ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มภาษาฟรีเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟรีเชีย
Frysk, Friisk, Fräisk
ป้ายสองภาษา (เยอรมันและฟรีเชียเหนือตามลำดับ) ในเมืองฮูซุม ประเทศเยอรมนี
ประเทศที่มีการพูดเนเธอร์แลนด์และเยอรมนี
ภูมิภาคฟรีเชียตะวันตก: ฟรีสลันด์, แว็สเตอร์กวาร์ตีร์; ฟรีเชียเหนือ: นอร์ทฟรีสลันท์, เฮ็ลโกลันท์, ดือเนอ; ฟรีเชียซาเทอร์ลันท์: ซาเทอร์ลันท์
ชาติพันธุ์ชาวฟรีเชีย
จำนวนผู้พูดประมาณ 480,000 คน  (2001 – สำมะโน)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาถิ่น
ฟรีเชียตะวันออก (รวมฟรีเชียซาเทอร์ลันท์)
ระบบการเขียนอักษรละติน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการเนเธอร์แลนด์
เยอรมนี
ผู้วางระเบียบฟรีเชียตะวันตก: สถาบันภาษาฟรีเชียในเลวาร์เดิน
ฟรีเชียเหนือ: สถาบันภาษาฟรีเชียเหนือในเบรทชเต็ท (ไม่เป็นทางการ)
ฟรีเชียซาเทอร์ลันท์: Seelter Buund ในซาเทอร์ลันท์ (ไม่เป็นทางการ)
รหัสภาษา
ISO 639-3มีหลากหลาย:
fry – ภาษาฟรีเชียตะวันตก
frr – ภาษาฟรีเชียเหนือ
stq – ภาษาฟรีเชียซาเทอร์ลันท์
Linguasphere52-ACA
การกระจายของภาษากลุ่มฟรีเชียในยุโรปปัจจุบัน:

กลุ่มภาษาฟรีเชีย (อังกฤษ: Frisian languages) เป็นกลุ่มภาษาย่อยกลุ่มหนึ่งในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก แบ่งได้เป็นภาษาฟรีเชียตะวันตก ภาษาฟรีเชียเหนือ และภาษาฟรีเชียซาเทอร์ลันท์ โดยมีชาวฟรีเชียราว 500,000 คนพูดภาษาในกลุ่มนี้ พวกเขาอาศัยอยู่แถบชายฝั่งด้านใต้ของทะเลเหนือในเนเธอร์แลนด์และเยอรมนี

กลุ่มภาษาฟรีเชียเป็นกลุ่มภาษาที่ยังไม่สูญที่ใกล้ชิดกับกลุ่มภาษาแองกลิกมากที่สุด กลุ่มทั้งสองประกอบกันเป็นกลุ่มภาษาแองโกล-ฟรีเชียน อย่างไรก็ตาม ภาษากลุ่มฟรีเชียไม่สามารถเข้าใจกันได้กับภาษาอังกฤษสมัยใหม่ แม้แต่ภาษาต่าง ๆ ในกลุ่มฟรีเชียด้วยกันก็ไม่สามารถเข้าใจกันและกันได้เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องมาจากปรากฏการณ์ทางภาษาและอิทธิพลจากภาษาอื่นที่แตกต่างกันออกไป

อ้างอิง

[แก้]
  1. ภาษาฟรีเชียตะวันตก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    ภาษาฟรีเชียเหนือ ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    ภาษาฟรีเชียซาเทอร์ลันท์ ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)