ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ฉัตรา (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 123: บรรทัด 123:


*'''{{flag|เวียดนาม}}''' : ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ตลอดจนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ส่งสาส์นแสดงความเสียใจถึงพระบรมวงศานุวงศ์ รัฐบาลและประชาชนชาวไทย โดยมีใจความว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ 70 ปี โดยพระองค์ทรงเสียสละเพื่อให้ประชาชนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งการเสด็จสวรรคตของพระองค์เป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของพระบรมวงศานุวงศ์ ประชาชนอาเซียนและปวงชนชาวไทย เวียดนามตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื่องจากทรงมีส่วนร่วมกระชับความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างเวียดนามกับไทยในหลายปีที่ผ่านมาและหวังว่า ประเทศไทยจะฟันฝ่าความสูญเสียครั้งนี้ไปได้และพัฒนาก้าวรุดหน้าต่อไปตามความปรารถนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช"<ref>{{cite web|title=ผู้นำเวียดนามส่งสารแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อพระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนไทย |url=http://vovworld.vn/th-th/%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%99/%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%8B%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/478424.vov |website=VOV5 |accessdate=22 ตุลาคม 2559}}</ref>
*'''{{flag|เวียดนาม}}''' : ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ตลอดจนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ส่งสาส์นแสดงความเสียใจถึงพระบรมวงศานุวงศ์ รัฐบาลและประชาชนชาวไทย โดยมีใจความว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ 70 ปี โดยพระองค์ทรงเสียสละเพื่อให้ประชาชนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งการเสด็จสวรรคตของพระองค์เป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของพระบรมวงศานุวงศ์ ประชาชนอาเซียนและปวงชนชาวไทย เวียดนามตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื่องจากทรงมีส่วนร่วมกระชับความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างเวียดนามกับไทยในหลายปีที่ผ่านมาและหวังว่า ประเทศไทยจะฟันฝ่าความสูญเสียครั้งนี้ไปได้และพัฒนาก้าวรุดหน้าต่อไปตามความปรารถนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช"<ref>{{cite web|title=ผู้นำเวียดนามส่งสารแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อพระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนไทย |url=http://vovworld.vn/th-th/%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%99/%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%8B%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/478424.vov |website=VOV5 |accessdate=22 ตุลาคม 2559}}</ref>

== ผลกระทบ ==
มีกลุ่มประชาชนบางส่วนออกมาโจมตีต่อผู้ที่ไม่สวมเสื้อดำ แสดงการไว้ทุกข์ เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า[[การล่าแม่มด]] บางส่วนมีพฤติกรรมรุนแรง ถึงขั้นทำการประจานทางสื่อออนไลน์ <ref>[http://www.khaosodenglish.com/politics/2016/10/16/ultra-royalists-guilt-shame-people-dont-wear-mourning-black/ Ultra-Royalists Guilt-Shame People Who Don’t Wear Mourning Black]</ref> จากเหตุการณ์ดังกล่าว พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้ประชาชนที่ไม่สามารถจัดหาเสื้อผ้าสีดำหรือสีขาวมาร่วมถวายความอาลัยได้ สามารถติดริบบิ้น หรือโบว์สีดำ บนหน้าอกเสื้อ หรือที่แขนเสื้อบริเวณต้นแขนเพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์อาลัยได้เช่นกัน <ref>[www.komchadluek.net/news/politic/246179 นายกฯเชื่อคนไทยรักในหลวง แม้ไม่มีเสื้อดำใส่ทุกวัน]</ref><ref>[https://www.pptvthailand.com/news/ประเด็นร้อน/36974 รัฐบาล แนะ ติดริบบิ้นดำทดแทนชุดขาว-ดำได้ ขอสังคมอย่าจับผิด]</ref>

นอกจากนี้ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งใน[[จังหวัดภูเก็ต]] ออกมาปิดล้อมบ้านของลูกชายเจ้าของร้านน้ำเต้าหู้ที่โพสข้อความค่อนข้างหมิ่นต่อสถาบัน <ref>[http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1476504517 ชาวภูเก็ตฮือล้อมบ้านลูกชายร้านเต้าหู้กลางดึก อ้างโพสต์FBจาบจ้วง-แจ้งความม.112แล้ว]</ref> เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งว่าโพสนั้นมิได้มีเนื้อหาหมิ่นต่อสถาบันแต่อย่างใด แต่ในที่สุดเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เข้าควบคุมตัวชายคนนั้นในข้อหา[[ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย|หมิ่นสถาบัน]] ได้เกิดเหตุการณ์คล้ายคลึงกันใน[[จังหวัดพังงา]]<ref>[http://prachatai.com/journal/2016/10/68379 ฝูงชนพังงาปิดล้อมร้านโรตีไล่ล่าผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าโพสต์หมิ่น]</ref>


== พระราชพิธีถวายน้ำสรงพระบรมศพ ==
== พระราชพิธีถวายน้ำสรงพระบรมศพ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:15, 22 ตุลาคม 2559

การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบรมโกศพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
การสิ้นพระชนม์
พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร
วันสวรรคต13 ตุลาคม พ.ศ. 2559
สถานที่สวรรคตอาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 16 โรงพยาบาลศิริราช
ประดิษฐานพระบรมศพพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง
พระโกศพระบรมโกศทองใหญ่
ฉัตรนพปฎลมหาเศวตฉัตร
พระเมรุพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.52 นาฬิกา ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช การสวรรคตของพระองค์สร้างความโศกเศร้าต่อประชาชนชาวไทยเป็นจำนวนมาก รัฐบาลประกาศไว้ทุกข์ ถวายความอาลัยเป็นเวลา 1 ปี สำนักพระราชวังมีหมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพระหว่างวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง

พระอาการประชวร

นับตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯประทับรถตู้พระที่นั่ง จากที่ประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลับเข้าสู่โรงพยาบาลศิริราช อีกครั้ง โดยถึงประตู 8 โรงพยาบาลศิริราช เวลา 23.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เบื้องต้นพระองค์ทรงมีไข้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาดูแลใกล้ชิด[1] โดยสำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวร ฉบับที่ 1 ความว่า

วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รายงานพระอาการว่า เมื่อเย็นวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ทรงมีพระปรอท (ไข้) สูง 38.2 องศาเซลเซียส ผลการตรวจพระโลหิตแสดงว่ามีภาวะติดเชื้อ มีการเปลี่ยนแปลงในความดันพระโลหิต และอัตราการเต้นของพระหทัยเร็วขึ้น จึงได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อถวายการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ ถวายการตรวจพระโลหิตด้วยวิธีพิเศษเพิ่มเติม และถวายการรักษาต่อไป

เมื่อเช้าวันนี้ คณะแพทย์ฯ ได้รายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากถวายการรักษาด้วยพระโอสถปฏิชีวนะทางหลอดพระโลหิต ความดันพระโลหิตคงที่ พระปรอท (ไข้) ลดลง สภาวะทางโภชนาการดีขึ้นเป็นลำดับ คณะแพทย์ฯ จะได้ถวายการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้อและถวายการรักษาต่อไป จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

— สำนักพระราชวัง 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557 สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับที่ 4 ว่าพระอาการทั่วไปดีขึ้น อุณหภูมิพระวรกายลดลงจนเกือบเป็นปรกติ การเต้นของพระหทัยเป็นปรกติ พระอาการเจ็บแผลผ่าตัดบรรเทาลง เริ่มเสวยพระกายาหารได้ คณะแพทย์ฯ ได้ลดพระโอสถระงับการเจ็บลง และงดถวายน้ำเกลือทางหลอดพระโลหิต แต่ยังคงถวายสารอาหารและพระโอสถปฏิชีวนะทางหลอดพระโลหิต กับเฝ้าดูและพระอาการอย่างใกล้ชิดต่อไป[2] ต่อมาในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557 สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับที่ 5 ว่าพระอาการทั่วไปดีขึ้นตามลำดับ พระชีพจรและความดันพระโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปรกติ อุณหภูมิพระวรกายลดลงอีกจนเกือบเป็นปรกติ พระอาการเจ็บแผลผ่าตัดลดลงมาก เคลื่อนไหวพระวรกายได้ดีขึ้น หายพระหทัยปรกติ เสวยพระกระยาหารได้บ้าง[3]

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 สำนักพระราชวังแจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินกลับไปประทับ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 14.00 น. เพื่อเปลี่ยนพระราชอิริยาบถ และเพื่อฟื้นฟูพระวรกายในพื้นที่อากาศบริสุทธิ์[4]

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 สำนักพระราชวังแจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ ชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ตามคำกราบบังคมทูลเชิญเพื่อมาตรวจพระวรกายของคณะแพทย์ ผลการตรวจพบว่าพระโลหิต อุณหภูมิพระวรกาย ความดันพระโลหิตพระหทัย และระบบการหายพระทัยเป็นปกติ[5]

ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ประชวร ว่ามีพระปรอทต่ำ หายพระทัยเร็ว มีพระเสมหะ พระปับผาสะซ้ายอักเสบ มีพระโลหิตเป็นกรด และพบว่ามีน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มพระปัปผาสะเล็กน้อย[6]

พระอาการประชวรในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559

ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีความดันพระโลหิตลดต่ำลง คณะแพทย์จึงทำการรักษาด้วยพระโอสถปฏิชีวนะ และใช้สายสวนเข้าหลอดพระโลหิตดำเพื่อฟอกพระโลหิตระยะยาว แต่มีพระความดันพระโลหิตต่ำจึงใช้เครื่องช่วยหายพระทัย และมีการฟอกไต พระอาการไม่คงที่ ตามที่สำนักพระราชวังได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 37 ว่า[7]

วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รายงานว่า ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559 คณะแพทย์ฯ ได้ขอพระราชทานถวายใส่สายสวนเข้าหลอดพระโลหิตดำ เพื่อเตรียมการสำหรับการฟอกพระโลหิต (Hemodialysis) ระยะยาว และเปลี่ยนสายระบายน้ำไขสันหลังในโพรงพระสมองบริเวณบั้นพระองค์ (เอว) ตั้งแต่เวลา 14 นาฬิกา ถึง 16 นาฬิกา 40 นาที

ปรากฏภายหลังว่า มีความดันพระโลหิตลดต่ำลงเป็นครั้งคราว คณะแพทย์ฯ จึงได้ถวายพระโอสถ และได้ใช้เครื่องช่วยหายพระทัย (Ventilator) เพื่อทำให้ความดันพระโลหิตกลับสู่ระดับปรกติ จนกระทั่งเวลา 3 นาฬิกา วันนี้ มีพระชีพจรเร็วขึ้น ความดันพระโลหิตลดลง ผลการตรวจพระโลหิต พบว่าพระโลหิตมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น ผลการตรวจพระหทัยด้วยคลื่นเสียงสะท้อน (Echocardiography) พบว่าปริมาณพระโลหิตที่เข้าสู่พระหทัยด้านซ้ายช่องล่างลดลงมาก อันเป็นผลจากการที่มีความดันพระโลหิตในพระปัปผาสะ (ปอด) สูง

คณะแพทย์ฯ ได้ถวายพระโอสถขยายหลอดพระโลหิตในพระปัปผาสะ (ปอด) เมื่อเวลา 15 นาฬิกา ทำให้พระชีพจรเริ่มลดลง และความดันพระโลหิตดีขึ้น คณะแพทย์ฯ ได้เฝ้าติดตามพระอาการและถวายการรักษาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากพระอาการประชวรโดยรวมยังไม่คงที่ และได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้งดพระราชกิจ จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

— สำนักพระราชวัง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

หลังจากนั้น พระอาการเริ่มทรุดลงเรื่อยๆ ทรงมีภาวะการติดเชื้อและการทำงานของพระยกนะ (ตับ) และมีแถลงการณ์สำนักพระราชวัง รายงานพระอาการประชวรฉบับสุดท้าย คือ ฉบับที่ 38 ความว่า [8]

วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ความดันพระโลหิตลดต่ำลงอีก พระชีพจรเร็วขึ้น ร่วมกับภาวะพระโลหิตมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นอีก ผลของการถวายตรวจพระโลหิตบ่งชี้ว่า มีภาวะการติดเชื้อและการทำงานของพระยกนะ (ตับ) ผิดปรกติ คณะแพทย์ฯ ได้ถวายพระโอสถปฏิชีวนะและแก้ไขภาวะพระโลหิตมีความเป็นกรด ตลอดจนถวายพระโอสถควบคุมความดันพระโลหิตเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งถวายเครื่องช่วยหายพระทัย (Ventilator) และถวายการรักษาด้วยวิธีทดแทนไต (CRRT) พระอาการประชวรโดยรวมยังไม่คงที่ ต้องควบคุมด้วยพระโอสถ คณะแพทย์ฯ ได้เฝ้าติดตามพระอาการและถวายการรักษาอย่างใกล้ชิด

— สำนักพระราชวัง 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

วันที่ 12 ตุลาคม พระราชโอรส-ธิดาทั้งสี่พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และพระเจ้าหลานเธออีกสองพระองค์เข้าเยี่ยมพระอาการประชวร [9]

สวรรคต

สำนักพระราชวัง มีประกาศเรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ความว่า [10] [11] [12]

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พุทธศักราช 2557 ตามที่ สำนักพระราชวัง ได้แถลงให้ทราบ เป็นระยะแล้วนั้น

แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ แต่พระอาการประชวรหาคลายไม่ ได้ทรุดหนักลงตามลำดับ ถึงวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เวลา 15 นาฬิกา 52 นาที เสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษาปีที่ 89 ทรงครองพระราชสมบัติได้ 70 ปี

— สำนักพระราชวัง 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เคลื่อนพระบรมศพสู่พระบรมมหาราชวัง

ไฟล์:King Bhumibol's body transferred to palace.jpg
ขบวนเคลื่อนพระบรมศพฯ จากโรงพยาบาลศิริราช ไปยังพระบรมมหาราชวัง

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 16.00 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยัง โรงพยาบาลศิริราช เพื่อเคลื่อนพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศไปยัง พระบรมมหาราชวัง เพื่อประกอบพระราชพิธีสรงน้ำพระบรมศพ ณ พระที่นั่งพิมานรัตยา โดยขบวนจะเคลื่อนออกจากโรงพยาบาลศิริราชทางถนนอรุณอมรินทร์ผ่านไปยังแยกอรุณอมรินทร์ขึ้น สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าเคลื่อนต่อไปยังถนนราชดำเนินในเข้าสู่พระบรมมหาราชวังทางถนนหน้าพระลาน ที่ ประตูพิมานไชยศรี และ ประตูเทวาภิรมย์ ตลอดเส้นทางมีประชาชนมาเฝ้าส่งเสด็จเป็นจำนวนมาก [13]

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักนายกรัฐมนตรี ออกประกาศเรื่องการเสด็จสวรรคต มีใจความสำคัญว่า รัฐบาลรับทราบการสวรรคตด้วยความโทมนัสอย่างยิ่ง ตลอดจนเห็นว่า มีพระมหากรุณาธิคุณใหญ่หลวงต่อพสกนิกรชาวไทยตลอดมา จึงให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถานศึกษาทุกแห่ง ลดธงครึ่งเสา มีกำหนด 30 วัน และให้ข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ทุกข์ มีกำหนด 1 ปี เริ่มนับแต่วันที่ 14 ตุลาคม เป็นต้นไป [14]

ประชาชนถวายน้ำสรงพระบรมศพ

ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 14.00 น. สำนักพระราชวังให้ประชาชนเข้าถวายน้ำสรงพระบรมศพ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง มีพสกนิกรเดินทางมาร่วมถวายความอาลัยเป็นครั้งสุดท้ายเป็นจำนวนมาก [15]

ประชาชนถวายสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์

สำนักพระราชวังให้ประชาชนเข้าถวายสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ [16] และได้จัดสมุดลงนามถวายความอาลัย ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง มีพสกนิกรเดินทางมาร่วมถวายสักการะหน้าพระฉายาลักษณ์ และร่วมลงนามถวายสักการะเป็นจำนวนมาก

การแสดงความอาลัย

ภายในประเทศ

เว็บไซต์ในประเทศไทยเปลี่ยนสีเป็นขาว-ดำ เพื่อถวายความอาลัย

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย แสดงความเสียใจต่อการสวรรคต ขอให้ประชาชนร่วมถวายความอาลัยและดำเนินชีวิตต่อไป [17]

รัฐบาลประกาศให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถานศึกษาทุกแห่ง ลดธงครึ่งเสา มีกำหนด 30 วัน และให้ข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ทุกข์ มีกำหนด 1 ปี เริ่มนับแต่วันที่ 14 ตุลาคม เป็นต้นไป [18] รวมทั้งยังมีประกาศขอความร่วมมือให้งดจัดงานรื่นเริงต่างๆเป็นเวลา 30 วัน ส่งผลให้การแสดงรื่นรมย์ต่างๆเช่น คอนเสิร์ต งานมหกรรม กิจกรรมกีฬา การแสดงต่างๆ ต่างยกเลิกหรือเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด รวมทั้งสถานบันเทิงต่างๆหลายแห่งปิดการให้บริการชั่วคราว [19] และยังมีการประกาศให้วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นวันหยุดราชการอีกด้วย [20]

ในสื่อโชเซี่ยลมีเดีย มีการถวายความอาลัยเช่นในเฟซบุ๊ก มีผู้ใช้งานจำนวนมากเปลี่ยนภาพโปรไฟล์ถวายความอาลัย เพจดังต่างๆลงภาพถวายความอาลัยและงดโพสเนื้อหาบันเทิงเป็นการชั่วคราว [21] รวมทั้งทางเฟซบุ๊ก ยังได้มีการประกาศงดโฆษณาในเว็บไซต์ภาคภาษาไทยอย่างไม่มีกำหนดเพื่อถวายความอาลัย [22], กูเกิลประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนดูเดิลเป็นสีดำเพื่อถวายความอาลัย [23], ยูทูบได้มีการงดโฆษณาเป็นเวลา 7 วันเช่นกัน, ดาราและนักแสดงต่างร่วมกันถวายความอาลัยผ่านทางอินสตาแกรม และ ทวิตเตอร์ [24] ,นอกจากนี้เว็บไซต์ต่างๆทั่วประเทศได้เปลี่ยนสีเว็บเป็นขาวดำเพื่อถวายความอาลัย [25]

หลังจากสำนักพระราชวังประกาศการสวรรคต สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยทุกช่องได้ออกอากาศรายการพิเศษจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เป็นการฉายสารคดีพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชตลอดรัชสมัย สลับกับการแถลงการณ์ต่างๆที่เกียวข้องกับการสวรรคต วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้มีการถ่ายทอดสดการเชิญพระบรมศพจากโรงพยาบาลศิริราชไปยังพระที่นั่งพิมานรัตยา ในพระบรมมหาราชวัง และพระราชพิธีสรงน้ำพระบรมศพ กระทั่งเวลา 00.00 น. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จึงเริ่มการออกอากาศรายการต่างๆตามปกติ (อย่างไรก็ตามพลเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด แถลงว่า รัฐบาลได้ขอความร่วมให้งดรายการตามปกติและรับสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เป็นเวลา 30 วัน ก่อนจะถูกยกเลิกไป [26]) กสทชได้ขอความร่วมมือให้งดรายการรื่นเริงต่างๆเป็นเวลา 30 วัน [27]

ระดับนานาชาติ

  •  สหภาพยุโรป : นายดอนัลต์ ตุสก์ ประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป และ นายฌอง-โคลด ยุงเคอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เป็นตัวแทนของสหภาพยุโรปออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมยกย่องว่าระหว่างการครองราชย์ตลอดระยะเวลา 70 ปี โครงการพัฒนาชนบทของพระองค์ได้พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยหลายล้านคน พระองค์จะทรงเป็นที่จดจำต่อไปสำหรับคนรุ่นต่อไป โดยเฉพาะในยุโรปพระองค์ทรงเป็นที่จดจำในฐานะผู้ที่ทรงงานหนักเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน[28]
  •  สหประชาชาติ : นายบัน คี มุน กับตัวแทนประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ 193 ประเทศ ได้ร่วมยืนไว้อาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างการประชุมใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 70 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2559 โดยนายบัน คี มุน กล่าวว่า "พระองค์ทรงเป็นที่เคารพอย่างสูงของพสกนิกรชาวไทยและได้รับความนับถืออย่างสูงจากนานาประเทศ ทรงได้รับการถวายรางวัลจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติเมื่อปี 2549 เพื่อเชิดชูผลงานของพระองค์" [29][30]
  • UNICEF : กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจกับการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของประชาชนชาวไทย โดยกล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นที่รักของประชาชนและได้ทรงอุทิศพระวรกายและพระราชหฤทัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วประเทศอย่างไม่ทรงเหน็ดเหนื่อยย่อท้อ นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นในการพัฒนาเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศมาโดยตลอด"[31]
  • สหพันธ์แบดมินตันโลก : สหพันธ์แบดมินตันโลกออกแถลงการณ์ผ่านสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยแสดงความเสียใจต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชซึ่งทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภ์ของวงการแบดมินตันมาอย่างยาวนาน พระองค์ได้รับการถวายอิสริยาภรณ์สูงสุด "เพรสซิเดนท์ เมดัล" ซึ่งเป็นเพียง 1 เดียวในโลกที่ได้รับรางวัลนี้ นายพอล-เอริค ฮายาร์ ลาร์เซน ประธานสหพันธ์แบดมินตันโลก ได้กล่าวยกย่องว่า "พระองค์เป็นแบบอย่างที่ยิ่งใหญ่ของวงการแบดมินตันโลก"[32] [33]

อาเซียน

  •  บรูไน : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีความตอนหนึ่งว่า "การเสียสละและความรักอย่างไร้ขีดจำกัดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชต่อปวงประชาไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่ตราตรึงในจิตใจของประชาชนชาวไทย แต่ยังได้รับการเคารพยกย่องไปทั่วโลก ตลอดช่วง 70 ปีในรัชสมัยของพระองค์ ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว พระบิดาของชาวไทยจะไม่เพียงแต่อยู่ในหัวใจของผู้ที่ใกล้ชิดกับพระองค์เท่านั้น แต่จะทรงอยู่ในใจของผู้คนที่พระองค์ทรงได้เปลี่ยนแปลง" และทรงมีพระราชสาส์นมายังนายกรัฐมนตรี ความตอนหนึ่งว่า "การอุทิศตนเพื่อปวงประชาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพสกนิกรจะเป็นที่จดจำตลอดไป" [34][35]
  •  กัมพูชา : สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรี โดยกล่าวว่า "การสวรรคตนี้ถือเป็นการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของประเทศไทย พสกนิกรไทย มิตรของไทยทั่วโลก รัฐบาลและประชาชนกัมพูชาขอน้อมถวายและขอส่งความเสียใจอย่างสุดซึ้งมายังสมเด็จพระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ รัฐบาลและประชาชนไทย"[36][37]
  •  อินโดนีเซีย : ประธานาธิบดีโจโก วีโดโด ส่งสาส์นแสดงความเสียใจ โดยกล่าวว่า "โลกได้สูญเสียผู้นำที่ใกล้ชิดกับประชาชน เป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอาเซียน และของโลก"[38][39]
  •  ลาว : บุนยัง วอละจิด ประธานประเทศลาว ส่งสาส์นแสดงความเสียใจไปยังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยมีความตอนหนึ่งว่า "พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรมและเสียสละอย่างใหญ่หลวง ทรงมีบทบาทอย่างสำคัญในการปรับปรุงและกระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรและความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กับราชอาณาจักรไทย การสวรรคตจึงเป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงของชาวไทยและเป็นการสูญเสียมิตรของชาวลาว" ในขณะที่นายกรัฐมนตรีทองลุน สีสุลิด ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย[40]
  •  มาเลเซีย : สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย ทรงส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัย[41] เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซะก์ ที่ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมีความตอนหนึ่งว่า "พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่สูงส่ง การอุทิศพระองค์เพื่อประเทศไทยและภูมิภาคนั้นมากเกินกว่าคำบรรยายใด"[42]
  •  พม่า : ประธานาธิบดีทีนจอ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีไทย[43] ในขณะที่ ออง ซาน ซูจีส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และกล่าวแสดงความเสียใจระหว่างการประชุมบิมสเทคที่ประเทศอินเดีย[44]
  •  ฟิลิปปินส์ : ประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต ส่งสาส์นแสดงความเสียใจความตอนหนึ่งว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ไม่เพียงเป็นกษัตริย์ที่ครองราชยาวนานที่สุดในโลก แต่ยังเป็นผู้นำทางประเทศไทยไปสู่ประเทศที่มีความก้าวหน้าที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย"[45]
  •  สิงคโปร์ : นายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง กล่าวแสดงความเสียใจความว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก อีกทั้งยังทรงเป็นที่เคารพรักของปวงชนชาวไทยทุกคน เพราะพระองค์ทรงอุทิศตนเพื่อประชาชนของพระองค์ และเพื่อประเทศชาติ เพราะพระองค์ต้องการให้ประชาชนในประเทศมีความเป็นอยู่ที่ดี พระองค์ทรงใช้ความสามารถที่มีและพระราชอำนาจเพื่อปกครองประเทศให้เป็นปึกแผ่น"[46]
  •  เวียดนาม : ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ตลอดจนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ส่งสาส์นแสดงความเสียใจถึงพระบรมวงศานุวงศ์ รัฐบาลและประชาชนชาวไทย โดยมีใจความว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ 70 ปี โดยพระองค์ทรงเสียสละเพื่อให้ประชาชนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งการเสด็จสวรรคตของพระองค์เป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของพระบรมวงศานุวงศ์ ประชาชนอาเซียนและปวงชนชาวไทย เวียดนามตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื่องจากทรงมีส่วนร่วมกระชับความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างเวียดนามกับไทยในหลายปีที่ผ่านมาและหวังว่า ประเทศไทยจะฟันฝ่าความสูญเสียครั้งนี้ไปได้และพัฒนาก้าวรุดหน้าต่อไปตามความปรารถนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช"[47]

พระราชพิธีถวายน้ำสรงพระบรมศพ

ไฟล์:King Bhumibol's Funeral Bathing Ceremony.jpg
พระราชพิธีถวายน้ำสรงบรมพระศพ

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 17.00 นาฬิกาโดยประมาณ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งยังพระที่นั่งพิมานรัตยา ในพระบรมมหาราชวังในการถวายสรงน้ำพระบรมศพ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จเข้าสู่ภายในพระฉาก ซึ่งพระบรมศพบรรทมอยู่บนพระแท่น

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสำหรับพระบรมศพบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยราชสักการะพระบรมศพ ทรงรับขวดน้ำพระสุคนธ์ โถน้ำอบไทยและโถน้ำขมิ้น ถวายสรงที่พระบรมศพ ต่อจากนั้น ทรงหวีพระเจ้าพระบรมศพขึ้นครั้งหนึ่ง หวีลงอีกครั้งหนึ่ง แล้วหวีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แล้วทรงหักพระสางนั้นวางไว้ในพานซึ่งเจ้าพนักงานเชิญอยู่ จากนั้นเสด็จฯ ไป​ทรง​ถวายซองพระศรีบรรจุดอกบัวและธูปเทียน แผ่นทองคำจำหลักลายปิดพระพักตร์ พระชฎาห้ายอดวางข้างพระเศียรพระบรมศพ

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานเชิญพระบรมศพลงสู่หีบ ตำรวจหลวงเชิญหีบพระบรมศพไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินและเสด็จตาม ตำรวจหลวงเชิญหีบพระบรมศพขึ้นประดิษฐานเหนือพระแท่นแว่นฟ้าเบื้องหลังพระฉากและพระแท่นสุวรรณเบญจดล ประกอบพระลองทองใหญ่ ภายใต้นพปฎลเศวตฉัตร แวดล้อมด้วยเครื่องสูงหักทองขวาง บังแทรก ชุมสาย ต้นไม้ทองเงิน ณ มุขตะวันตก พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

เสร็จแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงวางพวงมาลาที่หน้าพระโกศพระบรมศพ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยและเครื่องราชสักการะพระบรมศพ ทรงกราบ แล้วทรงจุดเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวารที่หน้าพระแท่นมหาเศวตฉัตร ทรงกราบ เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์เที่ยวละ 10 รูป ทรงทอดผ้าไตรเที่ยวละ 10 ไตร พระสงฆ์สดับปกรณ์ เมื่อครบ 100 รูป ทรงหลั่งทักษิโณทก ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปที่หน้าพระโกศพระบรมศพ ทรงกราบ และเสด็จพระราชดำเนินไปที่หน้าพระพุทธรูปประจำพระชนมวารที่ประดิษฐานอยู่บนพระแท่นมหาเศวตฉัตร ทรงกราบ จากนั้นทรงจุดธูปเทียนเครื่องบูชากระบะมุกที่หน้าพระแท่นเตียงพระสวดพระอภิธรรม ณ มุขหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จากนั้น เสด็จลงบันไดมุขกระสันด้านทิศเหนือพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ

พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ

สำนักพระราชวัง กำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ดังนี้

  • พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร (7 วัน) ในวันที่ 19 – 20 ตุลาคม 2559
  • พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัณรสมวาร (15 วัน) ในวันที่ 27 - 28 ตุลาคม 2559
  • พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวาร (50 วัน) ในวันที่ 1 - 2 ธันวาคม 2559
  • พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวาร (100 วัน) ในวันที่ 20 - 21 มกราคม 2560[48]

พิธีถวายเลี้ยงภัตตาหารเช้าแด่พระพิธีธรรม

นับตั้งแต่ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จฯทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ ในการถวายภัตตาหารเช้าแด่พระภิกษุสงฆ์ ระหว่างการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ ครบทั้ง 100 วัน ถึง วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

หีบพระบรมศพ

นายพรเทพ สุริยา เจ้าของร้านสุริยาหีบศพ กล่าวว่า สำนักพระราชวังได้ติดต่อให้จัดสร้างหีบพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยสร้างหีบพระบรมศพทรงหลุยส์ผสมทองคำแท้ 100 % จากแผ่นไม้สักทองอายุมากกว่า 100 ปีขนาดใหญ่เพียงแผ่นเดียวไม่มีรอยต่อ ขนาดความกว้าง 29 นิ้ว ความยาว 2.15 เมตร วัดรอบหีบทั้งใบ 229 นิ้ว ทั้งนี้ใช้เวลาประกอบทันทีหลังการเสด็จสวรรคต

เจ้าของร้านสุริยาหีบศพ กล่าวเพิ่มเติมว่า หีบพระบรมศพดังกล่าวแกะสลักลายกุหลาบไทยผสมผสานลายหลุยส์ รอบหีบปิดด้วยทองคำแท้ ภายในหีบพระบรมศพ ใช้ผ้าไหมสีงาช้าง มีที่รองที่บรรทม และซีลภายในเพื่อความแข็งแรง ส่วนผ้าคลุมเป็นผ้าไหมปักดิ้นทอง ซึ่งทางสุริยาเป็นผู้ออกแบบเองทั้งหมด [49]

การประโคมย่ำยาม

การบรรเลงดนตรีไทยในงานพระราชพิธี ถือว่าเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศขององค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นส่วนหนึ่งในของงานพระราชพิธีที่บรรเลงตามขั้นตอนของงานพระราชพิธี คู่กับวงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง แต่เดิมการประโคมดนตรีที่เป็นลักษณะประโคมย่ำยาม มีเฉพาะของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง เท่านั้น ประกอบด้วยวงแตรสังข์และวงปี่ไฉนกลองชนะ มีการประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง คือ

  • ยาม 1 เวลา 06.00 น.
  • ยาม 2 เวลา 09.00 น.
  • ยาม 3 เวลา 12.00 น.
  • ยาม 4 เวลา 15.00 น.
  • ยาม 5 เวลา 18.00 น.
  • ยาม 6 เวลา 21.00 น.

ในการประโคมงานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมในการประโคมย่ำยามด้วย ดังนั้น จึงมี 2 หน่วยงานเข้าร่วมประโคม คือ

  • วงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง (วงแตรสังข์และวงปี่ไฉนกลองชนะ)
  • วงปี่พาทย์นางหงส์ ของกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

การประโคมย่ำยาม มีขั้นตอนเรียงลำดับ ดังนี้

  • วงประโคมลำดับที่ 1 คือ วงแตรสังข์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ประโคม “เพลงสำหรับบท” จบแล้ว วงประโคมวงที่ 2 จึงเริ่มขึ้น
  • วงประโคมลำดับที่ 2 คือ วงปี่ไฉนกลองชนะ (หรือเรียกว่า วงเปิงพรวด) ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ปี่ไฉน กลองชนะ เปิงมาง “ประโคมเพลงพญาโศกลอยลม” จบแล้ว วงประโคมวงที่ 3 จึงเริ่มขึ้น
  • วงประโคมลำดับที่ 3 คือ วงปี่พาทย์นางหงส์ ประกอบด้วย ปี่ชวา ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง “ประโคมเพลงชุดนางหงส์”

เมื่อประโคม ครบทั้ง 3 วงแล้ว ก็ถือว่าเสร็จการประโคมย่ำยาม 1 ครั้ง การที่กรมศิลปากร นำวงปี่พาทย์นางหงส์มาประโคมย่ำยามนั้น

แต่โบราณดั้งเดิม ไม่ได้มี “วงปี่พาทย์” ร่วมประโคมย่ำยาม จะมีแต่เฉพาะ “วงแตรสังข์ และ วงปี่ไฉนกลองชนะ” ของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวังและวงกลองสี่ปี่หนึ่ง (ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว) ประโคมในงานพระบรมศพ พระศพ เท่านั้น

อ้างอิง

  1. ""ในหลวง-ราชินี" เสด็จฯกลับเข้าทรงประทับ รพ.ศิริราช อีกครั้ง". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. "แถลงการณ์ฉบับที่4พระอาการ'ในหลวง'". คมชัดลึก. 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "แถลงการณ์ฉบับที่5พระอาการ'ในหลวง'". คมชัดลึก. 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "'ในหลวง'เสด็จฯกลับไกลกังวล". คมชัดลึก. 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. ""ในหลวง"เสด็จ"รพ.ศิริราช" แพทย์ถวายตรวจพระอาการ". เดลินิวส์. 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "แถลงการณ์พระอาการ "ในหลวง" ฉบับที่ 36". มติชน. 1 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "แถลงฉบับที่ 37-พระอาการ "ในหลวง" คณะแพทย์เฝ้าติดตามถวายการรักษาใกล้ชิด". ข่าวสด. 10 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "แถลงการณ์ ฉ.38 ในหลวงพระโลหิตติดเชื้อ พระอาการไม่คงที่ ถวายรักษาใกล้ชิด". ไทยรัฐ. 12 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ รพ.ศิริราช". ไทยรัฐ. 12 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. ประกาศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต, สำนักพระราชวัง, เข้าถึงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559
  11. แถลงการณ์สำนักพระราชวัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต
  12. ประกาศการถวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร, สำนักพระราชวัง, เข้าถึงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559
  13. พระบรมฯอัญเชิญ พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคต
  15. พสกนิกรนับหมื่นร่วมถวายน้ำสรงพระบรมศพ ปลายแถวยาวถึงเชิงสะพานปิ่นเกล้า
  16. ประกาศ การถวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
  17. นายกฯแถลงเรื่องในหลวง"เสด็จสวรรคตวันที่ 13 ต.ค.59
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคต
  19. รัฐบาลประกาศขอความร่วมมือ สถานประกอบการ-สถานบันเทิง งดกิจกรรมรื่นเริง
  20. ครม.อนุมัติ14ตค.เป็นวันหยุดราชการ-งดจัดงานรื่นเริงมหรสพ 1 เดือน
  21. หัวใจสลาย...โลกออนไลน์กลายเป็นสีดำ
  22. Facebook ประกาศ งดลงโฆษณาในไทยชั่วคราว
  23. Google ร่วมถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ
  24. คนบันเทิงน้อมถวายความอาลัย"พ่อหลวง"เสด็จสู่สวรรคาลัย
  25. ความเปลี่ยนแปลงของโซเชียลมีเดียในไทย ต่อกรณีสวรรคต
  26. 'ไก่อู' แจง รบ.ขอความร่วมมือทีวีงดรายการปกติ เป็นเวลา 30วัน ตลอด 24ชม.
  27. กสทช.แจ้ง 'วิทยุทีวี' งดรายการบันเทิง30วัน
  28. "Statement by Presidents Tusk and Juncker on the passing away of King Bhumibol Adulyadej of Thailand". General Secretariat of the Council. 2559. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. "สมัชชาสหประชาชาติยืนสงบนิ่งไว้อาลัย". Komchadluek.net. 2559. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. "The Latest: South Korea Says King Was Father of Thailand". New York Times. สืบค้นเมื่อ 22 October 2016.
  31. "แถลงการณ์ขององค์การยูนิเซฟต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช". UNICEF. 2559. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. "ส.แบดมินตันโลกอาลัยในหลวงเสด็จสวรรคต". Siamsport. 2559. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. "BWF MOURNS KING BHUMIBOL'S PASSING". Badminton World Federation. 2016. สืบค้นเมื่อ 22 October 2016.
  34. Message of condolences, The Brunei Times, สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2559
  35. สุลต่านบรูไน มีพระราชสาส์น แสดงความเสียพระทัย ‘ในหลวง’ เสด็จสวรรคต, ไทยรัฐ, สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2559
  36. ผู้นำนานาชาติอาลัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ, มติชน, สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2559
  37. Hun Sen Sends Condolences Over Thai King’s Death, Khmer Times, สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2559
  38. Jokowi expresses condolences following King Bhumibol's passing, Jakarta Post, สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2559
  39. ผู้นำอินโดฯ สิงคโปร์ เสียใจสุดซึ้ง ‘ในหลวง’ สวรรคต สูญเสียครั้งใหญ่สุด, ไทยรัฐ, สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2559
  40. ประธานประเทศลาวส่งสาส์นแสดงความเสียใจต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ, ผู้จัดการ, สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2559
  41. กษัตริย์มาเลเซียแสดงความเสียพระราชหฤทัย, คมชัดลึก, สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2559
  42. Najib expresses condolences over King Bhumibol's passing, The Star, สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2559
  43. Condolences stream in from around the world, Bangkok Post, สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2559
  44. อองซาน ซูจี-ผู้นำ 5 ชาติ ร่วมยืนไว้อาลัย ในหลวง ร.9 กลางที่ประชุมผู้นำ BRICS-BIMSTEC, เรื่องเล่าเช้านี้, สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2559
  45. ""โลกสูญเสียผู้นำที่ใกล้ชิดประชาชน" นานาประเทศอาลัยในหลวงรัชกาลที่9สวรรคต". Post Today. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  46. "นายลี เซียนลุง ผู้นำสิงคโปร์ร่วมแสดงความเสียใจกับประชาชนชาวไทย". Media Insight. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  47. "ผู้นำเวียดนามส่งสารแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อพระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนไทย". VOV5. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  48. สำนักพระราชวัง. (2559, 17 ตุลาคม). งานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. เข้าถึงได้จาก: http://www.brh.thaigov.net/information/Buket%20Data/KingBhumibol/Data/13102016_04/4.1_13102016.pdf. (เข้าถึงเมื่อ 22 ตุลาคม 2559).
  49. เปิดตัวผู้ทำหีบบรรจุพระบรมศพ ไม้สักทองแผ่นเดียวไร้รอยต่อ อายุกว่า100ปี