โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย (อังกฤษ: Digital terrestrial television in Thailand) เป็นระบบโทรทัศน์ดิจิทัลทางภาคพื้นดินภายในอาณาเขตประเทศไทย ซึ่งในประเทศไทยมักเรียกสั้นๆ ว่า ทีวีดิจิทัล หรือ ทีวีดิจิตอล, โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง กำหนดระยะของการทดลองออกอากาศไว้ ระหว่างวันอังคารที่ 1 ถึงวันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557[1] ก่อนจะกำหนดเวลาให้ผู้ประกอบการทุกราย เตรียมความพร้อมขั้นสุดท้าย เพื่อเริ่มออกอากาศในส่วนกลาง ระหว่างวันศุกร์ที่ 25 เมษายน ถึงวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
โดยตามแผนของ กสทช. จะเริ่มทำการยุติการส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อกภายในปี พ.ศ. 2558[2] แต่ในแผนดำเนินการจริง การยุติออกอากาศสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อกมีความล่าช้า และแต่ละสถานีในแต่ละพื้นที่ได้ยุติออกอากาศไม่พร้อมกัน โดยสถานีโทรทัศน์ส่วนใหญ่ได้ยุติการออกอากาศโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกอย่างสมบูรณ์ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2561[3][4][5][6][7][8]
ตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ พ.ศ. 2555 กำหนดให้เริ่มต้นรับส่งสัญญาณ วิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ด้วยระบบดิจิทัลภายในเวลา 4 ปี นับแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555 ซึ่งประกาศแผนแม่บทฉบับดังกล่าว และสืบเนื่องด้วย แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (กรอบการดำเนินงานอยู่ในช่วงระหว่างปี 2555-2559) มีการกำหนดยุทธศาสตร์ และระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่าน จากการส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ด้วยระบบแอนะล็อก ไปสู่การใช้ระบบดิจิทัล โดยให้เริ่มรับส่ง สัญญาณวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ด้วยระบบดิจิทัล ภายใน 4 ปี, ให้มีมาตรการสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาการผลิตอุปกรณ์รับสัญญาณ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ภายใน 3 ปี, ให้มีมาตรการสนับสนุน อุปกรณ์รับสัญญาณวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล สำหรับผู้มีรายได้น้อย ภายใน 3 ปี และให้มีจำนวนครัวเรือนในเมืองใหญ่ ที่สามารถรับสัญญาณวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในระบบดิจิทัลได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ภายใน 5 ปี[9]
เนื้อหา
- 1 จำนวนและประเภทช่องโทรทัศน์
- 2 การประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่
- 3 รายชื่อผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล
- 4 รายชื่อช่องโทรทัศน์และหมายเลขที่ใช้ออกอากาศ
- 5 เหตุการณ์สำคัญหลังออกอากาศจริง
- 6 การเรียงลำดับช่องรายการ
- 7 คุณสมบัติของภาพและเสียงของช่องรายการในระบบดิจิทัล
- 8 ระเบียงภาพ
- 9 ดูเพิ่ม
- 10 อ้างอิง
- 11 แหล่งข้อมูลอื่น
จำนวนและประเภทช่องโทรทัศน์[แก้]
กสทช. กำหนดจำนวนและรูปแบบ ช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล เบื้องต้นไว้ทั้งสิ้น 48 ช่อง[9] ได้แก่
- กลุ่มช่องประเภทบริการสาธารณะและชุมชน จำนวน 24 ช่อง โดยใช้วิธีการคัดเลือกคุณสมบัติ (Beauty Contest) เพื่อรับรองใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ได้แก่
- ประเภทรายการบริการสาธารณะ จำนวน 12 ช่อง (ระดับชาติ)
- ประเภทรายการบริการชุมชน จำนวน 12 ช่อง (จำแนกเป็นแต่ละเขตบริการ)
- กลุ่มช่องประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ จำนวน 24 ช่อง โดยใช้วิธีการประมูลคลื่นความถี่ (Auction) เพื่อรับรองใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ ได้แก่
- ประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวน 3 ช่อง โดยกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำไว้ที่ 140 ล้านบาท
- ประเภทรายการข่าวสาร และสาระ จำนวน 7 ช่อง โดยกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำไว้ที่ 220 ล้านบาท
- ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดปกติ (Standard Definition : SD) จำนวน 7 ช่อง โดยกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำไว้ที่ 380 ล้านบาท
- ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง (High Definition : HD) จำนวน 7 ช่อง โดยกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำไว้ที่ 1,510 ล้านบาท
การประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่[แก้]
ภายหลังที่ กสทช. ได้มีการกำหนดนโยบาย แนวทาง และแผนแม่บทการดำเนินการด้านกิจการโทรทัศน์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. ก็ได้มีการประชุมภายในหลายครั้งจนได้หลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการจัดการบริหารช่องและคลื่นความถี่อย่างชัดเจน โดยมติที่ประชุมของ กสท. ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 มีรายละเอียดและข้อกำหนดดังนี้
- อนุมัติช่องรายการดิจิทัลทีวีทั้งหมด 60 ช่อง แบ่งเป็น
- บริการสาธารณะ 20% หรือ 12 ช่อง
- บริการชุมชน 20% หรือ 12 ช่อง
- บริการธุรกิจ 60% หรือ 36 ช่อง แบ่งเป็น
- รายการเด็กและเยาวชน (ความละเอียดปกติ) 5 ช่อง
- รายการข่าวสารและสารประโยชน์ (ความละเอียดปกติ) 5 ช่อง
- รายการทั่วไป ความละเอียดปกติ 10 ช่อง
- รายการทั่วไป ความคมชัดสูง 4 ช่อง
แต่ภายหลังได้มีการปรับลดจำนวนช่องลงเพื่อความเหมาะสม และมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขอยู่ตลอด จนในที่สุดข้อกำหนดทั้งหมดได้ถูกบันทึกเอาไว้ใน ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยมีรายละเอียดโดยย่อดังนี้
- อนุมัติช่องรายการดิจิทัลทีวีทั้งหมด 48 ช่อง แบ่งเป็น
- บริการสาธารณะ 25% หรือ 12 ช่อง โดยที่ กองทัพบก ไทยพีบีเอส และ กรมประชาสัมพันธ์ ได้รับช่องในการออกอากาศไปแล้ว 4 ช่อง
- บริการชุมชน 25% หรือ 12 ช่อง จะเริ่มจัดสรรใบอนุญาตในการดำเนินการ พ.ศ. 2558
- บริการธุรกิจ 50% หรือ 24 ช่อง แบ่งเป็น
- รายการเด็กและเยาวชน (ความละเอียดปกติ) 3 ช่อง ราคาประมูลเริ่มต้นที่ 140 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 2 ล้านบาท
- รายการข่าวสารและสารประโยชน์ (ความละเอียดปกติ) 7 ช่อง ราคาประมูลเริ่มต้นที่ 220 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 2 ล้านบาท
- รายการทั่วไป ความละเอียดปกติ 7 ช่อง ราคาประมูลเริ่มต้นที่ 380 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 5 ล้านบาท
- รายการทั่วไป ความคมชัดสูง 7 ช่อง ราคาประมูลเริ่มต้นที่ 1,510 ล้านบาท เคาะเพิ่มครั้งละ 10 ล้านบาท
โดยที่ กสทช. ได้เริ่มจำหน่ายซองเอกสารเงื่อนไขการประมูลช่องในวันที่ 10 - 12 กันยายน พ.ศ. 2556 เพื่อเตรียมความพร้อมในการประมูลที่คาดว่าจะมีขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน - เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 โดย ณ เวลา 16.00 น. ของวันที่ 12 กันยายน กล่าวโดยสรุปคือ กสทช. ได้ขายซองประมูลให้กับภาคเอกชนไป 49 ซอง 49 ช่อง 33 บริษัท และนัดส่งเอกสารเพื่อเตรียมความพร้อมในการประมูลในเดือนตุลาคม จนกระทั่งในที่สุด กสทช. ก็ได้กำหนดวันประมูลดิจิทัลทีวีอย่างเป็นทางการ คือวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 จะเปิดประมูล 2 ประเภท คือช่องรายการทั่วไป ความคมชัดสูง และช่องรายการทั่วไป ความคมชัดปกติ และในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556 จะเปิดประมูลอีกสองประเภท คือช่องข่าวสารและสารประโยชน์ และช่องเด็กและเยาวชน
![]() |
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ: |
ซึ่งกระประมูลในวันนั้น ทำให้เกิดรายได้เข้าประเทศกว่า 50,862 ล้านบาท โดยแต่เดิมเงินก้อนนี้จะถูกส่งเข้า กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. เพื่อนำไปใช้ในการวิจัยเทคโนโลยีด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แต่ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 กลับเกิดเหตุความไม่โปร่งใสในการนำเงินไปใช้งาน หลังมีปัญหาลิขสิทธิ์การถ่ายทอดออกอากาศการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่เป็นคณะรัฐประหารในช่วงนั้น จึงมีประกาศฉบับที่ 80/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม โดยกำหนดให้ กสทช. ทำการหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากเงินที่ได้จากการประมูลดิจิทัลทีวีจำนวน 50,862 ล้านบาทออก แล้วส่งเงินที่เหลือเข้ากระทรวงการคลังเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป
ช่องประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง[แก้]
กสทช.จัดการประมูลช่องโทรทัศน์ ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมีบริษัทยื่นซองประมูลทั้งสิ้น 9 ราย ประมูลได้ 7 ราย มีรายได้รวม 23,700 ล้านบาท
อันดับ | รหัสประมูล | ชื่อผู้ประมูล | มูลค่าประมูล (ล้านบาท) |
---|---|---|---|
1 | H04 | (ไทยทีวีสีช่อง 3) บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด | 3,530 |
2 | H06 | (น.พ. ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ) บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด | 3,460 |
3 | H05 | (สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7) บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด | 3,370 |
4 | H08 | (ไทยรัฐทีวี) บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด | 3,360 |
5 | H03 | (เอ็มคอตเอชดี) บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) | 3,340 |
6 (ร่วม) | H01 | (อมรินทร์ พรินติง) บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด | 3,320 |
6 (ร่วม) | H07 | (แกรมมี่) บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด | 3,320 |
8 | ไม่ผ่านการประมูล | บริษัท พีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด | 3,310 |
9 | ไม่ผ่านการประมูล | บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด | 3,000 |
ช่องประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดปกติ[แก้]
กสทช.จัดการประมูลช่องโทรทัศน์ ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดปกติ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมีบริษัทยื่นซองประมูล 16 ราย ประมูลได้ 7 ราย มีรายได้รวม 15,950 ล้านบาท
อันดับ | รหัสประมูล | ชื่อผู้ประมูล | มูลค่าประมูล (ล้านบาท) |
---|---|---|---|
1 | S15 | (เวิร์คพอยท์ทีวี) บริษัท ไทย บรอดคาสติง จำกัด | 2,355 |
2 | S03 | (กลุ่มทรู) บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด | 2,315 |
3 | S10 | (แกรมมี่) บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด | 2,290 |
4 | S02 | (ไทยทีวีสีช่อง 3) บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด | 2,275 |
5 | S09 | (ช่อง 8) บริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชัน จำกัด | 2,265 |
6 | S13 | (เอ็มไทยดอตคอม) บริษัท โมโน บรอดคาสต์ จำกัด | 2,250 |
7 | S12 | (เครือเนชั่น) บริษัท สปริง 26 จำกัด (เดิมคือ บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติง จำกัด) | 2,200 |
8 | ไม่ผ่านการประมูล | บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชัน จำกัด | |
9 | ไม่ผ่านการประมูล | บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) | |
10 | ไม่ผ่านการประมูล | บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชัน จำกัด | |
11 | ไม่ผ่านการประมูล | บริษัท โฟร์ วัน วัน เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด | |
12 | ไม่ผ่านการประมูล | บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติง จำกัด | |
13 | ไม่ผ่านการประมูล | บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสต์ จำกัด | |
14 | ไม่ผ่านการประมูล | บริษัท ไทยทีวี จำกัด | |
15 | ไม่ผ่านการประมูล | บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด | |
16 | ไม่ผ่านการประมูล | บริษัท ทัช ทีวี จำกัด |
ช่องประเภทรายการข่าวสาร และสาระ[แก้]
กสทช.จัดการประมูลช่องโทรทัศน์ ประเภทรายการข่าวสารและสาระ (ภาพคมชัดปกติ) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมีบริษัทยื่นซองประมูล 10 ราย ประมูลได้ 7 ราย มีรายได้รวม 9,238 ล้านบาท
อันดับ | รหัสประมูล | ชื่อผู้ประมูล | มูลค่าประมูล (ล้านบาท) |
---|---|---|---|
1 | N09 | (เครือเนชั่น) บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชัน จำกัด | 1,338 |
2 | N06 | บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด | 1,330 |
3 | N08 | (ทีวีพูล) บริษัท ไทยทีวี จำกัด | 1,328 |
4 | N01 | บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชัน จำกัด | 1,318 |
5 | N05 | (เครือทรู, ทีเอ็นเอ็น24) บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ก จำกัด | 1,316 |
6 | N10 | (เดลินิวส์) บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสต์ จำกัด | 1,310 |
7 | N04 | บริษัท ไบรต์ทีวี จำกัด (เดิมคือ บริษัท 3 เอ. มาร์เก็ตติง จำกัด) | 1,298 |
8 | ไม่ผ่านการประมูล | บริษัท โมโน เจเนอเรชัน จำกัด | |
9 | ไม่ผ่านการประมูล | บริษัท ไอ-สปอร์ต มีเดีย จำกัด | |
10 | ไม่ผ่านการประมูล | บริษัท โพสต์ ทีวี จำกัด |
ช่องประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว[แก้]
กสทช.จัดการประมูลช่องโทรทัศน์ ประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว (ภาพคมชัดปกติ) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมีบริษัทยื่นซองประมูล 6 ราย ประมูลได้ 3 ราย มีรายได้รวม 1,974 ล้านบาท
อันดับ | รหัสประมูล | ชื่อผู้ประมูล | มูลค่าประมูล (ล้านบาท) |
---|---|---|---|
1 | K01 | (ไทยทีวีสีช่อง 3) บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด | 666 |
2 | K03 | (เอ็มคอตแฟมิลี) บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) | 660 |
3 | K06 | (ทีวีพูล) บริษัท ไทยทีวี จำกัด | 648 |
4 | ไม่ผ่านการประมูล | บริษัท โรสมีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด | |
5 | ไม่ผ่านการประมูล | บริษัท เนชัน คิดส์ จำกัด | |
6 | ไม่ผ่านการประมูล | บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด |
รายชื่อผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล[แก้]
ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ลงมติในการประชุมครั้งที่ 23/2556 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556 กำหนดให้เจ้าของโครงข่าย โทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิม ซึ่งประกอบด้วยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (2 โครงข่าย), กรมประชาสัมพันธ์ โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย โดยสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายในระบบดิจิทัลไปพร้อมกันด้วย[10] กล่าวคือผู้ประกอบการทุกรายที่ กสทช.รับรองใบอนุญาต ให้ใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนด จะต้องเลือกใช้โครงข่ายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จากผู้ให้บริการทั้ง 4 รายดังกล่าว ดังรายละเอียดตามตารางต่อไปนี้[11]
อุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ | ช่องความถี่ที่ออกอากาศ (ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง) |
ชื่อผู้ให้บริการโครงข่าย | ชื่อผู้รับบริการโครงข่าย |
---|---|---|---|
MUX#1 | 26 | กรมประชาสัมพันธ์ โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (รหัส: PRD) |
|
MUX#2 | 36 | สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (รหัส: TV5 MUX2) |
|
MUX#3 | 40 | บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี (รหัส: MCOT) |
|
MUX#4 | 44 | องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย โดยสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (รหัส: THAIPBS) |
|
MUX#5 | 52 | สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (รหัส: TV5 MUX5) |
|
รายชื่อช่องโทรทัศน์และหมายเลขที่ใช้ออกอากาศ[แก้]
หลังจากผ่านการประมูลช่องรายการแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557 กสทช.เชิญบริษัทซึ่งผ่านการประมูลทั้งหมด มาประชุมเพื่อตกลงร่วมกัน ในการเลือกหมายเลขช่องที่ใช้ออกอากาศ ส่วนช่องที่ประมูลได้ใบอนุญาต ให้ผู้ที่ประมูลชนะด้วยมูลค่าเงินสูงสุดได้เลือกหมายเลขก่อนตามลำดับ และวันที่ 27 มกราคม ปีเดียวกัน กสทช.จึงประกาศหมายเลขช่องของแต่ละบริษัท ดังมีรายละเอียดตามตารางต่อไปนี้[11] (รายชื่อช่องที่ กสทช.ยังไม่อนุมัติให้ออกอากาศในปัจจุบัน แสดงด้วยตัวเอน) ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (4 ปี) เปลี่ยนเป็นช่องเกี่ยวกับหมายเลข 1-36 [12]จานดาวเทียมและโทรทัศน์ระบบดิจิทัล เหมือนกัน ทุกระบบ ทุกแพลตฟอร์ม
ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 กสทช. ได้อนุญาตให้มีการคืนสัมปทานของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลและการขอยื่นชำระค่าประมูลความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ของผู้ประกอบการ 7 รายและ 2 รายไปก่อนหน้านั้น อันได้แก่ช่อง 13 ช่อง 3 แฟมิลี , 14 เอ็มคอตแฟมิลี , 15 โลก้า , 17 ไทยทีวี, 19 สปริงนิวส์ , 20 ไบรท์ทีวี, 21 วอยซ์ทีวี , 26 นาว 26, 28 ช่อง 3 เอสดี ทำให้เหลือช่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
เลขช่อง | องค์กร | ชื่อช่อง | ลักษณะ |
---|---|---|---|
ประเภทบริการสาธารณะ | |||
1 | กองทัพบกไทย | สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (TV5 HD1) | ภาครัฐ |
2 | กรมประชาสัมพันธ์ | สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT2HD) | |
3 | องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย | สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) | |
10 | สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร | สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา[13] [14](TPTV) | |
11 | กรมประชาสัมพันธ์ | สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค (NBT North/NBT Northeast/NBT Central/NBT South)[15][16][17][18] | |
ประเภทรายการข่าวสาร และสาระ | |||
16 | บริษัท ไทยนิวส์เน็ตเวิร์ก จำกัด | ทีเอ็นเอ็น 16 (TNN16) | ใบอนุญาต |
18 | บริษัท ดีเอ็นบรอดคาสต์ จำกัด | นิว 18[19] (New 18) | |
22 | บริษัท เอ็นบีซีเน็กซ์วิชัน จำกัด | เนชั่นทีวี[20] (Nation TV) | |
ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดปกติ (Standard Definition - SD) (576i) | |||
23 | บริษัท ไทยบรอดคาสติง จำกัด | ช่องเวิร์คพอยท์ (Workpoint TV) | ใบอนุญาต |
24 | บริษัท ทรูโฟร์ยู สเตชัน จำกัด | ทรูโฟร์ยู[21] (True4U 24) | |
25 | บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด | จีเอ็มเอ็ม 25 (GMM 25) | |
27 | บริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชัน จำกัด | ช่อง 8 (Channel 8) | |
29 | บริษัท โมโนบรอดคาซท์ จำกัด | โมโน 29[22] (Mono 29) | |
ประเภทรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง (High Definition - HD) (1080i) | |||
30 | บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) | เอ็มคอตเอชดี[23] (MCOT HD) | ใบอนุญาต |
31 | บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด | ช่องวัน 31 (One 31) | |
32 | บริษัท ทริปเปิลวีบรอดคาสต์ จำกัด | ไทยรัฐทีวี (Thairath TV) | |
33 | บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด | ช่อง 3 เอชดี (Channel 3 HD) [24] | |
34 | บริษัท อมรินทร์เทเลวิชัน จำกัด | อมรินทร์ทีวี[25] (Amarin TV) | |
35 | บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด | ช่อง 7 เอชดี (Channel 7 HD) | |
36 | บริษัท บางกอกมีเดียแอนด์บรอดคาสติง จำกัด | พีพีทีวี (PPTV HD36) | |
ประเภทบริการชุมชน | |||
37-48 | ยังไม่ให้ใบอนุญาตบริการ | ยังไม่ออกอากาศ |
เหตุการณ์สำคัญหลังออกอากาศจริง[แก้]
- 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ออกคำสั่งฉบับที่ 7/2557 ให้ระงับการออกอากาศวอยซ์ทีวี อันเนื่องมาจากเนื้อหาพาดพิงการเมืองที่มีนัยสำคัญ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์วงการโทรทัศน์ ที่มีคำสั่งระงับการออกอากาศ โทรทัศน์ประเภทธุรกิจระดับชาติ นอกจากกรณีรัฐประหาร
- 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - เวลา 16:30 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศรัฐประหาร ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
- เวลา 17:00 น. คสช. สั่งให้กำลังทหารเข้าควบคุมอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้ง 5 โครงข่าย อันเป็นผลให้โทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้ง 28 ช่อง รวมถึงช่อง GMM25 และช่องอมรินทร์ทีวี ซึ่งมีกำหนดเริ่มแพร่ภาพในวันที่ 23 พฤษภาคม ต้องระงับการออกอากาศลง เพื่อถ่ายทอดสัญญาณ จากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
- เวลา 19.00 น. คสช. ออกประกาศฉบับที่ 4/2557 บังคับให้วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทั้งหมด ยุติการออกรายการตามปกติ โดยให้ถ่ายทอดสัญญาณ จากสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก ในกรณีของวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในกรณีวิทยุโทรทัศน์และผ่านดาวเทียม จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
- 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - คสช. ประกาศเรียกผู้ให้บริการโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้งหมด เข้าพบเพื่อปรึกษาหารือ และรับฟังคำชี้แจงแนวทาง ในการกลับมาออกอากาศ โทรทัศน์ระบบดิจิทัลตามปกติ ในวันที่ 24 พฤษภาคม เวลา 09:00 น.[ต้องการอ้างอิง]
- 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - คสช. ยกเว้นประกาศฉบับที่ 14/2557 และ 18/2557 แก่ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้งหมดโดยอนุโลม จึงสามารถกลับมาออกอากาศตามปกติอีกครั้ง ยกเว้นวอยซ์ทีวี ที่ยังคงให้ระงับการออกอากาศ ตามประกาศฉบับที่ 15/2557 ต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากมีรายการวิเคราะห์การเมือง ที่มีการเชิญนักวิชาการ อนึ่ง ทุกช่องจะแสดงภาพสัญลักษณ์ที่ คสช.กำหนด ไว้ที่หน้าจอมุมบนทางขวามือของผู้ชม เพื่อเป็นเครื่องยืนยันการอนุโลมให้ออกอากาศ หลังจากที่ คสช.กระทำรัฐประหาร
- 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - เวลา 19:15 น. ทุกช่องเริ่มทยอยนำตราเครื่องหมาย คสช. ออกจากมุมขวาบนของหน้าจอ ตามการขอความร่วมมือ และประกาศจากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (มีเพียงช่องพีพีทีวีที่แสดงอยู่มุมซ้ายบน) หลังจากได้รับอนุญาตแล้วอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง[26]
- 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 65/2557 อนุญาตให้วอยซ์ทีวี อันเป็นช่องหมายเลข 21 ของโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลซึ่ง กสทช.อนุญาตให้ประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ กลับมาออกอากาศรายการประจำได้ตามปกติ ทว่าต้องถือปฏิบัติ ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 14/2557, ฉบับที่ 18/2557, ฉบับที่ 23/2557 และฉบับที่ 27/2557 รวมถึงตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเคร่งครัด ตลอดระยะเวลาการออกอากาศ[27] โดยทางวอยซ์ทีวีเตรียมความพร้อมไว้แล้วก่อนหน้านี้ และสามารถกลับมาออกอากาศได้อีกครั้ง เมื่อเวลา 12:00 น. ของวันที่ 15 มิถุนายน เป็นต้นไป[28]
- 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - เนื่องจากผู้รับสัมปทานช่องสัญญาณที่ 32 ของโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิม ทางไทยทีวีสีช่อง 3 และ ช่อง 3 เอชดี ของบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ในระบบแอนะล็อก ไปออกอากาศคู่ขนาน (Simulcast) ด้วยภาพคมชัดสูง ทางช่องหมายเลข 33 ผู้ให้บริการโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ในการกลับมาออกอากาศระบบดิจิทัลตามปกติอีกครั้ง วันที่ 10 ตุลาคม เวลา 21:19 น.
- 25 พฤษภาคม 2558 - ไทยทีวี และ โลก้า 2 ช่อง ของบริษัท ไทยทีวี จำกัด ไม่สามารถจ่ายค่าประมูลที่ 2 ไว้หลังการออกอากาศ ศาลปกครอง มีคำสั่ง ยุติการออกอากาศ ช่อง ไทยทีวี และ โลก้า เป็นระยะเวลา 3 เดือน ถึง 31 ตุลาคม 2558 เวลา 00.00 น. เป็นต้นไป ศาลว่าจะมีไต่ส่วนและศาลปกครอง คดีทีวีดิจิตอล ตาม กสทช. กำหนดลงโทษห้ามออกอากาศทางทีวีดาวเทียม เคเบิล ช่องดิจิตอล จนแบล็คลิสต์ห้ามออกอากาศอีกต่อไป
- 31 ตุลาคม 2558 - ไทยทีวี และ โลก้า 2 ช่อง ของบริษัท ไทยทีวี จำกัด ไม่สามารถจ่ายค่าประมูลที่ 2 ไว้หลังออกอากาศทีวีดิจิตอล จนทาง กสทช. ยึดใบอนุญาต 2 ช่อง เป็นระยะเวลา 30 วันหลังศาลปกครอง จนยุติออกอากาศในวันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 2558 ตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป ช่องไทยทีวี ขณะฉายสารคดี ตัดสัญญาณจากซอยลาดพร้าว 101 และช่องโลก้า ขณะฉายภาพยนตร์จีน ตัดสัญญาณจาก ไทยพีบีเอส นั้นเอง ถือเป็นยุติออกอากาศทั้ง 2 ช่องอย่างไม่มีวันหมด
- 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - เนื่องด้วย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสวรรคต คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จึงมีคำสั่งให้สถานีโทรทัศน์ทุกช่องระงับการออกอากาศรายการตามผังรายการปกติเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อเป็นการไว้อาลัย
- 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 - พ.อ.นที กล่าวอีกว่า จากการหารือกับผู้ประกอบการจะปรับเข้าสู่ผังรายการปกติภายหลังจากที่ทรงเสด็จสวรรคตครบ 30 วัน โดยจะต้องทยอยปรับเข้ารายการปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเบื้องต้นหลังเที่ยงคืนของวันที่ 18 พ.ย.นี้[29] รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อช่วงเช้าวันที่ 3 พ.ย. 2559 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เชิญผู้ประกอบการโทรทัศน์และวิทยุ ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กสทช. เข้ามารับฟังการชี้แจงแนวทางการปฏิบัติในการออกอากาศรายการ[30]
- 13 มีนาคม พ.ศ. 2561 - ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้ ไม่รับคำอุทธรณ์ของ กสทช. กรณีไม่ทำตามปฏิบัติหน้าที่อย่างละเลยและไม่รับผิดชอบในการเรื่องคืนค่าธรรมเนียมช่องทีวีดิจิตอล จึงเป็นเหตุให้ บริษัท ไทยทีวี จำกัด ชนะคดีเรื่องละทิ้งใบอนุญาต และได้รับแบงก์การันตีทั้งหมดคืน เพราะสถานีมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาใบอนุญาตโทรทัศน์ระบบดิจิตอลโดยไม่ต้องชำระค่าประมูลทั้งหมดก่อนบอกเลิกได้[31]
- 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 - กสทช. มีคำสั่งให้พักใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ ของบริษัท วอยซ์ทีวี จำกัด หรือสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี เป็นระยะเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เวลา 0.00 น. ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นเหตุให้ช่องวอยซ์ทีวีต้องเข้าสู่สถานะจอดำชั่วคราวจนกว่าคำสั่งระงับใช้ใบอนุญาตสิ้นสุดลง ทั้งนี้ กสทช. ระบุเพิ่มว่าคำสั่งดังกล่าวเกิดขึ้นหลังสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวีได้ทำผิดกฎการออกอากาศและสื่อสารข้อมูลจากสองรายการ คือ 1. รายการ Tonight Thailand ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และ 2. รายการ Wake Up News ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 21, 28, 29 มกราคม พ.ศ. 2562 และ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 รวมกับความผิดก่อนหน้าที่ วอยซ์ทีวี กระทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่ามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2558-2561 รวม 34 กรณี[32]
- 15 สิงหาคม 2562 - สปริงนิวส์ ไบรต์ทีวี และ สปริง 26 ยุติออกอากาศทั้ง 3 ช่อง ของบริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด บริษัท สามเอ มาร์เก็ตติง จำกัด และ บริษัท แบงค็อก บิสสิเนส บอร์ดแคสติง จำกัด ในเครือเนชั่นกรุ๊ป จะดำเนินการตัดสัญญาณจากโครงข่าย อสมท. และ กองทัพบก มักซ์ 5 จนถึงในวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2562 ออกจากโทรทัศน์ดิจิทัลระบบภาคพื้นดิน ซึ่งมืดจอดำอย่างเป็นทางการ จะหายไปจากผังช่องรายการเมื่อมีการค้นหาช่องใหม่สำหรับผู้ชมที่รับชมผ่านทางสายอากาศ [33]
- 31 สิงหาคม 2562 - วอยซ์ทีวี จะดำเนินการตัดสัญญาณจากโครงข่าย อสมท. มักซ์ 3 จนถึงในวันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 00:03 น. ของวันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2562 หลังสิ้นสุดการออกอากาศจากโทรทัศน์ดิจิทัลระบบภาคพื้นดิน ซึ่งมืดจอดำอย่างเป็นทางการ จะหายไปจากผังช่องรายการเมื่อมีการค้นหาช่องใหม่สำหรับผู้ชมที่รับชมผ่านทางสายอากาศ [34]
- 15 กันยายน 2562 - เอ็มคอตแฟมิลี ยุติออกอากาศ ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จะดำเนินการตัดสัญญาณจากโครงข่าย อสมท. มักซ์ 3 จนถึงในวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2562 ตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2562 ออกจากโทรทัศน์ดิจิทัลระบบภาคพื้นดิน ซึ่งมืดจอดำอย่างเป็นทางการ จะหายไปจากผังช่องรายการเมื่อมีการค้นหาช่องใหม่สำหรับผู้ชมที่รับชมผ่านทางสายอากาศ
- 30 กันยายน 2562 - ช่อง 3 แฟมิลี และ ช่อง 3 เอสดี 2 ช่องสุดท้ายจะต้องยุติออกอากาศ ของบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด จะดำเนินการตัดสัญญาณจากโครงข่าย ไทยพีบีเอส นั้นเอง จนถึงในวันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2562 ตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันอังคารที่ 1 ตุลาคม 2562 ทั้งหมด 7 ช่องคืนใบอนุญาต ถือเป็นยุติออกอากาศทั้ง 7 ช่องอย่างถาวร
การเรียงลำดับช่องรายการ[แก้]
เนื่องจากในระยะก่อนหน้า กสทช.ออกประกาศอนุญาต ผู้ให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม สามารถนำหมายเลขช่องรายการ 1 ถึง 10 ไปทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ เมื่อระยะต่อมา กสทช.ดำเนินการให้แพร่ภาพโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ตามหมายเลขช่องรายการ 1 ถึง 36 ที่เรียงตามลำดับข้างต้น จึงส่งผลให้เกิดความลักลั่นในการเรียงลำดับช่องรายการของผู้รับชมโทรทัศน์ผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียม ซึ่งต้องนับเพิ่มหมายเลขช่องรายการไปอีก 10 ช่องจากลำดับช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินข้างต้น ขึ้นไปเป็นหมายเลขช่องรายการ 11 ถึง 46 ส่งผลให้เกิดความสับสนของผู้ชม และส่งผลต่อการประชาสัมพันธ์หมายเลขช่องที่ต้องประชาสัมพันธ์หลายหมายเลข ส่งผลให้ กสทช. ออกประกาศให้นำช่องที่ออกอากาศในโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลมาออกอากาศบนหมายเลขช่อง 1 ถึง 36 บนทีวีดาวเทียม รวมถึงผู้ให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม สามารถนำหมายเลขช่องรายการ 37 ถึง 60 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ส่วนสำหรับจานดาวเทียมระบบเคยูแบนด์ได้รับการอนุญาตเช่นเดียวกัน รวมถึงผู้ให้บริการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก สามารถนำหมายเลขช่องรายการ 37 ถึง 46 สองระบบนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
คุณสมบัติของภาพและเสียงของช่องรายการในระบบดิจิทัล[แก้]
![]() | บทความนี้อาจต้องการพิสูจน์อักษร ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ประเภทของความละเอียดภาพ | ความละเอียดภาพ[35] | รูปแบบการบีบอัดข้อมูลภาพ | ระบบเสียง | รูปแบบการบีบอัดข้อมูลเสียง |
---|---|---|---|---|
ความคมชัดสูง |
|
MPEG4/H.264 |
|
64Kbps (HE-AAC V.2) |
ความคมชัดมาตรฐาน | 576i (720x576 พิกเซล) | MPEG4/H.264 | HE-AAC V.2 ระบบ 2 ช่องเสียง | 64Kbps |
ระเบียงภาพ[แก้]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "กสทช.ทดลองออกอากาศทีวีดิจิตอล 1-24 เม.ย." กรุงเทพธุรกิจ. 1 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2557.
- ↑ "การเปลี่ยนผ่านสู่ โทรทัศน์ระบบดิจิทัล (Digital TV)". บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน). สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2556.
- ↑ "กสท.เคาะแผนช่อง7 ยุติอนาล็อก 3เฟส". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2560.
- ↑ "Switch Off analog 13 สถานี". 9 มกราคม 2561. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2561.
- ↑ "อสมท มั่นใจระบบทีวีดิจิทัลครอบคลุมทั่วประเทศ ประกาศยุติการออกอากาศแอนะล็อก ไม่กระทบผู้ชม". สำนักข่าวไทย. 13 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2561.
- ↑ "กสท.เคาะแผนช่อง 7 ยุติอนาล็อก 3 เฟส". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2560.
- ↑ "อัปเดต: ThaiPBS, ช่อง 7, ช่อง 5 ยุติทีวีอนาล็อกเมื่อไหร่กันแน่?". ยามเฝ้าจอ. 17 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2561.
- ↑ "อสมท มั่นใจระบบทีวีดิจิทัลครอบคลุมทั่วประเทศ ประกาศยุติการออกอากาศแอนะล็อก ไม่กระทบผู้ชม". สำนักข่าวไทย. 13 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2561.
- ↑ 9.0 9.1 กสทช. "การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://digital.nbtc.go.th/index.php/articles-en/18-future-digital 2556. สืบค้น 27 ธันวาคม 2556.
- ↑ บอร์ดกระจายเสียง/กสทช. มีมติอนุญาตให้ กองทัพบก กรมประชาสัมพันธ์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอล, 25 มิถุนายน 2556, กสทช.
- ↑ 11.0 11.1 ช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล จากเว็บไซต์ ภารกิจกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช.
- ↑ 3 ปี ทีวีดิจิตอล สัดส่วนคนดู
- ↑ "กสทช.เตรียมมอบทีวีดิจิตอลช่อง 10 ให้รัฐสภาตุลาคมนี้ ส่วน"ช่อง5" ได้เลขช่อง1 "ไทยพีบีเอส"เลขช่อง3". มติชน. 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2557.
- ↑ กิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่
- ↑ ช่อง NBT ขอทดสอบช่องส่วนภูมิภาค ที่หมายเลข 11 บน DTV ภาคพื้นดิน
- ↑ ทีวีภูมิภาคมาแล้ว! NBT ยืมช่องทีวีดิจิทัลหมายเลข 11 เทสออนแอร์ 'ทีวีภูมิภาค' เริ่ม 1 กันยายนนี้ ยามเฝ้าจอ
- ↑ ทีวีภูมิภาคหมายเลข 11 เริ่ม 1 ก.ย.นี้
- ↑ ทีวีภูมิภาคมาแล้ว! NBT ยืมช่องทีวีดิจิทัลหมายเลข 11 เทสต์ออนแอร์ เริ่ม 1 ก.ย.นี้
- ↑ เดลินิวส์ทีวี (1 มีนาคม 2557). "เดลินิวส์ ทีวี เปลี่ยนเป็น NEW TV". สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2557.
- ↑ เดลินิวส์ทีวี (11 มกราคม 2557). "ระดมผู้ผลิตอิสระร่วม 'เนชั่นทีวี-NOW'". คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2557.
- ↑ ประชาชาติธุรกิจ (6 มีนาคม 2557). "กดปุ่มทีวีดิจิทัล "ทรู4ยู"ช่องวาไรตี้วางโพสิชั่นจับกลุ่มคนรุ่นใหม่". สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2557.
- ↑ "กสท.อนุมัติ 3 ช่องทีวีดิจิทัลเปลี่ยนชื่อ "อมรินทร์ทีวีเอชดี-โมโน 29 และไทยทีวี"". ประชาชาติธุรกิจ. 2 มิถุนายน 2557. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2557.
- ↑ "ช่อง 9 ออกคู่ขนาน 'ฟรีทีวี' อนาล็อก-ดิจิทัล". กรุงเทพธุรกิจ. 10 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2557.
- ↑ ซึ่งหมายถึง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ของบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด
- ↑ "กสท.อนุมัติ 3 ช่องทีวีดิจิทัลเปลี่ยนชื่อ "อมรินทร์ทีวีเอชดี-โมโน 29 และไทยทีวี"". ประชาชาติธุรกิจ. 2 มิถุนายน 2557. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2557.
- ↑ คสช.ให้ทีวีนำโลโก้ คสช.ออกจากจอแล้ว, ประชาไท, 8 มิถุนายน 2557.
- ↑ คสช. อนุญาตให้ 'วอยซ์ทีวี-ทีนิวส์' ออกอากาศแล้ว, วอยซ์ทีวี, 14 มิถุนายน 2557.
- ↑ วอยซ์ทีวี เตรียมกลับมาออกอากาศเต็มผัง เที่ยง 15 มิ.ย., วอยซ์ทีวี, 14 มิถุนายน 2557.
- ↑ กสท.สั่งผู้ประกอบการทีวี ควบคุมเนื้อหารายการสร้างความแตกแยกในสังคม คาด 19 พ.ย.ผังรายการปกติคืนจอ, โพสต์ทูเดย์, 28 ตุลาคม 2559.
- ↑ กสทช.แจ้งช่องทีวีรายการเรท"ท"และ"น13"ที่เนื้อหาไม่รุนแรง เริ่มออกอากาศได้หลัง 19 พ.ย. , ประชาชาติธุรกิจ 3 พฤศจิกายน 2559.
- ↑ ศาลปกครองกลาง พิพากษาให้ กสทช.คืนค่าธรรมเนียมทีวีดิจิตอลให้ ไทยทีวี , ไทยรัฐ 13 มีนาคม 2559.
- ↑ ด่วน!! สั่งปิด’วอยซ์’15 วัน มีผลหลัง24.00น.คืนนี้ ปัดใบสั่งคสช., มติชน 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
- ↑ ยามเฝ้าจอ (15 สิงหาคม 2562). "แถลง ยุติการออกอากาศ 3 ช่องแรก คือ Spring News 19, Bright TV 20 และ Spring 26 ครับ (5 ทุ่มของวันที่ 15 ต่อเที่ยงคืนวันที่ 16)". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2562.
- ↑ VOICE TV ยุติการออกอากาศบนทีวีดิจิทัลช่อง 21
- ↑ ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|