ไรชส์ทาค (สาธารณรัฐไวมาร์)
หน้าตา
ไรชส์ทาค | |
---|---|
ฝ่ายนิติบัญญัติของสาธารณรัฐไวมาร์ | |
ตราแผ่นดินเยอรมนี | |
ประเภท | |
ประเภท | |
| |
ประวัติ | |
สถาปนา | ค.ศ. 1919 |
ยุบ | ค.ศ. 1933 |
ก่อนหน้า | สมัชชาแห่งชาติไวมาร์ |
ถัดมา | นาซีไรชส์ทาค |
สมาชิก | 661 สมาชิก (ณ วันยุบ) |
การเลือกตั้ง | |
การเลือกตั้งแบบแข่งขันโดยตรง | |
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด | 13 มีนาคม ค.ศ. 1938 |
ที่ประชุม | |
อาคารไรชส์ทาค กรุงเบอร์ลิน |
ไรชส์ทาค (เยอรมัน: Reichstag, "สภานิติบัญญัติแห่งไรช์") เป็นสภาล่างของสภานิติบัญญัติแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เริ่มต้นขึ้นหลังจากการก่อตั้งรัฐธรรมนูญไวมาร์ ใน ค.ศ. 1919 ภายหลังจากการล่มสลายของสาธารณรัฐไวมาร์ใน ค.ศ. 1933 รัฐสภาไรซส์ทาคยังคงดำเนินต่อไป ถึงแม้ว่าจะเป็นบางระยะ ๆ ก็ตาม ในฐานะสภานิติบัญญัติของนาซีเยอรมนีที่เป็นทางการอย่างสิ้นเชิง
อำนาจ
[แก้]ระหว่าง ค.ศ. 1920 และ 1923 และนับตั้งแต่ ค.ศ. 1930 เป็นต้นไป กระบวนการต่าง ๆ ถูกหลีกเลี่ยงจากไรชส์ทาคโดยเครื่องมือสองอย่างที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่
- การใช้อำนาจเกินขอบเขตตามที่มอบให้แก่ประธานาธิบดีภายใต้กฤษฎีกาฉุกเฉินในมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญ
- การใช้รัฐบัญญัติมอบอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน ค.ศ. 1919-23 และอีกครั้งใน รัฐบัญญัติมอบอำนาจ ค.ศ. 1933 ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการปกครองแบบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์