุ์ทิพย์ภัตตาคาร ซึ่งจำหน่ายอาหารจีน

ในระยะต่อมา จำนวนลูกค้าที่เข้าใช้บริการเริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากมีห้างสรรพสินค้าเปิดตัวขึ้นหลายแห่งในละแวกนั้น อาทิเมโทรประตูน้ำ พาต้าอินทรา ซิตี้พลาซ่าประตูน้ำ แพลตินั่มประตูน้ำ เป็นผลให้ร้านค้าที่มีอยู่ทยอยปิดตัวลง จึงเปิดให้ทางห้างเอ็กเซลเช่าพื้นที่ภายในส่วนหนึ่ง พร้อมกันนั้นก็จัดร้านค้าเฉพาะกลุ่มเข้าเป็นสัดส่วน อาทิ ศูนย์เช่าพระเครื่อง ร้านจำหน่ายสินค้ามือสอง เป็นต้น

หลังจากนั้น เป็นช่วงอสังหาริมทรัพย์เฟื่องฟู จึงกลายเป็นศูนย์รวมสำนักงานโครงการคอนโดมิเนียมต่างๆ โดยแบ่งอยู่กับศูนย์เช่าพระเครื่อง ส่วนภัตตาคารที่ปิดกิจการไป ก็ปรับปรุงเป็นห้างไอทีซิตี้ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ก็ปรับปรุงเป็นศูนย์รวมร้านค้าคอมพิวเตอร์แห่งแรกประเทศไทย ในขณะเดียวกัน และพันธุ์ทิพย์เป็นที่รู้จักวงกว้างมากขึ้น ในปี 2544 วงโลโซ ร้องเพลง “พันธุ์ทิพย์” ในอัลบั้มปกแดง ซึ่งขณะนั้นพันธุ์ทิพย์เป็นที่รู้จักเรื่องแผ่นผี ของผิดลิขสิทธิ์

อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2560 การค้าขายสินค้าไอทีเกิดความเสื่อมถอยลงอย่างรวดเร็ว มีห้างไอทีเกิดขึ้นใหม่ในทำเลที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเป็นจำนวนมาก และผู้คนหันไปซื้อสินค้าแบรนด์เนมมากกว่า ทำให้จำนวนผู้ใช้บริการเริ่มลดลง เป็นผลให้บริษัท แอสเซท เวิร์ด คอร์ป ดำเนินการปรับปรุงครั้งใหญ่ เปลี่ยนรูปแบบศูนย์การค้าจากห้างไอทีมาเป็นศูนย์การใช้ชีวิตและศูนย์กีฬาอีสปอร์ตใจกลางเมือง แต่หลังการปรับปรุงใหญ่จำนวนผู้ใช้บริการกลับไม่เติบโตขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ใน พ.ศ. 2563 บริษัท แอสเซท เวิร์ด คอร์ป ตัดสินใจยุติการดำเนินการห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ประตูน้ำ ลงถาวร โดยจะเปลี่ยนรูปแบบของอาคารไปเป็นสาขาย่อยของโครงการ เออีซี เทรด เซ็นเตอร์ เพื่อสร้างจุดมุ่งหมายให้ที่นี่กลายเป็นศูนย์ค้าส่งระดับโลกแห่งแรกใจกลางเมือง ส่วนที่ตั้งเดิม ย้ายสาขาใหม่ ไปที่พันธุ์ทิพย์พลาซ่า สาขามอเตอร์เวย์ บางพระ-หนองมน พร้อมเปิดให้บริการ 22 กันยายน พ.ศ. 2571 ผู้ใช้บริการเติบโตขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้

ผลกระทบของการปรับปรุงใหญ่ ในปี 2018[แก้]

ห้างนี้ถูกปรับปรุงใหม่เป็นเวลา 18 เดือน เริ่มตั้งแต่ปี 2018 ในช่วงเวลาที่มีการปรับปรุงห้างร้านต่าง ๆ ได้มีการปิดตัวลงเนื่องจากมีลูกค้าสัญจรไปมาที่ลดลง แต่หลังจากการปรับปรุงร้านค้าต่าง ๆ ก็ยังไม่ได้กลับมาเปิดให้บริการอีก ทำให้พันธุ์ทิพย์พลาซ่าไม่ฟื้นตัว จนกระทั่งในปัจจุบันมีพื้นที่ว่างเกือบทั้งหมด[2]

สาขา[แก้]

  1. ประตูน้ำ ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงเป็นศูนย์การค้า เออีซี เทรด เซ็นเตอร์-พันธุ์ทิพย์ โฮลเซลล์ เดสติเนชั่น)
  2. บางกะปิ ซอยลาดพร้าว 127 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
  3. งามวงศ์วาน ตำบลบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
  4. เชียงใหม่ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

อ้างอิง[แก้]

  1. Herehor2009 (May 28, 2014). "แฟนพันธุ์แท้ 2003 : ห้างสรรพสินค้า". แฟนพันธุ์แท้ 2003.
  2. "พันทิพธิ์พลาซ่าร้างแล้ว - เกิดอะไรขึ้น?". Thai Solutions. 2023. สืบค้นเมื่อ February 1, 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]