ข้ามไปเนื้อหา

เส้นเวลาของคณิตศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เส้นเวลาของคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ (timeline of mathematics)

ก่อน 1000 ปีก่อนคริสตกาล

[แก้]

1 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล

[แก้]

ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (เรอเนซองต์)

[แก้]
  • ค.ศ. 1520 - สคิปิโอเน เดล เฟอโร คิดค้นคำตอบในรูปแบบราก ของสมการกำลังสาม แบบลดรูป (คือสมการกำลังสาม ที่สัมประสิทธิ์ของเทอม x2 เท่ากับ 0) ได้สำเร็จ แต่ว่าไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานนี้ และได้ถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์คนสนิทชื่อ "อันโตนิโอ ฟิออ" คนเดียวเท่านั้น
  • ค.ศ. 1535 - อันโตนิโอ ฟิออ ซึ่งได้รับถ่ายทอดเทคนิคจาก เดล เฟอโร ได้ท้า นิคโคโล ฟอนตาน่า หรือ ทาร์ทากลียา แข่งทำโจทย์คณิตศาสตร์ โดยต่างคนต่างให้โจทย์อีกฝ่ายคนละ 30 ข้อ โดยฟิออได้ให้ทาร์ทากลียาทำโจทย์สมการกำลังสาม ลดรูปทั้งหมด 30 ข้อ และในที่สุด ทาร์ทากลียาก็คิดค้นคำตอบในรูปแบบรากได้เช่นเดียวกันกับ เดล เฟอโร และชนะการแข่งขันครั้งนั้น อย่างไรก็ตาม ทาร์ทากลียาก็ไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้เช่นกัน,
  • ค.ศ. 1539 - จีโรลาโม คาร์ดาโน เรียนรู้วิธีในการหาคำตอบสมการกำลังสามลดรูปจากทาร์ทากลียา และในเวลาต่อมา คาร์ดาโนก็สามารถคิดค้นวิธีหาคำตอบในรูปแบบรากของสมการกำลังสามแบบสมบูรณ์ได้,
  • ค.ศ. 1540 - โลโดวิโค เฟอรารีซึ่งเป็นลูกศิษย์ของคาร์ดาโน คิดค้นวิธีหาคำตอบในรูปแบบรากของสมการกำลังสี่ ได้สำเร็จ,
  • ค.ศ. 1614 - จอห์น นาเปียร์ คิดค้นลอการิทึมได้สำเร็จหลังจากทุ่มเทมานับสิบปี และตีพิมพ์ผลงานนี้ใน Mirifici Logarithmorum Canonis Descriptio,
  • ค.ศ. 1619 - เรอเน เดการ์ต และปีแยร์ เดอ แฟร์มา คิดค้นเรขาคณิตวิเคราะห์ได้ ในเวลาใกล้เคียงกัน,
  • ค.ศ. 1629 - ปีแยร์ เดอ แฟร์มา ได้คิดค้นรากฐานบางส่วนของแคลคูลัสอนุพันธ์,
  • ค.ศ. 1637 - ปีแยร์ เดอ แฟร์มา ได้จดบันทึกเล็ก ๆ ในหนังสือ Arithmetica ของไดโอแฟนตุสว่า ผมสามารถพิสูจน์ทฤษฎีบทนี้ได้ แต่ว่าที่ว่างตรงนี้มันน้อยเกินไปที่จะเขียนบทพิสูจน์ ทฤษฎีบทที่ว่านี้ก็คือ ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาซึ่งไม่มีใครพิสูจน์ได้เลยเป็นเวลานานเกือบ 400 ปี จนกระทั่งแอนดรูว์ ไวล์ได้ให้บทพิสูจน์ในปี ค.ศ. 1995,
  • ค.ศ. 1654 - แบลซ ปัสกาล และ ปีแยร์ เดอ แฟร์มา ได้ร่วมมือกันคิดค้นรากฐานของทฤษฎีความน่าจะเป็น,จากสามเหลี่ยมปาสกาลซึ่งเป็นผลงานทางคณิตศาสตร์ของชาวจีน

คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 (ยุคคลาสสิก)

[แก้]

คริสต์ศตวรรษที่ 19

[แก้]

คริสต์ศตวรรษที่ 20

[แก้]

คริสต์ศตวรรษที่ 21 (ปัจจุบัน)

[แก้]
  • ค.ศ. 2002 - มานินดรา อกราวัล นิทิน แซกซินา และนีราจ คายัล จากสถาบันเทคโนโลยีอินเดียคานเปอร์ (Indian Institute of Technology Kanpur) เสนอขั้นตอนวิธีไม่มีเงื่อนไขเชิงกำหนดซึ่งใช้เวลาเชิงพหุนามสำหรับพิจารณาว่าจำนวนที่ให้มาเป็นจำนวนเฉพาะหรือไม่ ซึ่งเรียกกันว่าการทดสอบจำนวนเฉพาะ AKS
  • ค.ศ. 2002 - ยาสึมาสะ คานาดะ วาย. ยูชิโร่ ฮิซะยาสึ คุโรดะ มาโกโตะ คุโด้ และทีมงานอีกเก้าคนได้ทำการคำนวณ π ถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 1,241 ล้าน โดยใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาด 64 node ของฮิตาชิ
  • ค.ศ. 2002- Preda Mihăilescu พิสูจน์ข้อความคาดการณ์ของคาตาลาน ได้สำเร็จ
  • ค.ศ. 2003- กริกอรี เพเรลมานพิสูจน์ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหา 7 ข้อของเคลย์ได้สำเร็จ
  • ค.ศ. 2007- นักวิจัยในอเมริกาเหนือและยุโรปร่วมมือกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อสร้าง ในทฤษฎีกลุ่ม
  • ค.ศ. 2009- Ngo Bao Chau นักคณิตศาสตร์ชาวเวียดนามพิสูจน์บทตั้งมูลฐาน (Fundamental lemma) ในโปรแกรมของแลงค์แลนดส์ (Langlands program) ได้สำเร็จ [1]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  • บางส่วนของบทความนี้นำมาจาก Niel Brandt (1984) ซึ่งอนุญาตให้ใช้ในโครงการวิกิพีเดียตามที่ระบุไว้ใน [2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Laumon, G.; Ngô, B. C. (2004), Le lemme fondamental pour les groupes unitaires, arXiv:math/0404454
  2. en:Talk:Timeline of mathematics