อาณาจักร
หน้าตา
อาณาจักร (อังกฤษ: kingdom; dominion) หมายถึง เขตแดนที่อยู่ในอำนาจปกครองของประเทศหนึ่ง[1] อาจจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
ฝ่ายอาณาจักร
[แก้]- จักรวรรดิ เขตปกครองที่มีจักรพรรดิเป็นประมุข เช่น จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
- รัฐร่วมประมุข (ไม่ใช่ United Kingdom) คือรัฐอิสระมากกว่าสองรัฐขึ้นไปที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน แต่ในขณะเดียวกันพรมแดน กฎหมาย และนโยบายของแต่ละอาณาจักรในกลุ่มยังคงเป็นอิสระต่อกัน จึงมิใช่การรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน เช่น สหราชอาณาจักรโปแลนด์-ลิทัวเนีย หรือสหราชอาณาจักรคาลมาร์
- ราชอาณาจักร - อาณาบริเวณที่ปกครองโดยประมุขที่เป็นพระราชา
- อาณาจักรซาร์ (Tsardom) - อาณาบริเวณที่ปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “ซาร์” เช่น “อาณาจักรซาร์รัสเซีย” ที่มี “ซาร์แห่งรัสเซีย” เป็นประมุข
- ประเทศราช สามนตราช เมืองขึ้น รัฐบรรณาการ หรืออาณาจักรในเครือ (Vassal) - เช่น เคาน์ตีตริโปลีที่ขึ้นกับราชอาณาจักรเยรูซาเลม
- นครรัฐ (City state) - เมืองหรือนครที่มีฐานะเป็นรัฐอิสระ มีประมุขของตนเอง เช่นนครรัฐวาติกัน หรือนครรัฐอันสบาค ซึ่งเป็นนครรัฐในเครือรัฐภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
- จักรพรรดินครอิสระ (Free imperial city) - นครที่ปกครองโดยจักรพรรดิอย่างเป็นทางการโดยตรง แทนที่จะปกครองโดย “เจ้าชายแห่งจักรวรรดิ” (เยอรมัน: Fürst) ที่อาจจะเป็นดยุก หรือเจ้าชายมุขนายก
- อาร์ชดัชชี (archduchy) - อาณาเขตในการปกครองของอาร์ชดยุก
- แกรนด์ดัชชี (Grand duchy) - อาณาเขตที่ปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “แกรนด์ดยุก” หรือ “แกรนด์ดัชเชส” เช่น “แกรนด์ดัชชีเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์” ที่มี “แกรนด์ดยุกแห่งเมคเลินบวร์ค” เป็นประมุข
- พรินซิพาลิตี (principality) - อาณาเขตในปกครองของเจ้าชายหรือเจ้าหญิง เช่น ราชรัฐแอนติออก
- ดัชชี (Duchy) - อาณาเขตที่ปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “ดยุก” เช่น “ดัชชีเบอร์กันดี” ที่มี “ดยุกแห่งเบอร์กันดี” เป็นประมุข
- ราชรัฐ เป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้เรียกชื่อรัฐเอกราชที่ในปัจจุบันมีฐานะเป็น "แกรนด์ดัชชี" (ประเทศลักเซมเบิร์ก) และ "พรินซิพาลิตี" (ประเทศลิกเตนสไตน์และประเทศโมนาโก) (ดูเพิ่มเติม) รวมถึง "อาร์ชดัชชี" และ "ดัชชี" (แม้ว่าคำว่า "ราชรัฐ" จะมิได้แยกความแตกต่างของ "Principality" และ "Grand Duchy" แต่ราชบัณฑิตฯ ก็อนุญาตการใช้ทับศัพท์ว่า พรินซิพาลิตี แกรนด์ดัชชี ฯลฯ เพื่อให้ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น )
- อาณาจักรชายแดน หรืออาณาจักรมาร์ช หรือรัฐมาร์เกรฟ (March หรือ Margrave) - อาณาเขตที่ปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “มาร์ควิส” หรือ “มาร์เกรฟ” เช่น รัฐมาร์เกรฟโมราเวีย (March of Moravia) หรือ รัฐมาร์เกรฟไมเซิน (Margraviate of Meissen) รัฐมาร์เกรฟมีฐานะสูงกว่าเคาน์ตีแต่ต่ำกว่าดัชชี หรืออาจจะหมายถึงอาณาเขตแดนเช่นภูมิภาคชายแดนเวลส์ (Welsh Marches) หรือ ภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย (Marca Hispanica)
- อาณาจักรเอิร์ล (Earldom) - อาณาบริเวณที่ปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “เอิร์ล” เช่น “อาณาจักรเอิร์ลแห่งอารันเดล” ที่มี “เอิร์ลแห่งอารันเดล” เป็นประมุขเช่นจอห์น ฟิทซแอแลนที่ 7 เอิร์ลแห่งอารันเดล
- เคาน์ตี (County) - (โบราณ) อาณาเขตที่ปกครองโดย “เคานต์” เช่น “เคาน์ตีเอเดสซา” ที่มี “เคานต์แห่งเอเดสซา” เป็นประมุข เช่น บอลวินด์ที่ 1 เคานต์แห่งเอเดสซา
- รัฐเคาะลีฟะฮ์ (Caliphate) - อาณาบริเวณระดับอาณาจักรที่ปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “เคาะลีฟะฮ์” เช่น “รัฐเคาะลีฟะฮ์กอร์โดบา
- รัฐสุลต่าน (Sultanate) - อาณาบริเวณที่ปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “สุลต่าน” เช่น “รัฐสุลต่านรูม”
- รัฐข่าน (Khanate) - อาณาบริเวณที่ปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “ข่าน” เช่น “รัฐข่านอาวาร์”
- รัฐเดสปอต (Despotate) - อาณาจักรระดับหนึ่งที่ใช้กันในจักรวรรดิไบแซนไทน์ เช่น “รัฐเดสปอตเอพิรอส”
- รัฐนักรบครูเสด
- อาณาจักรของนักรบครูเสดในตะวันออกใกล้ที่ได้มาจากมุสลิมในสงครามครูเสด
ฝ่ายคริสตจักร
[แก้]- เขตมุขนายก (Bishopric) - ปกครองโดย “มุขนายก” (Bishop)
- เขตอัครมุขนายก (Archbishopric) - ปกครองโดย “อัครมุขนายก” (Archbishop)
- เขตมุขนายกผู้ครองนคร (Prince-Bishopric) - ปกครองโดย “เจ้าชายมุขนายก” (Prince-Bishop)
ความหมายอื่น
[แก้]- ประเทศในเครือจักรภพ (dominion) - ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
- รัฐ - เขตแดนที่อยู่ในอำนาจปกครองของประเทศ
- อาณาจักร (ชีววิทยา) (kingdom) - อาณาจักรเป็นหมวดหมู่ที่กว้างที่สุดในการศึกษาเกี่ยวกับการแบ่งหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์, 2546, หน้า 1362
หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง |