ข้ามไปเนื้อหา

เชียรช่วง กัลยาณมิตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชียรช่วง กัลยาณมิตร
เลขาธิการพรรคประชาราช
ดำรงตำแหน่ง
19 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ก่อนหน้าอนงค์วรรณ เทพสุทิน
ถัดไปฐานิสร์ เทียนทอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาราช (พ.ศ. 2550)

ศาสตราจารย์ เชียรช่วง กัลยาณมิตร อดีตเลขาธิการพรรคประชาราช อดีตคณะทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ของพรรคประชาธิปัตย์ นายกสมาคมพัฒนานักวิทยาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASDF)

ประวัติ

[แก้]

เชียรช่วง กัลยาณมิตร เป็นบุตรชายของนายช่วง กัลยาณมิตร[1] จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน ด้านวิศวกรรมวางระบบและบริหารงานผลิต มีประสบการณ์การทำงานในสหรัฐอเมริกาหลายปี ก่อนกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย

การทำงาน

[แก้]

เชียรช่วง กัลยาณมิตร มีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการบริหารงานสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม อีกทั้งยังเป็นกรรมการบริหาร บริษัท สเติร์น สจ๊วต (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ที่ให้นำระบบบริหารที่ใช้ชื่อว่า EVA (ECONOMIC VALUE ADDED) มาใช้บริหารจัดการองค์กรรัฐวิสาหกิจ ซึ่งระบบนี้ใช้เป็นมาตรฐานในองค์กรชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์

เชียรช่วง กัลยาณมิตร เป็นศาสตราจารย์วุฒิคุณวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ,Faculty of Sciences and Engineering Curtin University,Perth Australia[2]

การเมือง

[แก้]

ดร.เชียรช่วง ได้เข้าไปร่วมงานเคยร่วมงานกับนายอานันท์ ปันยารชุน สมัยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร และเคยร่วมงานกับพรรคพลังธรรมในปี พ.ศ. 2535 เป็นระยะเวลาสั้น ๆ โดยไม่มีบทบาทอะไรมาก และในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 ดร.เชียรช่วง ได้เข้าไปทำงานด้านประชาสัมพันธ์ให้กับทางพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งในครั้งนั้นแข่งขันกับทางพรรคความหวังใหม่ โดยเป็นผู้คิดประโยคที่ว่า "ไม่เลือกเรา เขามาแน่"

ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดร.เชียรช่วง เป็นผู้หนึ่งที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล โดยเป็นผู้ต่อต้านกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ ร่วมกับ นายอัมรินทร์ คอมันตร์ และ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์

หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ดร.เชียรช่วงถูกกล่าวหาว่าถูกรับจ้างให้ทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ให้กับคณะมนตรีความมั่นคง (คมช.) ด้วยจำนวนเงินที่สูงถึง 12 ล้านบาท ด้วยความที่เป็นญาติผู้น้องของ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

การเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาราช

[แก้]

ในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ดร.เชียรช่วง กัลยาณมิตร ได้รับการเลือกจากสมาชิกพรรคประชาราชให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคแทนที่นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน ที่ลาออกไป แต่ในวันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 20 ตุลาคม ที่มีข่าวว่าพรรคประชาราช พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา จะรวมกันนั้น นายเสนาะได้กล่าวที่บ้านของนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ที่ซอยราชครูว่า ดร.เชียรช่วง มีตำแหน่งอยู่ในหลายบริษัท หลายที่ ที่อาจใช้การเมืองเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองได้ จึงไม่เหมาะสมกับตำแหน่งเลขาธิการพรรค และได้ขอลาออกไป

ตระกูลกัลยาณมิตร

[แก้]

ในปี 2558 ทางวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหารได้มีการทุบโบราณสถานีภายในวัด ส่งผลให้เจดีย์บรรจุอัฐิและอังคารของราชสกุล "ประวิตร" และสกุล "กัลยาณมิตร" ได้รับความเสียหาย จึงได้มีการเตรียมฟ้องร้องเอาที่ดินคืนจากทางวัด [3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "อ่านผัง "ตระกูลกัลยาณมิตร" จะรู้ "ดร.เชียรช่วง" ญาติ "พล.อ.สพรั่ง" เกี่ยวพันกันอย่างไร??". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-10. สืบค้นเมื่อ 2007-10-19.
  2. บริษัท อโลฮ่า เมดิซิแนล
  3. ""เราจะกอบกู้เกียรติยศบรรพบุรุษ" เสียงจากสกุล "ประวิตร-กัลยาณมิตร" ถึงวัดกัลยาณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-16. สืบค้นเมื่อ 2017-06-28.
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เก็บถาวร 2010-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 16ข วันที่ 4 ธันวาคม 2552

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]