ข้ามไปเนื้อหา

ไฮน์ริช บรือนิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฮน์ริช บรือนิง
Heinrich Brüning
นายกรัฐมนตรีเยอรมนี
ดำรงตำแหน่ง
30 มีนาคม 1930 – 30 พฤษภาคม 1932
ประธานาธิบดีเพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค
ก่อนหน้าแฮร์มัน มึลเลอร์
ถัดไปฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1885(1885-11-26)
มึนส์เทอร์ จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต30 มีนาคม ค.ศ. 1970(1970-03-30) (84 ปี)
นอร์วิช สหรัฐ
พรรคการเมืองพรรคกลาง
อาชีพอาจารย์
นักเศรษฐศาสตร์
นักเคลื่อนไหว

ไฮน์ริช อาโลอีซียึส มารีอา อีลีซาเบท บรือนิง (เยอรมัน: Heinrich Aloysius Maria Elisabeth Brüning) เป็นนักการเมืองพรรคกลางเยอรมันและนักวิชาการ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนีในช่วงสาธารณรัฐไวมาร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ถึง 1932

นักรัฐศาสตร์และนักเคลื่อนไหวทางสังคมคริสเตียนด้วยปริญญาเอกที่เกี่ยวข้องกับระบบรางรถไฟบริติชที่เป็นของรัฐ เขาได้เข้าสู่วงการเมืองในปี ค.ศ. 1920 และได้รับเลือกให้เข้าสู่รัฐสภาไรชส์ทาคในปี ค.ศ. 1924 ไม่นานหลังจากนั้น บรือนิงได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1930 เขาต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ บรือนิงได้ตอบสนองด้วยการให้สินเชื่ออย่างรัดกุมและลดค่าจ้างและเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด นโยบายเหล่านี้นำไปสู่การว่างงานที่เพิ่มมากขึ้นและทำให้บรือนิงหมดความเป็นที่นิยมอย่างมาก, สูญเสียจากการสนับสนุนต่อเขาในรัฐสภาไรชส์ทาค ด้วยผลลัพธ์นี้ บรือนิงได้จัดตั้งสิ่งที่เรียกว่า รัฐบาลประธานาธิบดี ซึ่งเป็นรากฐานอำนาจรัฐบาลของเขาในกฤษฏีกาภาวะฉุกเฉินประธานาธิบดีซึ่งได้เรียกใช้ตามอำนาจรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดี เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค บรือนิงได้ประกาศลาออกจากคณะรัฐมนตรีของเขา เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1932 ภายหลังจากนโยบายของเขาในการแจกจ่ายที่ดินแก่คนงานที่กำลังตกงาน ทำให้เขาเกิดความขัดแย้งกับประธานาธิบดีและเจ้าของที่ดินปรัสเซีย และประธานาธิบดีจึงได้ปฏิเสธที่จะลงนามอีกต่อไป

ด้วยความหวาดกลัวที่จะถูกจับกุม หลังระบอบนาซีรุ่งเรืองอำนาจ บรือนิงได้หนีออกจากเยอรมนีในปี ค.ศ. 1934 หลังจากนั้นก็ได้ไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร จนท้ายที่สุดเขาได้ย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา เขาได้อาศัยอยู่ที่นั้นซึ่งอยู่ในภาวะเศรษฐกิจที่ยากลำบากในช่วงปีแรกในฐานะผู้ลี้ภัยจากนาซี แต่ก็ได้กลายเป็นศาสตราจารย์รับเชิญที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี ค.ศ. 1937 และเป็น Lucius N. Littauer ศาสตราจารย์ของรัฐบาลที่ฮาร์วาร์ด ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 - 1952 เขาได้กล่าวเตือนต่อสาธารณชนอเมริกันเกี่ยวกับแผนการสำหรับการทำสงครามของฮิตเลอร์ และต่อมาเกี่ยวกับการรุกรานสหภาพโซเวียตและแผนการสำหรับแผ่ขยายอำนาจ เขาได้เดินทางกลับมายังเยอรมนีในปี ค.ศ. 1951 เพื่อรับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์วิชารัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคโลญ แต่ก็ได้เดินทางกลับมายังสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1955 และเขาได้ใช้ชีวิตในวัยเกษียณในรัฐเวอร์มอนต์ เขาได้กลายเป็นสมาชิกของสถานศึกษาศิลปะและวิทยาศาสตร์แห่งอเมริกัน ในปี ค.ศ. 1938

บรือนิงยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในประวัติศาสตร์เยอรมนี ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ได้โต้เถียงกันว่า เขาเป็นป้อมปราการสุดท้ายของสาธารณรัฐไวมาร์ หรือสัปเหร่อของสาธารณรัฐ หรือทั้งสองอย่าง นักวิชาการได้แบ่งออกเป็นห้องจำนวนมากสำหรับการวางแผนที่เขามีในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำและช่วงเวลาที่ไร้เสถียรภาพางการเมืองครั้งใหญ่ ในขณะที่เขาได้มุ่งหมายที่จะปกป้องรัฐบาลสาธารณรัฐ นโยบายของเขา ที่โดดเด่นจากการใช้อำนาจฉุกเฉินของเขา ยังมีส่วนทำให้เกิดความเสื่อมถอยอย่างทีละน้อยของสาธารณรัฐไวมาร์ในช่วงที่เป็นนายกรัฐมนตรี