ข้ามไปเนื้อหา

อเมริกันแอร์ไลน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อเมริกันแอร์ไลน์
IATA ICAO รหัสเรียก
AA AAL AMERICAN
ก่อตั้ง15 เมษายน ค.ศ. 1926 (98 ปี) (ในชื่อ อเมริกันแอร์เวย์)
เริ่มดำเนินงาน25 มิถุนายน ค.ศ. 1936 (88 ปี)
AOC #AALA025A[1]
ท่าหลักชาร์ลอต
ชิคาโก
ลอสแอนเจลิส
ดัลลาส-ฟอร์ตเวิร์ธ
ไมอามี
นิวยอร์ก-เจเอฟเค
นิวยอร์ก-ลากวาร์เดีย
ฟิลาเดลเฟีย
ฟีนิกซ์-สกายฮาร์เบอร์
วอชิงตัน-เรแกน
สะสมไมล์AAdvantage
พันธมิตรการบินวันเวิลด์
ขนาดฝูงบิน967
จุดหมาย349
บริษัทแม่อเมริกันแอร์ไลน์กรุ๊ป
สำนักงานใหญ่สหรัฐ ฟอร์ตเวิร์ธ, รัฐเท็กซัส, สหรัฐอเมริกา
บุคลากรหลักRobert Isom (ซีอีโอ)
Doug Parker (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
พนักงาน
129,700 (2023)
เว็บไซต์www.aa.com

อเมริกันแอร์ไลน์ (อังกฤษ: American Airlines) เป็นสายการบินหลักของสหรัฐ และเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกตามขนาดฝูงบิน[2] โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานดัลลาส/ฟอร์ตเวิร์ธ[3] อเมริกันแอร์ไลน์ให้บริการเที่ยวบินไปยัง 350 จุดหมายปลายทางใน 50 ประเทศ อเมริกันแอร์ไลน์เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งพันธมิตรทางสายการบินวันเวิล์ด

ประวัติ

[แก้]

ช่วงแรก

[แก้]
ดักลาส ดีซี-3 ของอเมริกันแอร์ไลน์ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

อเมริกันแอร์ไลน์ได้มีการก่อตั้งขึ้นในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1926 จากการรวมตัวการของสายการบินเล็กๆ กว่า 82 สายการบิน[4] โดยเริ่มแรกใช้ชื่อว่า อเมริกันแอร์เวย์ ในช่วงแรก อเมริกันแอร์เวย์จะให้บริการเที่ยวบินไปรษณีย์และภายในปีค.ศ. 1933 อเมริกันแอร์เวย์ก็ได้ให้บริการเที่ยวบินไปยัง 72 เมืองในสหรัฐ

อเมริกันแอร์ไลน์ได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเครื่องบินใบพัดอย่างดักลาส ดีซี-3 ซึ่งเป็นการร่วมพัฒนากันระหว่าง ซี.อาร์. สมิธ ผู้ดูแลอเมริกันแอร์ไลน์ และโดนัลด์ ดักลาส เจ้าของดักลาสแอร์คราฟต์คอมพานี หลังจากสมิธขอให้ดักลาสผลิตเครื่องบินรุ่นใหม่ที่พัฒนามาจากดักลาส ดีซี-2 เพื่อนำมาทดแทนเครื่องบินใบพัดเคอร์ติส คอนดอร์ II โดยอเมริกันได้รับดีซี-3 มาทดลองใช้เป็นสายการบินแรก เที่ยวบินแรกคือจากนวร์ก, รัฐนิวเจอร์ซีย์ ไปยังชิคาโก, รัฐอิลลินอย

ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

[แก้]

หลังจากช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อเมริกันแอร์ไลน์ได้สั่งซื้อเครื่องบินมาประจำการเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโบอิง 707, โบอิง 747, บีเอซี 1-11 รวมถึงมีส่วนร่วมในการพัฒนาแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 เครื่องบินลำตัวกว้างสามเครื่องยนต์ ซึ่งจะนำมาใช้กับเที่ยวบินระยะไกลที่สนามบินปลายทางมีทางวิ่งขนาดเล็กเกินกว่าที่โบอิง 747 สามารถลงจอดได้ ซึ่งดีซี-10 นี้เป็นแข่งขันกับล็อกฮีด แอล-1011 ไทรสตาร์ นอกจากนี้อเมริกันแอร์ไลน์ยังได้เพิ่มบริการหลายๆ อย่างให้กับผู้โดยสาร เช่น การจองตั๋วผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์, เซเบอร์ ซึ่งเป็นบริการการจอง ซึ่งร่วมพัฒนากับไอบีเอ็ม และยังมีการสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคเนดี[5]

ช่วงทศวรรษที่ 1980-1990

[แก้]
อเมริกันแอร์ไลน์เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งวันเวิลด์ในปีค.ศ. 1999

ในช่วงที่อเมริกันแอร์ไลน์ย้ายสำนักงานใหญ่มาที่ฟอร์ตเวิร์ธ, รัฐเท็กซัส ในปีค.ศ. 1979[6] อเมริกันแอร์ไลน์ได้เปลี่ยนแผนปฏิบัติการเป็น "ฮับ-แอนด์-สโปค" ในปีค.ศ. 1981 และเปิดฐานการบินแห่งแรกที่ท่าอากาศยานนานาชาติดัลลาส/ฟอร์ตเวิร์ธ เปิดฐานที่สองในชิคาโกในปีค.ศ. 1982 พร้อมกับเปิดเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเส้นทางแรกไปยังลอนดอนในปีเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีการขยายฐานการบินไปอีกมากมาย

หลังจากได้มีฐานในไมอามีจากการเข้าซื้อเส้นทางบินจากอีสเทิร์นแอร์ไลน์ อเมริกันแอร์ไลน์ได้เข้ามามีบทบาทในลาตินอเมริกาและอเมริกาใต้ จนเป็นหนึ่งในสายการบินที่มีบทบาทมากที่สุดในพื้นที่

ในปีค.ศ. 1999 อเมริกันแอร์ไลน์ ร่วมกับบริติชแอร์เวย์, คาเธ่ย์แปซิฟิค, แคนาเดียนแอร์ไลน์, และควอนตัส ได้ก่อตั้งพันธมิตรทางการบินวันเวิลด์

ช่วงทศวรรษที่ 2000-2010

[แก้]

อเมริกันแอร์ไลน์ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงหลังจากเกิดเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน นอกจากจะสูญเสียเครื่องบินแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อเที่ยวบินของสายการบินในช่วงนั้น หลายๆ สายการบินจึงต้องยุบตัวหรือผนวกกิจการไปเช่น ทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์ที่ผนวกกิจการเข้ากับอเมริกันแอร์ไลน์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001[7] และได้แย่ลงไปอีกครั้งในวิกฤตการณ์การเงิน ค.ศ. 2008 ส่งผลให้อเมริกันต้องปิดฐานการบินที่แคนซัสซิตีที่ได้รับต่อมาจากทีดับเบิลยูเอ

นอกจากนี้อเมริกันแอร์ไลน์ยังมีบทบาทในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของเจแปนแอร์ไลน์ จนมีการทำกิจการร่วมค้าระหว่างสายการบินทั้งสอง[8]

ในปีค.ศ. 2012 เอเอ็มอาร์คอร์ปอเรชั่น (อังกฤษ: AMR Corporation) บริษัทแม่ของอเมริกันแอร์ไลน์ ได้ประกาศล้มละลาย จึงได้มีการย่อธุรกิจลง สายการบินได้ยกเลิกเที่ยวบินบางเที่ยวบิน[9], ยกเลิกการบริการบางชนิด, รวมถึงอเมริกันอีเกิล สายการบินลูกของอเมริกัน ต้องปลดประจำการเครื่องบิน 35-40 ลำ

ในปีค.ศ. 2013 ยูเอสแอร์เวย์ได้ผนวกกิจการเข้ากับอเมริกันแอร์ไลน์ เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจของสายการบิน ทำให้อเมริกันเป็นสายการบินที่มีขนาดฝูงบินใหญ่มากที่สุดในโลก[2]

ปัจจุบัน

[แก้]

ในช่วงแรกของการระบาดทั่วของโควิด-19 อเมริกันแอร์ไลน์ได้ลดพนักงานฝ่ายธุรกิจและบริหารลงกว่า 30% ก่อนที่ต้นปีค.ศ. 2020 จะลดพนักงานลงอีกจำนวนหนึ่ง [10] นอกจากนี้ อเมริกันแอร์ไลน์ได้ปลดประจำการเครื่องบินกว่า 100 ลำ ไม่ว่าจะเป็นแอร์บัส เอ330, เอ็มบราเออร์ อี-190, โบอิง 757, โบอิง 767, หรือซีอาร์เจ-200[11] และหลังจากนั้นก็ได้มีการฟื้นตัวมากขึ้น

กิจการองค์กร

[แก้]

กรรมสิทธิ์บริษัท

[แก้]

อเมริกันแอร์ไลน์มีการซื้อขายต่อสาธารณะผ่านบริษัทแม่ อเมริกันแอร์ไลน์กรุ๊ป ภายใต้ NASDAQ: AAL Nasdaq: AAL โดยมีมูลค่าตลาดประมาณ 12 พันล้านดอลลาร์ ณ ปี 2019[12]

อเมริกันอีเกิลเป็นเครือข่ายของผู้ให้บริการระดับภูมิภาค 6 แห่งที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมและข้อตกลงการบริการกับอเมริกัน ซึ่งให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทางในสหรัฐอเมริกา แคนาดา แคริบเบียน และเม็กซิโก สามสายการบินเหล่านี้เป็นอิสระและสามรายเป็นบริษัทในเครือของอเมริกันแอร์ไลน์กรุ๊ป: เอ็นวอยแอร์, เพียดมอนต์แอร์ไลน์, และ พีเอสเอแอร์ไลน์

เอกลักษณ์องค์กร

[แก้]

โลโก้

[แก้]

กูดริช เมอร์ฟี พนักงานของอเมริกันแอร์ไลน์ได้ออกแบบโลโก้ของสายการบินในปีค.ศ. 1931 ในการประกวดออกแบบโลโก้ แล้วในปีค.ศ. 1967 มาซิโม วิกเนลลี ได้ออกแบบโลโก้ให้อเมริกันใหม่ รวมถึงลวดลายของสายการบินด้วย[13][14]

ในปีค.ศ. 2013 อเมริกันแอร์ไลน์ได้มีการรีแบรนด์ใหม่ จึงมีการออกแบบโลโก้และลวดลายใหม่ในหัวข้อ "A New American" โดยโลโก้มีส่วนมากจากโลโก้เก่าในปีค.ศ. 1967[15]

ลวดลายอากาศยาน

[แก้]

ในช่วงแรก ลวดลายอากาศยานของอเมริกันแอร์ไลน์ไม่ได้มีรูปแบบตายตัว แต่ยังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ก่อนที่รูปแบบอย่างเป็นทางการจะถูกประกาศออกมาอย่างเป็นทางการในปีค.ศ. 1930 โดยมีเหยี่ยวบนลำตัวเครื่อง[16] เหยี่ยวได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของสายการบินในเวลาต่อมา บนลำตัวเครื่องจะมีแถบสายฟ้าสีส้มพาดอยู่บนลำตัวเครื่อง แต่ถูกเปลี่ยนเป็นเส้นธรรมดาหลังจากมีการประจำการของเครื่องบินเจ็ต

ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 ได้มีการให้มาซิโม วิกเนลลีออกแบบลวดลายใหม่ โดยจะมีเส้นสีแดง ขาว และน้ำเงินพาดอยู่ตามลำตัวเครื่อง และโลโก้ AA บริเวณหางของเครื่องบิน โดยลวดลายนี้จะถูกใช้จนถึงปีค.ศ. 2013

ช่วงต้นปีค.ศ. 2013 อเมริกันแอร์ไลน์ได้เปิดตัวลวดลายใหม่[17] ในหัวข้อ "The New American"[18] โดยได้มีการประกาศในเบื้องต้นว่าโลโก้และลวดลายใหม่นี้อาจได้ใช้เพียงระยะสั้น ก่อนที่จะให้พนักงานลงเสียง[19] แล้วในที่สุดอเมริกันแอร์ไลน์ก็ได้คงลวดลายและโลโก้นี้ไว้ต่อไป และยังได้มีการคงลวดลายคงสายการบินต่างๆ ที่ควบรวมกิจการกับอเมริกันไว้ ได้แก่ เพียดมอนต์แอร์ไลน์, พีเอสเอ, อเมริกาเวสต์แอร์ไลน์, ยูเอสแอร์เวย์, รีโนแอร์, ทีดับเบิลยูเอ, และแอร์คาล[20]

จุดหมายปลายทาง

[แก้]

อเมริกันแอร์ไลน์ให้บริการเที่ยวบินไปยัง 350 จุดหมายปลายทางใน 48 ประเทศ

ฐานการบิน

[แก้]
ดัลลาส/ฟอร์ตเวิร์ธเป็นฐานการบินแรกและที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกันแอร์ไลน์

อเมริกันแอร์ไลน์มีฐานการบินทั้งหมด 10 ฐาน ดังนี้:

  • ชาร์ลอต - ฐานการบินสำหรับเที่ยวบินเข้าและออกจากบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐและแคริบเบียน โดยอาคารเทียบเครื่องบิน E เป็นการปฏิบัติการเที่ยวบินระดับภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในโลก[21] ฐานการบินของยูเอสแอร์เวย์ในอดีต
  • ชิคาโก - ฐานการบินในฝั่งมิดเวสต์สหรัฐของอเมริกันแอร์ไลน์[22]
  • ลอสแอนเจลิส - ฐานการบินสำหรับเที่ยวบินเข้าออกฝั่งตะวันออกของสหรัฐ[23]
  • ดัลลาส-ฟอร์ตเวิร์ธ - ฐานการบินแรกและที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกันแอร์ไลน์ ให้บริการเที่ยวบินเข้าออกฝั่งใต้ของสหรัฐ
  • ไมอามี - ฐานการบินหลักของอเมริกันสำหรับเที่ยวบินในลาตินอเมริกาและแคริบเบียน[24]
  • นิวยอร์ก-เจเอฟเค - ฐานการบินรองสำหรับเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกของสายการบิน และเป็นฐานหลักของเที่ยวบินสู่อเมริกาใต้[25]
  • ฟิลาเดลเฟีย - ฐานการบินหลักของอเมริกันสำหรับเที่ยวบินในฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐ และเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก[27]

พันธมิตรการบินและข้อตกลงการบินร่วม

[แก้]

อเมริกันแอร์ไลน์เป็นสมาชิกของพันธมิตรการบินวันเวิลด์และได้มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[31]

กิจการร่วมค้า

[แก้]

นอกจากข้อตกลงการบินร่วมแล้ว อเมริกันแอร์ไลน์ได้ทำกิจการร่วมค้าระหว่างสายการบินดังต่อไปนี้:[42]

ฝูงบิน

[แก้]

ฝูงบินปัจจุบัน

[แก้]

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 อเมริกันแอร์ไลน์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบิน ดังนี้:[45][46]

ฝูงบินของอเมริกันแอร์ไลน์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
F J W Y+ Y รวม
แอร์บัส เอ319-100 133 8 24 96 128
12 24 96 132 32 ลำจะเปลี่ยนการจัดเรียงห้องโดยสาร[47]
แอร์บัส เอ320-200 48 12 18 120 150
แอร์บัส เอ321-200 202 20 35 135 190
16 10 20 36 36 102 การจัดเรียงแบบภายในประเทศ[48]

จะเปลี่ยนการจัดเรียงห้องโดยสารเป็นรูปแบบปกติ[49]

แอร์บัส เอ321นีโอ 80 85 20 35 141 196
แอร์บัส เอ321เอกซ์แอลอาร์ 50 20 12 123 155 เริ่มส่งมอบในปี 2024[49][50]
โบอิง 737-800 303 16 24 132 172
โบอิง 737 แมกซ์ 8 59 41
โบอิง 737 แมกซ์ 10 115 รอประกาศ
โบอิง 777-200อีอาร์ 47 37 24 66 146 273
โบอิง 777-300อีอาร์ 20 8 52 28 28 188 304
70 44 รอประกาศ จะเปลี่ยนการจัดเรียงห้องโดยสารในปี 2024[51]
โบอิง 787-8 37 20 28 48 138 234 ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุด[52]
โบอิง 787-9 22 30 21 27 207 285
30 51 32 18 143 244 เริ่มส่งมอบในปี 2024[51]
บูม โอเวอร์เชอร์ 20 รอประกาศ สั่งซื้อ 40 ตัวเลือก
รวม 967 341

อเมริกันแอร์ไลน์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 13.3 ปี

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์

[แก้]

ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2019 อเมริกันแอร์ไลน์ได้สูญเสียเครื่องบินเกือบหกสิบลำ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องบินขับเคลื่อนด้วยใบพัด รวมทั้งเครื่องบินใบพัดเครื่องบินล็อกฮีด แอล-188 อีเลคตร้า 3 ลำ (หนึ่งในนั้น อุบัติเหตุเครื่องบินตกในปี 2502 ของเที่ยวบิน 320 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต) อุบัติเหตุสองครั้งที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์การบินของสายการบินและสหรัฐ ได้แก่ เที่ยวบินที่ 191 ในปีค.ศ. 1979 และเที่ยวบินที่ 587 ในปีค.ศ. 2001[53]

วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544

[แก้]

การโจมตี 11 กันยายน (เรียกอีกอย่างว่า 9/11) เป็นการโจมตีของผู้ก่อการร้ายโดยกลุ่มก่อการร้ายอิสลามอัลกออิดะฮ์[54][55][56] ซึ่งได้ทำการปล้นจี้เครื่องบินทั้งหมดสี่ลำ โดยอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 พุ่งเข้าชนอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 พุ่งเข้าชนอาคารเพนตากอน และยังมีเครื่องบินของยูไนเต็ดแอร์ไลน์อีกสองลำที่ถูกสลัดอากาศจี้ คือ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 ซึ่งชนตึกเวิลด์เทรดหลังเที่ยวบินที่ 11 และยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ที่ได้ตกลงในทุ่งหญ้าในเพนซิลเวเนีย หลังจากการต่อสู้ระหว่างผู้โดยสารกับสลัดอากาศจนทำให้สลัดอากาศไม่บรรลุเป้าหมาย เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในเช้าวันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 การโจมตีครั้งนี้คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 3,000 คน รวมทั้งผู้ก่อการร้ายทั้ง 19 คน[57] โดยได้มีความเสียหายให้กับมากกว่า 10 พันล้านดอลลาร์[58][59]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Airline Certificate Information – Detail View". av-info.faa.gov. Federal Aviation Administration. May 12, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 13, 2015. สืบค้นเมื่อ May 15, 2015. Certificate Number AALA025A
  2. 2.0 2.1 "The biggest airline has the biggest profit". Dallas News (ภาษาอังกฤษ). 2015-01-28.
  3. "Federal Aviation Administration - Airline Certificate Information - Detail View". av-info.faa.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.
  4. "The Associated Press: American Airlines parent seeks Ch. 11 protection". web.archive.org. 2011-12-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-04. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  5. "Jets Across the U.S. - TIME". web.archive.org. 2007-10-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-01. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.
  6. "Bloomberg - Are you a robot?". www.bloomberg.com. {{cite web}}: Cite ใช้ชื่อทั่วไป (help)
  7. Bryant, Adam (1995-06-29). "T.W.A. Cleared for 2d Bankruptcy Filing". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.
  8. "American Airlines Talking With JAL - TheStreet". web.archive.org. 2016-02-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-05. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.
  9. http://www.indianexpress.com/news/american-airlines-ends-chicagonew-delhi-service/900065/
  10. Gangitano, Alex (2021-02-04). "American Airlines warns 13,000 employees could be furlough as aid set to expire". The Hill (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  11. "American Airlines Reports Fourth-Quarter and Full-Year 2020 Financial Results". news.aa.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  12. "American Airlines Group − Customer service − American Airlines". www.aa.com.
  13. "American Airlines". web.archive.org. 2017-12-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-01. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  14. "iconic logo designers". web.archive.org. 2010-01-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  15. Wilson, Mark (2013-01-22). "American Airlines Rebrands Itself, And America Along With It". Fast Company (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  16. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-01. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.
  17. "American Airlines logo - chicagotribune.com". web.archive.org. 2013-02-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-17. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  18. "Becoming a new American". web.archive.org. 2013-10-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-08. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  19. "Doug Parker to let American Airlines employees decide whether to keep the new AA tail". Dallas News (ภาษาอังกฤษ). 2013-12-16.
  20. "[PHOTOS] Heritage Livery Flies Again in American Airlines' Retro Rollout - APEX | Airline Passenger Experience". web.archive.org. 2019-08-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-05. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.
  21. "CLT :: American Airlines Newsroom". web.archive.org. 2015-02-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  22. "ORD :: American Airlines Newsroom". web.archive.org. 2015-02-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  23. ":: American Airlines Newsroom". web.archive.org. 2015-02-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  24. "MIA :: American Airlines Newsroom". web.archive.org. 2015-02-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  25. "JFK :: American Airlines Newsroom". web.archive.org. 2015-09-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-20. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  26. "LGA :: American Airlines Newsroom". web.archive.org. 2015-09-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-20. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  27. "PHL :: American Airlines Newsroom". web.archive.org. 2015-02-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  28. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.
  29. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-11-02. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.
  30. "DCA :: American Airlines Newsroom". web.archive.org. 2015-02-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  31. "Partner airlines". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 6, 2020. สืบค้นเมื่อ December 23, 2020.
  32. "American Airlines and Aer Lingus Launch New Codeshare Agreement". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 11, 2022. สืบค้นเมื่อ January 11, 2022.
  33. "Code Share Agreements". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 23, 2022. สืบค้นเมื่อ January 23, 2022.
  34. "American Airlines / GOL Begins codeshare service from mid-Feb 2020 | Routes". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 9, 2020. สืบค้นเมื่อ February 10, 2020.
  35. "India nonstops on the way, American Airlines codeshares with IndiGo for India connections". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 28, 2021. สืบค้นเมื่อ September 28, 2021.
  36. "JetBlue and American will share passengers in bid to fend off United and Delta". CNBC. July 16, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2020. สืบค้นเมื่อ July 16, 2020.
  37. "American Airlines and JetSMART Sign Letter of Intent to Create the Broadest and Most Rewarding Network in the Americas". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 4, 2021. สืบค้นเมื่อ October 3, 2021.
  38. "LEVEL, American Airlines resumes Codeshare Agreement". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 23, 2022. สืบค้นเมื่อ January 23, 2022.
  39. "American Airlines & Qatar Airways Announce Strategic Partnership". One Mile at a Time. February 25, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2020. สืบค้นเมื่อ March 14, 2020.
  40. "SriLankan Reinstates American Airlines Codeshare". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 11, 2022. สืบค้นเมื่อ January 11, 2022.
  41. "American Airlines Launching Codeshares With Vueling". December 21, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 23, 2022. สืบค้นเมื่อ January 23, 2022.
  42. "About us, American Airlines Group, Business Agreements, Joint Business Agreement". aa.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2017. สืบค้นเมื่อ November 18, 2021.
  43. "Japan Airlines and American Airlines Joint Service". jal.co.jp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 9, 2019. สืบค้นเมื่อ February 14, 2020.
  44. "American Airlines and Qantas gain approval to form joint venture". cnet. July 19, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2021. สืบค้นเมื่อ November 18, 2021.
  45. "American Airlines Fleet Details and History". www.planespotters.net.
  46. "Planes − Travel information − American Airlines". www.aa.com.
  47. Schlappig, Ben (2024-02-01). "American A319s Getting More First Class Seats, Tighter Cabin". One Mile at a Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-02-07.
  48. "Planes − Travel information − American Airlines". American Airlines. สืบค้นเมื่อ May 5, 2023.
  49. 49.0 49.1 Schlappig, Ben (22 September 2022). "Revealed: New American Airlines Business Class Seats". One Mile at a Time. สืบค้นเมื่อ 30 September 2023.
  50. Leff, Gary (2023-10-24). "From the Employee Meeting: American Airlines' Strategy for the New Airbus A321XLR Unveiled". View from the Wing (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-10-25.
  51. 51.0 51.1 "A Private Premium Experience in the Sky: American Airlines Introduces New Flagship Suite". news.aa.com. สืบค้นเมื่อ October 13, 2022.
  52. Nayar, Abhishek (June 9, 2023). "American Airlines Becomes the Largest Boeing 787-8 Operator in the World". 100 Knots (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-01-03.
  53. Ranter, Harro. "Aviation Safety Network > ASN Aviation Safety Database > Geographical regions > United States of America air safety profile". aviation-safety.net.
  54. Moghadam, Assaf (2008). The globalization of martyrdom : Al Qaeda, Salafi Jihad, and the diffusion of suicide attacks. Internet Archive. Baltimore : Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-9055-0.
  55. "Special Reports - The Salafist Movement | Al Qaeda's New Front | FRONTLINE | PBS". www.pbs.org.
  56. Wright, Looming Tower, 2006, p. 79
  57. "Winnipegger heads to NY for 9/11 memorial". CBC News. September 9, 2011. Retrieved November 13, 2013. A total of 2,996 people died: 19 hijackers and 2,977 victims.
  58. "The Cost of September 11". www.iags.org.
  59. Morgan, Matthew J. (2009-07-15). The Impact of 9/11 on Politics and War: The Day that Changed Everything? (ภาษาอังกฤษ). Palgrave Macmillan. ISBN 978-0-230-60763-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]