ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลนนทบุรี ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สโมสรฟุตบอลนนทบุรี ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มนนทบุรี ยูไนเต็ด
ฉายาอีกาทอง
ก่อตั้งพ.ศ. 2559
(บีทียู ส.บุญมีฤทธิ์ ยูไนเต็ด)
พ.ศ. 2563
(นนทบุรี ยูไนเต็ด ส.บุญมีฤทธิ์)
พ.ศ. 2566
(นนทบุรี ยูไนเต็ด)
สนามสนามกีฬากลางจังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี
ความจุ12,000 ที่นั่ง
ประธานกษิด์เดช ฉั่น
ผู้จัดการตรัยคุณ กาศสกุล
ผู้ฝึกสอนอชิระ ทองเจิม
ลีกไทยลีก 3
2567–68ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันตก, อันดับที่ 8
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลนนทบุรี ยูไนเต็ด (อังกฤษ: Nonthaburi United Football Club) หรือเดิมคือ สโมสรฟุตบอลบีทียู ส.บุญมีฤทธิ์ ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ จังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก 3 โซนภาคตะวันตก

สโมสรก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2559 และเข้ามาสู่ระบบลีกอาชีพจากการซื้อสิทธิในการลงแข่งขันลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 มาจากสโมสรฟุตบอลโกลเบล็ก เอฟซี ที่ยุบทีมไป ปัจจุบันสโมสรใช้สนามกีฬากลางจังหวัดนนทบุรี เป็นสนามเหย้า

ประวัติ

[แก้]
สนามกีฬากลางจังหวัดนนทบุรี

ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2556–2558 นายเสงี่ยม บุญมีฤทธิ์ กรรมการผู้จัดการของบริษัท ส.บุญมีฤทธิ วิศวกรรม จำกัด ได้มีโอกาสเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนสโมสรฟุตบอลชื่อดังอย่างราชประชา ในการแข่งขันลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2556 ถึงฤดูกาล 2557 และได้เข้ามาสนับสนุนสโมสรสมุทรสงคราม เอฟซี ในการแข่งขัน ไทยลีก ดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2558 [1] โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ในการใช้สนามเหย้า

หลังยุติความร่วมมือกับสมุทรสงคราม เอฟซี ได้มีการก่อตั้ง บริษัท สโมสรกีฬา ส.บุญมีฤทธิ์ จำกัด ขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ก่อนจะทำการซื้อสิทธิในการลงแข่งขันในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ต่อจากสโมสรฟุตบอลโกลเบล็ก เอฟซี ที่ยุบทีมไป และก่อตั้งสโมสรใหม่ของตนเองขึ้นมา โดยยังคงได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ในการใช้สนามเหย้า

สโมสรก่อตั้งขึ้นในชื่อ บีทียู ส.บุญมีฤทธิ์ ยูไนเต็ด โดยมีนายเสงี่ยม บุญมีฤทธิ์ เป็นประธานสโมสร และได้แต่งตั้งให้ สมรรถ อมาตยกุล อดีตโค้ชของสมุทรสงคราม เอฟซี เป็นผู้ฝึกสอนคนแรก โดยสโมสรลงแข่งขันอย่างเป็นทางการนัดแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559 ในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ที่แพ้ให้กับสโมสรฟุตบอลหัวหินซิตี 2–1 ที่สนามกีฬาเทศบาลเมืองหัวหิน

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]
ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2567

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
3 DF ประเทศไทย ศุภกรณ์ นุชวิจิตร (ยืมตัวจาก บางกอก)
4 DF ประเทศไทย พีรวิชญ์ อรุณรัตน์
5 DF ประเทศเกาหลีใต้ อี แจ-ยง
6 DF ประเทศไทย วสุธร อยู่ประทานพร
7 FW ประเทศไทย สิโรดม ก้อนสูงเนิน (ยืมตัวจาก บางกอก)
8 MF ประเทศไทย พงค์วิสิษฎ์ มณีโชติ
9 FW ประเทศไทย เกรียงศักดิ์ ท้าวบุตร (ยืมตัวจาก บางกอก)
10 FW ประเทศฝรั่งเศส แซ็ง เซกาลิล
11 MF ประเทศไทย คามิน มุขธระโกษา
15 FW ประเทศไทย รัชชานนท์ มหาพรม
16 MF ประเทศไทย ภูวฤทธิ์ สุขกลิ่น
17 FW ประเทศไทย อินทัช แย้มยินดี
18 MF ประเทศไทย อะห์มัดฟาติน ปอแซ
19 MF ประเทศไทย ณัชญ์พิสิษฎ์ มณีโชติ
20 FW ประเทศเกาหลีใต้ มุน เท-ซู
21 DF ประเทศไทย ธีรนัย ศรีไชยวาล
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
22 FW ประเทศไทย พศิน หอยิ่งสวัสดิ์
23 GK ประเทศไทย กษิด์เดช ฉั่น
24 MF ประเทศไทย วรเศรษฐ์ สายจันทร์
25 DF ประเทศไทย พอเพียง เตี้ยนวน
26 FW ประเทศไทย ศรัณยภัทร แก้วไฟ
27 DF ประเทศไทย หัตถพันธ์ เชียรวิชัย
30 DF ประเทศไทย ณภัทร ตั้งธนาพลกุล (ยืมตัวจาก บางกอก)
35 DF ประเทศไทย เกรียงเดช สุภาบุตรี
47 GK ประเทศไทย อนุรักษ์ ชลิตังกูร
48 FW ประเทศไทย ปุญญะพล ช่วงชัยสุขเกษม
49 DF ประเทศไทย ชานนท์ รัตนวงศ์
55 GK ประเทศไทย นเรศ สุวรรณ
77 MF ประเทศไทย ชุมพล สีเขียว
88 MF ประเทศไทย ราชันย์ กันจินะ (กัปตันทีม)
97 MF ประเทศไทย ธัช พฤกษ์สถาพร
98 GK ประเทศไทย ธนภัทร นิรันดร

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ลีก 3 คัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2565–66 ไทยลีก 3
โซนกรุงเทพและปริมณฑล
26 9 4 13 35 36 31 อันดับที่ 8 ไม่ได้เข้าร่วม รอบเพลย์ออฟ ประเทศไทย วรพจน์ สมสร้าง 7
2566–67 ไทยลีก 3
โซนกรุงเทพและปริมณฑล
26 3 8 15 26 50 17 อันดับที่ 13 ไม่ได้เข้าร่วม รอบคัดเลือกรอบแรก ไม่ได้เข้าร่วม ประเทศโกตดิวัวร์ โฌแซ็ฟ หลุยส์ กิซซี 5
2567–68 ไทยลีก 3
โซนภาคตะวันตก
22 7 5 10 28 31 26 อันดับที่ 8 ไม่ได้เข้าร่วม รอบคัดเลือกรอบแรก รอบลีก ประเทศไทย ธนดล ยานแก้ว 9
แชมป์ รองแชมป์ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

ผู้ทำประตูสูงสุดในลีกประจำฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ชื่อและสัญชาติ จำนวนประตู ลีก
2559 ซง อีรึม ประเทศเกาหลีใต้ 8 ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2
2560 จีเอกู โอลิเวยรา ซิลวา ประเทศบราซิล 17
(13 ประตู โซนตะวันตก + 4 ประตู รอบแชมเปียนส์ลีก)
ไทยลีก 4
2561 ฟีลีปี ซิลวา อาเบรว ประเทศบราซิล
ณัฐวุฒิ นามทิพย์ ประเทศไทย
7 ไทยลีก 3
2562 ณัฐวุฒิ นามทิพย์ ประเทศไทย 11 ไทยลีก 3
2564–65 Carlos Eduardo Dos Santos Lima ประเทศบราซิล 12 ไทยลีก 3

สถิติ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]