ข้ามไปเนื้อหา

อะแลสกาแอร์ไลน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะแลสกาแอร์ไลน์
IATA ICAO รหัสเรียก
AS ASA ALASKA
ก่อตั้ง14 เมษายน ค.ศ. 1932 (92 ปี) (ในชื่อว่า แมคกีแอร์เวย์)
เริ่มดำเนินงาน6 มิถุนายน ค.ศ. 1932 (80 ปี)
AOC #ASAA802A
ท่าหลักแองคอเรจ
ลอสแอนเจลิส
พอร์ตแลนด์
ซานฟรานซิสโก
ซีแอตเทิล
สะสมไมล์ไมเลจ เพลน
พันธมิตรการบินวันเวิลด์
ขนาดฝูงบิน303
จุดหมาย117
เว็บไซต์http://alaskaair.com/

อะแลสกาแอร์ไลน์ (อังกฤษ: Alaska Airlines) เป็นสายการบินสัญชาติสหรัฐอเมริกา พวกเขามีสำนักงานใหญ่ในซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน และมีฐานการบินอยู่ที่ในแองเคอเรจ ลอสแองเจลิส พอร์ตแลนด์ ซานฟรานซิสโก และซีแอตเทิล ณ ปีค.ศ. 2022 อะแลสกาแอร์ไลน์ได้ขยายเส้นทางบินไปยัง 117 เมืองกับเครื่องบินในฝูงทั้ง 303 ลำ

หลังจากการควบรวมกิจการระหว่างอะแลสกาแอร์ไลน์และเวอร์จินอเมริกา, สายการบินได้สร้างลวดลายพิเศษเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองบนอากาศยานหลายลำ รวมถึงแอร์บัส เอ321 ลำนี้

ประวัติ

[แก้]

อะแลสกาแอร์ไลน์ก่อตั้งในปีค.ศ. 1932 ในชื่อ "แมคกีแอร์เวย์" ก่อนรวมเข้ากับสายการบินอื่นๆ อีกหลายแห่งในปีค.ศ. 1934 และทำให้เกิด "สตาร์แอร์ไลน์" [1] จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "อะแลสกาแอร์ไลน์" ในที่สุดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1944[2] ต่อมาในปี ค.ศ. 1950 อแลสกาแอร์ไลน์เริ่มให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำทั่วโลก หลายเที่ยวบิน แต่รัฐบาลได้กล่าวในภายหลังว่าอะแลสกาแอร์ไลน์สามารถบินได้ในรัฐอะแลสกาเท่านั้น แล้วในปีค.ศ. 1961 สายการบินได้เริ่มทำการบินไปยังทวีปอเมริกา ในปีค.ศ. 1970 อะแลสกาแอร์ไลน์เริ่มบินเช่าเหมาลำไปยังสหภาพโซเวียต [3] ในปีค.ศ. 1972 สายการบินได้เปิดตัวโลโก้ "เอสกิโม" อันโด่งดังซึ่งยังคงใช้มาจนถึงทุกวันนี้[4] ในปีค.ศ. 1985 อลาสก้าเริ่มบินไปยังเมืองใหม่ๆ มากมายในชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ในปีค.ศ. 1988 สายการบินอลาสก้าเริ่มเที่ยวบินแรกไปยังเม็กซิโก ในปีค.ศ. 1990 อะแลสกาแอร์ไลน์กลายเป็นสายการบินแรกที่ขายตั๋วทางอินเทอร์เน็ต ให้บริการเช็คอินด้วยตนเอง และมี GPS บนเครื่องบิน[5]

อลาสก้าแอร์ไลน์เปิดตัวโลโก้ใหม่ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2016[6] อลาสก้าแอร์ไลน์และเวอร์จินอเมริกาประกาศแผนการที่จะควบรวมกิจการในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2016 สายการบินที่ควบรวมกิจการยังคงชื่ออลาสก้าแอร์ไลน์เดิม โดยเวอร์จินอเมริกาบินเป็นครั้งสุดท้าย ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2018[7]

จุดหมายปลายทาง

[แก้]

ข้อตกลงการบินร่วม

[แก้]

อะแลสกาแอร์ไลน์เป็นสมาชิกของพันธมิตรวันเวิลด์และมีพันธมิตรทางการบินกับสายการบินต่อไปนี้:

ฝูงบิน

[แก้]

ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2021 ฝูงบินของอะแลสกาแอร์ไลน์มีดังนี้ (รวมอากาศยานของอะแลสกาแอร์คาร์โก้, ฮอไรซั่นแอร์ และสกายเวสต์แอร์ไลน์)

ฝูงบินของอะแลสกาแอร์ไลน์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
F Y+ Y ทั้งหมด
แอร์บัส เอ320-200 35 12 24 114 150 จะปลดประจำการภายในปีค.ศ. 2023.[8]
แอร์บัส เอ321นีโอ 10 16 24 150 190
โบอิง 737-700 11 12 18 94 124
โบอิง 737-800 61 12 30 117 159
โบอิง 737-900 12 16 24 138 178
โบอิง 737-900อีอาร์ 79 16 24 138 178
โบอิง 737 แมกซ์ 9[9] 13 80 16 24 138 178 ทดแทนแอร์บัส เอ320-200.[10][11]
ฝูงบินของะแลสกาแอร์คาร์โก้
โบอิง 737-700F 3 สินค้า
ฝูงบินของฮอไรซั่นแอร์และสกายเวสต์แอร์ไลน์
เดอ ฮาวิลแลนด์ แดช 8-400 32 76 76 ให้บริการโดย ฮอไรซั่นแอร์
เอ็มบราเออร์ อี175 30 12 12 12 52 76
32 8 ให้บริการโดย สกายเวสต์แอร์ไลน์
ทั้งหมด 318 100

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ

[แก้]
ชุดภาพแอนิเมชั่นแสดงการบินของเที่ยวบินที่ 261

อุบัติเหตุ

[แก้]
  • 31 มกราคม ค.ศ. 2000: เที่ยวบินที่ 261 เครื่องบินแมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-80 ตกลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้กับเกาะอะนาคาปา บริเวณรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ โดยขณะบินอยู่เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก เครื่องบินก็ได้สูญเสียการควบคุมแล้วตกลง ส่งผลให้ไม่มีผู้รอดชีวิต คาดว่าเกิดจากความล้มเหลวของสกรู เนื่องจากการบำรุงรักษาที่ไม่เหมาะสม

อ้างอิง

[แก้]
  1. Airlines, Alaska. "History". Alaska Airlines (ภาษาอังกฤษ).
  2. "StanWing.Com - Insignia of the U.S.A." stanwing.com.
  3. "Alaska Airlines File". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-01-27.
  4. ที่มาของเอสกิโม; รูปที่อยู่บนหางของเครื่องบินในฝูงของอะแลสกาแอร์ไลน์คือใคร?
  5. Airlines, Alaska. "Alaska Airlines Pioneers". Alaska Airlines (ภาษาอังกฤษ).
  6. Oregonian/OregonLive, Elliot Njus | The (2016-01-26). "Alaska Airlines debuts new logo, paint job". oregonlive (ภาษาอังกฤษ).
  7. https://www.virginamerica.com/cms/news/virgin-america-merger-with-alaska-airlines
  8. "Alaska Airlines' Airbus Fleet Retirement Plans". One Mile at a Time. 23 December 2020. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
  9. Cook, Marc (2020-12-29). "Boeing 737 MAX Resumes U.S. Service, Gets New Orders". AVweb (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-03-08.
  10. "Boeing finalises sale of 23 737 Max to Alaska Airlines". flightglobal.com. สืบค้นเมื่อ 31 March 2021.
  11. "Alaska Airlines grows B737 MAX 9 order book". Ch-Aviation. 17 August 2021.