รายชื่ออาหารจากเต้าหู้
หน้าตา
เต้าหู้มีต้นกำเนิดที่ประเทศจีนและเป็นอาหารมาตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่น ซึ่งรวมแล้วมากกว่า 2,000 ปี[1] เป็นอาหารที่ทำมาจากน้ำเต้าหู้ที่รวมตัวกันเป็นลิ่มน้ำนม แล้วกดให้เป็นก้อนขาวที่มีความแข็งต่างกันตามแต่ชนิดของเต้าหู้ เต้าหู้ยังเป็นองค์ประกอบดั้งเดิมของอาหารในเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, เกาหลี, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม[2]
รายชื่ออาหาร
[แก้]ต่อไปนี้คือรายชื่ออาหารประเภทเต้าหู้ หรือมีเต้าหู้เป็นส่วนประกอบหลัก[3][4]
ชื่ออาหาร | ชื่อในภาษาท้องถิ่น | ชื่ออื่น | ภาพ | แหล่งกำเนิด | ชนิดของเต้าหู้ที่เป็นส่วนประกอบ | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|---|---|
กัมโมโดกิ | がんもどき หรือ 雁擬き | ญี่ปุ่น | เป็นเต้าหู้ชุบแป้งทอด ผสมผักเช่น แคร์รอต รากบัว และโกะโบ อาจผสมไข่ กัมโมโดกิ แปลว่า "ห่านเทียม" (がん, 雁) จากรสชาติที่คล้ายเนื้อห่าน ชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า กัมโม[5] ในสมัยเอโดะ กัมโมโดกิทำจากบุก ในญี่ปุ่นทางตะวันตก กัมโมโดกิมีชื่อเรียกว่า ฮิเรียวซุ, ฮิริวซุ หรือ ฮิโรซุ มาจากคำภาษาโปรตุเกสว่า ฟิลยอช (filhós) หรือคำภาษาสเปนว่า ฟิโยส (fillos)[6] | |||
จัมปูรู | チャンプルー | ญี่ปุ่น | เต้าหู้ขาว | เป็นอาหารโอกินาวะ[7][8] ด้วยการผัด มีส่วนผสมหลักคือเต้าหู้, ผักรวม, เนื้อหรือปลา, เนื้อตัดเย็นหั่นบาง (luncheon meat), ไข่, ถั่วงอก, มะระ และเครื่องปรุงรสอื่น ๆ คำว่า จัมปูรู ในภาษาโอกินาวะนั้นมีความหมายว่า "ผสมไปบางอย่าง" ซึ่งสื่อถึงการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมโอกินาวะ, จีน, ญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่, อุษาคเนย์ และอเมริกาเหนือ โดยยืมมาคำว่า จัมปูร์ (อย่างเดียวกับคำว่า นาซีจัมปูร์) ในภาษามลายู-อินโดนีเซียแปลว่า "ผสม"[9] | ||
เชียนจังเปา หรือ ไป่เย่เปาโร่ว | 千张包 หรือ 百叶包肉 | จีน | ฟองเต้าหู้หรือแผ่นเต้าหู้แข็ง | |||
ซาโปตาฮู | sapo tahu | เต้าหู้หม้อดิน | อินโดนีเซีย | เป็นอาหารจีน-อินโดนีเซียที่ปรุงและเสิร์ฟในหม้อดิน[10] อาจเป็นได้ทั้งอาหารมังสวิรัติ หรือมีเนื้อไก่ อาหารทะเล (โดยเฉพาะกุ้ง) เนื้อสับ หรือแม้กระทั่งหมู เป็นอาหารจากเต้าหู้ยอดนิยมในอินโดนีเซีย มีชื่อในภาษาจีนคือ ชากัวโต้วฟู (砂鍋豆腐) | ||
ตาฮูเก็จรต | tahu gejrot | อินโดนีเซีย | เป็นเต้าหู้ทอดของชาวอินโดนีเซียในน้ำจิ้มเผ็ดหวานจากจีเรอบน[11] เมืองท่าในจังหวัดชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย ประกอบด้วยตาฮูปง (เต้าหู้ทอดแบบเป็นโพรงข้างใน) หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เสิร์ฟพร้อมกับน้ำจิ้มที่ผสมจากน้ำตาลปี๊บ น้ำส้มสายชู และซีอิ๊วหวาน ในชามดินเผาขนาดเล็กโรยหน้าด้วยกระเทียมทอดป่น หอมแดงโขลก และพริกขี้หนูหั่นเป็นชิ้นเพื่อเพิ่มความเผ็ด | |||
ตาฮูโกเร็ง | tahu goreng | เตาฮูโกเร็ง, เต้าหู้ทอด | อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ | ตาฮูโกเร็ง (หรือเตาฮูโกเร็งตามการเรียกในมาเลเซียและสิงคโปร์) เป็นชื่อสามัญของเต้าหู้ทอดทุกประเภทในอาหารของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ | ||
ตาฮูซูเมอดัง | tahu sumedang | อินโดนีเซีย | เป็นเต้าหู้ทอดแบบซุนดาจากอำเภอซูเมอดัง จังหวัดชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย ผลิตขึ้นครั้งแรกโดยชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีนชื่อ อง กีโน (Ong Kino) มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากเต้าหู้ทอดอื่น ๆ มีรสชาติจัด เสิร์ฟคู่กับลนตง ซัมบัล ซีอิ๊ว พริกขี้หนูเขียว[12][13] เต้าหู้ทอดแบบนี้มีเปลือกขรุขระ กรุบกรอบ[14] ข้างในเป็นโพรง[12][15] และอ่อนนุ่ม[16] | |||
เต้าหู้ทอด | จีน | เต้าหู้ทอด | เป็นอาหารทอดที่เป็นอาหารว่าง ทำจากเต้าหู้ ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิมและเรียบง่ายของเต้าหู้ทอด ในรายการอาหารอื่น ๆ | |||
เต้าหู้เหม็น | 臭豆腐 | จีน | เต้าหู้หมัก | เป็นอาหารทอด ทำจากเต้าหู้หมักซึ่งมีกลิ่นแรงที่มีเอกลักษณ์ เต้าหู้เหม็นเป็นอาหารว่างข้างทางที่ได้รับความนิยมทั้งในประเทศจีน รวมถึงประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักคลุกในน้ำจิ้มพริกสดกระเทียม มีชื่อเรียกอื่นในภาษาจีนคือ ชิงฟัง (青方)[17] และมีให้เลือก 2 แบบคือ สีขาว (ทั่วไป) และสีดำ (แบบหูหนาน) ซึ่งทอดจนพองกลวงข้างในเพื่อให้ซุปและน้ำจิ้มเข้าไปด้านใน | ||
เต้าฮวย | 豆花 | จีน | เต้าฮวย | เป็นอาหารว่างแบบจีนที่เป็นได้ทั้งของหวานและของคาว เกิดจากการจับตัวเป็นก้อนของน้ำถั่วเหลือง เกิดรสสัมผัสคล้ายกับเยลลี่หรือพุดดิ้ง เนื้อสัมผัสของเต้าฮวยนุ่มกว่าเต้าหู้ ในประเทศไทยมีสองแบบคือ เต้าฮวยฟรุตสลัด และ เต้าฮวยน้ำขิง | ||
โตกวัตบาบอย | tokwa’t baboy | ฟิลิปปินส์ | ประกอบด้วยหูหมู หมูสามชั้น และเต้าหู้ทอด เติมส่วนผสมของซีอิ๊ว น้ำซุปหมู น้ำส้มสายชู หอมใหญ่หั่น และพริก บางครั้งรับประทานเป็นอาหารว่างหรือกินกับข้าวและโจ๊กหมู | |||
ทูบูกิมชี | 두부김치 | เกาหลี | เต้าหู้ขาวกึ่งแข็ง | เป็นอาหารเกาหลีที่ประกอบด้วยเต้าหู้และกิมจิผัด[18] เต้าหู้ลวกนุ่ม อุ่น เสิร์ฟพร้อมแพชูกิมชี (กิมจิกะหล่ำปลี) ผัดกับหมู เหมาะสำหรับกินแกล้มเหล้าเช่น โซจูหรือมักก็อลลี[19] | ||
ทเว็นจังจีแก | 된장찌개 | ซุปเต้าเจี้ยวหม้อไฟเกาหลี | เกาหลี | เต้าหู้ขาวกึ่งแข็ง | แกงข้นเต้าเจี้ยวเกาหลี เป็นอาหารเกาหลีที่เป็นแกงข้นแบบสตู หรือเรียก "สตูเต้าเจี้ยว" วัตถุดิบหลักคือ ทเว็นจัง (เต้าเจี้ยวบดหยาบ หรือเรียก "เต้าเจี้ยวเกาหลี") เพิ่มเติมด้วย ผัก อาหารทะเล และเนื้อสัตว์[20] เป็นอาหารดั้งเดิมที่โดดเด่นและเป็นที่นิยมมากที่สุดอย่างหนึ่งในรายการอาหารเกาหลี และมักกินกันทุกมื้ออาหาร มักได้รับการอ้างว่าเป็นอาหารประจำชาติของเกาหลี[21] | |
บู๊นอ๊ก | bún ốc | เวียดนาม | เต้าหู้ทอด | ขนมจีนหอยโข่ง เป็นอาหารเวียดนามเหนือ โดยเฉพาะในบริเวณกรุงฮานอยและใกล้เคียง
มีความคล้ายคลึงกับหลัวซือเฝิ่น (แปลตามตัวอักษรว่า "ขนมจีนหอยโข่ง") ของกว่างซี ที่มีฟองเต้าหู้เป็นส่วนประกอบ | ||
ผีต้านโต้วฟู | 皮蛋豆腐 | เต้าหู้เย็นราดไข่เยี่ยวม้า | จีน | เต้าหู้อ่อน | เป็นอาหารว่าง ประกอบด้วยเต้าหู้อ่อนหั่นเป็นก้อน โรยหน้าด้วยไข่เยี่ยวม้าสับ และราดด้วยเครื่องปรุงรสเช่น กระเทียมสับละเอียด, หอมซอย, ซอสถั่วเหลือง และน้ำส้มสายชูดำ และอาจโรยหน้าด้วยถั่วลิสงทอด ผักชี | |
มุนตาฮู | mun tahu | อินโดนีเซีย | เต้าหู้อ่อน | เป็นอาหารจีน-อินโดนีเซียที่ใช้เต้าหู้อ่อน เคี่ยวในซอสข้น ผสมกับเนื้อไก่สับและกุ้ง ชื่อในภาษาจีนคือ เมิ่นโต้วฟู (焖豆腐) | ||
เย็นตาโฟ | 酿豆腐 | ย้องแท้วฟู้[22] | จีน | เต้าหู้ทอด | อาหารเส้นแบบจีนแคะ ย้องแท้วฟู้ หมายถึง เต้าหู้หมักยัดไส้หมูสับ หรือที่ชาวไทยรู้จักในชื่อ "เต้าหู้แคะ" ซึ่งเป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งของ "ก๋วยเตี๋ยวแคะ" เป็นอาหารพื้นเมืองที่เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกงและภูมิภาคไต้หวันของจีน รวมทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีประชากรชาวจีนแคะอาศัย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และอื่น ๆ | |
หมาผัวโต้วฟู | 麻婆豆腐 | เต้าหู้ผัดพริกเสฉวน[23] | จีน | เต้าหู้ขาว | เป็นอาหารจีนยอดนิยมชนิดหนึ่งจากมณฑลเสฉวน ประกอบด้วยเต้าหู้ปรุงในน้ำซอสพริกหมาล่า มีความมันและสีแดงเข้มจากส่วนผสมของโต้วป้าน (เครื่องปรุงที่ทำจากถั่วปากอ้าหมักดองกับพริก) เต้าซี่ (ถั่วดำหมักดอง) รสเผ็ดชาของพริกและพริกไทยเสฉวน พร้อมกับเนื้อสับซึ่งตามธรรมเนียมเดิมจะใช้เนื้อวัว[24] อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมส่วนผสมโดยใช้แห้วจีน หัวหอม ผักอื่น ๆ และเห็ดหูหนูเป็นต้น | |
อาเงดาชิโดฟุ | 揚げ出し豆腐 | ญี่ปุ่น | เต้าหู้ขาวหรือเต้าหู้อ่อน | |||
อาบูระ-อาเกะ | 油揚げ | ญี่ปุ่น | เต้าหู้ขาว | เป็นอาหารญี่ปุ่นที่ผลิตจากเต้าหู้ชิ้นบาง ทอด 2 ครั้ง และยังสามารถยัดไส้อย่างนัตโตเป็นต้น | ||
อินาริซูชิ | 稲荷寿司 | ซูชิเต้าหู้หวาน[25] | ญี่ปุ่น | อาบูระ-อาเกะ | เป็นซูชิที่ห่อด้วยเต้าหู้ทอดแบบบาง (อาบูระ-อาเกะ) โดยทั่วไปใส่ข้าวซูชิเพียงอย่างเดียว ชื่อของอินาริซูชินี้ได้รับการเล่าขานจากนิทานพื้นบ้านว่าตั้งชื่อตามอินาริ เทพเจ้าในลัทธิชินโต เชื่อกันว่าสุนัขจิ้งจอกผู้ส่งสารแห่งเทพอินาริชื่นชอบเต้าหู้ทอดนี้ และยังสันนิษฐานว่าการห่ออินาริซูชิให้มีมุมแหลมคล้ายหูของสุนัขจิ้งจอก[26] | |
ฮ่อยจ๊อ | 蟹棗 | หอยจ๊อ, หอยจ้อ | จีน | ฟองเต้าหู้ | ||
ฮิยายักโกะ | 冷奴 | เต้าหู้เย็นญี่ปุ่น | ญี่ปุ่น | เต้าหู้ขาวหรือเต้าหู้อ่อน | ฮิยายักโกะหรือเต้าหู้เย็นญี่ปุ่นคือเต้าหู้แช่เย็นราดโชยุ โรยด้วยเครื่องต่าง ๆ เช่น ปลาแห้งคัตสึโอบูชิ ต้นหอม เป็นต้น เต้าหู้เย็นญี่ปุ่นเป็นที่นิยมในฤดูร้อน รวมถึงยังเป็นกับแกล้มที่เข้ากับเหล้าอีกด้วย จึงเป็นหนึ่งในเมนูที่พบในอิซากายะ |
รายชื่อเครื่องปรุงรส
[แก้]ต่อไปนี้คือรายชื่อเครื่องปรุงรสที่มีเต้าหู้เป็นส่วนประกอบหลัก
ชื่ออาหาร | ชื่อในภาษาท้องถิ่น | ชื่ออื่น | ภาพ | แหล่งกำเนิด | ชนิดของเต้าหู้ที่เป็นส่วนประกอบ | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|---|---|
เต้าหู้ยี้ | 豆腐乳 หรือ 腐乳 | โต้วฟู่หรู่ | จีน | เต้าหู้ยี้ได้จากการหมักเต้าหู้กับเกลือและเครื่องปรุงแต่งรสต่าง ๆ และผ่านกรรมวิธีทุติยภูมิด้วยเชื้อรา ลักษณะเป็นก้อนเต้าหู้เนื้ออ่อนแน่น มีรสหลักเค็ม สีและรสชาติรองแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมท้องถิ่น สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงรสในอาหารโดยตรงหรือนำไปประกอบการทำอาหาร |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "History of tofu". Soya.be. 2015-11-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-21. สืบค้นเมื่อ 2016-10-11.
- ↑ "What is Tofu? What's the Best Way to Cook It?". devour.asia (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-04-03.
- ↑ Du Bois at al. (2008), pp. 13–14
- ↑ Knopper, (Jan. 2002), p.16
- ↑ Japan Tofu Association. "Tofu history". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-13. สืบค้นเมื่อ 2013-03-14.
- ↑ Ishige, Naomichi (2011). The history and culture of Japanese food. London; New York: Routledge. p. 94. ISBN 978-0-203-35790-3. สืบค้นเมื่อ 2019-11-24.
- ↑ "ちゃんぷるー" [Chanpuru]. Dijitaru Daijisen (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. OCLC 56431036. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-12-17.
- ↑ "Goya Chanpuru". About.com Japanese Food. สืบค้นเมื่อ September 7, 2011.
- ↑ "ちゃんぷるー" [Chanpuru]. Nihon Daihyakka Zensho (Nipponika) (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. OCLC 153301537. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-12-17.
- ↑ "Hangat Bergizi Si Sapo Tahu". detikfood (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2018-07-25.
- ↑ Media, Kompas Cyber. "6 Kuliner Khas Cirebon yang Akan Menggoyang Lidah Anda Halaman all". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2019-07-15.
- ↑ 12.0 12.1 Gunawan & Khairunnisa 2010, p. 106
- ↑ Oey 1997, p. 343
- ↑ Sofyan, Eko Hendrawan (7 January 2012). "Tahu Sumedang, Lezat berkat Air Tampomas". Kompas. สืบค้นเมื่อ 12 April 2012.
- ↑ Saragih & Sarwono 2001, p. 5
- ↑ Ganie, Suryatini N. (7 May 2006). "From Doufu to tahu". The Jakarta Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2013. สืบค้นเมื่อ 7 January 2012.
- ↑ ปิดจมูกลิ้มรสอร่อย “เต้าหู้เหม็น”[ลิงก์เสีย]
- ↑ Lewis, Tim (16 October 2016). "OFM Awards 2016 best new cookbook: Our Korean Kitchen". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 12 May 2017.
- ↑ "dubu kimchi" [Tofu with Stir-Fried Kimchi]. Korean Food Foundation. สืบค้นเมื่อ 12 May 2017.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Pettid, M. J. (2008). Korean Cuisine: An Illustrated History. London, United Kingdom: Reaktion Books.
- ↑ Ashkenazi, Michael; Jacob, Jeanne (2006). The World Cookbook for Students. Greenwood. p. 60.
- ↑ "เย็นตาโฟ", วิกิพีเดีย, 2021-12-02, สืบค้นเมื่อ 2022-02-27
- ↑ สูตร หม่าโผวโต้วฟุ (20) สูตร Cookpad, สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2565.
- ↑ Dunlop, Fuchsia (2001). Land of Plenty. W. W. Norton Company. pp. 313. ISBN 0393051773.
- ↑ "รู้จัก อินาริซูชิ (Inari sushi) : ซูชิเต้าหู้หวาน คืออะไร". Chill Chill Japan.
- ↑ Smyers, Karen Ann. The Fox and the Jewel: Shared and Private Meanings in Contemporary Japanese Inari Worship(1999), Honolulu: University of Hawaii Press, p. 96.